|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ก.อุตฯจับมือกพร.เร่งยกระดับมาตรฐานเหมืองแร่ไทยขีดเส้นปี 2551 ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต้องเหลือ 0% ด้านเอกชนขานรับพยายามลดมลภาวะให้ได้ตามเป้าหมาย แม้ต้นทุนประกอบการจะสูงขึ้นดีกว่าให้ชุมชนและประชาชนประท้วง-ต่อต้าน ขณะที่มูลค่าการผลิตแร่กว่า 40,000ล้านในปีที่ผ่านมาเชื่อปีนี้โตกว่าเดิมอีก 10%
กระทรวงอุตสาหกรรมและกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.)มีนโยบายยกระดับมาตรฐานสถานประกอบการเหมืองแร่ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่อง 4 ปีตั้งแต่ปี 2547 - 2551 เพื่อมุ่งหวังให้สังคมยอมรับการประกอบการของธุรกิจเหมืองแร่ โดยตั้งเป้าหมายว่าภายในปี 2551 จะลดมลภาวะที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้เหลือ 0 % ขณะที่เอกชนก็ขานรับนำนโยบายไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลได้จริง
เกลือสินเธาว์สร้างมลภาวะมากสุด
ปิยะบุตร ชลวิจารณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวถึงการยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมเหมืองแร่ว่า ต้องยอมรับว่าอุตสาหกรรมเหมืองแร่ในปัจจุบันทั้งในประเทศและต่างประเทศได้สร้างมลภาวะ และมลพิษต่อชุมชนใกล้เคียงจำนวนมากทางกพร.จึงได้พยายามยกระดับอุตสาหกรรมดังกล่าวก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการเหมืองแร่ได้สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยมีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 57 และขณะนี้ลดเหลือร้อยละ 22 จึงตั้งเป้าหมายให้เหลือร้อยละ 0 ภายในปี 2551
สำหรับอุตสาหกรรมที่มีปัญหามากที่สุดคืออุตสาหกรรมเหมืองแร่เกลือสินเธาว์เป็นอุตสาหกรรมที่มีปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมมากที่สุด จึงพยายามทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ให้ลดการผลิตแร่ดังกล่าวส่วนใหญ่จะอยู่ภาคอีสานซึ่งทางกพร.มีแผนแม่บทที่ดูแลสิ่งแวดล้อมอยู่แล้วโดยมีการกำหนดมาตรฐานสิ่งแวดล้อมไว้ชัดเจน พร้อมกับส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบตามเหมืองแร่ต่างๆมีการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมได้ตามมาตรฐานหรือไม่
โดยผู้ประกอบทั้งรายเก่าและรายใหม่ที่จะเข้ามาจะปฏิเสธมาตรการดังกล่าวไม่ได้เพราะการทำเหมืองก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ การลงทุนจึงต้องทำตามระเบียบที่กพร.กำหนดไว้ทุกประการในการขอสัมปทานบัตรขุดเหมืองแร่ต่างๆ
“ข้ออ้างที่ว่าจะเพิ่มต้นทุนในการผลิตฟังไม่ได้ เพราะการขุดเจาะ เปิดหน้าดินต่างๆต้องกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการจึงควรคืนกำไรสู่สังคมให้สังคมในละแวกเหมืองอยู่ได้ด้วย ”รมช.อุตสาหกรรมระบุ
ฟันธงปีนี้ขยายตัวกว่า 10%
สำหรับแนวโน้มการลงทุนอุตสาหกรรมเหมืองแร่ปีนี้น่าจะขยายตัวในระดับ 10% จากมูลค่าการผลิตแร่ 4 หมื่นล้านบาท เพราะราคาแร่โลหะในต่างประเทศมีราคาสูง จึงเป็นแรงจูงใจให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมประเภทนี้เพิ่มขึ้นได้โดยนอกจากเหมืองแร่ทองคำที่สร้างรายได้ให้กับประเทศแล้วยังมีแร่ยิปซัม แร่ดีบุก ที่มีเอกชนให้ความสนใจลงทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งอุตสาหกรรมเหมืองแร่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศ และช่วยสร้างรายได้เข้าประเทศโดยในปีที่ผ่านมามีการผลิตแร่คิดเป็นมูลค่ากว่า 4 หมื่นล้านบาทแบ่งเป็นผลิตเพื่อใช้ในประเทศ 3.5 หมื่นล้านบาทและการส่งออกแร่ที่มีการตกแต่งเพื่อสร้างมูลค่าแล้ว 1.7 หมื่นล้านบาททำให้รัฐสามารถเก็บค่าภาคหลวงได้ปีละ 1.6 พันล้านบาท
‘อัคราไมนิ่ง’ เดินหน้าทำเหมืองทอง
ขณะที่ตัวเลขล่าสุดจากกพร.มีผู้มายื่นขอเพิ่มเติม 3 รายทั้งผู้ลงทุนทำเหมืองทองคำอยู่และนักลงทุนรายใหม่ ได้แก่ 1. บริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด ยื่นขอประทานบัตรทำเหมืองทองคำ 9 แปลงบริเวณรอยต่อ จ.พิจิตรและเพชรบูรณ์ ซึ่งมีปริมาณสำรองทองคำ 23.9 ตันและโลหะเงิน 171 ตันมูลค่า 20,000 ล้านบาท 2.บริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัดยื่นขออาชญา-บัตรพิเศษเพื่อสำรวจแหล่งแร่ทองคำจ.พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ 95 แปลง 3. บริษัทไทยโกล-บอล์เวนเจอร์ จำกัด จากออสเตรเลีย ยื่นขออาชญาบัตรสำรวจทองคำที่ จ.พิจิตร และเพชรบูรณ์ 5 แปลง
เอกชนขานรับยกรับสิ่งแวดล้อม
แหล่งข่าวจากสภาการเหมืองแร่ กล่าวว่า การทำเหมืองแร่ในปัจจุบันทางสภาการเหมืองแร่ได้ย้ำให้สมาชิกดำเนินการตามกรอบกติกาและกฎระเบียบของทางการอย่างเคร่งครัด พร้อมกับดูแลสิ่งแวดล้อมให้กับชุมชน โดยไม่ได้คำนึงถึงต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเพราะหากชุมชนใกล้เคียงไม่ยอมรับก็เป็นไปได้ยากว่าโรงงานหรือเหมืองต่างๆจะอยู่ได้และหากบานปลายถึงขั้นมีการต่อต้านประท้วงจากชุมชนใกล้เคียงก็จะทำให้กระทบเรื่องธุรกิจที่กระทำอยู่ ซึ่งสภาการฯได้ย้ำกับสมาชิกว่าหลังการทำเหมืองแร่ปัจจุบันให้มีการพัฒนาพื้นที่ให้สามารถใช้ปลูกพืช เช่น มังคุด เงาะ ยางพารา เช่น ในภาคใต้ได้ นับเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มภายหลังการทำเหมืองแร่และนำธรรมชาติกลับคืนสู่ชุมชนและสิ่งแวดล้อมด้วย
“ทางสภาการฯได้ย้ำสมาชิกมานานแล้วและได้พยายามปรับตัวมาตลอดจึงเชื่อว่าภายในปี 2551 จะได้เห็นอุตสาหกรรมเหมืองแร่ที่ไร้ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้” แหล่งข่าว ระบุ
อย่างไรก็ตามแม้เศรษฐกิจไทยจะค่อนข้างชะลอตัวแต่อุตสาหกรรมเหมืองแร่ก็ได้พยายามร่วมมือกับภาครัฐที่จะแก้ไขข้อขัดข้องหลายประการและช่วยลดต้นทุน เช่น การประกาศลดขั้นตอนต่างๆ ตลอดจนการปรับลดค่าภาคหลวง ซึ่งขณะนี้ได้ประสานงานกับภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่พยายามทำให้อุตสาหกรรมดีขึ้น
|
|
|
|
|