Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน8 มิถุนายน 2550
เตือนแบงก์เตรียมตั้งรับเกณฑ์คุมเข้มระบุหลังใช้บาเซิล2เงินกองทุนหด1.5%             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธาริษา วัฒนเกส
Banking and Finance




ธปท.เดินหน้าเร่งสถาบันการเงินปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยี หรือความต้องการของผู้บริโภค รับหลังนำเกณฑ์บาเซิล 2 มาใช้จะทำให้เงินกองทุนของแบงก์พาณิชย์ทั้งระบบลดลง 1.5% จาก 13.5% เหลือ 12.5% ระบุปัญหาการเมืองเป็นเพียงปัจจัยระยะสั้น มั่นใจหลังรัฐโหมกระตุ้นความเชื่อมั่นภาคเอกชน เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวในครึ่งหลังของปี ขณะที่การลงทุนและการบริโภคจะพุ่งแทนการส่งออกในอีก 2-3 ปีข้างหน้า

นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ได้ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “ภาวะเศรษฐกิจไทยและภาคธุรกิจ”ซึ่งจัดโดยสภาธุรกิจตลาดทุนไทย ธนาคารแสตนดาร์ด ชาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด และบริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาคูเปอร์ (ประเทศไทย) ว่า การขยายตัวเศรษฐกิจของไทยยังคงเติบโตดีอยู่ โดยไตรมาสแรกของปีนี้เท่ากับไตรมาส 4 ของปีก่อนที่ระดับ 4.3% ซึ่งภาคการส่งออกที่มีสัดส่วนถึง 80%ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี) ยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักส่วนหนึ่ง เพราะได้รับผลดีจากเศรษฐกิจโลกที่ยังคงขยายตัวดีอยู่ และภาคเอกชนหันมาส่งออกตลาดต่างประเทศมากขึ้นทดแทนการส่งออกตลาดในประเทศที่ยังคงชะลอตัวอยู่

ทั้งนี้ แม้ภาครัฐก็มีการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการออกนโยบายต่างๆ ที่ผ่อนคลายมากขึ้น เพื่อเพิ่มความมั่นใจของภาคเอกชนและเพื่อรับช่วงต่อจากการส่งออกในอีก 2-3 ปีข้างหน้า แต่การบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนยังคงชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยการบริโภคไตรมาสแรกขยายตัว 1.3% เมื่อเทียบกับปี 49 และปี 48 ขยายตัวอยู่ที่ระดับ 3.1% และ 4.3% โดยเฉพาะสินค้าทุน อาทิ รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิสก์ ส่วนการลงทุนก็มีการชะลอตัวจนติดลบในรอบหลายปีที่ผ่านมา โดยไตรมาสแรกลดลงถึง –2.4% เทียบกับปี 49 ขยายตัว 3.9% และปี 48 ที่ระดับ 10.9%

อย่างไรก็ตาม ธปท.เชื่อว่าจากการผ่อนคลายนโยบายด้านต่างๆของภาครัฐ ประกอบกับปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจของไทยยังคงดีอยู่ทั้งภาคการต่างประเทศ รวมทั้งยังมีเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่องทั้งการลงทุนในตลาดหุ้นหรือในรูปของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ(เอฟดีไอ) และยิ่งหากการเมืองมีความชัดเจน จึงเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะเริ่มฟื้นตัวได้ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

"ขณะเดียวกันปัจจัยอื่นๆก็เอื้ออำนวยอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นสภาพคล่องที่เยอะ ดอกเบี้ยขาลง ราคาพืชผลสูง รวมทั้งการส่งออกที่ยังขยายตัวดีอยู่ ขาดแต่เพียงการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนที่ยังคงแผ่วอยู่ ซึ่งปัญหาตัวใหญ่ คือ การเมืองที่ยังไม่นิ่ง รวมทั้งการร่างรัฐธรรมนูญที่ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะผ่านหรือไม่ก็เป็นเรื่องที่สำคัญด้วย อย่างไรก็ตามเชื่อว่าปัญหาการเมืองเป็นเพียงปัจจัยระยะสั้นเท่านั้น เพราะขณะนี้บางธุรกิจที่มีการลงทุนระยะยาวก็ได้เดินหน้าไปบ้างแล้ว เหลือเพียงการเพิ่มความมั่นใจต่อนักลงทุนมากขึ้นการลงทุนในส่วนอื่นๆ ก็จะตามมา"ผู้ว่าการธปท.กล่าว

ผู้ว่าการธปท. กล่าวว่า ในส่วนของภาคสถาบันการเงินและบริษัทจดทะเบียนก็ต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงตัวเองให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยี หรือแม้แต่ความต้องการของผู้บริโภค จึงจำเป็นที่ต้องมีการนำมาตรฐานสากลแบบใหม่ๆ มาใช้ในการดำเนินธุรกิจด้วย โดยภาคสถาบันการเงินและบริษัทจดทะเบียนจะต้องเตรียมความพร้อมกับมาตรฐานใหม่ที่ธปท.จะนำมาใช้ด้วยใน 3 เรื่อง ได้แก่ 1.การกำกับแบบรวมกลุ่ม 2. การเตรียมความพร้อมรองรับการใช้มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 39 (IAS39) และ3.การดำรงเงินกองทุนตามหลัก บาเซล ทู

โดยเฉพาะการดำรงเงินกองทุนตามมาตรฐาน บาเซล ทู ที่จะเริ่มมีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการในปี 51 นี้ ก็ยอมรับว่าจะมีผลให้อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง(บีไอเอส) จากปัจจุบันเฉลี่ยในระบบอยู่ที่ 13.5% ลดลง 1.5% ทำให้เงินกองทุนในระบบธนาคารพาณิชย์เหลือเพียง 12% เท่านั้น ขณะเดียวกันก็อาจมีผลต่อการปรับระบบการดำเนินงานภายในองค์กร ฐานข้อมูล รวมทั้งบุคคลากรด้วย อย่างไรก็ตามเชื่อว่าจะส่งผลดีในแง่ของการพิจารณาสินเชื่อให้แก่ลูกหนี้ที่มีคุณภาพจะดีขึ้น โดยจะได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ถือเป็นการสอดคล้องกับความเสี่ยงธุรกิจลูกหนี้รายนั้น โดยเฉพาะลูกหนี้ประเภทธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) และลูกหนี้ที่ต้องการขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยด้วย

สำหรับการกำกับแบบรวมกลุ่ม เป็นการพิจารณาให้สินเชื่อ และเงินกองทุนของธุรกิจในเครือข่ายเข้าด้วยกันกับบริษัทแม่ ถือเป็นการพิจารณาเป็นกลุ่มแทนจากเดิมที่พิจาณาเฉพาะบริษัทในเครือที่เข้ามาขอสินเชื่อเท่านั้น ซึ่งจะเริ่มนำมาใช้ในปีหน้า เช่นกัน

ส่วนการนำมาตรฐานการบัญชีแบบใหม่อย่าง IAS39 เชื่อว่าจะไม่กระทบการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ เพราะธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่จะมีการพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้มากกว่า ซึ่งหากมีการใช้ IAS39 ก็ยิ่งเพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ประกอบกับเงินกองทุนของระบบธนาคารพาณิชย์โดยเฉลี่ยก็ยังมีสูง จึงเชื่อว่าจะไม่ส่งผลต่อฐานะของธนาคารพาณิชย์แต่อย่างใด

โดยก่อนหน้านี้ นางทองอุไร ลิ้มปิติ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายความเสี่ยง สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า จากการประเมินของ ธปท. พบว่า หากมีการใช้มาตรฐาน IAS39 ธนาคารพาณิชย์ในระบบจะต้องมีการกันสำรองเพิ่มขึ้น 68,000 ล้านบาท แต่ขณะนี้ได้มีธนาคารพาณิชย์ประมาณ 5-6 แห่งมีการกันสำรองไปแล้วถึง 40,000-50,000 ล้านบาท กันสำรองครบทั้ง 100% ภายในครั้งเดียวจากที่ธปท.อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์สามารถกันสำรองได้ 3 งวด คือ งวดสิ้นปี 2549 งวดกลางปี 2550 และให้เสร็จทั้งจำนวนในงวดสิ้นปี 2550 ทำให้ในปีนี้ทั้งปีธนาคารพาณิชย์จะต้องกันสำรองเพิ่มอีกเพียง 20,000 ล้านบาทเท่านั้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us