Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์11 มิถุนายน 2550
“ก่อสร้าง-อสังหาฯ”ปิดกิจการอื้อสภาอุตฯเชื่อศก.ทรุดยาว!             
 


   
search resources

Economics




ข้อมูลจดทะเบียนใหม่ ก.พาณิชย์ ชี้ชัดเศรษฐกิจไทยซึมยาว เหตุนักธุรกิจไม่มั่นใจสถานการณ์การเมืองชะลอลงทุนต่อเนื่อง ขณะที่ยอดเลิกกิจการมากที่สุด “ก่อสร้าง-อสังหาฯ” ยังครองแชมป์ ด้านนักวิชาการ-ส.อ.ท.เชื่อเศรษฐกิจทรุดยาวถึงปลายไตรมาส 3 ก่อนจะฟื้นไข้ในไตรมาส 4 หากการเมืองเริ่มคลี่คลาย!

สภาวะเศรษฐกิจของไทยขณะนี้หลายสำนักต่างมองว่าเป็นช่วงขาลงแต่หากดูเฉพาะตัวเลขที่คณะกรรมกรรมส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI ก็คงไม่น่าห่วงมากนักเพราะ BOI และกระทรวงอุตสาหกรรมได้พยายามทำความเข้าใจกับนักลงทุนมาตลอดจนทำให้เชื่อได้ว่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุนของนักลงทุนทั้งในและนอกประเทศจะยังสูงกว่าปีที่แล้วซึ่งข้อมูลดังกล่าวทำให้บีโอไอมั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยไม่ได้น่าเป็นห่วงตามที่มีการวิตกกังวลกัน

แต่เมื่อมองไปที่การขอจดทะเบียนตั้งบริษัทใหม่ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์อาจจะตกใจได้เพราะตัวเลขการขอจดทะเบียนตั้งแต่เริ่มต้นปี 2550 กลับลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันได้มีบริษัทขอเลิกกิจการจำนวนมากเช่นกัน

อย่างไรก็ดีจากข้อมูลการจดทะเบียนธุรกิจทั่วราชอาณาจักรในรอบ 3 เดือนที่ผ่าน (กุมภาพันธ์-เมษายน) พบว่าเดือนก.พ.มียอดจดทะเบียนตั้งธุรกิจใหม่ทั้งสิ้น 3,600 รายแบ่งเป็นกรุงเทพฯ 1,466 รายและภูมิภาค 2,134 ราย และมียอดเงินจดทะเบียนทั้งหมด 10,085.38 ล้านบาทแยกได้เป็นเงินจดทะเบียนกรุงเทพฯ 4,057.66 ล้านบาทและเงินทุนจดทะเบียนในภูมิภาค 6,027.72 ล้านบาทและที่เลิกกิจการจำนวน 781 ราย

มี.ค.ตั้งธุรกิจใหม่ลดลง 18.73 %

ขณะที่เดือนมีนาคม 2550 มีผู้ประกอบธุรกิจขอจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ทั่วราชอาณาจักรจำนวน 4,017 รายเงินทุนจดทะเบียนจำนวน 14,681.44 ล้านบาทแยกเป็นกรุงเทพฯจำนวน 1,709 รายและส่วนภูมิภาคจำนวน 2,308 ราย แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคมของปี 2549 ปรากฏว่าลดลง 926 รายหรือลดลงร้อยละ 18.73 แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น 416 รายหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.55 ในส่วนของประเภทธุรกิจที่มีการจดทะเบียนสูงสุด 3 อันดับแรกคิดเป็นร้อยละ 12.99 ของการจดทะเบียนจัดตั้งทั้งหมด คือ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างจำนวน 300 รายธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จำนวน 131 รายและธุรกิจตัวแทนธุรกิจการท่องเที่ยวและผู้จัดนำเที่ยวจำนวน 91 ราย

ด้านการจดทะเบียนเพิ่มทุนทั่วราชอาณาจักร ในเดือนมีนาคม 2550 มีจำนวน 1,187 รายเงินทุนที่จดเพิ่ม จำนวน 41,747.64 ล้านบาท ทั้งนี้ หมวดธุรกิจที่มีการจดทะเบียนเพิ่มทุนสูงสุด คือ หมวดการขายส่ง ขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคล และของใช้ในครัวเรือน จำนวน 391 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 32.94 ของธุรกิจที่จดทะเบียนเพิ่มทุนทั้งหมด และบริษัทมหาชนจำกัด ที่มีการจดทะเบียนเพิ่มทุนทั่วราชอาณาจักรมีจำนวน 15 ราย แยกเป็นกรุงเทพฯ จำนวน 6 ราย และส่วนภูมิภาค จำนวน 9 ราย เงินทุนที่จดเพิ่ม 3,624.61 ล้านบาท

เม.ย.ดิ่งไม่หยุด 20 .76%

ส่วนยอดขอจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ทั่วประเทศในเดือนเมษายนพบว่ามีจำนวน 2,649 รายลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน 694 รายหรือ 20.76% โดยจดทะเบียนบริษัทในกทม.จำนวน 1,211 รายและส่วนภูมิภาคจำนวน 1,438 รายคิดเป็นทุนจดทะเบียนจำนวน 7,307.94 ล้านบาทประเภทธุรกิจที่มีจำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนสูงสุด 3 อันดับแรกคิดเป็น 10.27% ของการจดทะเบียนจัดตั้งทั้งหมดคือ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างจำนวน 153 ราย ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จำนวน 68 ราย และธุรกิจบริการด้านธุรกิจอื่นๆจำนวน 51 ราย

ขณะที่การจดทะเบียนเพิ่มทุนทั่วประเทศมีจำนวน 810 รายเงินทุนที่จดเพิ่มจำนวน 29,225.52 ล้านบาท และหมวดธุรกิจมีจำนวนนิติบุคคลที่จดทะเบียนเพิ่มทุนสูงสุด คือ หมวดการขายส่ง ขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน จำนวน 244 รายหรือ 30.12% ของธุรกิจที่จดทะเบียนเพิ่มทุนทั้งหมด และบริษัทมหาชนจำกัดที่มีการจดทะเบียนเพิ่มทุนทั่วประเทศ มีจำนวน 15 ราย แยกเป็นกรุงเทพฯ จำนวน 13 ราย และส่วนภูมิภาคจำนวน 2 ราย เงินทุนที่จดเพิ่มจำนวน 4,364.01 ล้านบาท

บริษัทก่อสร้างปิดกิจการอื้อ

นอกจากนี้ได้มีนิติบุคคลที่จดทะเบียนเลิกทั่วราชอาณาจักรในเดือนมีนาคม 2550 มีจำนวน 847 ราย เงินทุนจดทะเบียน 2,894.12 ล้านบาทแยกเป็นกรุงเทพฯ จำนวน 306 ราย และส่วนภูมิภาค จำนวน 541 ราย เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม ของปี 2549 ปรากฏว่า ในปี 2550 มีนิติบุคคลจดทะเบียนเลิกลดลง 151 ราย หรือลดลงร้อยละ 15.13 ในส่วนของประเภทธุรกิจที่มีการจดทะเบียนเลิกสูงสุด 3 อันดับแรกคิดเป็นร้อยละ 20.54 ของการจดทะเบียนเลิกทั้งหมด คือ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างอาคาร จำนวน 107 ราย ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 37 ราย และธุรกิจบริการด้านธุรกิจอื่น ๆ จำนวน 30 ราย ทั้งนี้ มีจำนวนนิติบุคคลคงอยู่ทั่วราชอาณาจักร ณ วันที่ 31 มีนาคม 2550 จำนวน 528,353 รายเป็นต้น

ส่วนในเดือนเมษายน ปรากฏว่ามีนิติบุคคลที่จดทะเบียนเลิกทั่วประเทศจำนวน 672 รายเงินทุนจดทะเบียน 4,262.60 ล้านบาทลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 79 ราย หรือลดลง 10.51% แบ่งเป็นในกรุงเทพฯ 274 รายและส่วนภูมิภาค 398 รายประเภทธุรกิจที่มีจำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนเลิกสูงสุด 3 อันดับแรกคิดเป็น 19.64% ของการจดทะเบียนเลิกทั้งหมดคือ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างจำนวน 73 ราย ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำวน 30 รายและธุรกิจการต้มการกลั่นและการผสมสุราจำนวน 29 ราย ทั้งนี้มีจำนวนนิติบุคคลคงอยู่ทั่วประเทศ ณ วันที่ 30 เมษายน จำนวน 532,377 ราย

ศก.ทรุดกระทบ “2 ธุรกิจ”หลัก

ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ทำให้การจดทะเบียนตั้งธุรกิจใหม่ลดลงว่า เพราะเศรษฐกิจของประเทศที่ชะลอลงตัวอย่างเนื่อง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง ผู้ประกอบการขาดความเชื่อมั่น จึงส่งผลกระทบต่อการการจดทะเบียนตั้งธุรกิจใหม่แน่นอน อย่างไรก็ตามการจดทะเบียนตั้งธุรกิจใหม่ไม่ใช่เครื่องบ่งชี้ทางเศรษฐกิจของประเทศได้เสมอไป

สำหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างช่วงที่ผ่านมาประกอบด้วย 1.ธุรกิจการก่อสร้าง และ ธุรกิจค้าขายวัสดุก่อสร้างที่กำลังซื้อด้านอสังหาริมทรัพย์ลดลงไป การก้าวเข้าสู่ธุรกิจก่อสร้างในช่วงนี้ของผู้ประกอบการจึงลดลงเป็นธรรมดาซึ่งสอดคล้องกัน 2.ธุรกิจรถยนต์และอะไหล่มอร์เตอร์ไซด์ก็ได้รับผลกระทบที่ไม่ที่แตกกันทำให้มีนักธุรกิจไปจดทะเบียนตั้งธุรกิจใหม่กันน้อยลงในช่วงที่ผ่านมา

อย่างไรก็ดีโอกาสการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยนั้น ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจฯมองว่าข้อมูลทุกสำนักที่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวในในไตรมาส 3ของปีนี้แต่จะส่งผลให้การจดทะเบียนตั้งธุรกิจกลับมาคึกคักในไตรมาส 4 โดยเฉพาะหลังจากมีคำพิพากษาคดียุบพรรคการเมืองออกมาก็ไม่ใช่ว่าทุกอย่างจะดีขึ้นทันทีเพราะโอกาสขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นเรื่องร่างรัฐธรรมนูญเรื่องเลือกตั้งเรื่องม็อบต่างๆที่ยังไม่หยุดนิ่งทุกปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบได้ทั้งนั้น

“ผมเชื่อว่าเร็วที่สุดเราจะเห็นนักลงทุนต่างชาติเริ่มเข้ามาลงทุนก่อนเลือกตั้งเล็กน้อย และอาจจะเต็ม 100% เมื่อผ่านการเลือกตั้งทั่วประเทศไปแล้ว”ดร.ธนวรรธน์ ระบุ

สภาอุตฯชี้รธน.ไม่ผ่านศก.ทรุด

ด้านสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรม ระบุว่า ยอดจดทะเบียนตั้งธุรกิจใหม่ต่ำลงเรื่องๆนั้นน่าจะมาจากปัจจัยการเมืองเป็นสำคัญเพราะความไม่แน่นอนทางการเมืองฉุดความเชื่อมั่นของนักลงทุนไทยและต่างชาติมาตั้งแต่ต้นปีและคาดว่าจะลากยาวไปถึงปลายไตรมาส 3 และจะเริ่มคลี่คลายในต้นไตมาส 4 ซึ่งการจดทะเบียนจะกลับมาดีขึ้นก็คงอยู่ในช่วงนั้น แต่มีข้อแม้ว่าร่างรัฐธรรมนูญจะต้องผ่านประชามติไม่เช่นนั้นความหวังที่ว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นในไตรมาส 4 คงไม่มีทางเป็นไปได้

นอกจากนี้แล้วจะเห็นว่าการขยายการลงทุนเพิ่มเติมที่ผ่านมาไม่ค่อยมีเพราะนักลงทุนไม่กล้าที่จะแบกรับความเสี่ยงไว้กับสถานการณ์ทางเมืองที่ไม่แน่นอนจึงทำให้ชะลอการลงทุนออกไปก่อน ทั้งผู้ประกอบการใหม่ที่จะเข้ามาก็รอดูสถานการณ์เช่นกันจึงทำให้ยอดจดทะเบียนตั้งธุรกิจใหม่ลดลงไปอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้แล้วยังมีพวกซับคอนแทค (Sub Contract) และ นักธุรกิจรายเล็กๆจะได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะบริษัทเหล่านี้ไม่มีงานก็เลิกกิจการกันไปเยอะขณะที่อีกกลุ่มที่เลิกกิจการไปคือกลุ่มสิ่งทอที่ไม่มีงานเข้ามา   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us