Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2543
สตีฟ เคส             
โดย รุ่งมณี เมฆโสภณ
 


   
search resources

AOL Time Warner
Steve Case
Networking and Internet




บรรยากาศรื่นเริงเถลิงศกใหม่ ยังไม่ทันจางดี ก็เกิดมีข่าวบันลือโลกให้ ครึกครื้นกันอีก!

เมื่อมีการประกาศควบรวมกิจการของสองบริษัทยักษ์ใหญ่ในสหรัฐ อเมริกา ระหว่างสื่อใหม่ ที่เป็นยักษ์ใหญ่ทางด้านอ ินเตอร์เน็ตคือ เอโอแอล หรือ อเมริกา ออนไลน์ (AOL - America Online) กับสื่อเก่า ที่ถือได้ว่าเป็นยักษ์ใหญ่ทั้งทางด้านสื่อสิ่งพิมพ์เคเบิลทีวี ภาพยนตร์ และสิ่งบันเทิงต่างๆ ของโลกอย่างไทม์ วอร์เนอร์ ( Time Warner)

พร้อมๆ กันนั้น ชื่อของสตีฟ เคส (Steve Case) ซึ่งเป็นประธานบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ AOL ก็โด่งดังไปทั่วโลก เพราะเขาจะขึ้น เป็นประธานบริษัทใหม่ ที่เกิดจากการควบรวมกิจการครั้งนี้ ซึ่งจะใช้ชื่อว่า AOL Time Warner โดยที่เจอรัลด์ เลวิน (Gerald Levin) ประธานบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหารของไทม์ วอร์เนอร์ จะลดตำแหน่งลงมาเป็นเพียงประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

ถ้าไม่มีการควบรวมกิจการคราวนี้ ชื่อของเคสก็อาจจะเป็นที่รู้จักกัน เฉพาะในสหรัฐฯ และผู้ที่สนใจในเรื่องราวของอินเตอร์เน็ตเท่านั้น เนื่องจากสมาชิกของ AOL ซึ่งมีมากกว่า 20 ล้านรายนั้น อยู่ในสหรัฐฯ เสีย เป็นส่วนใหญ่อีกสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เคสน่าสนใจมากยิ่งขึ้นเห็นจะเป็นเพราะเขายังหนุ่มแน่นอยู่นั่นเอง

เคสเกิด ที่เมืองโฮโนลูลู มลรัฐฮาวาย เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2501 ใน ครอบครัว ที่มีแม่เป็นครู พ่อเป็นนักกฎหมายประจำบริษัทแห่งหนึ่ง ที่นั่น เคสมีพี่น้องทั้งหมด 4 คน โดยตัวเขาเป็นคนที่ 3...คาริน (Carin) พี่สาวเป็นครู สอนเด็ก่อนวัยเรียน ขณะที่แดน (Dan) พี่ชายทำงานเป็นที่ปรึกษาด้านการลงทุน ซึ่งพี่ชายคนนี้นี่เอง ที่มีส่วนต่อชีวิตการงานของเขาอย่างมาก ส่วนน้องชายคนเล็กเจฟฟ์ (Jeff) ทำงานเป็นผู้บริหารบริษัทประกัน

เคสเรียนหนังสือ ที่โฮโนลูลูมาตลอด และระหว่าง ที่อยู่โรงเรียน Punahou ซึ่งแม่ของเขาสอนอยู่ ที่นั่นด้วยเคสได้เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ของโรงเรียน นอกจากนั้น เขายังเขียนสารคดี และวิจารณ์เพลงให้กับนิตยสาร Youth Unlimited ซึ่งเป็นนิตยสารสำหรับวัยรุ่นในฮาวายอีกด้วย ก่อน ที่จะมาเรียนในระดับปริญญาตรี ที่มลรัฐแมสซาชูเซตส์ โดยจบการศึกษาทางด้านรัฐศาสตร์จากวิลเลียมส์ คอลเลจ (Williams College) ซึ่งพ่อของเขาเองก็จบจาก ที่นี่เช่นกัน

ในระหว่างเรียนวิชาเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร ์เป็นวิชา ที่เคสให้ความสนใจน้อยที่สุด แต่กระนั้น เขาก็ติดใจความสามารถของคอมพิวเตอร์ ที่สามารถสื่อสารกันได้แม้ว่าจะอยู่ห่างไกลกัน

สตีฟ เคสได้ชื่อว่ามีหัว "เซ็งลี้" มาตั้งแต่เด็ก

สมัยเด็กเคสร่วมมือกับพี่ชายตั้งแผงขายน้ำผลไม้ใกล้บ้าน ส่งหนังสือพิมพ์ ก่อตั้งCase Enterprises เพื่อขายเมล็ดพันธุ์พืช และบัตรอวยพร ต่างๆ หลังจากนั้น สองพี่น้องนักธุรกิจน้อยก็ยังได้ตั้ง Aloha Sales Agency เพื่อจำหน่ายบัตรต่างๆ อีกด้วย

ด้วยพื้นฐานตั้งแต่ปฐมวัยนี่เอง ที่หนุนส่งให้เขากลายเป็นอัจฉริยะทาง ด้านการตลาดในเวลาต่อมา

ปี 2523 เคสเริ่มงานอาชีพครั้งแรกหลังจบปริญญาตรีด้วยการเป็นนักการตลาดให้กับพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (Proctor & Gamble) ตาม ด้วยการทำงานกับพิซซ่า ฮัท (Pizza Hut) โดยมีหน้าที่แสวงหาเครื่องปรุงหน้า (toppings) ที่แปลกๆ ใหม่ๆ สำหรับพิซซ่า

ชีวิตของเคสเข้ามายุ่งกับธุรกิจคอมพิวเตอร์ในปี 2526 เมื่อแดน เคสพี่ชายของเขา ซึ่งทำงานด้านวาณิชธนกิจได้แนะนำให้เขารู้จักกับผู้บริหารของ Control Video Corp. ที่เพิ่งเริ่มก่อตั้งบริษัทได้ไม่นาน โดยทำธุรกิจให้ บริการส่งมอบ Atari วิดีโอเกมสำหรับผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ซึ่งผู้บริหารของ Control Video Corp. ก็ได้รับเคสเข้าทำงานทันที ต่อมา Control Video Corp. ได้ปรับปรุงบริษัท และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Quantum Computer Ser-vices ให้บริการทางด้านออนไลน์กับบริษัท Commodore และเคสเองก็ประสบความสำเร็จในการเจรจากับ Apple Computer ในการพัฒนาระบบปฏิบัติการ และให้บริการออนไลน์ และไม่แต่กับ Apple เท่านั้น แต่ยังรวมถึง Tandy และ IBM อีกด้วย แต่ตอนนั้น เคสก็เกือบถูกให้ออกจากงานเพราะบริษัทมีค่าใช้จ่ายสูง

Quantum Computer Services เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น America Online (AOL) ในปี 2534 โดยที่เคสขึ้นดำรงตำแหน่งประธานบริษัท และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

ถ้าจะบอกว่าสตีฟ เคสเป็นไม้เบื่อไม้เมากับบิล เกตส์ (Bill Gates) แห่ง ไมโครซอฟท์ก็คงไม่ผิด

ในปี 2536 AOL ต้องเผชิญกับสถานการณ์ทางธุรกิจ ที่ทั้งพอล อัล เลน (Paul Allen) และเกตส์ สองผู้ก่อตั้งไมโครซอฟท์แสดงความจำนงอย่างไม่อ้อมค้อมว่าต้องการได้ AOL ไว้ในมือเกตส์นั้น ถึงกับเคยพูดในทำนองข่มขู่เคส และผู้บริหารของ AOL ว่าเขาสามารถซื้อหุ้น AOL 20 เปอร์เซ็นต์ หรือทั้งหมด หรือไม่ก็สามารถเข้ามาทำธุรกิจนี้เสียเอง แล้วก็ "ฝัง" AOL ได้ สบายๆ!

ดังนั้น จึงไม่แปลก ที่เคสมักจะพูดเสมอว่า มีคนอยู่กลุ่มหนึ่ง ที่จ้องจะ "ล้ม" AOL และเป็นหน้าที่ของเขา ที่จะทำให้แน่ใจว่า กรณีเช่นนั้น จะไม่เกิดขึ้นอย่างเด็ดขาด!

ถัดจาก ที่เผชิญหน้ากับไมโครซอฟท์เพียงปีเดียว AOL ก็ได้ขยายฐาน ทางธุรกิจด้วยการซื้อกิจการของหลายบริษัทเข้ามารวมทั้ง Advanced Network Servic es Inc., BookLink Technologies Inc., Global Network Navigator และ Novell Inc. ในปีเดียวกันนั้น เคสได้รับการยกย่องให้เป็นนักธุรกิจแห่งปี (Entrepreneur of the Year) จากนิตยสารอิงค์ (Inc. Magazine)

ถึงปี 2538... AOL ก็ร่วมทุนกับกลุ่มธุรกิจทางด้านสื่อของเยอรมนี เพื่อ ที่จะขยายฐานระหว่างประเทศ และในปีนั้น เอง ที่เคสเป็นหัวหอกเร่งเร้าให้ กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ สอบสวนว่าไมโครซอฟท์ทำผิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาดหรือไม่ จากการที่จะทำธุรกิจออนไลน์เพิ่มขึ้นมาจากการให้บริการทางด้านซอฟต์แวร์ ที่ไมโครซอฟท์ครองตลาดอยู่ แต่พอปีถัดมา AOL ก็ สงบศึกกับไมโครซอฟท์ หลังจากนั้น AOL ก็ได้ซื้อกิจการของคู่แข่งคือ CompuServe พร้อมกันนั้น ก็ให้บริการออนไลน์ในญี่ปุ่น

เรียกได้ว่า AOL ได้เติบโตแบบยั้งไม่หยุดฉุดไม่อยู่

แม้เคสจะต้องเผชิญปัญหาอยู่บ้าง อย่างเช่นปัญหาการให้บริการที่ช้าลง ของ AOL เนื่องจากจำนวนสมาชิกเพิ่มมากขึ้น และ ที่เลวร้ายที่สุดก็คือ ใน เดือนสิงหาคม 2539 เมื่อครั้ง ที่ AOL ไม่สามารถให้บริการได้นานถึง 19 ชั่วโมงขนาดหนังสือพิมพ์นิวยอร์ก ไทมส์ เอาไปพาดหัวว่า CHAOS @ AOL.COM ซึ่งเคสแก้ปัญหาด้วยการคืนเงินให้สมาชิกทุกรายรายละ 49 เซ็นต์

กรณีดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นถึงปรัชญาในการทำงานของเคสอย่างชัดเจน ที่ว่า "จะต้องติดต่อกับผู้บริโภคอยู่เสมอ"

นอกเหนือจากการทำงานชนิด ที่เรียกได้ว่า "บ้างาน" แล้ว เคสยังเป็นคนหนึ่ง ที่ไม่เคยเก็บงำความทะเยอทะยานทางธุรกิจ

เมื่อสักปีสองปีมานี่เอง ตอน ที่ AOL มีสมาชิกอยู่ประมาณ 11 ล้านราย เคสเคยบอกว่า เมื่อเขาหันมามองดูจำนวนผู้ที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกการบริการ ออนไลน์ ก็เห็นว่าอีกไกลแค่ไหน ที่ AOL จะต้องฝ่าฟันไป เพื่อครองตลาด ส่วนใหญ่บางคนบอกกับเขาว่า สตีฟ, คุณไม่มีทางเห็นแก้วน้ำใบนี้เป็นอื่นไปได้ นอกจากว่ามันว่างอยู่ครึ่งแก้ว ซึ่งสตีฟก็ตอบกลับไปว่า ไม่หรอก ด้วยจำนวนสมาชิก 11 ล้านรายนั้น มันเต็มอยู่ครึ่งแก้ว แต่ปัญหาก็คือ เราต้องการเติมน้ำในสระว่ายน้ำมากกว่า!!

สำหรับชีวิตส่วนตัว เคสเคยแต่งงานกับโจแอน (Joanne) ที่รักกันมาตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย ทั้งคู่มีลูกด้วยกัน 3 คน แต่ในที่สุดก็มีอันต้องมาแยกทางกันเดินในปี 2539 ช่วง ที่ธุรกิจของ AOL เติบโตแบบก้าวกระโดด ทั้งนี้ หลังจาก ที่เคสไปมีความสัมพันธ์พิเศษกับผู้บริหารสาวคนหนึ่งของ AOL ที่ชื่อ จีน วิลลานูวา (Jean Villanueva)

ตัวตนของเคสนั้น เป็นคนสบายๆ นิยมแต่งตัวด้วยสีกากี ขณะเดียวกันก็เป็นพวก ที่ชอบยกเท้าขึ้นพาดโต๊ะทำงาน โดยปกติเคสจะเป็นคนนิ่งๆ เฉยๆ ติดจะขี้อาย ชอบ ที่จะอยู่เงียบๆ ไม่แสดงอารมณ์ความรู้สึกใดใด และไม่ชอบพูดเรื่องไร้สาระ ด้วยลักษณะนิสัยเช่นนี้นี่เอง ที่ทำให้คน AOL เรียกขานเขาว่า "เดอะวอลล์ - The Wall" เข้าทำนองยากแท้หยั่งถึง!

ดังนั้น ภาพของสตีฟเคส ที่เริงร่าหน้าบานขณะที่สวมกอดกับเจอรัลด์ เลวินแห่งไทม์ วอร์เนอร์ในวันประกาศการควบรวมกิจการระหว่าง AOL กับ ไทม์ วอร์เนอร์จึงกลายเป็นภาพ ที่สร้างความประหลาดใจให้กับผู้ที่รู้จักเคส เป็นอย่างมาก เพราะนั่นมิใช่พฤติกรรมปกติของเคส

แต่ในห้วงเวลาแห่งการประกาศชัยชนะทางธุรกิจเช่นนั้น ใครเลยจะเก็บงำอารมณ์ต่อไปได้ แม้แต่เคสเองก็เถอะ...

เคสเคยกล่าวไว้ครั้งหนึ่งว่า เขาถูกโน้มน้าวให้เชื่ออยู่เสมอว่า AOL ไม่ ควรจะอยู่ใต้อาณัติของใคร และวันนี้ไม่เพียงแต่ AOL จะไม่อยู่ภายใต้อาณัติ ของใครเท่านั้น แต่ AOL ยังผงาดเหนือใครต่อใครในโลกของธุรกิจสื่อ ในยุคที่เรียกขานกันว่า "ศตวรรษแห่งอินเตอร์เน็ต"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us