Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน8 มิถุนายน 2550
บล.ทรีนีตี้หวั่นเฟดขึ้นดอกเบี้ยดึงเงินต่างชาติไหลออกนอกปท.             
 


   
search resources

วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล
Funds
ทรีนีตี้, บล.




บล.ทรีนีตี้ ชี้ ตลาดหุ้นไทยเสี่ยงหุ้นร่วง หากเฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่งผลเม็ดเงินต่างชาติไหลออก"วิศิษฐ์"แจง ธปท.ลดดอกเบี้ยได้เร็วกระตุ้นเงินฝากในระบบ 5 ล้านล้านบาท หันเข้าตลาดหุ้นได้ชดเชยเงินฝรั่ง มั่นใจดัชนีตลาดหุ้นไทยขึ้นได้ ลั่น ถึง 1 พันจุดได้หรือไม่ขึ้นอยู่นโยบายของธปท.

นายวิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ทรีนีตี้ จำกัด เปิดเผยในงานเสวนา"รู้ทัน Fund Flow โหวตทันราคาหุ้น " ว่า จากการที่บริษัทหลักทรัพย์ต่างประเทศ ได้มีการประเมินว่าธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)จะมีการปรับขึ้นอีก 0.25%ในปีนี้ ทำให้อัตราดอกเบี้ยสหรัฐอยู่ที่ 5.5% ในปลายปีนี้ และจะขึ้นอีก 0.50% ในปีหน้าทำให้ดอกเบี้ยสหรัฐฯอยู่ที่ 6% นั้นจะมีผลทำให้เม็ดเงินต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยจะมีการไหลออกไป โดยเฉพาะ นักลงทุนเก็งกำไร (เฮดจ์ฟันด์) ที่มีการกู้เงินมาลงทุนนั้นต้องมีการรีบขายหุ้นเพื่อนำเงินไปคืนเงินกู้มา และได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่าลงทุนในตลาดหุ้นไทย

ทั้งนี้หากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่เร็ว ก็จะทำให้เงินออมที่ฝากธนาคารพาณิชย์ที่ทั้งระบบในขณะนี้มีจำนวน 5 ล้านล้านบาท ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น และธปท.ควรที่จะออกมาตรการให้แบงก์พาณิชย์มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้เร็วขึ้นเช่นกัน จากปัจจุบันที่มีการปรับลดดอกเบี้ยที่ช้า ซึ่งหากสามารถทำให้เม็ดเงินออมที่ฝากกับแบงก์เข้ามาลงทุนในหุ้นได้ ก็จะทำให้ดัชนีตลาดหุ้นมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ แม้ต่างประเทศจะมีการขายหุ้นไทยออกไปก็ตาม

"หากธปท.มีการลดดอกเบี้ยได้เร็ว ทำให้เม็ดเงินที่มีการฝากจากธนาคารที่มีทั้งระบบ 5 ล้านล้านบาท ซึ่งสูงกว่ามูลค่าตลาดรวม (มาร์เกตแคป) ของตลาดหุ้นไทยไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น ถึงแม้เฟดจะปรับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นทำให้เม็ดเงินต่างชาติไหลออก ก็ยังคงทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ เช่น ในปี 2003นั้น ต่างชาติมีการขายหุ้นไทยออกมา แต่นักลงทุนในประเทศมีการซื้อก็ยังทำให้ดัชนีมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ถึง 400 จุด ดังนั้นจึงต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนในประเทศ "นายวิศิษฐ์ กล่าว

สำหรับการที่การที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ถึง 1,000 จุดนั้นขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยหลัก คือ ธปท. จะต้องมีการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยได้เร็วแค่ไหน ซึ่งหากปรับตัวลดลงได้อีก 1 % ในปีนี้ก็จะดีกับตลาดหุ้นไทย ส่วนปัจจัยที่สอง จะขึ้นอยู่กับ ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นหรือไม่ จากก่อนหน้านี้ที่ประเมินว่าจะปรับตัวลดลง

นายวิศิษฐ์ กล่าวว่า ปัจจุบันนักลงทุนทั่วโลกให้มีการให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นมากว่าการลงทุนในตราสารหนี้ (บอนด์)แต่จากการที่ผลตอบแทนของบอนด์อายุ10ปี และ 30 ปี ของอเมริกา มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 5% นั้น อาจมีผลทำให้นักลงทุนมีการเคลื่อนย้ายเงินจากหุ้นไปลงทุนในบอนด์มากขึ้น รวมถึงอัตราเบี้ยที่เฟดจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้ว่าเฟดออกมาส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยหลังจากอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกาสูงขึ้น

ทั้งนี้ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาพบว่ามีเม็ดเงินเข้ามาลงทุนในประเทศไทยรวม 1 ล้านล้านบาทแบ่งเป็นการเข้าลงทุนในตลาดหุ้น 3 แสนล้านบาทลงทุนในตราสารหนี้ 1 แสนล้านบาทและ 2 แสนบาทเป็นการลงทุนโดยตรง ที่เหลือเป็นการลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์หลังจากที่ทางการมีการแก้ไขพรบ.ต่างชาติซึ่งจำกัดการถือหุ้นของนักลงทุนต่างชาติเลยหันไปลงทุนในบริษัทที ;่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน(BOI)   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us