ชื่อ "นานมี" แผลงมาจากคำว่า "หน่ำมุ่ย" ในภาษาแต้จิ๋ว
"หน่ำ" แปลว่าทิศใต้ "มุ่ย" คือความงดงาม ตั้งเซ็กกิมมีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของจีนเมื่อเขาเดินทางออกจากบ้านเกิดเมืองนอกเป็นครั้งแรกเมื่อ
60 กว่าปีที่แล้ว จุดหมายปลายทางคือดินแดนทางใต้ที่เรียกกันว่า "เซี่ยมล้อ"
หรือประเทศไทย
ความผูกพันในถิ่นกำเนิดและความอุดมสมบูรณ์ของถิ่นฐานใหม่ที่เขาปักหลักสร้างเนื้อสร้างตัวขึ้นมาได้จนถึงวันนี้
ทำให้เขาใช้ชื่อนี้มีความหมายว่าความงดงามแห่งแดนทักษิณ
ตั้งเซ็กกิมเริ่มต้นชีวิตในดินแดนใหม่เช่นเดียวกับบรรดานตึ๊งที่มีแต่เสื่อผืนหมอนใบติดมือมาจากเมืองจีน
ความขยันหมั่นเพียร "หนักเอาเบาสู้ ทำให้เขาไต่เต้าจากตำแหน่งจับกังขึ้นมาเป็นผู้จัดการของร้านจงหัว
จงหัวเป็นร้านขายหนังสือจีนที่อยู่ในซอยเล็ก ๆ บนถนนเยาวราช ยี่สิบกว่าปีที่นี่ทำให้ตั้งเซ็กกิมมมีสายพันธ์อย่างกว้างขวางกับบรรดาโรงเรียนสอนภาษีจีนทั้งหลายในสมัยนั้นที่จงหัวขายแบบเรียนภาษาจีนให้
ส่วนสำนักพิมพ์ในจีนและฮ่องกงที่ขายหนังสือใหจงหัวเขาก็รู้จักไม่น้อย
เมื่อเขาแยกตัวออมาตั้งกิจการของตัวเองในชื่อนานมีเมื่อพ.ศ. 2492 สายสัมพันธ์ทางการค้านี้มีส่วนเกื้อหนุนให้กิจการดำเนินไปด้วยดี
จากร้านเล็ก ๆ บนถนนเยาวราชขยับขยายกลายเป็นร้านใหญ่ และย้ายมาอยู่ที่ถนนเจริญกรุงจนถึงปัจจุบัน
ลูกค้าเกือบทั้งหมดคือบรรดาโรงเรียนจีนที่มาซื้อทั้งหนังสือเรียนเครื่องเขียนไปขายให้กับนักเรียน
ซึ่งสมัยนันยังมีคนเรียนภาษาจีนกันเป็นจำนวนมาก
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบคอมมิวนิสต์ของจีนในปี 2492 เป็นต้นมา
โรงเรียนสอนภาษาจีนถูกควบคุมจากทางการไทยมากขึ้น ด้วยความหวาดระแวงว่าจะเป็นแหล่งเผยแพร่ความิดทางการเมืองจากแผ่นดินแม่ยิ่งแผ่นดินไทย
ตกอย่ภายใต้ระบบเผด็จการในยุค จอมพล ป.พิบูลสงคราม และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
โรงเรียนจีนก็ถูก "ตอน" อย่างหนักมือขึ้นรวมไปถึงร้านขายหนังสือจีนด้วย
เวลามีการรัฐประหารแต่ละครั้งทหาร และตำรวจจะต้องยกกำลังไปยึดหนังสือจีนจากร้านเหล่นี้หลาย
ๆ ครั้งตัวเจ้าของก็ถูกจับตัวไปคุมขังด้วย
พ.ศ. 2497 รัฐบาลออกกฎหมายควบคุมการจัดตั้งโรงเรียนนานาชาติ เป้าหมายที่แท้จริงคือการห้ามเปิดโรงเรียนจีนอีกต่อไป
หลักสูตร ตำราเรียน ต้องถูกตรวจสอบอย่างใกล้ชิดจากกระทรวงศึกษาธิการ หนังสือเรียนที่เคยนำเข้าจากฮ่องกงต้องเปลี่ยนมาใช้หนังสือที่ผลิตโดยกระทรวงศึกษาธิการ
มีองค์การคุรุสภาพเป็นผู้จัดจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียว
สภาพการณ์ทางการเมืองบีบให้ตลาดหนังสือจีนเล็กลงร้านหนังสือจีนหลาย ๆ แห่งต้องปิดตัวเองลงไป
อีกครั้งหนึ่งที่สายสัมพันธ์ทางธุรกิจเข้ามามีบทบาทสำคัญ เมื่อตั้งเซ็กกิมจำเป็นต้องเปลี่ยนทิศทางของนานมีจากการขายหนังสือมาเป็นธุรกิจขายเครื่องเขียน
นานมีเป็นผู้นำเข้าเครื่องเย็บกระดาษยี่ห้อแม็กซ์จากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาขายในประเทศไทยเป็นรายแรก
จากการแนะนำของผู้ผลิตเครื่องเขียนของไต้หวันรายหนึ่งที่นานมีทำธุรกิจด้วย
ต่อจากนั้นก็เป็นเครื่องเขียนยี่ห้อไลอ้อนจากญี่ปุ่นและยังเคยเป็นตัวแทนจำหน่ายปากกาลูกลื่นบิ๊คด้วย
จาการนำเข้า นานมีเปลี่ยนฐานะตัวเองมาเป็นผู้ผลิตโดยความช่วยเหลือทางด้านเทคโนโลยีทางการผลิตจากญี่ปุ่นผลิตปากกาลูกลื่นตราม้า
ซึ่งเป็นยี่ห้อของตัวเองออกมาขายเป็นครั้งแรกเมื่อยี่สิบปีที่แล้ว นอกจากปากกาลูกลื่นแล้วยังผลิตเครื่องเขียนเกือบทั้งหมดรวมไปถึงกระดาษโรเนียวและกระดาษไขด้วย
เรียกว่าคนที่มีอายุอยู่ในวัยเลยสามสิบตอนนี้ เกือบทั้งหมดผ่านช่วงชีวิตในโรงเรียนโดยมีสินค้าตราม้าของนานมีร่วมสุดแห่งหนึ่งของโลกทีเดียว
GLOBAL BRAIN คือสำนักพิมพ์ล่าสุดในเครือของนานมี ที่แตกต่างไปจากสำนักพิมพ์ทั้งสามตรงที่ใช้ต้นฉบับภาษาอังกฤษ
ไม่เพียงแต่จะแตกต่างจากสำนักพิมพ์ในเครือเท่านั้น ยังแตกต่างจากสำนักพิมพ์อื่น
ๆ ตรงที่กล้าแปลหนังสือที่เสี่ยงต่อการลงทุนเป็นอย่างมากด้วย
ในยุคที่ตลาดหนังสือแปลแนวธุรกิจของบ้านเราเต็มไปด้วยสูตรสำเร็จการเดินทางไปให้ถึงดวงดาวในชั่วข้ามคืนในราคาไม่เกิน
50 บาท GLOBAL BRAIN เลือกที่จะออกหนังสือประเภทเสนอโลกทัศน์ แนวความคิดของนักคิดที่มีชื่อเสียงของโลก
รวมไปถึงหนังสือในเชิงกรณีศึกษาของธุรกิจที่มีชื่อเสียง
ในสายตาของวงการแปลบ้านเราแล้ว หนังสือแถวนี้หาผู้อ่านได้ยาก เพราะเป็นหนังสือที่ถูกให้คำจำกัดความว่า
"หนัก" เอาไปใช้ในชีวิตจริงไม่ได้ และที่สำคัญต้องลงทุนสูง ในขณะที่ไม่แน่ใจว่าถ้าตั้งราคาขายสูง
ๆแล้วจะมีคนซื้อหรือเปล่า
GLOBAL BRAIN ออกหนังสือเล่มแรกชื่อ "คลื่นลูกที่สาม" แปลมาจาก
THE THIRD WAVE ของ ALVIN TOFFLER ในชั่วเวลาไม่ถึงสองปี หนังสือเล่มนี้พิมพ์เป็นครั้งที่สามแล้ว
ด้วยยอดพิมพ์ครั้งละ 2,000 เล่มยังไม่อาจเทียบได้กับหนังสือหลาย ๆ เล่ม แต่ก็เป็นบทพิสูจน์ได้ว่า
ยังมีผู้อ่านที่ต้องการหนังสือที่ให้ข้อคิด สติปัญญาอยู่จำนวนหนึ่งในบ้านเราที่ยอมควักเงินเกือบร้อยบาทซื้อหนังสือดี
ๆ อ่าน
GLOBAL BRAIN อาจจะมีข้อได้เปรียบตรงที่มีฐานการเงินแน่นหนาอยู่แล้ว แต่การตัดสินใจลงทุนเป็นเงินสองแสนบาทโดยที่รู้มาก่อนว่าต้องขาดทุนแน่
ๆ เป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือเหตุผลทางธุรกิจ
"เรามองว่าหนังสือเล่มนี้ไม่ได้เงินแน่ก็ละล้าละลัง แต่คุณพ่อตัดสินใจว่า
เล่มนี้เอากล่องก็แล้วกัน" สุวดีเล่าให้ฟังว่าในตอนที่เธอตัดสินใจจะแปลหนังสือเล่มนี้ออกมานั้นก็เพราะมีลูกค้าหลายคนที่มาซื้อหนังสือจีนที่ร้านได้อ่าน
THE THIRD WAVE ฉบับภาษาจีนแล้วมาเล่าให้ฟังถึงคุณค่าของหนังสือจึงเห็นว่าคนไทยที่ไม่ได้อ่านภาษาอังกฤษก็ควรที่จะได้อ่านกัน
ALVIN TOFFLER คงจะดีใจแม้ว่าจะไม่ได้ค่าลิขสิทธิ์จาก GLOBAL BRAIN เพราะความสำเร็จของคลื่นลูกที่สามในภาคภาษาไทยทำให้สุวดีตัดสินใจที่จะผลิตหนังสือเล่มอื่น
ๆ ในสาระวิชาการออกมาอีก ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าการยอมรับของตลาดในครั้งแรกนั้นเป็นเพราะชื่อเสียงของ
THE THIRD WAVE และ ALVIN TOFFLER เป็นส่วนสำคัญ
หนังสือแปลเล่มต่อ ๆ มาคือ MEGATRAIN 2000, THE BORDERLESS WORLD และ CNN
แม้จะมียอดขายไม่สูงเท่าคลื่นลูกที่สาม แต่ก็ขายได้ และน่าจะเป็นดัชนีชี้ตลาดหนังสือแปลทางธุรกิจได้ว่า
หนังสือแนวนี้น่จะเป็นทางเลือกใหม่ของตลาดที่ซ้ำซากจำเจอยู่กับแนวฮาวทูมานาน
ในเชิงธุรกิจแล้ว GLOBAL BRAIN กำลังอาศัยกลยุทธ์หาช่องว่างในตลาดที่ยังไม่มีใครเข้าไปโดยมีข้อได้เปรียบที่มีความพร้อมในการลงทุน
ในความเป็นคนเดินดินสุวดีกำลังสานต่อหน้าที่ทางวัฒนธรรมที่พ่อของเธอเริ่มต้นไว้เมื่อ
42 ปีก่อน