Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน15 มิถุนายน 2550
ดัชนีความเชื่อมั่นดิ่งเหวติด 8 ด.             
 


   
search resources

Economics




สำรวจความเชื่อมั่นคนไทยช่วงกลางเดือนมิ.ย. ดิ่งเหวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 หลังการเมืองร้อน การชุมนุมประท้วงขยายวง คาดการบริโภคชะลอตัวไปจนถึงไตรมาส 4 หอการค้าไทยห่วงเศรษฐกิจครึ่งปีหลังแย่ หลังไม่เห็นสัญญาณฟื้นตัว เพราะการบริโภคชะลอตัว ลงทุนไม่เพิ่ม ก่อสร้างไม่เกิด รัฐจ่ายงบประมาณล่าช้า แถมนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐบาลอ่อนปวกเปียก “ประมนต์”ชี้ต่างชาติชะลอลงทุน ขณะที่ญี่ปุ่นส่อแววทิ้งไทย

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนายการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า จากการสำรวจประชาชนทั่วประเทศ 897 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 9-12 มิ.ย. ซึ่งเป็นการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคอย่างไม่เป็นทางการ และเกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์ศาลรัฐธรรมนูญมีคำตัดสินเกี่ยวกับคดียุบพรรค และสถานการณ์ชุมนุมทางการเมืองที่ท้องสนามหลวง พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคกลางเดือนมิ.ย. ตกลงทุกกรายการติดต่อกันต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8

โดยดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมกลางเดือนมิ.ย. อยู่ที่ 71.0 ลดจากเดือนพ.ค. ที่ระดับ 71.4 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางาน 71.6 ลดจาก 72.2 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต 86.7 ลดจาก 87.1 ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคกลางเดือนมิ.ย. อยู่ที่ 76.4 ลดจากเดือนพ.ค. ที่ระดับ 76.9 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในปัจจุบันอยู่ที่ 74.4 ลดจาก 74.9 และดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอนาคต 74.3 ลดจาก 74.8

ปัจจัยที่ทำให้ดัชนีทุกรายการปรับตัวลดลง เป็นผลจากความไม่ชัดเจนทางการเมือง ที่เกิดขึ้นจากการชุมนุมของกลุ่มทางการเมือง ณ ท้องสนามหลวง ได้ส่งผลต่อจิตวิทยาเชิงลบต่อผู้บริโภคอย่างหนัก โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่เห็นว่าการเมืองในปัจจุบันมีความไม่แน่นอนสูง ทำให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงได้ในอนาคต ซึ่งผลกระทบจากการชุมนุมของกลุ่มการเมืองนี้ ได้หักล้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เริ่มจะปรับตัวดีขึ้นหลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำตัดสินเกี่ยวกับคดียุบพรรคจนหมด ทำให้คาดว่าการบริโภคของประชาชนจะยังชะลอตัวไปจนถึงไตรมาส 3 นี้

“การสำรวจที่เกิดขึ้นนี้ เป็นผลอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งต้องรอรวบรวมความคิดเห็นของผู้บริโภคเกี่ยวกับความเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยในภาพรวมของเดือนมิ.ย.อีกครั้งหนึ่ง แต่ก็เป็นสัญญาณที่บอกว่าปัจจัยทางด้านการเมืองเริ่มมีผลรุนแรงมากขึ้น และเป็นปัจจัยที่ทำให้การบริโภคหดตัวลงเรื่อยๆ”นายธนวรรธน์กล่าว

ทั้งนี้ หากการเมืองยังไม่นิ่ง มีแนวโน้มว่าการบริโภคภายในประเทศ การลงทุน อาจชะลอตัวไปจนถึงไตรมาส 4 ทำให้ปีนี้ต้องฝากความหวังไว้ที่ภาคการส่งออกเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ดังนั้น รัฐบาลต้องเร่งดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาทไม่ให้มีปัญหามากระทบภาคการส่งออก โดยควรรักษาระดับค่าเงินบาทให้อยู่ที่ 35 บาทต่อเหรียญสหรัฐ

นายดุสิต นนทะนาคร รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังยังน่าวิตก โดยพิจารณาจากการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวเพียง 1.3% ตัวต่ำสุดในรอบ 7 ปี การลงทุนต่ำสุดในรอบ 5 ปี ขยายตัวติดลบ 2.4% การก่อสร้างติดลบ 0.7% เครื่องจักรขยายตัวติดลบ 2.9% การใช้จ่ายภาครัฐเพียง 50% ต่ำกว่าแผนการใช้งบประมาณปี 2550 ถึง 28.68% และยังมีปัญหาการว่างงานสูงถึง 5 แสนคน ซึ่งได้มอบหมายให้แต่ละอุตสาหกรรมไปหาสาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขแล้ว

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยแม้จะมีปัจจัยช่วยจากภาคการส่งออก โดยไตรมาสแรกขยายตัว 18% ก็จริง แต่ธุรกิจยังกังวลปัญหาค่าบาทแข็ง ผู้ผลิตหันส่งออกชดเชยยอดขายในประเทศที่ลดลง ซึ่งแม้จะขาดทุนก็ยอมขาย ส่วนการเกินดุลการค้าคิดเป็นเงินบาทเพิ่มเพียง 7% ที่สำคัญขณะนี้ ตู้คอนเทนเนอร์ขากลับเข้าไทยว่างเปล่าถึง 30% แสดงว่านำเข้าสินค้าสำคัญลดลง ซึ่งเป็นสัญญาณไม่ดีต่อภาคการส่งออกในอนาคต

“ยังไม่มีสัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่าครึ่งปีหลังเศรษฐกิจจะดีขึ้น มาตรการที่รัฐบาลนำมาใช้ก็ยังไม่เห็นผล เช่น ลดหย่อนด้านอสังหาริมทรัพย์ก็ให้ประโยชน์กับคนซื้อบ้านเกิน 1 ล้านบาท ที่ต่ำกว่าล้านบาทก็มีมาก แต่ไม่ได้รับประโยชน์ และหากเจอการเมืองซ้ำ ข่าวลบ และน้ำมันที่แพงขึ้น จะตอกย้ำทำให้ความเชื่อมั่นลดลงไปถึงปีหน้า เมื่อลงแล้วการจะฟื้นตัวก็ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3-9 เดือน”นายดุสิตกล่าว

ดังนั้น แนวทางแก้ไขปัญหาในระยะสั้น รัฐบาลต้องเร่งผลักดันการใช้งบประมาณตามเวลาที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องเซ็นสัญญาการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ให้เสร็จภายในรัฐบาลชุดนี้ เร่งรัดแก้ปัญหาด้านกฎหมาย เช่น พ.ร.บ.ค้าปลีกค้าส่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ปัญหาสิทธิบัตรยา ซึ่งต่างชาติกังวลเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เร่งให้มีการเลือกตั้ง แก้ปัญหาภาคใต้ให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ทั้งในด้านความปลอดภัย ความมั่นใจ และทางเศรษฐกิจ และรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่ามากกว่า 35-37 บาท

นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า ขณะนี้หอการค้าต่างประเทศมีการแสดงความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจไทยอย่างมาก แต่ก็เข้าใจในสถานการณ์ ขณะที่นักลงทุนต่างชาติได้มีการรอดูสถานการณ์ และชะลอการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่บ้างแล้ว ส่วนญี่ปุ่นพบว่า มีการสำรวจประเทศที่น่าลงทุนในแถบเอเชียอยู่ ซึ่งหากเหตุการณ์บานปลาย มีการดำเนินการทางทหาร ก็จะทำให้บรรยากาศยิ่งแย่ลง ดังนั้น รัฐบาลต้องแสดงให้เห็นว่าจะไม่มีความรุนแรง และดึงความเชื่อมั่นให้กลับคืน ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวในระดับ 3.5-4% ได้

ส่วนกรณีที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ควรเดินทางกลับประเทศไทยในระยะนี้หรือไม่ นายประมนต์ กล่าวว่า คงเป็นสิทธิส่วนบุคคลและวิจารณญาณของพ.ต.ท.ทักษิณ ที่จะกระทำได้ แต่หากเดินทางเข้ามาประเทศไทยแล้วก่อให้เกิดปัญหาต่อส่วนรวมก็ไม่ควร และมีโอกาสเกิดผลกระทบต่อส่วนรวมแน่นอน ซึ่งจะเป็นอีกปัจจัยก่อให้เกิดความหวาดระแวงและกังวลใจ

สำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วม (สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสถาบันธนาคารไทย) กับพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ในเดือนก.ค.นี้ จะเสนอให้มีมาตรการช่วยเหลือจังหวัดภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อการร้าย ซึ่งที่ผ่านมา ยังไม่เพียงพอ โดยจะขอเพิ่มพื้นดูแลและการได้สิทธิพิเศษเพิ่มเติม เช่น ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เพิ่มวงเงินการกู้เงิน ปรับลดภาษี เพิ่มสนับสนุนส่วนต่างเบี้ยประกันภัยที่เพิ่มขึ้นจากการก่อการร้าย และขยายพื้นที่ดูแลความปลอดภัย ในจังหวัดสงขลา เป็นต้น รวมถึงการ.เร่งรัดการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ การลดต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us