Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2534
ผ่าตัดใหญ่ ธ.ก.ส.             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

   
search resources

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร - ธ.ก.ส.
Interest Rate




เร็ว ๆ นี้จะเกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) แหล่งเงินทุนราคาถูกสำหรับเกษตรกร ชาวนาชาวไร่และบรรดาหัวคะแนนของอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหลาย

แหล่งข่าวระดับสูงใน ธ.ก.ส. เปิดเผยกับ "ผู้จัดการ" ว่า "ตอนนี้คณะกรรมการธนาคารฯ ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากสำนักงานกฤษฎีกาฯ กำลังดูถ้อยคำในตัวร่างแก้ไขพระราชบัญญัติธนาคารฯ อยู่คาวด่าอีกไม่นานคงจะเรียบร้อยส่งให้ท่านรัฐมนตรีฯ พิจารณานำเข้าที่ประชุมสภาฯ เพื่อขออนุมัติได้"

กล่าวกันว่าการแก้ไขพระราชบัญญัติ ธ.ก.ส.ต้องใช้เวลายาวนานมาก ฟังแล้วคล้ายเรื่องอาถรรพ์ กระทั่งตัวผู้จัดการ ธ.ก.ส.เองก็เปลี่ยนแล้วเปลี่ยนอีก

หากความพยายามแก้ไข พ.ร.บ.ครั้งนี้บรรลุก็เท่ากับเป็นการล้างอาถรรพ์ได้สำเร็จ

เพราะร่างแก้ไข พ.ร.บ.นั้นผ่านรัฐมนตรีมาถึง 3 คน 3 ครั้งแต่ก็มีอันเป็นไปด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งเสมอ จนมาถึงมือรัฐมนตรีคลังคนที่มาจากการแต่งตั้งครั้งนี้ - ดร.สุธี สิงห์เสน่ห์ หลายฝ่ายที่ลุ้นการแก้ไขกันมานานจึงได้โอกาสวาดฝันให้เป็นจริง

ประเดิมด้วยการเพิ่มช่องทางการหารายได้ให้ ธ.ก.ส. โดยเฉพาะในเรื่องของการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และการลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก

นายสุวรรณ ไตรผล ผู้จัดการธนาคารฯ ได้พยายามเสนอเรื่องนี้ต่อรัฐมนตรีว่การกระทรวงการคลังคนก่อนคือนายบรรหาร ศิลปอาชาตั้งแต่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นจังหวะที่ธนาคารพาณิชย์และธนาคารกรุงไทยร่วมกันลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทต่าง ๆ ลงประมาณร้อยละ 0.5

ในที่สุด ธ.ก.ส.ก็ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากทุกประเภทลงได้ร้อยละ 0.5 ทำให้อัตราดอกเบี้ยฯ ของ ธ.ก.ส. เท่ากับของธนาคารกรุงไทยซึ่งต่างเป็นรัฐวิสาหกิจ

ความสำเร็จนี้เกิดขึ้นหลังจากการยึดอำนาจทางการเมืองของคณะรสช. เพียงไม่กี่วัน

ในส่วนของการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้นั้นได้มีการอนุมัติไปเรียบร้อยแล้ว โดยผู้กู้ในวงเงินตั้งแต่ 60,000-1,000,000 บาทจะปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มอีก 2% จากปัจจุบันที่คิดอัตราดอกเบี้ย 12.5% อัตราดอกเบี้ยใหม่จะเท่ากับ 14.5% สำหรับผู้กู้รายย่อยจะไม่มีการปรับอัตราดอกเบี้ย

นอกจากเรื่องการปรับอัตราดอกเบี้ยแล้ว ยังจะมีการแก้ไขมาตรา 9 ของพระราชบัญญัติฯ คือเรื่องการขยายเพิ่มเติมวัตถุประสงค์การทำธุรกิจของธนาคารฯ ให้ครอบคลุมการปล่อยสินเชื่อให้กลุ่มอาชีพขนาดย่อยหรือเกษตรกรที่อยู่ในโครงการเกษตรผสมผสาน

การแก้ไขที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือในมาตรา 7 ซึ่งมีการกำหนดขนาดทุนจดทะเบียนไว้ 4,000 ล้านบาท ปัจจุบันเรียกชำระไปแล้ว 3,505 ล้าบาท ทั้งนี้ได้มีการแก้ไขเพื่อเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 10,000 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายที่จะขยายการปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่เกษตรกรได้ต่อไป

"มันเป็นเรื่องไม่มีเหตุผลเลยที่ไปจำกัดเงินทุนจดทะเบียนไว้ไม่ให้เกิน 4,000 ล้านบาท" แหล่งข่าวพูดถึงกฎหมาย ธ.ก.ส.มาตรา 7 ที่ใช้อยู่ในขณะนี้ ซึ่งเป็นข้อจำกัดการเติบโตของธนาคารฯ

แหล่งข่าวระดับสูงกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ด้วยว่า "เมื่อแก้กฎหมายสมบูรณ์แล้ว ธ.ก.ส.จะมีบทบาทต่อเกษตรกรรายย่อยได้มากขึ้น"

ปัจจุบัน ธ.ก.ส.มีแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากธนาคารชาติโออีซีเอฟและเงินกู้จากรัฐบาลแคนาดา ธ.ก.ส.นำเงินเหล่านี้มาปล่อยกู้แก่เกษตรกรในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำอย่างมาก ๆ จนกล่าวกันว่าหากกู้แล้วเอามาฝากกับ ธ.ก.ส.อีก ก็ยังได้กำไร

วงเงินสินเชื่อทั้งหมดที่ ธ.ก.ส.ปล่อยให้กู้ ณ 31 มีนาคม 2533 มีรวมทั้งสิ้น 33,600 ล้านบาท ในจำนวนนี้มีสินเชื่อรายใหญ่วงเงินตั้งแต่ 1,000,000 บาท ขึ้นไปประมาณ 6% หรือคิดเป็น 2,016 ล้านบาทของวงเงินสินเชื่อทั้งหมด ที่เหลือเป็นผู้กู้รายย่อย

ว่ากันว่า วงเงินที่เกิน 1,000,000 บาทขึ้นไปนี้คนกู้ส่วนใหญ่ไม่ใช่เกษตรกร แต่เป็นพวก ส.ส.นักการเมืองทั้งสิ้นเพราะดอกเบี้ยต่ำกว่าแบงก์พาณิชย์มาก ประมาณ 3-4% และผลเช่นนี้ทำให้การจัดสรรเงินทุนในภาคเกษตรบิดเบี้ยวไปจากเป้าหมายที่กำหนดกันไว้

อย่างไรก็ดี ดูเหมือน ธ.ก.ส. จะประสบความสำเร็จอยู่บ้าง ในแง่ที่สามารถประคับประคองตัวเองให้อยู่รอดมาได้ทั้งที่ต้องเผชิญกับมรสุมการะเมืองมาทุกยุคทุกสมัย

ไหนจะต้องสนองนโยบายเฉพาะหน้าของรัฐบาลในการช่วยเหลือเกษตรกรเมื่อประสบภัยพิบัตรเป็นครั้งคราว และเกือบต้องดำเนินตามนโยบายของพรรคการเมืองเรื่องการยืดเวลาการชำระดอกเบี้ยเงินกู้ การขยายเพดานเงินกู้แก่เกษตรกรที่กู้เต็มวงเงินแล้ว ฯลฯ

ขณะเดียวกัน ในฐานะที่เป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งไม่ได้มีจุดหมายในเรื่องการหาผลกำไร แต่ก็ต้องบริหารตัวเองให้อยู่รอดให้ได้โดยไม่ได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากธนาคารชาติในเรื่องการขอเพิ่มวงเงินกู้ซอฟต์โลน ธ.ก.ส.จำเป็นที่จะต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารอย่างเต็มที่ เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นที่รู้กันว่ามีต้นทุนที่แพงกว่าทุกแบงก์

แหล่งข่าวระดับสูงเปิดเผยว่าต้นทุนการดำเนินงานของ ธ.ก.ส.สูงถึง 4.86% ขณะที่ธนาคารทั่วไปมีต้นทุนแค่ 2% เท่านั้น

"PROFIT MARGIN ของ ธ.ก.ส.อยู่ที่ 5% แต่เมื่อหักต้นทุนการดำเนินงานแล้วจะเหลือ NET MARGIN ไม่ถึง 0.5%" แหล่งข่าวกล่าวถึงประสิทธิภาพการบริหารของ ธ.ก.ส.

ในการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของ ธ.ก.ส.ครั้งนี้ แหล่งข่าวกล่าวว่ามีการตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่าจะลดต้นทุนให้ลงมาเป็น 4% โดยส่วนที่ต้องปรับปรุงคือการปรับสัดส่วนบุคลากรต่อการเพิ่มจำนวนการดูแลครัวเรือนให้มากขึ้น ใช้ระบบว่าจ้างบุคลากรชั่วคราวในงานด้านเอกสาร เพื่อลดจำนวนเจ้าหน้าที่ในแผนกที่ไม่ใช่ธุรกิจลง

"หากลดต้นทุนลงเหลือ 4% ได้ ธ.ก.ส.อาจจะมีกำไรประมาณ 1%" แหล่งข่าวกล่าว

อย่างไรก็ดี การทำกำไรไม่ใช่เป้าหมายสำคัญของ ธ.ก.ส. สิ่งที่ควรจะเป็นคือ ธ.ก.ส.ต้องสามารถบริหารงานเพื่อเลี้ยงตัวเองได้และสนองตอบนโยบายของรัฐบาลอย่างมีประสิทธิภาพ

นี่คือหัวใจของการผ่าตัดครั้งสำคัญครั้งนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us