|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เศรษฐกิจไม่ดี ไทยสมาร์ทคาร์ด ยอดผู้ใช้บัตรใหม่ตก เร่งหาพันธมิตรรายใหญ่ จีบ รถไฟฟ้า บีทีเอสและเอ็มอาร์ที ให้บริการลูกค้าร่วมกัน เผยไม่เกิน 1-2 ปีมีเฮ ส่วนปีนี้เดินหน้าทุ่มทุนกว่า 800 ล้านบาท ลุยธุรกิจต่อเนื่อง เร่งสยายปีกเพิ่มพันธมิตรอีก 7 ราย เพิ่มช่องทางการใช้บัตรสู่อินเทอร์เน็ตมากขึ้น
นายฉัตรไชย ฉัตรชัยกนันท์ ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านธุรกิจ และปฏิบัติการ บริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด ในเครือซีพี ผู้ดำเนินธุรกิจบัตรสมาร์ทเพิร์ส เปิดเผยว่า ภาพรวมเศรษฐกิจครึ่งปีที่ผ่านมาอยู่ในภาวะไม่ค่อยดี จึงส่งผลให้เป้าหมายจำนวนลูกค้าใหม่ 5 แสนใบของครึ่งปีแรกทำได้เพียง 3 แสนใบ ขณะที่ทั้งปีที่ตั้งเป้าไว้ 8 แสนใบ ดังนั้นในปีนี้บริษัทฯจะยังคงเน้นในเรื่องของการสร้างแบรนด์และการทำตลาดอยู่ โดยวางงบการตลาดไว้ 100 กว่าล้านบาท ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาเพื่อประชาสัมพันธ์ต่อไป
นอกจากการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์แล้ว ปีนี้ทางบริษัทฯจะมุ่งเน้นเพิ่มจำนวนพันธมิตรในการออกบัตรร่วมกันอีกกว่า 7 ราย โดย 6 เดือนที่ผ่านมาได้ร่วมกับทางจักรยานยนต์ยามาฮ่า และศูนย์การค้ามาบุญครองในการออกบัตรร่วมกันไปแล้ว ส่วนครึ่งปีหลังนี้จะมีพันธมิตรเพิ่มอีกประมาณ 5 ราย เช่น บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) สำหรับลูกค้าที่ต้องการซื้อคอนเท้นต์ต่างๆของอาร์เอสผ่านเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นเพลง โหลดเสียงเรียกเข้า สามารถใช้จ่ายผ่านบัตรสมาร์ทเพิร์สได้ โดยจะเริ่มให้บริการได้ช่วงปลายไตรมาส 3 นี้
นอกจากนี้ทางบริษัทฯยังได้มองหาพันธมิตรรายใหญ่ เพื่อต้องการให้มีความร่วมมือในการให้บริการร่วมกันต่อไป คือ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (รถไฟฟ้าบีทีเอส) และบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ รถไฟฟ้าใต้ดิน เนื่องจากเล็งเห็นว่าทั้ง 2 บริษัทนี้ และไทยสมาร์ทคาร์ด มีระบบการใช้บัตรที่เหมือนกันอยู่ระบบหนึ่ง เรียกว่า Type A จึงมองว่าหากมีการออกบัตรเพื่อใช้ร่วมกันจะเป็นการเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้าและเป็นการเพิ่มฐานลูกค้าให้แต่ละบริษัทได้มากขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย
“ปัจจุบันผู้ให้บริการบัตรเงินสดดิจิตอลนี้มีอยู่ 3 รายใหญ่คือ รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน และไทยสมาร์ทคาร์ด แต่ทั้ง 3 รายมีการเลือกใช้ระบบการอ่านบัตรแตกต่างกัน ขณะที่ทั้ง 3 บริษัทมีอยู่ระบบหนึ่งที่สามารถใช้ร่วมกันได้ คือ Type A ดังนั้นทางบริษัทฯจึงได้มีการพูดคุยกับทั้ง 2 บริษัทดังกล่าว เพื่อที่จะให้บริการร่วมกัน โดยมีแนวโน้มความเป็นไปได้ว่าไม่เกิน 1-2 ปี จะสามารถออกบัตรเพื่อให้บริการได้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับการแก้ไขระบบเพื่อให้สามารถใช้ร่วมกันให้ได้เสียก่อน”
นอกจากนี้ไทยสมาร์ทคาร์ท ยังได้เพิ่มทุนจดทะเบียนอีกกว่า 800 ล้านบาท จากเดิม 800 ล้านบาท สำหรับการขยายธุรกิจต่อไป โดยคาดว่า 400 ล้านบาท จะใช้ในเรื่องของการปรับปรุงด้านไอที หรือเทอร์มินอล อุปกรณ์ในการอ่านบัตร ที่จะติดตั้งเพิ่มขึ้นอีกว่า 1,000 จุดทั่วประเทศ ซึ่งแต่ละตัวมีต้นทุนเฉลี่ย 3,000 บาทต่อเครื่อง
ส่วนช่องทางการใช้บัตรสมาร์ทเพิร์สนั้น ปีนี้จะมุ่งเน้นทางด้านอินเทอร์เน็ตมากขึ้น หรือที่เรียกว่า อี-คอมเมิร์ส สำหรับกลุ่มเกมออนไลน์ และร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ จำนวน 3,000 ราย รวมไปถึงการนำชิปสมาร์ทคาร์ดไปไว้ในซิมโทรศัพท์มือถือ ที่คาดว่าจะเริ่มใช้ได้ในช่วงไตรมาส 3-4 นี้ อีกส่วนหนึ่งด้วย
อย่างไรก็ตามพฤติกรรมของผู้ใช้บริการผ่านบัตรสมาร์ทเพิร์สในต่างจังหวัด ค่อนข้างตื่นตัวกับบริการรูปแบบใหม่ดังกล่าว แต่เนื่องจากมีจุดให้บริการน้อย ทางบริษัทฯจึงได้เร่งขยายจุดให้บริการมากยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็นจังหวัดเชียงใหม่ อุบลราชธานีและนครราชสีมา ขณะที่ในส่วนของร้านเซเว่นอีเลฟเว่น บริการบัตรสมาร์ทเพิร์สมีครบทุกสาขาแล้ว โดยลูกค้าที่ใช้จ่ายผ่านบัตรสมาร์ทเพิร์สภายในร้านเซเว่นอีเลฟเว่น มียอดผู้ใช้จ่ายผ่านบัตรเพิ่มขึ้น 30% และแต่ละครั้งในการใช้จ่ายเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นเป็น 70 บาทต่อครั้ง จากเดิมประมาณ 50 บาทต่อครั้ง นอกจากนี้การเติมบัตรแต่ละครั้งยังเพิ่มขึ้นจาก 200-300 บาท มาเป็น 500 บาทต่อครั้งอีกด้วย
ปัจจุบันไทยสมาร์ทคาร์ด มีลูกค้าที่ใช้บัตรอยู่ประมาณ 1.4 ล้านใบ และมีการใช้เป็นประจำกว่า 1 ล้านใบ โดยในปีที่ผ่านมามีจำนวนเงินที่ใช้ผ่านบัตรสมาร์ทเพิร์สไปแล้วกว่า 5,200 ล้านบาท ปีนี้คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 5,800 ล้านบาท
|
|
|
|
|