Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2534
"ปล่อยเสรีโรงงานประกอบรถเพื่อประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมนี้"             
 

   
related stories

ข้อมูลบุคคล ดร.เชียรช่วง กัลยาณมิตร

   
search resources

เชียรช่วง กัลยาณมิตร
Auto-parts




ผมขอพูดเรื่องนี้ ในฐานะผู้ปฏิบัติ ไม่ใช่นักวิชาการ อุตสาหกรรมรถยนต์ มันเป็นอุตสาหกรรมที่เริ่มเติบโตมาจาอุตสาหกรรมชิ้นส่วนเป็นเบื้องต้น แต่ประเทศไทยอุตสาหกรรมชิ้นส่วนที่มันเติบโตช้ามาก ๆ ก็เพราะว่ารัฐ บาลไม่ได้ให้ความสำคัญของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนเลย แต่กลับให้ความสนใจโรงงานประกอบ จะเห็นว่าโรงงานประกอบจะได้รับการส่งเสริมการลงทุน จะได้รับการยกเว้นภาษี และอะไรอีกหลายอย่าง ซึ่งจริง ๆ แล้วมันเป็นการส่งเสริมที่ผิด

เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ คือว่าโรงงานประกอบรถยนต์หนึ่งคันจริง ๆ แล้วชิ้นส่วนที่ใช้ในการประกอบจะเข้ามาจากโรงงานย่อยประมาณ 70% ส่วนที่เป็นของโรงงานประกอบรถยนต์จริง ๆ มันไม่มีอะไร ส่วนใหญ่ก็เป็นงานประกอบชิ้นส่วนที่ซื้อเข้ามาแล้วก็พ่นสี รวมกันแล้วประมาณ 30%

แต่ในเมืองไทยเนื่องจากว่า รัฐบาลไม่ได้ให้การส่งเสริมที่ถูกต้องไปให้การส่งเสริมโรงงานประกอบ โดยที่ไม่เคยมาสนใจอุตสาหกรรมชิ้นส่วนเลย อุตสาหกรรมชิ้นส่วนก็เลยเติบโตช้า ทำให้โรงงานประกอบรถยนต์เหล่านั้นฉวยโอกาสออกไปตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนรายย่อยเสียเอง เพื่อฉวยประโยชน์ว่า เมื่อโรงงานประกอบได้รับผลประโยชน์จากการส่งเสริมแล้วก็จะทำให้โรงงานย่อยที่อยู่ในเครือได้รับผลประโยชน์ติดตามไปด้วย

เพราะฉะนั้น มันก็เลยกลายเป็นอุตสาหกรรมที่จะต้องขอการสนับสนุนตลอดเวลา แบบ "เฒ่าทารก" คือ เป็นคนที่เลี้ยงไม่รู้จักโต

สิ่งที่แย่ที่สุดที่ตามมา ผมจะบอกให้ชิ้นส่วนของโรงงานประกอบนั้น ยังต้องเอาชิ้นส่วนเข้ามาจากต่างประเทศอีกมาก เช่น เครื่องยนต์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ยาก ประเภทชิ้นส่วนระบบช่วงล่างอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดแล้วก็ตั้งราคากันสูง ๆ เพื่อจะได้ถ่ายเทเงินออกไปให้บริษัทแม่ในต่างประเทศมาก ๆ และเพื่อเขาต้องทำภาษีที่เขาเสียไปนั้นเท่ากับศูนย์

ตอนนี้ สมมุติราคาขาย 500,000 บาท เป็นต้นทุนจริง ๆ ที่ไม่รวมภาษีประมาณ 150,000 บาท พวกนี้จะเสียภาษีซีเคดีหรือนำเข้าชิ้นส่วนประกอบประมาณ 340% ของราคานำเข้า เพราะฉะนั้นมันยิ่งทำให้ราคามันสูงขึ้นไปอีก

แต่พวกผู้ประกอบการผูกขาดพวกนี้ไม่สนใจหรอกว่า ตั้งราคาสูงแล้วจะขายไม่ได้ เพราะว่ามันไม่มีการแข่งขันกันอย่างกว้างขวาง ซ้ำยังทำให้สินค้ามันขาดตลาดเข้าไว้ จะซื้อคันหนึ่งต้องจองนานถึง 6 เดือนคนก็ยังรอซื้อ

ฉะนั้น ผมจึงเห็นด้วยอย่างเต็มที่ที่จะให้เปิดโรงงานประกอบรถยนต์เสรี

เสรีในที่นี้นอกจากไม่มีโควต้าโรงงานแล้ว ยังจะต้องไม่มีการกำหนดโมเดล ไม่มีการกำหนดรุ่น ไม่มีอะไรสักอย่างที่จะต้องมาบังคับกำหนดกัน เพราะว่าผมรู้อยู่แล้วว่าการเลือกโมเดลหรือเลือกรุนมันบังคับระบบ ที่ถูกน่าจะให้ผู้บริโภคคนไทยเป็นคนเลือกว่าเขาชอบอย่างไร

ทั้งนี้ มันจะได้ประโยชน์ทั้งในแง่การพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศของเรา และในด้านประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้บริโภค รวมไปถึงโอกาสในการส่งออกในระยะยาวต่อไป

ในแง่การพัฒนาอุตสาหกรรมนั้น จะทำให้มีคนสนใจเข้ามาลงทุนทางด้านนี้มากขึ้น ซึ่งมันจะทำให้เกิดการแข่งขัน สำหรับเจ้าเก่าที่มีอยู่เดิมก็จะหันเข้ามาต่อสู้ด้วยการพัฒนาคุณภาพและราคาที่เหมาะสมมากขึ้น

หมายความว่า นอกจากเปิดเสรีแล้ว ผมยังอยากให้มีการสนับสนุนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ทั้งหมดเลย ไม่ใช่เฉพาะโรงงานประกอบรถยนต์อย่างเดียว

เพราะปัจจุบันนี้ โรงงานผลิตชิ้นส่วนเล็ก ๆ ไม่ว่าจะเป็นพวกเบาะ พวกไฟ หรือโรงกลึงอะไรก็แล้วแต่ พวกนี้เขาไม่มาขอบีโอไอ เพราะว่าเขามีโรงงานไม่ใหญ่พอ เนื่องจากบีโอไอกำหนดไว้ว่าจะต้องเป็นโรงงานที่ใหญ่ห้าล้านสิบล้านขึ้นไป

แต่หารู้ไม่ว่าที่ต่างประเทศรอบ ๆ เมืองดีทรอยทั้งหมด มันเป็นโรงงานแค่ล้านสองล้านบาทนั้นมีตั้งประมาณ 8,000 - 15,000 โรงงาน ตั้งแต่ดีทรอยลงมาถึงโอไฮโอจนถึงมิสซูรี่ข้ามไปถึงแคนาดาด้วย ไม่ว่าจะเป็นโรงงานทำกุญแจ โรงงานชุบ โรงงานทำเบาะ โรงงานเหล่านี้ได้รับการส่งเสริมทั้งสิ้น

แล้วมันจะส่งผลถึงแรงงานที่จะทำให้มันเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมนี้ด้วย เพราะจริง ๆ แล้วแรงงานในโรงงานประกอบรถยนต์มีไม่เท่าไหร่ เมื่อเทียบกับแรงงานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนี้

อย่างเช่นโรงงานเฟรจไรเนอร์ประกอบรถยนต์บรรทุก ซึ่งผมเคยทำงานอยู่ด้วยนั้นมีคนงานทั้งหมด 12,000 คนเท่านั้น สำหรับ 4 โรงงาน แต่ปรากฏว่า โรงงานขนาดย่อยรอบ ๆ ที่ส่งชิ้นส่วนเข้ามาให้โรงงานนี่ผมว่าใช้คนงานไม่ต่ำกว่า 80,000 จนถึง 100,000 คน

ดังนั้น สิ่งที่ผมพยายามจะพูดก็คือ ขณะนี้รัฐบาลไม่ค่อยให้การเหลียวแลอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรายย่อย ๆ พวกนี้เลย และไม่ได้ให้ความเป็นธรรมสำหรับการสนับสนุนอุตสาหกรรม หรือเปิดอุตสาหกรรมประเภทนี้ให้มีอิสระเสรี เพราะว่าไปสนับสนุนพวกโรงงานประกอบรถยนต์เพียงฝ่ายเดียว ทั้งที่อุตสาหกรรมชิ้นส่วนมีตลาดที่กว้างขวางรองรับ

มันไม่ใช่มีตลาดส่งเฉพาะโรงงานประกอบรถยนต์เพียงอย่างเดียว แต่มันส่งอุตสาหกรรมใหญ่อื่น ๆ ได้อีกมากมาย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เช่น พวกผลิตชิ้นส่วนพลาสติกก็ยังสามารถทำตู้เย็นได้ ทำจักรเย็บผ้าได้ วิทยุ ทีวี อย่างนี้เป็นต้น

ผมเห็นว่า อุตสาหกรรมเหล่านี้ คือ อุตสาหกรรมหลักที่จะตกแก่ลูกหลานคนไทยของเราในอนาคตอีกห้าสิบปีร้อยปีข้างหน้า ไม่ใช่ที่มีอยู่ขณะนี้ ผลตอบแทนจากการลงทุน กำไรมันออกไปต่างประเทศหมด

เวลานี้จำนวนคนงานในโรงงานขนาดย่อมผลิตชิ้นส่วนส่งโรงงานประกอบรถยนต์ในประเทศไทยมีจำนวนการจ้างงาน ผมว่ามีถึง 10 เท่าของคนงานในโรงงานประกอบรถยนต์ ขณะที่ต่าปงระเทศมันกลับกันกับเรา เหตุนี้ถ้าอุตสาหกรรมขนาดย่อมผลิตชิ้นส่วนได้รับการดูแลจากรัฐไม่ว่าจะให้การส่งเสริมด้วยรูปแบบใดก็ตาม มันจะมีทิศทางการเติบโตเหมือนในต่างประเทศเช่นกัน

สำหรับประเด็นในด้านผู้บริโภค ผมเชื่อว่า นโยบายการแข่งขันเสรีของการลงทุนตั้งโรงงานประกอบรถยนต์จะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพที่ดีขึ้นและราคาต่ำลง แต่ทุกวันนี้คุณภาพมันต่ำเมื่อเทียบกับรถยนต์ในต่างประเทศในขณะที่ราคามันแพงมาก

เพราะว่าเมื่อรัฐบาลให้การส่งเสริมก็มีการขนเอาอุปกรณ์ชิ้นส่วนประกอบรถยนต์พวกเครื่องยนต์ ชิ้นส่วนช่วงล่างอะไรพวกนี้เข้ามา เมื่อเอาพวกนี้เข้ามาแล้ว พวกที่ได้ประโยชน์จริง ๆ ไม่ใช่ใคร มันก็คือบริษัทแม่ในต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ขายให้นั่นเอง เพราะแบบมันถูกกำหนดมาจากบริษัทแม่

ผมจะบอกให้ว่า ถ้านับเป็นมูลค่าชิ้นส่วนที่นำเข้ามาจากต่างประเทศที่เข้ามาในประเทศไทย ประเภทนี้มีมูลค่ามากกว่า 50-60% ของต้นทุนทั้งหมด

เพราะฉะนั้น ทางที่ดีที่สุดก็คือ ให้พยายามหนุนให้อุตสาหกรรมภายในเกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้การนำเข้าพวกที่เราผลิตเองยังไม่ได้ขณะนี้ลดน้อยลงเรื่อย ๆ เมื่อในประเทศมีการผลิตเองมากขึ้นเรื่อย ๆ มันก็เกิดการแข่งขัน

อย่างสมมุติต้นทุน 100% ค่าเครื่องจักรประมาณสัก 80% ที่เหลือเป็นแรงงาน 80% นี่มันขึ้นมาเพราะว่าภาษีสูง เมื่อก่อนนี้ภาษีนำเข้าเครื่องจักรสูง 40% เดี๋ยวนี้ลดลงเหลือ 5% เพราะฉะนั้นปัจจุบันนี้ต้นทุนจริง ๆ มันก็ลดลงไป ต้นทุนเครื่องจักรที่เคยสูง 80% ก็จะเหลือสักประมาณ 50-60%

จุดนี้เป็นช่วงที่อุตสาหกรรมจะต้องเกิด แล้วในที่สุดมันก็ลดราคาลง เพราะการแข่งขันจะทำให้บริษัทแม่ที่เคยส่งชิ้นส่วนเข้ามาแพง ๆ ก็จะต้องลดราคาลง ผู้บริโภคจะได้ประโยชน์

เช่นนี้แล้วจะได้ไม่ต้องมีโควต้า ผู้บริโภคไม่ต้องไปจองนาน 6 เดือนเหมือนอย่างทุกวันนี้ ในขณะเดียวกันเมื่อการแข่งขันกันมีสูงขึ้นจะทำให้แต่ละคนหันมาแข่งขันในการสร้างคุณภาพของรถยนต์ให้ดีขึ้น ผู้บริโภคมีโอกาสในการเลือกมากขึ้น

นอกจากนี้ ก็ยังส่งผลถึงการส่งออกด้วย เพราะถ้าเราสามารถลดต้นทุนได้ คุณภาพได้รับการพัฒนาขึ้น ตลาดในต่างประเทศก็ไม่มีปัญหา เพราะค่าแรงของเราขณะนี้ถูกกว่าต่างประเทศถึง 20 เท่า

เมื่อพิจารณาใน 2-3 ประเด็นที่ผมกล่าวมา ในความเห็นของผมต่อแนวคิดทางนโยบายของรัฐที่จะเปิดเสรีโรงงานประกอบรถยนต์จึงเห็นด้วย และอยากให้กล่าวลึกกว่านั้น คือ ควรปล่อยเสรีอย่างไม่มีเงื่อนไขในการผลิต เพื่อให้ระบบอุตสาหกรรมรถยนต์ในเมืองไทยมีประสิทธิภาพเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคและเทคโนโลยีการผลิตเสียที

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us