Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2534
ดร.ชัยพัฒน์ "ผมต้องการเป็นนักบริหารมากกว่าวิชการ"             
 


   
search resources

ชัยพัฒน์ สหัสกุล
Stock Exchange




มันเป็นเรื่องปกติธรรมดาในตลาดธุรกิจการเงิน และตลาดทุนที่เกี่ยวเนื่องกับหลักทรัพย์ทั่วโลกที่มีสถิติการหมุนเวียนเข้าออก และการโยกย้ายงานระหว่างบริษัทของบรรดานักการเงินในตลาดกันสูง ยิ่งในตลาดที่กำลังก่อตัวไปสู่การพัฒนาขั้นสูงด้วยแล้ว การเปลี่ยนแปลงโยกย้ายงานจะสูงมากดังที่กำลังเกิดขึ้นในเมืองไทยขณะนี้

พวกเอ็มบีเอจากมหาวิทยาลัยดัง ๆ ของสหรัฐฯ ทราบดีว่า การเข้าอกและโยกย้ายงานในตลาดธุรกิจของวอลล์สตรีทของพวกเอ็มบีเอเป็นเรื่องปกติ เพราะเข้าใจดีว่าธรรมชาติของธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับหลักทรัพย์มันมีความผันผวนไม่มีอะไรแน่นอน เมื่อตลาดหุ้นตกต่ำบริษัทหลักทรัพย์ต่าง ๆ จะประสบปัญหาขาดทุนมาก การปลดเจ้าหน้าที่ออกเพื่อลดต้นทุนก็มักจะตามมาเสมอ หรือในทางตรงข้ามเมื่อตลาดหุ้นเฟื้องฟู คนที่อยู่ในธุรกิจนี้ทุกคนก็ได้ผลตอบแทนกันมหาศาลสูงกว่าธุรกิจอื่น ๆ

สัจธรรมข้อนี้พวกเอ็มบีเอซาบซึ้งดี และพร้อมที่จะยอมรับกฎธรรมชาติของธุรกิจในตลาดนี้

ในตลาดที่กำลังพัฒนาอย่างเมืองไทย พวกเอ็มบีเอที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับธุรกิจคอเปอเรทไฟแนนซ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์มีไม่มากนัก

ค่าตัวพวกเอ็มบีเอที่อยู่ในธุรกิจนี้จึงสูงมาก ๆ

การโยกย้ายงานจึงเกิดขึ้นด้วยเหตุผลค่าตัวเป็นแรงจูงใจสำคัญ

แต่ชัยพัฒน์ สหัสกุล เป็นคนที่ถูกยกเว้นจากเหตุผลนี้

ชัยพัฒน์ สังกัดชีวิตการทำงานของตัวเองอยู่ในธุรกิจการเงินและตลาดทุนมาตลอด เขาอายุประมาณ 37 ปี จบเศรษฐศาสตร์ระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยโรเชสเตอร์ นิวยอร์ก สหรัฐฯ เมื่อ 4 ปีก่อน

เขาเคยเป็นนักวิจัยผู้ช่วยวีรพงษ์ รามางกูร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังคนปัจจุบันสมัยอยู่ที่ทีดีอาร์ไอหรือสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นเวลานานปีครึ้ง ก่อนที่จะถูกณรงค์ชัย อัครเศรณีชักชวนมาทำงานเป็นนักวิจัยตลาดทุนที่ไอเอฟซีที

และที่ไอเอฟซีที ชัยพัฒน์ ก็ได้สร้างผลงานที่ฮือฮาให้กับวงการธุรกิจหลักทรัพย์เมื่อสร้างดัชนีซีเอ็มอาร์ไอขึ้นเป็นครั้งแรก

ดัชนีซีเอ็มอาร์ไอ เป็นเครื่องมือวัดการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นในตลาดโดยใช้ฐานในการคำนวณที่วอลุ่มของหุ้นที่มีการซื้อขาย ซึ่งต่างจากดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ใช้ฐานของปริมาณหุ้นที่จดทะเบียน

ดังนั้นดัชนีซีเอ็มอาร์ไอที่ชัยพัฒน์สร้างขึ้น จึงเป็นเครื่องมืออีกชิ้นหนึ่งในการวิเคราะห์และอ่านการเปลี่ยนแปลงสภาพตลาดที่มีการซื้อขาย นอกจากดัชนีตลาดหลักทรัพย์ บุคคลัภย์และทิสโก้ที่มีอยู่ก่อนแล้ว

ความเป็นนักวิจัยและวิชาการของชัยพัฒน์ก็มาถึงจุดอิ่มตัว เมื่อเขาเริ่มเบื่อหน่ายอยากให้ตลาดการเงินมาองเขาว่าสามารถเป็นนักบริหารที่ดีได้ "ก่อนที่ผมจะมาอยู่ที่มอร์แกนเกรนเฟล ทางอาจารย์อัศวิน ซึ่งเวลานั้นเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ที่แบงก์นครธนก็อยากให้ผมไปทำงานเป็นผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยที่แบงก์ แต่ผมก็ปฏิเสธเพราะเบื่อ อยากทำงานบริหารที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับตัวธุรกิจบ้าง" ชัยพัฒน์เล่าให้ฟังถึงความต้องการหนีออกจากหน้าที่วิชาการที่เขาทำมาตลอดกว่า 3 ปี ตั้งแต่จบปริญญาเอก

ชัยพัฒน์มาอยู่มอร์แกนเกรนเฟลประเทศไทยตามคำชวนของณรงค์ชัยที่เขานับถือ ในฐานะอดีตอาจารย์ที่ปรึกษาทำวิทยาพิพนธ์ปริญญาโทที่ธรรมศาสตร์ และความผูกพันตั้งแต่สมัยณรงค์ชัยอยู่ไอเอฟซีทีและทีดีอาร์ไอ เมื่อณรงค์ชัยมาเป็นประธานกลุ่มบริษัทเครือสุวิทย์และเสรี โอสถานุเคราะห์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จีเอฟ และมอร์แกนเกรนเฟลประเทศไทย ก็ดึงชัยพัฒน์มาอยู่ด้วย

มอร์แกน เกรนเฟล ประเทศไทยทำธุรกิจเป็นที่ปรึกษาด้านการเงินและวาริชธนกิจเป็นเครือข่ายหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ของมอร์แกนเกรนเฟลที่ลอนดอน ซึ่งเมื่อปีที่แล้วเพิ่งถูกดอยซ์แบงก์ของเยอรมนีซื้อกิจการไป "ธุรกิจประกันการจัดจำหน่ายหุ้นทำไม่ได้เพราะไม่มีใบอนุญาต" ชัยพัฒน์พูดถึงส่วนหนึ่งของข้อจำกัด ธุรกิจวาณิชธนกิจของมอร์แกนที่ตลาดเมืองไทย

ชัยพัฒน์ทำหน้าที่บริหารฝ่ายคอเปอเรทไฟแนนซ์ที่เพิ่งตั้งขึ้นเป็นรองกรรมการผู้จัดการและขึ้นตรงต่อณัฐศิลป์ จงสงวน กรรมการผู้จัดการมอร์แกน เกรนเฟลประเทศไทย

ผลงานที่มอร์แกน ชัยพัฒน์เล่าว่าเขาทำดีลทั้งหมด 4 ดีล เป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้บรษัท ยูนิคอร์ด ไทยแลนด์ฟิชเชอรี่ ซันโยยูนิเวอร์แซลและแจีกเจียอุตสาหกรรรมในการนำหุ้นเข้าตลดาหลักทรัพย์น "มูลค่าหุ้นทั้งหมดของทั้ง 4 บริษัทที่ออกขายหลายพันล้านบาท ใหญ่ที่สุดก็คือ ยูนิคอร์ดประมาณ 800 ล้านบาท" ชัยพัฒน์เล่าให้ฟังถึงผลงานของเขา

ชัยพัฒน์อยู่กับมอร์แกนเกรนเฟลเกือบ 2 ปี ก็ลาออกมาอยู่ที่ตลาดหลักทรัพย์ เป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการมารวยผดุงสิทธิ์ บริหารงานฝ่าย ต่างประเทศและการพัฒนาตราสาราหลักทรัพย์ใหม่ ๆ

"ตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นหน่วยงานที่ไม่ได้แสวงหากำไรผมามาอยู่ก็เพื่อจะได้มีโอกาสมีส่วนช่วยพัฒนาตลาดฯ ซึ่งโอกาสกำลังเปิดอยู่ ยิ่งได้ท่านรัฐมนตรีช่วยวีรพงษ์ที่เอาจริงเอาจังกับการพัฒนาตลาดหุ้นด้วยแล้วผมก็คิดว่าเป็นโอกานสเหมาะที่จะมาอยู่ตรงนี้" ชัยพัฒนาพูดถึงเหตุผลที่มาอยู่ตลาดหุ้นทั้งที่เงินเดือนและตำแหน่งต่ำกว่า

คนในวงการรู้กันทั่วไปว่ารายได้ผลตอบแทนที่มอร์แกนย่อมสูงกว่าที่ตลาดหุ้น คนที่มีประสบการณ์และความรู้อย่างชัยพัฒน์ โดยทั่วไปถ้าติดยึดอยู่ที่แรงจูงใจด้านเงินเดือนและผลตอบแทนเป็นหลักรับรองไม่มีใครมาอยู่

"ผมสามารถหางานในตลาดฯได้ง่ายดาย เมื่อไรก็ได้และเงินเดือนสูง ๆ ด้วยถ้าผมต้องการ" ชัยพัฒน์ยืนยันถึงปรัชญาการทำงานของเขา

แต่ความที่เขาไม่ต้องการหมกมุ่นอยู่กับงานทางวิชากรมากเกินไปจนภาพในตลาดธุรกิจมองเขาเป็นนักวิชาการมากกว่านักบริหาร "ตรงนี้ผมกลัวว่าจะเป็นเช่นนั้น"

เพราะจริง ๆ แล้วชัยพัฒน์มาอยู่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็เพื่อต้องการพิสูจน์ให้ตลาดฯ รู้ว่าเขาก็สามารถเป็นนักบริหารที่ดีได้ ถ้าต้องการเหมือนกับที่ในอดีตเขาต้องการแสดงให้ตลาดธุรกิจรู้ว่าเขาสามารถเป็นนักวิชาการที่ดีได้

ก็แปลกดีที่คนในตลาดธุรกิจการเงินระดับชั้นมันสมองมีประเภทนี้อยู่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us