Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2534
สำลี ใจดี กับแนวคิดห้องยาชุมชน             
โดย ภัชราพร ช้างแก้ว
 

   
related stories

สิทธิบัตรยา : นักบุญหรือปิศาจ

   
www resources

โฮมเพจ กระทรวงสาธารณสุข

   
search resources

สำลี ใจดี
กระทรวงสาธารณสุข
Pharmaceuticals




สำลี ใจดี เป็นผู้หญิงร่างสูงใหญ่กว่ามาตรฐานหญิงไทยทั่วไป เธอสอนหนังสืออยู่ที่คณะเภสัชศาสตร์มานานหลายสิบปี บรรดานักศึกษาเภสัชศาสตร์ต่างรู้จัก "อาจารย์สำลี" เป็นอย่างดี สำลีเคลื่อนไหวร่วมกับกลุ่มศึกษาปัญหายาและมูลนิธิเกี่ยวกับยาอีกมากมาย

จุดมุ่งหมายของเธอต้องการให้ประชาชนได้ใช้ยาที่มีคุณภาพดี ราคาถูก ไม่ตกเป็นเหยื่อบริษัทยาทั้งในและนอกประเทศที่อาศัยช่องว่างจากความไม่รู้และวัฒนธรรมการบริโภคยาอย่างผิด ๆ ของประชาชนมาเป็นเครื่องมือหากิน

สำลีเป็นผู้ที่เสนอให้ใช้คำว่า "ร้านยาหรือห้องยา" แทน "ร้านขายยา" เพราะเธอถือว่าร้านยาเป็นสถานพยาบาลอย่างนึ่งที่คอยให้บริการและความรู้เกี่ยวกับยาแก่ประชาชน ไม่ใช่แต่การขายสินค้าอย่างเดียว

เธอถือว่ายาไม่ใช่สินค้าธรรมดาที่ประชาชนหรือผู้บริโภคทั่ว ๆ ไปจะตัดสินได้ด้วยตัวเอง แต่มีความจำเพาะ มีอันตรายที่ต้องการผู้รู้มาดูแลจัดการ ทั้งนี้มียากลุ่มหนึ่งที่ชาวบ้านสามารถตัดสินใจซื้อและใช้ได้ด้วยตัวเอง แต่ก็มีอีกกลุ่มใหญ่ที่ต้องได้รับคำแนะนำจากผู้รู้โดยตรง

โดยทั่วไปนั้น วงจรของระบบยาจะเริ่มตั้งแต่การคัดเลือก ขึ้นทะเบียนยา ผลิต แล้วจึงจะกระจายไปถึงมือผู้ใช้ หมอสั่งใช้เภสัชฯ สั่งจ่าย ประชาชนบริโภค

ประเด็นเรื่องขายยานั้น อยู่ในขั้นตอนของการกระจายยาซึ่งในสังคมไทยมีการกระจายอยู่ 3 ทางด้วยกัน คือ ทางรัฐโดยผ่านทางกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ องค์การเภสัชกรรม โรงพยาบาล/ห้องยาชุมชน และหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ถ้าผ่านทางคณะเภสัชศาสตร์ของทบวงมหาวิทยาลัยก็โดยทางสถานปฎิบัติการเภสัชกรรมชุมชน หรือที่เห็นชัดเจน คือ โอสถศาลาตรงคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโดยผ่านทางกระทรวงกลาโหม คือ โรงพยาบาลพระมงกุฎฯ

การกระจายทางที่สองเป็นส่วนของเอกชน คือ ร้านขายยาซึ่งเวลานี้เจ้าของร้านขายยารวมตัวกันเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ เสภัชกรชุมชน ในเภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย กับสมาคมร้านขายยา คือ กลุ่มพ่อค้ายากลุ่มเก่าที่มีร้านขายยาของตัวมาดั้งเดิม นอกจากนี้ก็มีทางรถเร่ขายยา คลินิกแพทย์ซึ่งสามารถจ่ายยาให้ผู้ป่วยของตนได้ และร้านยาตามศูนย์การค้า

ทางที่สาม คือ ผ่านองค์กรการกุศลที่ไม่ได้แสวงหากำไร เช่น มูลนิธิเภสัชชนบท มูลนิธิแพทย์ชนบท ซึ่งอาจคิดค้นรูปแบบการบริการเป็น หอยา กองทุนยา คลินิกร่วมใจ ใช้ยุทธศาสตร์เชิงรุก คือ ให้หน่วยงานเหล่านี้ไปตั้งในชุมชน ถ้าโรงพยาบาลชุมชนมีเภสัชฯ 2 คนก็ให้คนหนึ่งอยู่ประจำโรงพยาบาล อีกคนหนึ่งอยู่ที่หน่วยงานนี้ทำหน้าที่ดูแลกองทุนยา

แนวคิดเรื่องห้องยาชุมชนนั้น มีจุดมุ่งหมายที่จะทำสถานบริการยาที่ดี มีคุณภาพ ให้ความรู้ให้การศึกษาแก่ประชาชน ไม่ใช่เป็นที่ที่แสวงหากำไร

นี่คือ รูปแบบการพัฒนาการบริการด้านสาธารณสุขที่สำคัญยิ่ง

ระหว่างกันยายน 2528 - ธันวาคม 2529 เภสัชกรวิทยากุลสมบูรณ์และคณะได้ร่วมกันทำวิจัยโดยจัดตั้งห้องยาชุมชนบริเวณตลาดอำเภอสูงเนิน นครราชสีมา เพื่อเป็นสถานบริการจำหน่ายยาและรักษาโรค โดยได้รับการสนับสนุนด้านบุคลากร ยาและเวชภัณฑ์จากโรงพยาบาลสูงเนิน ถือว่าห้องยาฯ นี่เป็นกิจกรรมหนึ่งของโรงพยาบาล

ผลการวิจัย พบว่า มีผู้ป่วยมาใช้บริการจากห้องยาฯ คิดเป็น 10% ของผู้ป่วยที่มาใช้บริการจากโรงพยาบาล ซึ่งในชั้นนี้นับว่าประสบความสำเร็จระดับหนึ่งมีการคิดกำไรจากการจำหน่ายยาแก่ผู้ป่วยสูง 30% จากราคาทุน

แม้ว่าโครงการจะไม่สำเร็จเพราะใช้เวลาน้อยเกินไปจนไม่สามารถดำเนินการให้ถึงจุดคุ้มทนุได้ แต่การทดลองครั้งนี้ให้ข้อมูลที่ดีมากในการจัดการเรื่องห้องยาชุมชน

วิทยา เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า เขาได้พยายามเสนอและผลักดันแนวคิดห้องยาชุมชนให้กระทรวงสาธารณสุขรับไปพิจารณาดำเนินการ โดยให้ใช้โรงพยาบาลเป็นฐานในขอบเขตที่กว้างขวางยิ่งขึ้น ใช้เภสัชกรจากเภสัชกรคู่สัญญาเป็นผู้ปฏิบัติการ

ทั้งนี้ เป้าหมายสำคัญส่วนหนึ่งของห้องยาชุมชน คือ ต้องพยายามแก้ไขปัญหาเรื่อพฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมของชุมชนนั้น ๆ ด้วย

วิทยา ทบทวนประสบการณ์งานสาธารณสุขในภาคอีสานว่า "เวลาผู้ป่วยมาหาหมอจะเล่าอาการว่า "หายใจไม่อิ่ม กินข้าวไม่แซบ นอนไม่หลับ" ซึ่งว่าตามจริงแล้ว มันเป็นความทุกข์ ไม่ใช่อาการป่วย ผู้ป่วยสามารถหายได้โดยไม่ต้องใช้ยา ภาษาวิชาการเรียก PLACEBO EFFECT หรือยาหลอก หมอจับตัวพูดคุยด้วยก็หายแล้ว มันเหมือนกับเป็นไสยศาสตร์ หรือถ้าจะต้องให้ยาจริง ๆ ก็มีอยู่เพียง 3 ตัวเท่านั้นที่หมอและเภสัชฯ ทั่วไปแถบภาคอีสานนิยมใช้ คือ พาราเซตฯ ซึ่งเป็นยาแก้ปวด สองแวเลี่ยมหรือไดอะซีแฟม ซึ่งเป็นยากล่อมประสาท และสามวิตามิน บางทีเราเรียกว่า พาราไดซ์ คือ พาราเซตฯ บวกไดอะซิแฟม คนไข้ก็จะสบายไม่มากวนอีก เพราะกินยาแล้วง่วงนอน หลับและหายปวดเมื่อยด้วย"

สำลีวิจารณ์ระบบการเรียนการสินในมหาวิทยาลัยซึ่งก่อปัญหาประการหนึ่ง คือ "มักจะสอนเน้นหนักพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์มาก ทำให้มองคนเป็นวัตถุสิ่งของ มีความรู้สึกว่าจะต้องรักษาโรคด้วยยาเท่านั้น ทั้งแพทย์และเภสัชฯ ต่างพยายามคิดว่า ถ้าผู้ป่วยมีอาการเช่นนี้ ๆ จะให้ยาอะไรกินได้บ้าง ทั้งที่ความจริงแล้ววิธีการรักษามีหลายแบบ รักษาด้วยยา ด้วยจิต ด้วยธรรมชาติ เราไม่ควรสร้างมโนสำนึกว่า การใช้ยาเป็นทางเลือกทางเดียวเท่านั้น เมื่อใดก็ตามที่คิวด่ามีทางเลือกนี้เพียงทางเดียว ดิฉันถือว่าเป็นหายนะ"

สำลี ร่วมงานกับกลุ่มศึกษาปัญหายามานานกว่า 13 ปี เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการรณรงค์ปัญหาเกี่ยวกับยา และร่วมผลักดันการตั้งสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน (โอสถศาลา) เพื่อให้เป็นต้นแบบห้องยาชุมชนที่ถูกต้อง เป็นตัวแบบของสถานบริการทางยาที่ได้มาตรฐาน
เป็นแนวคิดที่กระทรวงสาธารณสุขน่าจะได้นำมาพิจารณาอย่างจริงจังเสียอีก !

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us