Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2534
พิษณุ นิลกลัด "บทเรียนการร่วมทุนที่ผิดพลาด"             
 


   
search resources

อินเตอร์เพนเด้นส์ เน็ทเวิร์คกรุ๊ป
พิษณุ นิลกลัด
ธัชเวชช์ เวชชวิศิษฎ์
News & Media
Sports




ความแตกแยกใน "อินกรุ๊ป" จนต้องแยกทางกัน เดินต่างคนต่างทำมาหากินในเส้นทางธุรกิจเดียวกัน กลายเป็นคู่แข่งขัน ซึ่งกันและกันระหว่างพิษณุ นิลกลัด กับธัชเวชช์ เวชชวิศิษฎ์ แม้จะดูเป็นเรื่องธรรมดา ๆ ในวงการธุรกิจ แต่ก็เป็นเรื่องน่าศึกษา เพราะมันเป็นเพียงบทเรียนแรกๆ ในการทำธุรกิจที่คนหนุ่มคนสาวร่วมสมัยในยุคนี้มักจะมองข้ามไปเสมอ ๆ

ในขณะที่องค์กรธุรกิจขนจาดใหญ่ยุคปัจจุบัน พยายามที่จะวิ่งเต้นเจรจาร่วมทุนกับคู่แข่งขัน เพื่อลดการแข่งขันระหว่างกันและเสริมพลังในตลาดให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น แต่กรณีของ "อินกรุ๊ป" มันช่างดูจะตรงข้ามกับแนวความคิดร่วมสมัยนี้อย่างสิ้นเชิง

พ่อค้าคนจีนใช้ความไว้วางใจในความซื่อสัตย์สุจริตที่มีต่อกันเป็นรุ่น ๆ มาตั้งแต่บรรพบุรุษเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจร่วมลงทุน แต่นักธุรกิจทางตะวันตกอิงกฎเกณฑ์กติกาทางกฎหมาย และสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรที่มีกฎหมายรองรับเป็นหลักในการสร้างความเชื่อมั่นต่อกัน

พิษณุ นิลกลัด เป็นคนหนุ่มที่มีความรู้ดีขั้นปริญญาตรีรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความอดทน เพียรพยายาม มุมานะในการเรียนรู้ด้วยใจรักอาชีพนักข่าวกีฬา เขาใช้เวลาในการสั่งสมประสบการณ์ โดยไม่เคยคิดจะถอนตัวออกจากวงการเป็นเวลานานนับสิบปี จนในที่สุดมันได้กลายเป็นความรู้ความสามารถในขั้นที่เรียกว่าเป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ไม่มีใครจะเป็นอย่างเขาได้ในระยะเวลาอันสั้น

หลังจากจบรัฐศาสตร์จุฬา พิษณุสอบติดปลัดอำเภอ แต่เขาไม่ไปรายงานตัวเพื่อบรรจุเข้าทำงาน เพราะรักที่จะเป็นนักข่าวมากกว่า

เพราะฉะนั้นพื้นฐานทางความคิดของพิษณุคงมีแต่งานที่เขารัก นั่นคือข่าวความเคลื่อนไหวทุกชั่วโมงในวงการกีฬาทั้งในและต่างประเทศ มีโอกาสน้อยมากที่เขาจะได้มีโอกาสคิดและติดตามข่าวและความรู้เกี่ยวกับการตลาด การบริหาร การจัดการ

การตัดสินใจในการร่วมทุนของเขาจึงมีประเด็นพิจารณาเพียงเพื่อนผู้มีเงินที่สนใจจะให้การสนับสนุนงานของเขา และโอกาสดีที่จะทำให้เขาได้ทำงานในสิ่งที่ถนัด

ธัชเวชช์ เวชชวิศิษฎ์ เป็นลูกชายคนมีเงิน พ่อแม่ส่งไปเรียนต่างประเทศตั้งแต่เด็ก มีความรู้สึกสนุกกับการติดตามข่าวกีฬา จุดนี้นำพาให้เขาเข้าสู่วงการข่าวกีฬาโดยการเป็นช่างภาพ

ในวงการช่างภาพข่าวกีฬาด้วยกันแล้ว ธัชเวชช์เป็นช่างภาพที่มีอุปกรณ์ในการหากินส่วนตัวครบสมบูรณ์และทันสมัยที่สุดตามประสาลูกคนมีเงิน

แม้งานข่าวจะเป็นงานที่หนัก แต่ไลฟ์สไตล์ของธัชเวชช์ก็ยังเป็นคนชอบบันเทิงเริงรมย์ และมีชีวิตแบบสบาย ๆ อยู่ร่ำไป

พื้นฐานความคิดของธัชเวชช์นั้น คิดว่าวันหนึ่งก็คงต้องมีกิจการอะไรสักอย่างที่เป็นของตัวเอง ประเด็นที่เขาพิจารณาในการร่วมลงทุนกับพิษณุ คือ เพื่อนที่ว้ใจและมีความสามารถในระดับที่จะกลั่นออกมาเป็นตัวเงินได้สบาย ๆ

ทั้งสองพบกันครั้งแรกเมื่อสมัย 10 ปีก่อนในโอกาสเดินทางไปทำข่าวฟุตบอลยุโรป ทั้งความเกี่ยวพันในอาชีพและนิสัยใจคอที่ดีต่อกันตลอดมา ก่อให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกันแน่นหนาขึ้นเรื่อย ๆ

และด้วยเหตุที่การสื่อสารทั้งในและต่างประเทศเจริญทันสมัยและรวดเร็วมากขึ้นในช่วงสามสี่ปีที่ผ่านมา จึงทำให้ประชาชนตื่นตัวต่อข่าวสารทางด้านกีฬามากขึ้น ธุรกิจที่เกี่ยวกับการขายข่าวสารทางด้านกีฬาที่ไม่ค่อยมีใครมองเห็นอนาคตของมัน กลับกลายเป็นข่าวสารที่ขายดีมากขึ้นเป็นทวีคูณไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอทางด้านโทรทัศน์และสิ่งพิมพ์

สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ ได้เกิดหนังสือพิมพ์สยามกีฬารายวันขึ้นมา ซึ่งแรก ๆ ไม่มีใครเชื่อว่าจะไปรอด แต่ปัจจุบันนี้ กลายเป็นหนังสือรายวันที่มียอดจำหน่ายติดอันดับหนึ่งในสามของหนังสือพิมพ์รายวันที่มียอดจำหน่ายสูงสุดเข้าไปแล้วอย่างน่าทึ่ง

ในขณะเดียวกัน การขายข่าวประเภทนี้ผ่านทางจอทีวีทั้งในรูปของการรายงานข่าว การถ่ายทอดสด และเกร็ดความรู้ด้านกีฬาต่าง ๆ เป็นเรื่องที่คนสนใจอย่างมากเกือบทุกประเภท

เมื่อคนสนใจมากขึ้น สินค้าต่าง ๆ ที่จะมาเป็นผู้สนับสนุนหรือสปอนเซอร์แก่สื่อต่าง ๆ ที่ขายข่าวทางด้านนี้ก็มีปริมาณสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว

การผลิตข่าวสารข้อมูลและสารคดีเกี่ยวกับกีฬาในประเภทต่าง ๆ จึงกลายเป็นธุรกิจที่เปิดโอกาสให้แก่คนที่อยู่ในวงการมีช่องทางทำมาหากิน สร้างความร่ำรวยขึ้นมาอยู่ในระดับที่เรียกกันว่าเศรษฐีใหม่

แต่อย่างไรก็ตาม ความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในข่าวสารประเภทนี้ก็เหมือนกับความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านอื่น ๆ ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการเรียนรู้สั่งสมกันเป็นเวลายาวนานพอสมควร

ดูเหมือนทั้งธัชเวชช์ และพิษณุ ได้เข้าใจในจุดนี้ และได้หยิบฉวยเอาโอกาสมาเป็นเจ้าของตนเองได้แล้วส่วนหนึ่ง โดยการตั้งบริษัทอินเตอร์เพนเด้นส์ เน็ทเวิร์คกรุ๊ป หรือ "อินกรุ๊ป" เพียงเวลาสองปีหลังการก่อตั้งเมื่อปี 2532 พวกเขามีรายได้เข้าบริษัทเดือนละกว่า 5 ล้านบาท หรือปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 60 ล้านบท

พวกเขาจะร่ำรวยมากกว่านี้ ถ้าไม่มาแตกคอกันเสียก่อน !!

อินกรุ๊ป มีรายการกีฬาทางทีวีของตัวเองอยู่ 3 รายการ รวมเวลา 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ อันได้แก่ รายการเอ็กเซ็กคิวทีฟกอล์ฟ ออกรายการทางช่อง 7 สีทุกวันจันทร์ ช่วงเวลา 23.00-24.00 น. รายการยอดมวยเอกออกรายการทางช่อง 7 สีทุกวันอังคารช่วงเวลา 23.00-24.00 น. และรายการสปอร์ตฮอตไลน์ออกรายการทางช่อง 9 ทุกวันพฤหัสในช่วงเวลาเดียวกัน

ในแต่ละรายการจะมีช่วงเวลาในการขายสปอร์ตโฆษณาโดยตรง 10 นาที/รายการหนึ่งชั่วโมงตามกฎหมาย ซึ่งจะตกประมาณ 40 นาทีต่อเดือนโดยรายการเอ็กเซ็กคิวทีฟกอล์ฟคิดอัตราค่าโฆษณา 45,000 บาท/นาที เพราะฉะนั้นคิดเฉพาะค่าสปอร์ตโฆษณารายการนี้ อินกรุ๊ปจะมีรายได้เข้าหลังจากหักส่วนลดแล้ว 15% ประมาณ 1,530,000 บาท/เดนอ

สำหรับรายการยอดามวยเอกมีเวลาในการโฆษณาตามกฎหมายเดือนละ 40 นาทีเช่นกัน โดยคิดอัตราค่าโฆษณานาทีละ 48,00 บาท ซึ่งจะทำให้มีรายได้เข้าบริษัทหลังหักส่วนลด 15% แล้วประมาณ 1,632,000 บาท/เดือน

รายการสปอร์ตฮอตไลน์มีเวลาในการขายโฆษณาตามกฎหมาย 40 นาที/เดือน โดยขายในราคา 35,000 บาท/นาที รายได้ทั้งเดือนตัดส่วนลด 15% แล้วจะตกประมาณ 1,190,000 บาท/เดือน

รายได้พวกนี้ยังไม่รวมค่าโฆษณาในรูปอื่น ๆ ที่ไม่ใช่สปอตโฆษณาโดยตรง เช่น ผู้สนับสนุนรายการที่ระบุชื่อในตอนขึ้นต้นรายการ อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือประกอบฉากต่าง ๆ ซึ่งจะมีรายได้อีกหลายแสนบาทต่อรายการต่อเดือน

นอกจากนี้ อินกรุ๊ปยังทำนิตยสารรายเดือนชื่อ "เอ็กเซ็กคิวทีฟกอล์ฟ" ซึ่งมีอัตราค่าโฆษณาหน้าสี่สีเต็มหน้าตั้งแต่ 25,000-35,000 บาท ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่ลงโฆษณากลุ่มเดียวกันกับรายการทีวีชื่อเดียวกัน เพราะฉะนั้นนิตยสารฉบับนี้จึงไม่ค่อยมีปัญหาในด้านการโฆษณาเท่าใดนัก เพราะทั้งนิตยสารและรายการทีวีต่างก็เกื้อหนุนซึ่งกันและกันอยู่แล้ว

และด้วยความที่ธุรกิจหลักกำลังเดินหน้าไปได้ดี การพยายามหารายได้ให้มากขึ้นโดยวิธีการสร้างเครือข่ายบริการที่รับกับธุรกิจหลักก็เกิดขึ้น

ได้มีการตั้งบริษัทในเครือชื่อ "อินเพรส" ขึ้นมาอีกบริษัทหนึ่งรับบทบาทในการวางแผนและทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้แก่โครงการสนามกอล์ฟ ซึ่งเป็นลูกค้าของรายการทีวีและนิตยสารที่เกี่ยวกับกอล์ฟอยู่แล้ว ในระยะต่อมาได้ขยายตลาดบริการทางด้านนี้ออกไปสู่โครงการพัฒนาที่ดินด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น โครงการหมู่บ้านจัดสรรอาคารชุด รวมไปถึงนิคมอุตสาหกรรมด้วย ล่าสุดบริษัทนี้มีลูกค้าที่เซ็นสัญญาจ้างกันไปแล้วประมาณ 12 โครงการ แต่ไม่อาจประเมินรายได้ในขณะนี้

ก่อนที่จะมีการรวมตัวกันทำธุรกิจจนมีตัวเลขรายได้เข้าบริษัทเดือนหนึ่งหลายล้านเช่นนั้งสองต่างก็มีกิจกรรมทางธุรกิจเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นของตัวเองตามแต่โอกาสและความสามารถเปิดให้

พิษณุมีรายการยอดมวยเอกทางช่อง 7 สี ซึ่งเริ่มต้นด้วยการรับจ้างบรรยายให้แก่บริษัทเอสเอสโปร จนกลายมาเป็นผู้ผลิตและเป็นเจ้าของรายการเองในที่สุด พิษณุกล่าวว่า รับรายการนี้มาเต็มตัวก่อนที่จะมาร่วมกับธัชเวชช์ตั้งอินกรุ๊ปประมาณ 6-7 เดือน โดยทำงานร่วมกับ ชาญ วรพิพัฒน์กำธร ซึ่งมีความเชี่ยวชาญทางด้านการผลิตในขณะที่ตัวเขาเองเชี่ยวชาญทางด้านข่าวสารและบรรยาย ทั้งสองทำงานร่วมกันแบบไม่เอาเงินเดือน รายได้เท่าไหร่หักค่าใช้จ่ายเหลือแล้วจึงแบ่งกัน

รายการยอดมวยเอกเป็นที่นิยมของคนดู เพราะลีลาการบรรยายที่เต็มไปด้วยลีลาเร้าใจและเกร็ดความรู้ที่พิษณุใส่เข้าไปอย่างน่าติดตาม แต่ในขณะเดียวกันพวกเขาทั้งสองก็ประสบปัญหาเรื่องเงินทุนและงานทางด้านการตลาดเพราะไม่ถนัด

ธัชเวชช์เองก็มีรายการตามที่ถนัดเป็นของตัวเอง คือ รายการเกี่ยวกับการแข่งรถในนามบริษัทสปอร์ตอิมแพค ซึ่งเป็นเทปรายการที่ซื้อมาจากต่างประเทศ แล้วนำมาแปลและบรรยายภาษาไทยนำออกเผยแพร่ทางทีวี แม้รายการนี้จะไม่เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง แต่ก็เป็นที่ชื่นชอบของคนเฉพาะกลุ่ม ประกอบกับธัชเวชช์เองก็เรียกได้ว่ามีสายป่านยาวจึงประคองายการอยู่มาได้ด้วยดี ในขณะเดียวกันสิ่งที่เขาขาด คือ ความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับกีฬา ซึ่งจะเป็นที่มาของความคิดในการสร้างสรรค์งานและลีลาในการบรรยายที่เร้าใจอย่างที่พิษณุมี รวมไปถึงความชำนาญในการผลิตรายการเป็นของตัวเองอย่างที่ชาญมีอีกด้วย

ทั้งสองฝ่ายต่างก็มีในสิ่งที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่มีและขาดในสิ่งที่อีกฝ่ายหนึ่งมี ประกอบกับความเชื่อใจต่อกันตามเวลาที่คบกันมายาวนาน การเจรจาตกลงในเงื่อนไขการร่วมกันจึงไม่ใช่เรื่องยากเย็นที่จะลงตัวกันได้โดยง่าย

พวกเขามีความต้องการสิ่งที่มีในตัวอีกฝ่ายหนึ่งสูง และมีความไว้ใจกันมาก ประเด็นในเรื่องผลประโยชน์จึงเป็นประเด็นรองในการเจรจาร่วมลงทุน ไม่มีใครมองถึงความขัดแย้งที่มันอาจเกิดขึ้นเมื่อตัวเลขรายได้มันเข้ามามาก ๆ

ทั้งสองตกลงตั้งบริษัทกันขึ้นมาใหม่ชื่อบริษัทอินดิเพนเด้นส์เน็ทเวิร์คกรุ๊ปด้วยทุนจดทะเบียนหนึ่งล้านบาท โดยธัชเวชช์เป็นผู้ลงทุนและแบ่งหุ้นลมให้แก่พิษณุ 15% และตกลงจ่ายค่าผลิตรายการยอดมวยเอกให้แก่พิษณุอีกสัปดาห์ละ 12,000 บาท เป็นการแลกกับที่พิษณุนำรายการยอดมวยเอกเข้ามาสมทบเป็นของบริษัท

ในด้านการบริหาร ธัชเวชช์เป็นกรรมการผู้จัดการมีอำนาจในการลงลายมือชื่อเป็นหลักคู่กับกรรมการคนอื่น ๆ แทนบริษัทซึ่งก็มี ปรมา ชันซื่อ แฟนของธัชเวชช์ พิษณุ และก็ชาญเพื่อนของพิษณุ

มีการแบ่งงานกันรับผิดชอบตรงตามความถนัดของแต่ละฝ่าย คือ ธัชเวชช์ดูแลทางด้านการตลาด และการแปลข่าวจากต่างประเทศ ปรมาดูแลทางด้านบัญชีและการบริหารภายในทั่วไป พิษณุกับชาญรับผิดชอบในการสร้างสรรค์และผลิตรายการ

รายการยอดมวยเอกทำรายได้ดีและมีการขยายงานออกมาเรื่อย ๆ มีการนำเอาแนวความคิดและช่องทางการตลาดจากการที่พิษณุทำรายการกอล์ฟทิปหรือเกล็ดความรู้เรื่องการเล่นกอล์ฟให้แก่ช่อง 7 สีวันละ 3-4 นาทีมาขยายเป็นรายการใหญ่ขึ้นเป็นของตัวเอง ชื่อ "เอ็กเซ็กคิวทีฟกอล์ฟ" ติดตามด้วยการออกนิตยสารในชื่อเดียวกัน และมันก็ได้เป็นช่องทางนำไปสู่การวางแผนและทำโฆษณาให้แก่สนามกอล์ฟต่าง ๆ ภายใต้ชื่อบริษัทอินเพรสขึ้นมาอีกบริษัทหนึ่ง

แต่บริษัทหลังสุดนี้ ฝ่ายของพิษณุไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นด้วย ดูไปแล้วก็เหมือนกับเป็นธุรกิจส่วนตัวระหว่างธัชเวชช์กับปรมา

ความรู้สึกว่ามีความไม่สมดุลย์ทางผลประโยชน์เกิดขึ้น เมื่อตัวเลขรายได้นับวันจะสูงขึ้น ฝ่ายพิษณุมีความรู้สึกว่า ฝ่ายธัชเวชช์ไม่ค่อยได้ทำอะไร ในขณะที่ฝ่ายธัชเวชช์มีความรู้สึกว่า ฝ่ายพิษณุไม่ได้ลงทุนอะไรกลับมีแต่รายรับ

จุดกล่าวหาตรงนี้แสดงออกมาเป็นตัวเลขที่ทั้งสองฝ่ายกล่าวอ้างก็คือว่า บริษัทมีกำไรสุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดรวมทั้งเงินเดือนของแต่ละคนแล้วอย่างน้อยเดือนละ 20,000 บาท ถ้าตัวเลขนี้เป็นจริงก็จะมีกำไรรวมทั้งปี 2,400,000 บาท แต่พิษณุจะได้จากส่วนนี้ประมาณ 360,000 บาทตามสัดส่วนการถือหุ้น ส่วนที่เหลือ 2,040,000 บาทจะตกเป็นของผู้ลงทุนทั้งหมด

ส่วนอีกจุดหนึ่งก็คือ พิษณุจะมีรายได้ต่อเดือนนอกเหนือจากเงินเดือนละ 20,000 บาทแล้วยังได้ค่าผลิตรายการยอดมวยเอกอีกสัปดาห์ละ 12,000 บาทหรือตกประมาณเดือนละ 48,000 บาท รวมแล้วพิษณุจะมีรายได้เดือนละ 60,000 บาทหรือประมาณ 720,000 บาท/ปี และเมื่อรวมกับรายได้พิเศษที่พิษณุได้จากการรับผลิตรายการกอล์ฟทิปให้แก่ช่อง 7 สีอีกตอนละ 8,000 บาท (ออกรายการทุกวัน ๆ ละตอน) ซึ่งพิษณุย้ำว่า ได้แบ่งเข้าเป็นรายได้บริษัทตอนละ 5,000 บาท ฉะนั้นเขาจะได้รับจากส่วนนี้อีกประมาณเดือนละ 90,000 บาทหรือปีละประมาณ 1,080,000 บาท ฉะนั้นเมื่อรวมกันทั้งหมดแล้วพิษณุจะมีรายได้ต่อปีทั้งสิ้น 1,800,000 บาท

ซึ่งเป็นตัวเลขที่ทำให้ธัชเวชช์คิดมากได้เหมือนกัน !!!

ถ้าดูตามตัวเลขที่แต่ละฝ่ายได้ไปต่อปีนั้นก็น่าจะยุติธรรมดี ทั้งผู้ลงทุนและผู้ลงแรง แต่ถ้ามองในแง่ของการสร้างองค์กรแล้วดูจะอ่อนปวกเปียกเอามาก ๆ

เพราะเหตุว่าไม่มีการประเมินมูลค่าสิ่งที่แต่ละฝ่ายมีอยู่ออกมาเป็นตัวเงินเสียก่อนที่จะตีลงไปเป็นทุนให้เสร็จเด็ดขาดในตอนเริ่มต้น เพื่อให้ผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้นลงตัวทั้งในแง่รายรับประจำต่อเดือน ปันผลต่อปี และสินทรัพย์ของบริษัทที่จะพอกพูนขึ้นในอนาคต

แต่ปรากฏว่า ได้มีการประเมินออกมาเป็นหุ้นลมส่วนหนึ่ง และแยกค่าผลิตออกไว้อีกต่างหากส่วนหนึ่ง

สัดส่วนหุ้นของทั้งสองฝ่ายจึงไม่สมดุลย์กัน ซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายอย่างยิ่งในการร่วมกันบริหารและสร้างสรรค์กิจการให้เติบโตอย่างเคียงบ่าเคียงไหล่กันในระยะยาว

ความขัดแย้งจนต้องแยกทางกันเดินของพิษณุกับธัชเวชช์จึงเป็นบทเรียนสำหรับนักธุรกิจร่วมสมัย ที่จะต้องคำนึงถึงหลักตรรกที่เป็นวิทยาศาสตร์ของการบริหารสมัยใหม่ ที่ว่าด้วยการร่วมลงทุนให้มากกว่าก่อนท่จะตัดสินใจลงทุนร่วมทางธุรกิจกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us