Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์11 มิถุนายน 2550
อีโคคาร์มาแน่ไม่เกิน 5 แสน ฮอนด้าดันส่งออกสู้ปิกอัพ คาดตลาดรถมือสองอ่วม             
 


   
search resources

Automotive




อีก 2 ปีข้างหน้าหลังประกาศมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2550 ที่ผ่านมา ให้กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินโครงการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล หรืออีโคคาร์ ผู้บริโภครถยนต์ชาวไทยจะมีโอกาสได้ใช้รถยนต์นั่งขนาดเล็ก ประหยัดพลังงาน และมีราคาต่ำลงกว่าในปัจจุบันประมาณ 80,000-100,000 บาท เป็นผลจากการลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์นั่งทั่วไปที่กำหนดไว้ 25% ให้เหลือเพียง 17% สำหรับอีโคคาร์

โครงการอีโคคาร์ ดังกล่าว ได้รับการตอบรับจากผู้ผลิตรถยนต์ทั้งรายใหญ่และรายเล็กอย่างถ้วนหน้า ทั้งโตโยต้า ฮอนด้า และซูซูกิ ซึ่งตามหลักการของรถยนต์ประเภทดังกล่าวคือ ผู้ผลิตรถยนต์ที่จะใช้ประโยชน์จากโครงการดังกล่าว ต้องผลิตรถยนต์ที่มีอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันไม่ต่ำกว่า 5 ลิตร ต่อ 100 กิโลเมตร หรืออัตราสิ้นเปลืองต้องสูงกว่า 20 กิโลเมตรต่อลิตรนั่นเอง

เครื่องยนต์ที่กำหนดไว้มี 2 ประเภทคือ เครื่องยนต์เบนซินไม่เกิน 1300 ซีซี และเครื่องยนต์ดีเซล ไม่เกินกว่า 1400 ซีซี. และต้องเป็นเครื่องยนต์ที่ผ่านมาตรฐานไอเสียระดับยูโร 4 ขึ้นไป นอกจากนี้ผู้ผลิตจะต้องมีกำลังการผลิตรถยนต์อีโคคาร์ภายใน 5 ปีหลังเริ่มผลิตรถยนต์ออกสู่ตลาดไม่ต่ำกว่า 100,000 คัน

โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ค่ายรถยนต์รายใหญ่ของไทย แสดงท่าทีชัดเจนในการให้ความร่วมมือกับโครงการต่างๆ ของภาครัฐ มิทซึฮิโระ โซโนดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย กล่าวก่อนหน้านี้ว่า ไม่ว่าผลสรุปรัฐบาลเกี่ยวกับอีโคคาร์จะเป็นเช่นไร โตโยต้ายืนยันพร้อมจะเป็นบริษัทรถยนต์รายแรกที่เข้าร่วมโครงการผลิตรถอีโคคาร์ และขณะนี้โตโยต้าก็มีรถยนต์ที่มีความเหมาะสมอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นโตโยต้า วีออส หรือยาริส

ส่วนการที่รัฐบาลต้องการจะให้ผลิตรถยนต์โมเดลใหม่ เป็นรถขนาดเล็กกว่าที่มีในท้องตลาดปัจจุบันนั้น คงต้องพิจารณากันดูว่า ตลาดมีความต้องการมากน้อยเพียงไร แต่จากการศึกษาตลาดของโตโยต้าโอกาสเป็นไปได้น้อยมาก

ศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้าฯ บอกว่า ปัจจุบันทั้งวีออส และยาริส มีสัดส่วนการจำหน่ายรวมกันจำนวนกว่า 50% ของจำนวนรถยนต์นั่งโตโยต้าที่จำหน่ายในแต่ละปี ขณะที่ตลาดรถยนต์นั่งคิดเป็นสัดส่วนเพียง 20% ของรถยนต์ที่โตโยต้าจำหน่าย ดังนั้นหาประเมินสัดส่วนของตลาดรถยนต์ประเภทอีโคคาร์ ไม่น่าจะมีปริมาณมากนัก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับตลาดรถปิกอัพ ซึ่งเป็นตลาดรถยนต์ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย

ดังนั้นการที่ตลาดอีโคคาร์จะมีจำนวนมากเท่าใด ขึ้นอยู่กับแรงจูงใจของรถยนต์อีโคคาร์มีมากน้องเพียงใด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราคา คุณภาพ และรูปทรงตัวรถ โดยเรื่องราคานั้นหากต่ำกว่ารถยนต์ที่มีอยู่ในตลาดไม่มากนัก ก็อาจไม่สามารถสร้างแรงจูงใจ หรือแม้แต่รูปทรงที่ไม่สวยงาม และไม่ตรงตามความต้องการของตลาด อีโคคาร์ก็อาจไม่ได้รับความสนใจเช่นกัน

โดยเฉพาะผลการวิจัยที่ผ่านมานั้น ทำให้ทราบว่าผู้บริโภคชาวไทยนิยมรถยนต์นั่งมีมีขนาดใหญ่ ให้ความสำคัญกับรูปทรงมากกว่าสมรรถนะของเครื่องยนต์

ในส่วนของตลาดส่งออกนั้น มิทซึฮิโระ โซโนดะ มองว่า รถประเภทนี้ที่ได้รับความนิยมมีอยู่เพียงไม่กี่ตลาด ได้แก่ ตลาดยุโรปที่มี เรโนลต์กับเปอโยต์ 206 ครองตลาดอยู่แล้ว ด้วยยอดขายใกล้เคียงกันยี่ห้อละประมาณ 4 แสนคัน อีกตลาดอยู่ที่อินเดียก็มีรถตาต้า และซูซูกิ ครองตลาด ส่วนอีกแห่งอยู่ที่มาเลเซียก็จะมีรถยนต์แห่งชาติโปรตอน และเพอโรดัวได้รับการคุ้มครองอยู่แล้ว

ดังนั้นทิศทางส่งออกอีโคคาร์ของโตโยต้า จึงเห็นว่า โอกาสส่งออกในจำนวนมากเหมือนการส่งออกปิกอัพ 1 ตันที่ไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญแห่งเดียวของโลกจึงค่อนข้างริบหรี่

ศุภรัตน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของโตโยต้า มีแนวทางในการคัดเลือกรถยนต์รุ่นที่ผ่านข้อกำหนดของโครงการไว้ 2-3 รูปแบบ เช่น อาจจะใช้ตัวถังของรถยนต์รุ่นที่ทำตลาดในปัจจุบันคือ โตโยต้า วีออส หรือโตโยต้า ยารีส แต่ต้องหาเครื่องยนต์ที่เข้าตามหลักเกณฑ์ ซึ่งหากเป็นเครื่องยนต์ที่มีทำตลาดอยู่แล้วในต่างประเทศก็อาจใช้เงินลงทุนไม่มากในการผลิตเครื่องยนต์ในประเทศ

ส่วนอีกวิธีการหนึ่งคือ การหาโมเดลรถรุ่นใหม่และเครื่องยนต์ที่ตรงมาตามเงื่อนไขของโครงการ ซึ่งวิธีการนี้ต้องใช้เงินลงทุนสูงกว่ามาก เนื่องจากนโยบายของโตโยต้า จะต้องใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตภายในประเทศทั้งหมด 100% และต้องใช้เวลาในการจัดหาชิ้นส่วนของรถยนต์รุ่นใหม่พอสมควร

อย่างไรก็ดีเป้าหมายในเรื่องรถยนต์ประหยัดพลังงานของโตโยต้าไม่ได้อยู่ที่ โครงการอีโคคาร์ หรือรถยนต์ที่สามารถใช้น้ำมันเชิ้อเพลิง E20 เท่านั้น แต่ที่ผ่านมาโตโยต้ากำลังพุ่งเป้าไปที่รถที่ใช้เครื่องยนต์ไฮบริด หรือเครื่องยนต์ลูกผสมระหว่างเครื่องยนต์กับมอเตอร์ไฟฟ้า เนื่องจากรถในกลุ่มนี้มีขนาดตัวถังที่ใหญ่ แต่ให้ความประหยัดสูงกว่ารถยนต์ขนาดเดียวกัน ซึ่งน่าจะเป็นตลาดที่มีปริมาณความต้องการมากกว่าอีโคคาร์

ทั้งนี้ปัจจุบันรถเครื่องยนต์ไฮบริดดังกล่าว ต้องเสียภาษีซ้ำซ้อนเนื่องจากมีระบบขับเคลื่อน 2 ระบบ ทำให้รถที่นำเข้ามาจำหน่ายมีราคาสูงมาก ซึ่งหากมีการพิจารณาทบทวนการคำนวณภาษีของรถยนต์ในกลุ่มนี้ น่าจะเป็นผลดีกับรถในกลุ่มประหยัดพลังงานของโตโยต้า

ส่วนอีโคคาร์นั้น โตโยต้าก็ยังต้องหาผลิตภัณฑ์เข้ามาทำตลาด และแข่งขันกับคู่แข่งสำคัญคือฮอนด้า เพื่อรักษาโอกาสทางการตลาด และความเป็นผู้นำตลาดรถยนต์ในเมืองไทย

ด้านฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งแสดงท่าทีชัดเจนในการสนับสนุนโครงการอีโคคาร์มาโดยตลอด แสดงความเห็นด้วยกับการตัดสินใจของรัฐบาลครั้งนี้ โดย พิทักษ์ พฤทธิสาริกร กรรมการบริหาร บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิลฯ คาดหวังว่า รถยนต์อีโคคาร์จะกลายเป็นโปรดักซ์แชมป์เปี้ยนอีกผลิตภัณฑ์หนึ่งต่อจากรถยนต์ในกลุ่มปิกอัพ

แม้อัตราภาษีสรรพสามิตที่ทางภาครัฐตัดสินออกมาที่ 17 % จะไม่เป็นไปตามที่ฮอนด้าเคยคาดหวังไว้ และเงื่อนไขที่กำหนดออกมาเป็นเรื่องที่ท้าทาย ไม่ว่าจะเป็นอัตราสิ้นเปลืองน้ำมัน 20 กิโลเมตรต่อลิตร , มาตรฐานมลพิษระดับยูโร 4, และมาตรฐานความปลอดภัยเช่นเดียวกับยุโรป ซึ่งทางฮอนด้าต้องพิจารณาหาผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามเงื่อนไขของโครงการ

สำหรับค่ายฮอนด้าในเมืองไทยนั้น เป็นบริษัทที่เน้นทำตลาดเฉพาะในกลุ่มรถยนต์นั่งเป็นหลัก โดยไม่มีผลิตภัณฑ์รถยนต์ประเภทปิกอัพเลย ที่ผ่านมาการส่งออกของฮอนด้าก็ยังอยู่ที่รถยนต์นั่งด้วยเช่นกัน ดังนั้นการที่รัฐบาลตัดสินใจให้การสนับสนุนโครงการผลิตรถอีโคคาร์ ซึ่งจะเป็นเซ็กเมนท์ใหม่ที่เกิดขึ้น น่าจะส่งผลดีในแง่การเพิ่มปริมาณการผลิตให้กับฮอนด้า และส่งผลต่อต้นทุนการผลิตในอนาคต อีกทั้งฮอนด้าอาจจะหันมาใช้ไทยเป็นฐานผลิตรถอีโคคาร์สำหรับส่งออก ไปยังตลาดสำคัญของฮอนด้าในแถบเอเชีย

ขณะที่ตลาดในประเทศ อีโคคาร์จะเป็นการแตกเซ็กเมนท์ใหม่ให้กับกลุ่มที่มีกำลังซื้อต่ำ โดยเฉพาะรถยนต์ที่มีราคาอยู่ในระดับ 350,000 ถึง 500,000 บาท

ซูซูกิ เป็นค่ายรถขนาดเล็กค่ายหนึ่งที่ประกาศตัวสนับสนุนโครงการดังกล่าว เคอิอิชิ อะซะโนะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซูซูกิ ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ให้ความเห็นก่อนหน้านี้เช่นกันว่า ได้ยื่นข้อเสนอขอร่วมโครงการอีโคคาร์ อย่างไรก็ตามไม่ว่าโครงการดังกล่าวจะดำเนินการหรือไม่ ซูซูกิก็จะทำตลาดรถยนต์นั่งขนาดเล็กอยู่แล้ว

ขณะที่ตัวโปรดักส์ในการทำตลาดคงต้องพิจารณาในกรอบข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ อาฟต้า ซึ่ง ซูซูกิเพิ่งเริ่มประกอบรถรุ่น “สวิฟต์” ในมาเลเซีย เมื่อต้นปีที่แล้ว และมีโอกาสอย่างมากที่จะใช้ข้อตกลงดังกล่าวในการนำเข้ามาทำตลาดในไทย แต่คงต้องใช้เวลา 2-3 ปีในการพิจารณาแผนดังกล่าว

โดยซูซูกิ ทำยอดขายรถยนต์ในปีที่ผ่านมาได้ราว 881 คัน และคาดหมายยอดขายรถยนต์ในปีนี้น่าจะ 2,000 คัน ทั้งนี้ยอดขายกว่า 70% มาจากรถยนต์รุ่น แครี่ รถปิกอัพที่มีโครงสร้างพื้นฐาน เดียวกับรถอเนกประสงค์รุ่น เอพีวี และมีราคาต่ำสุดอยู่ที่ 329,000 บาท

การเกิดโครงการอีโคคาร์ครั้งนี้ แม้ผู้ผลิตหลายๆ รายจะแสดงท่าทีเห็นด้วย และพร้อมร่วมโครงการ แต่สำหรับตลาดรถยนต์มือสอง ซึ่งตลาดส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มรถยนต์ระดับราคา 300,000-600,000 บาท และหากมีรถยนต์รุ่นใหม่ที่มีระดับราคา ไม่เกิน 500,000 บาท เกิดขึ้น บรรดาผู้ประกอบการเชื่อว่าจะมีผลกระทบอย่างมากกับตลาดรถยนต์มือสองแน่นอน

นอกจากนี้กระทรวงการคลังยังเตรียมประกาศลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์ที่สามารถใช้แก๊สโซฮอล์ที่เติมเอทานอล 20% หรือ E20 โดยจากการหารือกับกระทรวงอุตสาหกรรมได้ข้อสรุปว่าการจัดเก็บภาษีรถยนต์ที่ใช้ E20 มีการจัดเก็บตามความจุของกระบอกสูบต่ำกว่าอัตราการจัดเก็บภาษีรถยนต์ทั่วไป 5% ดังนี้ รถยนต์ที่มีความจุกระบอกสูบ 2000 ซีซี. กำลังเครื่องยนต์ 220 แรงม้า เดิมเก็บภาษี 30% เปลี่ยนเป็นจัดเก็บที่ 25% รถยนต์ที่มีความจุกระบอกสูบ 2000 – 2500 ซีซี. กำลังเครื่องยนต์ 220 แรงม้า เดิมเก็บภาษี 35% เปลี่ยนเป็นจัดเก็บที่ 30%

รถยนต์ที่มีความจุกระบอกสูบ 2500– 3000 ซีซี. กำลังเครื่องยนต์ 220 แรงม้า เดิมเก็บภาษี 40% เปลี่ยนเป็นจัดเก็บที่ 35% ส่วนรถยนต์ที่มีความจุกระบอกสูบมากกว่า 3000 ซีซี. กำลังเครื่องยนต์ 220 แรงม้า จัดเก็บภาษีที่ระดับ 50% เท่าเดิม โดยอัตราการจัดเก็บภาษีดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2551   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us