Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2534
"ศูนย์แพนคลีนิค" โตด้วยยุทธวิธีซื้อด้วยขายเชือก             
โดย สุปราณี คงนิรันดรสุข
 

   
related stories

อาณาจักรธุรกิจของไบโอไฟล์ คอร์ปอเรชั่น

   
www resources

โฮมเพจ แพนคอสเมติก

   
search resources

แพนคอสเมติก
พินสวัสดิ์ สุวรรณประกร
Pharmaceuticals & Cosmetics




STRATEGIC PLAN ของแพนคอสเตมิตเกี่ยวกับการขยายศูนย์บริการ "แพนคลีนิค" หรือ "แพนบิวตี้แคร์" ตั้งแต่ปี 2527 จนกระทั่งถึงขณะนี้ครอบคลุมทั่วประเทศ 56 แห่ง เป็นยุทธวิธีการตลาดที่ทำให้แพนคอสเมติคเติบโตในตลาดเวชสำอางเพราะว่า

หนึ่ง - การบริการที่ควบคู่ผลิตภัณฑ์แพนนั้นได้สร้างความเชื่อมั่นและความรับผิดชอบต่อลูกค้า สอง - เป็นกลไกส่งเสริมการขาย สาม - เป็นภาพพจน์ของแพนคอสเมติคในแง่เสริมการประชาสัมพันธ์ทั่วประเทศ ให้ความรู้ด้านสาธารณสุขขั้นมูลฐาน

"สิ่งที่เราทำมาได้พิสูจน์แล้วว่าเดินมาถูกต้อง ตรงกับยุคสมัยที่ว่าการทำธุรกิจต้องให้บริการและรับผิดชอบต่อลูกค้า" พินสวัสดิ์ สุวรรณประกร กล่าวอย่างมั่นใจ

การเริ่มต้นที่ดีก็เหมือนกับงานนั้นสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง ศูนย์ "แพนคลีนิค" กลายเป็นจุดบริการที่ให้กับลูกค้าแพนคอสเมติค (SERVEEND USERS) โดยตรงและเป็นการส่งเสริมการขายของร้านค้าอีกด้วย

"เราเคยคิดมากทีเดียวในระยะแรก ๆ ว่า เราจะทำระบบแฟรนไชซิ่งดีไหม ? แต่ในที่สุดประเด็นที่เราคิดตกก็คือ เราควบคุมเขาไม่ได้ เพราะเรื่องระบบการให้บริการเป็นเรื่องละเอียดอ่อน" พินสวัสดิ์ ผู้บุกเบิกตลาดย้อนอดีตให้ฟัง

นับตั้งแต่ปี 2527 การเริ่มต้นเปิดศูนย์ "แพนคลีนิค" แห่งแรกเกิดขึ้นที่ราชประสงค์ได้รับการตอบสนองด้วยความพอใจจากลูกค้าที่เข้ามารับบริการหนาแน่น ไม่นานนักแห่งที่สองก็เกิดตามมาที่ราชดำริ

ขณะที่ต่างจังหวัด ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ก็มีการจัดหน่วยบริการรถเคลื่อนที่ ที่ประกอบด้วยพยาบาล ผู้ช่วย และคนขับรถ พร้อมสไลด์ทางวิชาการจัดฉายให้เอเย่นต์ ร้านค้าได้รู้จักเข้าใจเรื่องสิวฝ้าและวิธีรักษา พร้อมกับจัดบริการตรวจและแนะนำวิธีบำรุงรักษาผิวพรรณให้กับลูกค้าตามจุดต่าง ๆ ทุกเดือน หมุนเวียนกันไป

"แต่ก่อนเราเคยเดินทางไปเดือนละหน ครั้งสุดท้ายเราเพิ่มความถี่มากขึ้น ถึงขนาดต้องเช่าเครื่องบินส่วนตัวไปเพราะเวลาเรามีน้อยต้องมาเสียเวลาเดินทางโดยเฉพาะอีสานไปมาลำบากและใช้เวลามาก" พินสวัสดิ์เล่าประสบการณ์อันน่าขำให้ฟัง

ปีแล้วปีเล่าที่ "แพนคลีนิค" ขยายตัวปีละไม่ต่ำกว่า 8 แห่ง มีการลงทุนต่อหน่วยในต่างจังหวัดแห่งละประมาณ 4-5 แสนบาท โดยลักษณะการเช่าตึกพาณิชย์เป็นส่วนใหญ่ บางแห่งก็เซ้งที่ในห้างสรรพสินค้าตามเมืองใหญ่ ๆ

นอกจากนี้ บุคลากรที่ประจำศูนย์แพนคลีนิคจะประกอบด้วยแพทย์ หัวหน้าศูนย์ที่เป็นพยาบาล และ CLINIC CONSULTANT ที่เรียกสั้น ๆ ว่า "C.C" คอยให้คำแนะนำ พร้อมด้วยผู้เช่าที่เรียกว่า "C.O" (CO-ORDINATOR)

"BREAK EVENT ในต่างจังหวัดจะมีตั้งแต่สามปี ไปจนถึง 27 ปี" อรรควุฒิ สุวรรณประกร ผู้อำนวยการบริษัท แพนคอสเมดอินสติติวท์ กล่าวถึงการลงทุน

ในต่างจังหวัด ศูนย์แพนจะทำหน้าที่เป็นเพียงศูนย์บริการ ให้ความรู้ และแนะนำผลิตภัณฑ์ให้เหมาะกับปัญหาผิวหน้า จากนั้นลูกค้าก็จะไปซื้อตามร้านค้าที่ติดรายชื่ออยูตามศูนย์แพนต่างจังหวัดทั่วไปเอง

"ตัวศูนย์บริการนี้จะไม่ใช่ PROFIT CENTER แต่มันเป็น COSTING CENTER ที่ลงทุนตรงนี้ก็เป็นแนวคิดในอนาคตที่เราต้องการสร้างให้เกิด HEALTH CONSCIOUS กับลูกค้าแพน" อรรควุฒิ กล่าวถึงเป้าหมายที่ต้องการจะเห็นในอนาคต

ปัจจุบัน ลูกค้าจะสมัครเป็นสมาชิกแพน ถ้านักศึกษาจ่ายปีละ 100 บาท และบุคคลทั่วไปจ่ายคนละ 200 บาท ซึ่งก็จะได้รับบริการ และหนังสือ "เพื่อนแพน" เดือนละเล่ม

การเก็บค่าสมาชิกนี้ ได้ถูกคู่แข่งโจมตีมากว่าหารายได้ ซึ่งผู้บริหารแพนชี้แจงเหตุผลว่า เพื่อต้องการให้เกิดพฤติกรรมต่อเนื่องในการใช้ศูนย์บริการ ซึ่งจะทำให้ได้รับคำแนะนำในการรักษาป้องกันได้ถูกต้อง

และปีนี้ได้มีการจัดแคมเปญรณรงค์การมาใช้บริการที่ศูนย์ ด้วยการให้บัตร HEALTH CARD วัดสุขภาพ ทุกครั้งที่มาใช้บริการก็จะมีการประทับตราโลโก้บริษัทให้หนึ่งครั้ง แต่ไม่เกินสองครั้งในหนึ่งเดือน ถ้าครบปีก็จะได้รับส่วนลด 50% สำหรับการซื้อผลิตภัณฑ์แพน

"เราอาจจะมีการ REPOSITIONING ในอนาคตสำหรับศูนย์แพน โดยจะปรับให้เป็น PRIMARY CARE ที่ไม่ซีเรียสถึงขั้นผ่าตัดหรือฉีดยา เช่น การรักษาโรคด่างขาว" อรรควุฒิเปิดเผยถึงอนาคตของศูนย์แพน

ความสำเร็จของ "แพนคลีนิค" ทำให้เกิดคู่แข่งโดยตรง คือ บริษัทหมอมวลชนของหมอนิวัฒน์ ศิตลักษ์ ซึ่งทำงานอย่างหนักในการบุกเบิกตลาดผลิตภัณฑ์ยี่ห้อ "ไรฟา" "โนฟา" ที่มีราคาต่ำกว่าแพนคอสเมติคชนิดครึ่งต่อครึ่ง แถมยังปิดล้อมด้วยผลิตภัณฑ์บำรุงรักษาป้องกันผิวพรรณตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ขณะที่ผลิตภัณฑ์แพนจะเน้นเฉพาะส่วนศีรษะเท่านั้น

"เราอยู่ของเราได้โดยไม่ต้องแข่งกับใคร" หมอนิวัฒน์เคยพูดให้กับพนักงานฟัง

ขณะนี้ศูนย์บริการหมอมวลชนมีมากถึง 60 แห่ง (ขณะที่ศูนย์แพนคลีนิคมีอยู่ 56 แห่ง) โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ มีถึง 22 สาขา ขณะที่ทางภาคอีสานมีน้อยที่สุดเพียง 5 แห่งเท่านั้น คือ นครราชสีมา ปากช่อง ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย

สาเหตุที่ภาคอีสานมีศูนย์หมอมวลชนน้อย ก็เพราะตลาดในภาคนี้ยังไม่ฟื้นจากบทเรียนในอดีตแรกเริ่มเมื่อปี 2528 เอเย่นต์ที่เป็นห้างสรรพสินค้าท้องถิ่นได้เสนอตัวรับสินค้าไปจัดจำหน่ายให้ในเขตอีสาน โดยมีบริษัทหมอมวลชนเป็นคนส่งสินค้าให้อย่างเดียว

แต่แล้วยอดขายก็หยุดสะดุดในปี 2529 เนื่องจากเอเย่นต์ผู้ขายมุ่งทำธุรกิจมากเกินไป จนขาดการให้ความรู้ความเข้าใจถึงวิธีการใช้ถูต้องแก่ลูกค้า เมื่อลูกค้าเกิดปัญหาอาการแพ้หรือไม่หาย ก็มีผลเสียสะท้อนถึงความเชื่อถือจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

นับตั้งแต่นั้นมา หมอมวลชนได้พัฒนาคุณภาพและฝึกอบรมบุคลากรในศูนย์ หรือหัวหน้าศูนย์ระดับปริญญาตรีของหมอมวลชนที่ได้ผ่านการฝึกอบรมความรู้เบื้องต้นเรื่องผิวหน้ามาแล้วอย่างน้อยสี่เดือน

นอกจากจะลงทุนเองแล้ว ยุทธวิธีการเปิดโอกาสให้หมอคลีนิคร่วมลงทุนด้วย โดยแบ่งผลประโยชน์ อาทิเช่น คลีนิคมวลชน ที่พญาไท มีรายได้ปี 2531 ประมาณ 813,145 ราย ขณะที่บริษัทหมอมวลชนซึ่งเป็นผู้ขายเวชสำอางและยามีรายได้ 432,500 บาท

นี่คือข้อแตกต่างที่บริษัทหมอมวลชนบริหารศูนย์บริการต่างจากศูนย์แพนคลีนิค รวมทั้งการให้ความสำคัญของหมอมวลชนเรื่องภาพพจน์มีน้อยมาก ไม่ว่าจะเป็นการตกแต่งภายในศูนย์ การไม่มีโลโก้ที่เป็นจุดเด่นของคลีนิคเหมือนศูนย์แพน

ถึงกระนั้นก็ตาม ผู้บริหารแพนก็จับตาการเติบโตของบริษัทคู่แข่งนี้ตลอดมา

"ในเรื่องการทำธุรกิจตรงไปตรงมา ผมมองว่าแกดี หมอมวลชนทำงานหนักและเคารพกติกา ต่างคนต่างทำ เราค่อนข้างไปด้วยกันดี" ผู้บริหารแพนเล่าให้ฟัง

นอกจากหมอมวลชนแล้ว คู่แข่งที่เกิดใหม่อีกรายก็คือ เดอร์มิสท์ของบริษัทไซแอนทีฟิค แคร์ คอร์ป ที่มีสหพัฒนพิบูลถือหุ้นใหญ่โดยให้ หมอบุญส่ง เจียรไพศาลเจริญ เป็นผู้บริหาร

จากจุดกำเนิดเพียงปีเดียวในลักษณะหา QUICK MONEY ตามสไตล์สหพัฒน์ ทำให้เดอร์มิสท์ทุ่มโฆษณาใช้ดารานักแสดงเป็นพรีเซนเตเตอร์คอนเซ็ปท์สินค้าว่า ใช้เดอร์มิสท์ปุ๊ป สิวหายปั๊บ

ความแรงของโฆษณาบวกกับการได้ ALEFORCE และช่องทางการจัดจำหน่ายที่สหพัฒนให้แรงสนับสนุนอยู่ จึงทำให้ปีแรกของเดอร์มิสท์มียอดขายได้ 50 ล้านบาท และตั้งเป้าปีนี้ให้ได้ถึงร้อยล้าน

ในระยะแรก ผู้บริหารเดอร์มิสท์ได้แสดงจุดยืนที่แตกต่างจากแพนตรงที่ไม่เน้น AFTER SERVICE ต้องการพาลูกค้าคืนสู่ธรรมชาติ ที่สุดคือหาซื้อง่ายและสิวฝ้าเป็นเรื่องที่สามารถดูแลรักษาเองได้โดยไม่ต้องปรึกษาหมอ

แต่หัวใจของความสำเร็จของตลาดเวชสำอางที่ผ่านมา ส่วนสำคัญคือการให้บริการควบคู่การขายผลิตภัณฑ์ ซึ่งเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคจากซื้อใช้เองมาสู่การใช้ศูนย์บริการควบคู่กับผลิตภัณฑ์

ฉะนั้น ปีนี้กลยุทธ์เดอร์มิสท์เริ่มพลิกแพลง หันมาใช้วิธีการที่ตนเองปฏิเสธตั้งแต่แรกเริ่ม โดยผู้บริหารเดอร์มิสท์เปิดการบริการที่ศูนย์การค้ามาบุญครอง และที่อื่นอีกสองแห่ง

ท่ามกลางสงครามการตลาดแข่งขันกันดุเดือดเฉกเช่นตลาดเวชสำอางนี้ ความอยากเกิดของคู่แข่งรายใหม่อย่างเดอร์มิสท์ หรือการก้าวตามของหมอมวลชน ทำให้ผู้นำตลาดอย่างแพนคอสเมติคจำเป็นต้องเสริมจุดแข็งและขยายด้านศูนย์บริการแพนคลีนิคให้ใกล้ใจลูกค้ามากที่สุด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us