|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
การระบุพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ มีการใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจของทักษิณ ชินวัตร โดยคตส. นั้น พุ่งเป้าไปยังกล่องดวงใจอาณาจักรชินคอร์ปของทักษิณ และตระกูลชินวัตร แบบเต็มๆ โดยมีจุดโฟกัสที่การเมืองเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ ภายใต้บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือเอไอเอส และธุรกิจดาวเทียม ภายใต้บริษัท ชิน แซทเทิลไลท์ จำกัด(มหาชน) หรือชินแซท
พฤติการณ์ที่คตส. ได้ระบุแบ่งออกเป็น 6 ส่วนหลักๆ ได้แก่ การแก้ไขสัญญาข้อตกลงลดส่วนแบ่งรายได้ค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า (พรีเพด) เพื่อประโยชน์แก่บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือ ADVANC และการแก้ไขสัญญาข้อตกลงปรับเกณฑ์การตัดส่วนแบ่งรายได้ให้บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ ADVANC
ใน 2 พฤติการณ์แรกนี้ การแก้ไขสัญญาพรีเพดและโพสต์เพดทำให้รัฐสูญเสียงรายได้ถึง 9 หมื่นล้าน ทั้งนี้เอไอเอส ได้รับสัมปทานจากบริษัท ทีโอที ให้บริการระบบจีเอสเอ็มทั่วประเทศ ระยะเวลา 20 ปี ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2533 ถึงวันที่ 30 ก.ย. 2553 โดยต้องจ่ายส่วนแบ่งให้ทีโอที ในอัตรา 20% 25% และ 30% ในช่วง 4 ปีสุดท้าย ซึ่งต่อมาได้เปิดให้บริการในระบบเติมเงิน(พรีเพด) โดยยึดส่วนแบ่งเช่นเดียวกับโพสต์เพด
ต่อมาเอไอเอได้แก้ไขสัญญาเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2544 ปรับลดส่วนแบ่งรายได้ในส่วนของพรีเพดจาก 25% เหลือ 20% ตลอดอายุสัญญาสัมปทาน ส่งผลให้ทีโอทีต้องสูญเสียรายได้รวม 9 หมื่นล้านบ่าท
ที่สำคัญการแก้ไขสัญญาดังกล่าว เกิดขึ้นหลังปี 2535 แต่ไม่ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมหรือดำเนินงานของรัฐ พ.ศ.2535 ซึ่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) ได้ส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความและผลการตีความ คือผิด พ.ร.บ.ร่วมทุน แล้วขณะนี้จึงอยู่ระหว่างการเจรจาส่วนแบ่งรายได้ใหม่ โดยไอซีทีต้องการให้ปรับขึ้นเป็น 30% ทั้งโพสต์เพดและพรีเพด ตามสัญญาเดิมที่กำหนด เพราะหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไป จะส่งผลให้ทีโอทีต้องสูญเสียรายได้มากถึง 1.4 แสนล้านบาท
นอกจากที่จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้จำนวนมหาศาลจากการแก้ไขสัญญาสัมปทานแล้ว ยังทำให้ธุรกิจของเอไอเอสสามารถทำธุรกิจได้ดีกว่าบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายอื่นด้วย เหมือนการที่ถือไพ่เหนือกว่าคู่แข่งขันเรื่องสัมปทานที่จ่ายให้รัฐน้อยกว่าคู่แข่งขันทางธุรกิจอย่างมาก ผู้ให้บริการรายอื่นจึงไม่สามารถที่จะสู้กับเอไอเอสทั้งในแง่ของฐานผู้ใช้ รายได้และผลกำไร
พฤติการณ์ต่อไป ที่คสต.ได้ระบุไว้ คือ การตราพระราชกำหนดภาษีสรรพสามิตในกิจการโทรคมนาคม และได้มีมติคณะรัฐมนตรีแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิตเพื่อประโยชน์แก่ ADVANC
ในประเด็นนี้ เกิดขึ้นสมัยครม.ทักษิณ ได้มีมติผ่าน พรก.เก็บภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคมในอัตรา 50% กำหนดให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมต้องเสียงภาษีสรรพสามิตและมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 28 ม.ค.2546 พร้อมทั้งให้กระทรวงการคลังประกาศลดภาษีโทรคมนาคมแบ่งเป็นโทรศัทพ์มือถือ 10% และโทรศัพท์พื้นฐาน 2%
และเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2546 ครม.ทักษิณมีมติให้บริษัทร่วมการงานของทีโอที และ กสท โทรคมนาคม ทุกราย ได้แก่ เอไอเอส ทรู คอร์ปอเรชั่น ทีทีแอนด์ที ดีแทคและดิจิตอลโฟน หรือดีพีซี สามารถนำภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคม ที่เอกชนต้องจ่ายให้กับทีโอที และกสท หักออกจากส่วนแบ่งรายได้ที่ต้องจ่ายให้กับทีโอที และ กสท ได้ส่งผลให้ทั้งสองหน่วยงานต้องแบกภาษีแทนคู่สัญญาตั้งแต่ปี 2546-2548 รวม 4 หมื่นล้านบาท เฉพาะในส่วนของเอเอสและดีพีซี คิดเป็นมูลค่า 30,667 ล้านบาท ด้วยการให้เหตุผลว่ารัฐบาลขณะนั้น ต้องการภาษีมาใช้โดยตรง ไม่ผ่านหน่วยงานเจ้าของสัมปทาน เนื่องจากในช่วงเวลานั้นรัฐบาลต้องการรายได้มาบริหารประเทศโดยตรง แทนการรอรายได้จากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง
ทั้งสามพฤติการณ์ข้างต้นเน้นไปที่ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ของเอไอเอสโดยเฉพาะ สำหรับอีก 3 พฤติการณ์ของคตส.โฟกัสมายังธุรกิจดาวเทียม ไม่ว่าจะเป็น การให้ทีโอทีเช่าและลงทุนระบบคลื่นความถี่ดาวเทียมของบริษัท ชิน แซทเทลไลท์ จำกัด(มหาชน) หรือ SATTEL โดยไม่จำเป็น การสั่งการให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยให้รัฐบาลสหภาพพม่ากู้เพื่อซื้อสินค้าและบริการของ SATTEL ในจำนวนเงินกู้ 1 พันล้านบาท และการอาศัยการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ นำผลประโยชน์ของชาติแลกเปลี่ยนบุกเบิกตลาดธุรกิจดาวเทียมให้แก่สายธุรกิจดาวเทียมในเครือ SATTEL เพิ่มมูลค่าธุรกิจดาวเทียมของ SATTEL เป็นอันมาก
ทักษิณได้ใช้การเมืองเข้ามาเอื้อประโยชน์โดยกำหนดให้ทีโอที เช่าใช้สัญญาของดาวเทียมไอพีสตาร์ โดยบริษัท ชิน แซทเทลไลท์ ผู้ให้บริการดาวเทียมไทยคม และไอพีสตาร์ได้เสนอบริการเครือข่ายสื่อสารผ่านดาวเทียมและสถานีภาคพื้นดินโดยใช้เทคโนโลยีไอพีสตาร์ หรืออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านดาวเทียม ด้วยการให้เช่าระบบเครือข่ายไอพีสตาร์เป็นเวลา 7 ปี เพื่อเพิ่มศักยภาพโครงข่ายโทรคมนาคม ของทีโอที ซึ่งทีโอทีจะเป็นผู้ให้บริการหลักในประเทศ ของดาวเทียมไอพีสตาร์ หรือไทยคม 4 แต่เพียงผู้เดียว ส่งผลให้ต้นทุนการให้บริการของทีโอทีถูกลง โดยเฉพาะค่าเช่าช่องสัญญาณดาวเทียมจากดวงอื่นจากเดิมที่มีค่าเช่าสูงถึงปีละ 2.2 พันล้านบาท เหลือเพียงไม่เกินปีละ 524 ล้านบาท
การเช่าใช้ช่องสัญญาณไอพีสตาร์ครั้งนั้น ทีโอทีไม่ได้มีแผนระยะยาว ว่าจะต้องถึงจุดคุ้มทุนภายในปีใด แต่คณะกรรมการ ทีโอที มีมติเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2548 ให้เช่าใช้เครือข่ายของไอพีสตาร์ ในปีแรก 400 ล้านบาทต่อปี และปีที่ 2-7 อัตรา 475 ล้านบาทต่อปี รวมทั้งอนุมัติให้ทีโอทีจัดซื้ออุปกรณ์เชื่อมต่อสาธารณะ หรือเอทีเอ (Analog Telephone Adapter) ในราคาประมาณ 8 พันบาทต่อจุดจากชิน แซท ได้ตามความเหมาะสม
ในความเป็นจริงแล้ว ทีโอที ไม่จำเป็นต้องเช่าใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมของไอพีสตาร์ทั้งหมด ระหว่างที่ยังสามารถหาลูกค้าได้เต็มจำนวน ส่งผลให้ ทีโอที ต้องสูญเสียรายได้ 700 ล้านบาททันที
คตส. ยังได้ระบุถึงการใช้อำนาจหน้าที่ทางด้านการเมือง ผลักดันให้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542 ให้บุคคลต่างด้าวถือหุ้นในบริษัทสื่อสาร จากเดิมไม่เกิน 25% เป็นไม่เกิน 50% พร้อมๆ กับการเจรจาเพื่อขายหุ้นชินคอร์ปที่ถืออยู่ 49.2% ให้แก่กองทุนเทมาเส็กของประเทศสิงคโปร์ โดยได้รับเงินจากการขายหุ้นทั้งหมด 73,271 ล้านบาท
การแก้ไขพรบ.ดังกล่าวเป็นการแก้ไขก่อนที่ตระกูลชินวัตรจะตัดสินใจขายหุ้นทั้งหมดให้กับกองทุนเทมาเส็กเพียงไม่กี่วันเท่านั้น พฤติการณ์ดังกล่าวจึงน่าจะเป็นการเอื้อประโยชน์ในการขายหุ้นที่มูลค่าสูงสุดของประเทศไทยอย่างที่ไม่เคยขึ้นมาก่อน
|
|
 |
|
|