Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2543
หนังสืออ่านสนุก The Entrepreneur             
 





หนังสือเล่มนี้เป็นผลของความพยายาม ที่เฮนเนกี้ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ในการมีชีวิตทางธุรกิจอยู่กับสังคมไทยมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน

ก็เพราะส่วนใหญ่ของเนื้อหาเป็นการ "เล่าเรื่อง" แทรกไปกับการให ้ข้อ มูลหรือความเห็นอย่างตรงไปตรงมา ทำให้นี่เป็นหนังสือ ที่มีประสิทธิภาพในการถ่ายทอด และคิดว่าให้สาระประโยชน์ ในเชิงปฏิบัติมากกว่าหนังสือ ที่เขียนออกมาโดยพยายามสร้างหลักการที่ฟังแล้วดูดี แต่ไม่ให้แรงบันดาลใจ ในการปฏิบัติ

จริงอยู่ ที่ The Entrepreneur วางรูปแบบเหมือนหนังสือประเภท how to คือ ให้กฎ 21 ข้อเป็นขุมทรัพย์ในแง่มุมของนักบริหาร และมีบท Preface เริ่มด้วยการตั้งคำถามประเภทคลาสสิกว่า คุณคิดว่าคุณมีอะไร ที่จะทำให้เป็นผู้ประกอบการได้

การแนะนำของเฮนเนกี้ตรงไปตรงมา แนะนำให้เข้าใจบรรยากาศของประเทศไทยยุค 1900"s สำหรับ "ฝรั่ง" อยู่เมืองไทยไร้ประสบการณ์, แหล่งทุน แต่เจียดเงินแค่พันเหรียญสหรัฐ เพื่อจัดตั้งบริษัท 2 บริษัท

บิล เฮนเนกี้ ซึ่งประสบความ สำเร็จโดยไม่มีคำว่า "บังเอิญ" แต่มาจากพลังขับภายในของเขาเอง คิดในสิ่งที่คนไม่เชื่อว่าเขาจะแหวกตลาดที่ยากที่สุด ซึ่งผลของการทำงานของบิล ผมว่าเขาคือ ตำนานของฟาสต์ฟู้ดในภูมิภาคนี้

ไม่ใช่ว่านี่คือ การ "แนะนำ" สิน ค้าใหม่เข้าตลาด แต่สินค้าของเฮนเนกี้ กินความถึงตลาดวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของคนในประเทศ ที่มีอาหารการกินที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ตลาดอาหารไทยยังมีความหลากหลายทั้งปริมาณ และรสชาติ

บิลนำพิซซ่า อาหาร ซึ่งขัดแย้งต่อวัฒนธรรมการกินของคนไทย และก็ขัดกับรสนิยมเรื่องรสชาติอาหารของไทยมากที่สุด

ประเด็นคือ เขาทำอย่างไร จึงเอาของ ซึ่งไม่ "อร่อย" มาเป็นสินค้า ที่ขยายตัวทั้งปริมาณ และคุณภาพไปอย่างรวดเร็ว

เขาชี้ว่าทั้งนมเนย และเนยแข็งนั้น เป็นสิ่งที่คนไทยไม่คุ้นอยู่แล้ว แต่วิธีการของเฮนเนกี้มาจากวิธีคิดของเขา ที่เข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของคนไทย ในวัฒนธรรม ที่กำลังเกิดขึ้น ใหม่ก็ว่าได้ ทุกวันนี้การกินพิซซ่า นอกจากเป็นที่นิยมแล้ว ยังสะดวกง่าย และผู้อ่านจะประทับใจใน fair deal ที่เขาสร้างกองทัพขนส่งพิซซ่า ที่บ่งชัดว่า "ความคิด" ที่มาจาก "ความเข้าใจ" ต่อ เงื่อนไข และสภาพของสังคมรถติดแบบไทยๆ นี่ แหละเป็นหัวใจของหนังสือ เล่มนี้ก็ว่าได้ เขาเอาข้อเสียมาเป็นข้อบวกได้อย่างเหลือเชื่อ

ผมไม่แน่ใจว่าเฮนเนกี้เข้าใจคำว่า "อดทน" แบบไทยๆ หรือเปล่า แต่เขาผ่านประสบการณ์โดนคนต้มคนโกงมาแล้ว และการที่เขาเดินเข้าไปหาคนที่ไม่ เคยรู้จัก ที่ดูแลสำนักงานทรัพย์สินฯ เป็นเครื่องชี้ว่าในการหาจริยธรรมทางธุรกิจนั้น เขาใช้ช่องทาง ที่ถูกต้องตรงไปตรงมา และกล้าหาญมาก

จริงๆ แล้ว เฮนเนกี้ไม่เพียงแต่ทำธุรกิจได้รุ่งเรืองในสภาพแวดล้อมปกติ แต่สังคมไทยกำลังผ่านวิกฤติอยู่ในหัวเลี้ยวหัวต่อโดยตัวมั นเอง จะว่าเขา "เสี่ยง" มากก็ย่อมได้ แต่ผมว่าเขา "กล้าหาญ" และหยั่งรู้ รวมทั้งเชื่อมั่นในสังคมไทยมากกว่าคนไทยอีกหลายคน การที่เฮนเนกี้ "เกิดทางธุรกิจ" ท่ามกลางช่วงเวลาของพายุการเมือง, เศรษฐกิจ ได้นั้น บทเรียนของเขาย่อมล้ำค่า

ไม่แปลกใจนัก ที่กฎข้อแรกของเขาคือ "หาช่องว่างให้พบ และเติมให้เต็ม" เป็นบทเรียนสำคัญมาก ประเด็นในหนังสือไม่ใช่อยู่กับการคิดง่ายๆ แต่มีพื้นฐานมาจากการวิเคราะห์จนรู ้ชัดว่า "demand" อยู่ตรงไหน ดังนั้น นี่คือ การวิเคราะห์ demand ซึ่งเป็นความล้ำลึก เฮนเนกี้มีตำนานสนุกๆ เล่าให้ฟังถึง "กำเนิด" ของ "ความคิดใหม่" ที่เข้ามาอุดช่องว่างต่างๆ ทั้งหมดล้วนโยงถึงการคิดเกี่ยวกับแง่ร้าย พลิกเป็นด้านบวก เช่นกรณีกินอาหารแล้วลืมเงินติดตัวมา ทำให้คิด Diner Card ขึ้น

เมื่อกล่าวถึง "ความต้องการของตลาด" แล้ว สิ่งที่ตามมาเป็นเรื่องปกติ แต่สำคัญยิ่ง นั่นคือ นักธุรกิจต้อง "ทำการบ้าน" วิธีการของเฮนเนกี้ใช้นั้น สิ่งแรกคือ เข้าใจสิ่งที่จะทำอย่างเป็นระบบเสียก่อน หลังจากนั้น ก็จะรู้ว่า "ทางเลือก" ในการตั้งต้นธุรกิจจะทำอย่างไร

กฎข้อที่ 3 น่าสนใจมากเพราะงานต้องเริ่ม ที่ความสนใจ เป็นต้นทุน ชัดๆ การทำงาน ที่ "รัก" และ "สนุก" เป็นผลดีต่อการขยายตัว และทำให้เกิดความกล้า ที่จะ "ท้าทาย" สิ่งใหม่ๆ เฮนเนกี้ทั้งแข่งรถ ขับเครื่องบิน จึงไม่แปลกใจ ที่เขากล้าจับงานโรงแรม ที่เริ่มจากวันเก่าๆ ที่เขาประทับใจกับสิ่งใหม่ ที่ท้าทาย

กฎข้อที่ 4 เริ่มเข้าสู่ปัญหา หลักคือ ทำงานจริง ทำหนัก และผ่อนคลาย ด้วยการใช้ชีวิตที่ดี กฎข้อนี้ใครทำได้ถือว่าวิเศษ ทั้งหมดคือ วิธีการได้แก่การจัดลำดับของงาน และทิ้งความสำคัญลงไปในจุดที่ "เป็นชิ้นเป็นอัน"

กฎข้อที่ 5 ใช้ "ปัญญาคนอื่น" กับข้อ 6 "ตั้งเป้า" การกล่าวถึงประสบการณ์ทางความคิดของเดวิด โอกิลวี่ การเข้าถึงวงจรธุรกิจแบบไทย และ การวางเป้า ที่ชัดเจนให้พลิกแพลงได้ถือว่า คิดเล็กๆ ทำให้ "ขยายตัว" ง่ายกว่า แม้กระทั่ง "จังหวะ" เช่นโรงงานทำถุงมือกอล์ฟ กฎ 7-8 การใช้ intuition และ การ "ไปถึงดวงดาว" เป็นเรื่องของ aspiration หรือเชื่อพลังขับเคลื่อน ซึ่งผู้อ่านย่อมซึมซับแล้วว่าเฮนเนกี้มีพลัง ที่เรียกว่าศักยสูง การเริ่มเล็กแต่คิดใหญ่ ขึ้นอยู่กับจังหวะก้าว เช่น เขาต้องการ "เอาใจลูกค้าแต่ละคน" ที่เข้ามาในร้านอาหาร เป็นสายใยแรก ที่จะไปถึงงานบริการที่พร้อมจะเป็นหนึ่ง

กฎข้อ 9 และ 10 เรียนรู้ ที่จะ "ขาย" และ "เป็นผู้นำ" เป็นเรื่องพื้นฐาน ที่สำคัญ ผมประทับใจในคำแถลงเปิดใจของเขาเกี่ยวกับเมืองไทย และตอกย้ำการมองเชิงบวก ซึ่งเป็นทรัพยากร ที่เขามีให้กับสังคมไทย และคนไทย

กระทั่งการพร้อม ที่จะเป็นผู้นำของเขาก็น่าประทับใจเพราะไม่เพียงแต่ผู้นำต้อง "ตัดสินใจ" อย่างเดียวเท่านั้น แต่เขาต้องผลักดันให้ขวัญกำลังใจลูกทีมดีด้วย ทัศนะต่างๆ ล้วนเป็นสิ่งที่เฮนเนกี้พูดอย่าง "จริงใจ" เช่นการรับฟัง, ความเชื่อใจ, รู้จักขอบใจ, อ่อนน้อมถ่อมตน, หนักแน่น, ยืดหยุ่น ฯลฯ

กฎข้อ 11 ยอมรับความผิดพลาด เป็นหัวใจของการเรียนรู้ แต่เป็นการเรียนรู้ เพื่อก้าวหน้าคิดในเชิงบวกต่อไป เขายกตัวอย่างคำพยากรณ์ผิดพลาด ใหญ่ๆ ไม่ว่าเรื่องคอมพิวเตอร์ เรื่องอนาคตโทรทัศน์ และเรื่องโทรศัพท์ เป็นตัวอย่างชัดๆ

กฎข้อ 13 กล่าวถึงการเรียนรู้ "วิถีแห่งชีวิต" ผู้อ่านจะเห็นว่าตลอดระยะเวลา ที่อ่านมา เขาได้แนะให้ผู้อ่านเข้าใจเชิงปรัชญาอย่างลึกซึ้ง ขณะที่กฎข้อ 14 พูดถึง "เครือข่ายคนที่รู้จัก" และ "การบริหารเวลา" อาจพัฒนาเป็นเรื่องใหญ่ได้เลย แต่ถ้าอ่านหนังสือเล่มนี้ แล้วเราจะเข้าใจเรื่องใหญ่ๆ ผ่านตัวอย่าง และประสบการณ์

กฎ ที่เหลือเหมือนสิ่งที่ตามมาต่อเนื่อง ผู้วิจารณ์อยากให้ผู้อ่านค้นพบเอาเอง

และเชื่อว่าการใช้ภาษา ที่สนุกต่อเนื่อง และไหลไปตามความคิดเช่นนี้ ทำให้หนังสือของเขาน่าจะเป็นคู่มือสำหรับผู้กล้าหาญในยามเศรษฐกิจวิกฤติ รีบหาตัวตนให้พบ และเริ่มต้นใหม่

ผู้วิจารณ์อาจจะเข้าใจวิธีการของเฮนเนกี้ได้เร็วเพราะวัฒนธรรมองค์กร เก่าคือ การบินไทยมีลักษณะไม่ ต่างกัน จนอยากให้ และอยากเห็นคนไทย ที่มาจากต่างชาตินี้ เข้าไปมีบทบาทในการกู้สภาพสายการบินแห่งชาติมันท้าทายมาก

แต่ผู้วิจารณ์เชื่อ และมั่นใจว่าเขา "ทำได้" และทำได้ดีพอ ที่จะดึงการบินไทยให้ขึ้นมาจากการบินในระดับต่ำขึ้นไปเหนือชั้นได้อีก

ใครมีอำนาจกรุณาส่งเขาไปเป็นบอร์ดการบินไทยเร็วๆ หน่อย จะดีอย่างยิ่ง    




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us