|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
แบงก์ไทยพาณิชย์ประเมินเศรษฐกิจครึ่งหลังปี 50 โต 3.8-4.5% ยังต้องพึ่งการส่งออกเป็นตนัวขับเคลื่อนหลัก พร้อมจับตาใกล้ชิดอีกหลายประเด็นที่มีผลต่อกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ทั้งการเบิกจ่ายงบประมาณ JTEPA การเปิดเสรีภาคบริการ ปัญหาทางการค้ากับสหรัฐ และการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ด้านอัตราแลกเปลี่ยนสิ้นปีมีโอกาสแตะค่าเงินบาทแะระดับ 34.25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายยังมีแนวโน้มปรับลงต่อ คาดสิ้นปีอาร์พีอยู่ที่3.25%
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายกลยุทธ์ลูกค้าธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB)เปิดเผยในงานสัมมนา SCB Business Banking ในหัวข้อ "แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจและการเงินครึ่งปีหลัง"ว่า ธนาคารคาดการณ์ในช่วงครึ่งหลังของปี 2550 เศรษฐกิจไทยจะมีอัตราการขยายตัวที่ 3.8-4.5% โดยได้แรงหนุนจากภาคการส่งออกที่แม้ว่าจะถูกจำกัดโดยความผันผวนของค่าเงินบาทก็ตาม รวมทั้งยังได้รับแรงหนุนจากการเบิกจ่ายงบลงทุนที่จะเร่งตัวขึ้นของภาครัฐในช่วงครึ่งหลังของปีด้วย ขณะที่การเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐที่สะดุดและการบริโภคภาคเอกชนติดลบ คงยังไม่สามารถฟื้นคืนมาได้เร็ว แต่คาดว่าไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป สถานการณ์ต่างๆจะเริ่มดีขึ้น หากการเลือกตั้งสามารถเกิดขึ้นได้ตามกำหนด มีความชัดเจนว่าพรรคการเมืองใดจะเข้ามาบริหารประเทศ และนโยบายเศรษฐกิจจะออกมาเป็นเช่นไร เพื่อเดินหน้าในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป
"เศรษฐกิจไทยก็เหมือนกับเครื่องบินที่มีเครื่องยนต์เป็นตัวขับเคลื่อน โดยเครื่องยนต์ที่ใส่เกียร์ 5 สามารถเดินหน้าในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ดีคือภาคการส่งออก แต่ภาคที่แผ่วลงไปคือภาคบริโภค การลงทุนภาคเอกชน การใช้จ่ายของภาครัฐที่ในช่วง 2 ไตรมาสที่ผ่านมายังมีการเบิกจ่ายน้อย"นายวิรไท กล่าว
ในส่วนของค่าเงินบาทปัจจัยที่ส่งผลให้เงินบาทยังมีทิศทางแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับค่าเงินเหรียญสหรัฐอเมริกา เป็นผลจากแนวโน้มการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ค่าเงินเอเชียที่แข็งค่าขึ้น และเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่มีความผันผวน รวมทั้ง อาจมีเงินทุนไหลเข้าในตลาดหลักทรัพย์ จากการที่ตลาดหุ้นไทยราคายังถูกเมื่อเทียบกับตลาดอื่นๆช่วยหนุนให้ทิศทางเงินบาทแข็งค่าขึ้นอีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นสำคัญที่คาดว่าจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจไทย คือความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ที่คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในเดือนกันยายน 2550 โดยความตกลงดังกล่าวจะส่งผลเรื่องการลดภาษีนำเข้าและการให้โควตาพิเศษของญี่ปุ่นจะช่วยขยายตลาดส่งออกของไทย และเพิ่มการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น ขณะเดียวกันการลดภาษีนำเข้าของไทยยังจะช่วยลดต้นทุนการนำเข้าวัตถุดิบที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ เช่น เหล็กบางประเภท ผลไม้เมืองหนาว แต่อาจมีผลกระทบทางลบต่อสินค้าที่ผลิตในประเทศได้ เช่นชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องจักร ซึ่งผู้ประกอบการมีเวลา 5-8 ปีในการปรับตัว นอกจากนี้ยังมีเรื่องการเปิดเสรีภาคบริการโดยการให้บริษัทไทย คนไทยเข้าไปจัดตั้งกิจการ ให้บริการทำงานในญี่ปุ่น รวมถึงการให้ผู้ป่วยญี่ปุ่นมารับการรักษาพยาบาลในไทยและเบิกค่าใช้จ่ายจากรัฐบาลได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจโรงบาลเอกชนในไทย
สำหรับประเด็นในเรื่องของปัญหาทางการค้ากับอเมริกา ซึ่งไทยได้ถูกปรับลดระดับการคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญา จากเดิมที่อยู่ในบัญชีจับตา เป็นบัญชีจับตาพิเศษ หลังไทยประกาศมาตรการบังคับใช้สิทธิในผลิตภัณฑ์ยา 3 รายการ โดยไทยเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่ถูกจัดให้อยู่ในบัญชีจับตาพิเศษจึงอาจทำให้ไทยมีความน่าสนใจน้อยลงในสายตานักลงทุนต่างชาติ
และที่สำคัญคือการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ในประเด็นทางเศรษฐกิจ อาทิ แนวทางการกำหนดให้จัดทำงบประมาณประจำปี และการใช้จ่ายของรัฐบาลมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนและตรวจสอบได้ เป็นต้น ส่วนปัจจัยต่างประเทศนั้น คือความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐและเศรษฐกิจโลก การปรับนโยบายทางการเงินของจีน เป็นต้น
ด้านนายภากร ปีตธวัชชัย ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบริหารการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงแนวโน้มอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงที่เหลือของปีว่า ค่าเงินบาทยังมีทิศทางแข็งค่าขึ้นและมีความเสี่ยงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินคือปัจจัยภายในประเทศซึ่งประกอบด้วย ภาวะเศรษฐกิจมหภาคของไทย การบริโภคภาคเอกชน การลงทุน การใช้จ่ายภาครัฐ การส่งออกสุทธิ การเมืองและความเชื่อมั่นในประเทศ ขณะที่ปัจจัยภายนอกประเทศ ประกอบด้วยอัตราอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศเทียบกับต่างประเทศ ภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ทิศทางของค่าเงินสกุลหลักๆ และค่าเงินในภูมิภาค โดยในอนาคตคาดการณ์ว่าแนวโน้มค่าเงินบาทจะแข็งค่าถึง 34.25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เพราะเป็นผลจากแนวโน้มการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด และค่าเงินในเอเชียที่แข็งค่าขึ้น รวมทั้งอาจมีเงินทุนไหลเข้าในตลาดหลักทรัพย์อย่างต่อเนื่อง
สำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงที่ผ่านมาปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อได้ปรับลดลงเช่นเดียวกัน โดยในช่วงครึ่งหลังของปีคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะยังทรงตัวอยู่ในระดับปัจจุบันต่อไปหรืออาจปรับลดลงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นในครึ่งปีหลัง โดยในสิ้นปีคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (อาร์พี) จะอยู่ที่ 3.25% จากปัจจุบันที่ 3.50% ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนจะอยู่ที่ 1.75-2.00% จากปัจจุบันอยู่ที่ 2.25% ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เอ็มแอลอาร์น่าจะอยู่ที่ 6.50-6.75% จากปัจจุบันที่ 7%
"โอกาสที่อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นจะปรับลดลงมีอีกไม่มาก อีกทั้งตลาดได้คาดการณ์การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้แล้ว ส่วนการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นคงเป็นเรื่องที่ยาก แต่ในอนาคตก็มีสิทธิ์ปรับขึ้น”นายภากร กล่าว
|
|
 |
|
|