Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2534
ซีพีจับมือออสก้ามายเออร์ ชิงตลาด 1,000 ล้าน             
 


   
www resources

โฮมเพจ เครือเจริญโภคภัณฑ์

   
search resources

เครือเจริญโภคภัณฑ์
ออสก้ามายเออร์
Food and Beverage




การประกาศตัวอย่างเป็นทางการของ "ออสก้ามายเออร์" ในการบุกตลาดอย่างจริงจังในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้สร้างความคึกคักให้กับตลาดผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์ที่มีคู่แข่งอยู่มากราย

ถึงแม้ว่าจะเป็นที่ทราบกันมาก่อนล่วงหน้าแล้วว่า ซีพีได้เซ็นสัญญาร่วมทุนกับบริษัทออสก้ามายเออร์แห่งสหรัฐอเมริกาในสัดส่วน 60 : 40 มาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2529 โดยการจัดตั้งบริษัท ออสก้ามายเออร์-ซีพี จำกัด ขึ้นด้วยทุนจดทะเบียน 40 ล้านบาทเพื่อผลิตสินค้าในชื่อยี่ห้อของออสก้ามายเออร์ออกวางตลาดในประเทศไทย

แต่จากความไม่พร้อมในเรื่องของโรงงานผลิตทำให้สินค้าของออสก้ามายเออร์ต้องล่าช้าออกไป

การสร้างโรงงานระบบปิดเพื่อควบคุมความเย็น 12-15 c การติดตั้งเครื่องจักรที่ใช้เทคโนโลยีที่นำสมัยในการผลิต เทคนิคในการรักษาความสดสะอาดในทุกขั้นตอน กรรมวิธีการบรรจุด้วยระบบสูญญากาศ (VACUUM PACK) เพื่อให้สินค้าเก็บได้นานโดยไม่เสื่อมคุณค่าทางโภชนาการ และการพัฒนาสินค้าเป็นสาเหตุที่สำคัญของการล่าช้าครั้งนี้

และสาเหตุที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง คือ ในการปรับปรุงโรงงานเพื่อให้ได้มาตรฐานเดียวกับที่ผลิตในอเมริกานั้นต้องดำเนินการไปพร้อม ๆ กับการผลิตสินค้าไส้กรอกของซีพีที่มีอยู่เดิม ทำให้การปรับปรุงต้องเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป

ภายหลังจากการปรับปรุงเรียบร้อยแล้ว ทำให้โรงงานออสก้ามายเออร์-ซีพี ซึ่งเกิดจากการร่วมทุนครั้งนี้มีมูลค่ากว่า 300 ล้านบาท

สินค้าที่ออกวางตลาดในช่วงแรกมีอยู่ด้วยกัน 6 ชนิด คือ ไส้กรอกหมูเวียนเนอร์, สโมกกี้ ลิงค์, จัมโบ้สโมกกี้, แฮม, โบโลน่า และเบคอน โดยใช้ชื่อ "คราฟท์ อสก้า มายเออร์" เนื่องจากปัจจุบันออสก้ามายเออร์เป็นส่วนหนึ่งของบริษัทอาหารที่ใหญ่ที่สุดในโลกรายหนึ่ง คือ บริษัทคราฟท์ เยนเนอรัลฟู้ด ซึ่งอยู่ในคเรือข่ายของบริษัท ฟิลิปมอริส และการใช้ชื่อคราฟท์ ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านผลิตภัณฑ์เนยแข็งควบคู่ไปด้วยน่าจะเป็นการการันตีและช่วยในการทำตลาดให้ง่ายขึ้นด้วย

การเข้ามาในตลาดของออสก้ามายเออร์ครั้งนี้ ได้สร้างความหวั่นไหวให้กับคู่แข่งในตลาดไม่น้อยด้วยเหตุผลประการสำคัญ คือ ความพร้อมและความใหญ่ของซีพี

หากพิจารณาถึงคู่แข่งขันในตลาดของซีพี ซึ่งมีด้วยกันหลายราย อย่างเช่น หมูตัวเดียวของบางกอกแฮม, หมูสองตัวของไทยซอสเซส, บีลักกี้, อีเก้ง, สวิฟ แล้วนับว่าซีพีเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุด

เพราะนอกเหนือจากจะมีโรงงานผลิตที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่แล้ว ส่วนหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญ คือ การมีฟาร์มเลี้ยงหมูและฟาร์มเลี้ยงไก่ของตนเอง เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบป้อนให้กับโรงงาน ซึ่งนัยว่าคนที่จะเข้ามาอยู่ในธุรกิจประเภทนี้อย่างจริงจังควรจะก้าวไปให้ถึงจุดนี้ นั่นคือการทำธุรกิจแบบครบวงจร ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีคู่แข่งรายใดของซีพีก้าวขึ้นมาถึงขั้นนี้

ซีพีจึงอยู่ในฐานะที่เหนือกว่าคู่แข่งทุกรายในเรื่องของความพร้อม

ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องยากที่ซีพีจะบุกตลาดจนมียอดขายรวมทั่วประเทศมากเป็นอันดับหนึ่ง แต่ในสมรภูมิรบอย่างห้างสรรพสินค้าในเขตกรุงเทพฯ ซีพีกลับได้ชื่อว่า เป็นรองค่ายบางกอกแฮมที่มีหมูตัวเดียวเป็นหัวหอกสำคัญ

การที่เข้าตลาดมานาน และรสชาติเป็นที่คุ้นลิ้นคนไทย ทำให้หมูตัวเดียวยึดตลาดได้อย่างเหนียวแน่นและได้ชื่อว่ามีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด โดยที่ไม่มีคู่แข่งรายใดตีตลาดได้แม้กระทั่งซีพี แต่การที่บางกอกแฮมเน้นตลาดเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ โดยเฉพาะจุดขายในห้างสรรพสินค้าทำให้ตลาดค่อนข้างจำกัด จุดนี้เองที่ทำให้ซีพีซึ่งก้าวเข้ามาทีหลังแต่มีความพร้อมมากกว่าเจาะเข้ายึดตลาดทั่วประเทศได้อย่างรวดเร็ว

คู่แข่งที่สำคัญของซีพี นอกเหนือจากบางกอกแฮมแล้วยังมีบีลักกี้และสวิฟซึ่งนับได้ว่าเป็นคุ่แข่งที่นำหน้าซีพีไปในเรื่องของบรรจุภัณฑ์แบบสูญญากาศ

บีลักกี้เข้าตลาดด้วยการเจาะเซ็กเม้นท์ช่องทางด้านโรงแรมหรือภัตตาคารใหญ่ รวมถึงสายการบินโดยให้ความสำคัญกับตลาดนี้มากเป็นพิเศษ ในขณะที่สินค้าที่วางขายในห้างสรรพสินค้าเป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น บีลักกี้จึงได้ชื่อว่าแข็งที่สุดในตลาดโรงแรม ว่ากันว่าโรงแรมในประเทศไทย 80% ใช้ผลิตภัณฑ์ของบีลักกี้ ซึ่งในตลาดนี้คู่แข่งอย่างซีพีก็พยายามที่จะเข้าให้ได้ แต่การที่บีลักกี้มีผลิตภัณฑ์มากประเภทกว่าจึงไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก

สำหรับ "สวีฟ" ซึ่งดูเหมือนจะเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวที่สุดของซีพี (ในช่วงเปิดตัวครั้งแรกเมื่อปลายปี 2531) เนื่องจากเป็นแบรนด์ระดับอินเตอร์ที่ทางบริษัท ไทย-อาร์.เอฟ.เอ็ม. ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างกลุ่มอาร์.เอฟ.เอ็ม.ของฟิลิปปินส์กับกลุ่มนักธุรกิจไทยที่รู้จักกันดี อย่างณรงค์ วงศ์วรรณ มงคล ศิริสัมพันธ์ โดยมีสมบูรณ์ นันทาภิวัฒน์ นั่งเป็นประธานกรรมการบริษัทฯ ได้ซื้อลิขสิทธิ์มาผลิตในประเทศไทย

ด้วยเงินลงทุนสร้างโรงงานขนาดใหญ่ถึง 700 ล้านบาทซึ่งไม่เพียงแต่เป็นโรงงานผลิตอาหารแปรรูปจากสัตว์เท่านั้น ยังเป็นโรงงานฆ่าและชำแหละเนื้อสัตว์ที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย โดยได้รับการสนับสนุนจากบีโอไอพร้อมกับเงินกู้จากบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจำนวน 257.7 ล้านบาท และจากยูเสดอีก 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้สวีฟดูเพียบพร้อมมากที่สุดในขณะนั้น

แต่หลังจากที่สวีฟวางตลาดได้ไม่นานก็มีอันต้องเงียบหายไปจากตลาด

แหล่งข่าวในไทย-อาร์.เอฟ.เอ็ม. เล่าถึงสาเหตุที่ทำให้สวีฟหายจากตลาดไปพักหนึ่ง เนื่องมาจากปัญหาเรื่องตู้แช่ ซึ่งมีความเย็นไม่เหมาะสมพอ ทำให้สินค้าซึ่งต้องอาศัยความเย็นในการเก็บรักษาต้องประสบกับปัญหาตามไปด้วย ในขณะที่ทีมงานระดับบริหารซึ่งรับผิดชอบสินค้าตัวนี้ก็ไม่มีความถนัดในการทำสินค้าประเภทบริโภค

"ต้องยอมรับว่า ทีมบริหารที่เข้ามาทำสวีฟนั้นแข็งมากในเรื่องของมาร์เก็ตติ้ง ไม่ว่าจะเป็นการกระจายสินค้าอย่างทั่วถึง การโปรโมชั่นแบบไม่อั้นจนทำให้สินค้าเป็นที่รู้จักในตลาด แต่สิ่งที่สำคัญที่ลืมนึกถึง คือ สินค้าตัวนี้มีอายุในการวางตลาดได้ไม่นาน จำเป็นต้องใช้การดูแลเป็นพิเศษ ในขณะที่ทีมงานวางแล้ววางเลยประกอบกับปัญหาเรื่องตู้แช่ไม่ได้มาตรฐานพอด้วย ทำให้สวีฟต้องถอยทัพไปพักอยู่ระยะหนึ่ง ซึ่งในระยะนั้นมีการเปลี่ยนทีมผู้บริหารอีกหลายชุดด้วย"

จนกระทั่ง กลุ่มเฟิสท์ แปซิฟิก เข้ามาเทคโอเวอร์ไทย-อาร์.เอฟ.เอ็ม. และเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็นไทย-แปซิฟิค ฟู้ดส์เมื่อต้นปี 2533 ทำให้ผลิตภัณฑ์ของสวีฟหวนกลับเข้าตลาดอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่ง

ดังนั้น การเข้ามาในตลาดของออสก้ามายเออร์จริง ๆ แล้วคงต้องเผชิญกับคู่แข่งหลัก คือ สวีฟ ซึ่งเป็นแบรนด์อินเตอร์ฯ เหมือนกัน และวางตำแหน่งสินค้าสูงขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง โดยปล่อยให้แบรนด์ซีพีต่อสู้ในตลาดที่เรียกว่า ตู้แช่ (ตักขาย) ต่อไป

แต่การที่ธุรกิจหลักของบริษัทไทย-แปซิฟิก ฟู้ดส์เป็นธุรกิจการชำแหละเนื้อสัตว์เพื่อส่งออกถึง 75% สวีฟจึงเป็นเพียงผลพลอยได้จากการทำธุรกิจหลักของบริษัทเท่านั้น และถึงแม้ว่าสวีฟจะถูกโอนมาให้ทางเบอร์ลี่ยุคเกอร์เป็นผู้จัดจำหน่ายในอนาคตอันใกล้นี้ในฐานะที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในไทย-แปซิฟิค ฟู้ดส์ โดยแบ่งหน้าที่ให้ไทยแปซิฟิค ฟู้ดส์ เป็นเพียงผู้ผลิตเท่านั้น แต่การที่เบอร์ลี่ยุคเกอร์มีความเชี่ยวชาญในสินค้าอุปโภคมากกว่าบริโภค

ซึ่งในจุดนี้เองที่ทำให้ออสก้ามายเออร์ค่อนข้างมั่นใจว่า จะสามารถเข้าไปยึดหัวหาดในตลาดสินค้าระดับบนนี้ได้อย่างไม่ยากนัก

ถึงแม้ว่าตัวเลขมูลค่าตลาดที่แท้จริงจะยังไม่มีใครสามารถประเมินออกมาได้ แต่จากการประมาณการของซีพีน่าจะอยู่ในราว 1,000 กว่าล้าน ซึ่งซีพีเองถือว่ายังเป็นตลาดที่เพิ่งเริ่มต้นและยังมีอัตราการเติบโตได้อีกมาก ดังนั้น การที่จะมีคู่แข่งรายอื่นเข้ามาทำกิจกรรมทางการตลาดน่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่ช่วยกระตุ้นให้ตลาดนี้โตขึ้น และนั่นคงไม่ใช่สิ่งที่ซีพีหวังเพียงรายเดียว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us