Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2534
มูลนิธิเทียนฟ้าเป็นใคร มีทรัพย์สินอะไร?             
 


   
search resources

มูลนิธิโรงพยาบาลเทียนฟ้า
Real Estate
ชัยยง มหาพัฒนากุล




มูลนิธิโรงพยาบาลเทียนฟ้า ซึ่งถือกำเนิดมากว่า 80 ปีกำลังจะกลายเป็นเจ้าของโครงการยักษ์ในบริเวณที่ดินมักกะสัน ซึ่งเป็นที่ดินแปลงใหญ่ที่มูลนิธิได้ซื้อทิ้งไว้เมื่อ 30 ปีที่แล้วด้วยการเปิดให้นักลงทุนเช่าที่ดินของมูลนิธิในบริเวณชุมชนจารุรัตน์ประตูน้ำบนเนื้อที่ 10 ไร่จากเนื้อที่ทั้งหมด 14 ไร่เศษ เพื่อพัฒนาให้เป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่หรือโรงแรมชั้นหนึ่ง หรืออาคารสำนักงานมีความสูงไม่ต่ำกว่า 24 ชั้น โดยกำหนดระยะเวลาการเช่า 30 ปีและใช้วิธียื่นซองประมูล

มูลนิธิฯ นี้ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากนัก เมื่อเทียบกับป่อเต็กตึ๊งหรือร่วมกตัญญู แต่พอมาเป็นข่าวก็ทราบว่า มีทรัพย์สินเนื้อที่ดินที่ประสงค์จะให้นักลงทุนมาเช่าพัฒนา

ในปี พ.ศ.2446 มูลนิธิโรงพยาบาลเทียนฟ้าได้ถือกำเนิดจากพ่อค้าชาวจีน 6 คน คือ นายโง้วเหมียวง้วน (จีนล่ำซำ), นายเล่ากี่ปึ้ง (พระยาภักดีภัทรากร), นายกอฮุยเจี๊ยะ, นายเหล่าชอเมี้ยง (พระเจริญราชธน), นายเฮ้งเฮ่งจิว และนายเตียเกี้ยงซำ (หลวงโสภณเพชรรัตน์) ได้ร่วมใจกนอุทิศเงินจำนวนหนึ่งและได้ชวนพ่อค้าชาวจน ประชาชนทั่วไปร่วมกันสบทบทุนเพื่อจัดซื้อที่ดินจำนวน 2 ไร่ 2 งาน 49 ตารางวาบริเวณเขตสัมพันธวงศ์ ถนนเยาวชน เป็นเงิน 52,000 บาท เพื่อให้เป็นที่ตั้งโรงพยาบาลและมูลนิธิโรงพยาบาลเทียนฟ้าในปัจจุบัน

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรองรับผู้ป่วยชาวจีนที่เข้ามาทำการค้าขายในประเทศไทย โดยในข้อบังคับของมูลนิธิได้ระบุวัตถุประสงค์เอาไว้ว่า เพื่อรับคนไข้อนาถาไว้รักษาพยาบาลโดยไม่เรียกค่าพยาบาลหรือค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด และทำการตรวจโรคและแจกจ่ายยาให้กับคนไข้อนาถาเป็นการให้ทาน เว้นแต่ปรากฏว่าคนไข้นั้นไม่ใช่อนาถาก็จะเรียกเงินค่ายาตามสมควร โดยไม่ได้คิดค้ากำไร รวมถึงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่าง ๆ ด้วย

ดังนั้น เงินที่ได้รับจากการบริจาคจึงเป็นช่องทางเดียวที่จำนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของโรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือนแพทย์ พยาบาล หรือแม้กระทั่งยาที่ใช้ในการรักษา ซึ่งปัจจุบันในเดือน ๆ หนึ่งค่าใช้จ่ายทั้งหมดของโรงพยาบาลมีไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท

จุดประสงค์ของการจัดตั้งและวิธีการบริหารโรงพยาบาลเทียนฟ้า มองจากความข้างต้นนี้ก็คงไม่ต่างอะไรกับโรงพยาบาลหัวเฉียวของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งเท่าใดนัก

การก่อตัวของมูลนิธิโรงพยาบาลเทียนฟ้าในครั้งนั้นทำให้เกิดการรวมกลุ่มคนเชื้อสายจีนทุกภาษาไว้ด้วยกันจนสืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน และในบรรดาชาวจีนที่รวมกลุ่มกันนี้ส่วนใหญ่จะเป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียงนหลาย ๆ สาขาวิชาชีพ อย่างเช่น จุลินทร์ ล่ำซำ สหัท มหาคุณ วันชัย จิราธิวัฒน์ สนิท วีรวรรณ ฯลฯ ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้เป็นผู้ที่มีฐานะทางการเงินดี และเป็นผู้ให้การสนับสนุนทางการเงินกับทางมูลนิธิฯ มาโดยตลอด

ซึ่งแน่นอนว่า กลุ่มคนเหล่านี้ย่อมมีบทบาทในมูลนิธิฯ ค่อนข้างมากในฐานะกรรมการดังนั้นการเปิดให้นักลงทุนเช่าที่ดินที่มักกะสัน ก็เป็นส่วนหนึ่งจากแรงผลักดันของคณะกรรมการที่เล็งเห็นลู่ทางที่จะหารายได้ให้กับมูลนิธิฯ เป็นเงินก้อนโตทีเดียว

ที่ดินผืนแรกที่มูลนิธิฯ จัดซื้อ คือ ที่ดินบริเวณตำบลประแจจีน มักกะสันจำนวน 20 ไร่ 1 งาน 67 ตารางวา ตามมติของคณะกรรมการชุดที่ 47 พ.ศ.2504-2505 ซึ่งมีสหัท มหาคุณ เป็นประธานกรรมการเพื่อใช้ในโครงการขยายกิจการของโรงพยาบาล ซึ่งในช่วงนี้เองเป็นช่วงเดียวกับที่เอกอัครราชทูตจีนหลีเทียะ เจิง เดินทางมาเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศไทย ก็ได้มีการเรียกร้องให้ชาวจีนในไทยร่วมใจกันสร้างศาลาไคเช็คชนม์ขึ้น เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมทางวัฒนธรรมของชาวจีน

ทางมูลนิธิจึงได้ร่วมกับคณะกรรมการไคเช็คชนม์จัดซื้อที่ดินที่ตำบลมักกะสัน จนเกิดปัญหาขึ้น คือ ขณะนั้นคณะปฏิบัติเข้มงวดในการอนุมัติให้คนต่างด้าวมีกรรมสิทธิ์ที่ดิน คณะกรรมการไคเช็คชนม์ขณะนั้นก็ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นทางการ จึงจำเป็นต้องขอร้องให้จุลินทร์ ล่ำซำ ซึ่งเป็นกรรมการทั้งมูลนิธิโรงพยาบาลเทียนฟ้าและไคเช็คชนม์เป็นคนจัดซื้อที่ดินและถือกรรมสิทธิ์ผืนนี้ในนามของตนเอง

ในการที่จะสร้างศาลาไคเช็คชนม์ได้เกิดปัญหาขึ้นอีกเมื่อท่ดินที่จะทำการก่อสร้างได้กลายเป็นสลัม เป็นที่อยู่อาศัยของคนยากจนมานานปีแล้ว ส่วนที่ดินของโรงพยาบาลเทียนฟ้ายังว่างเปล่าอยู่ จึงมีความเห็นกันว่า ให้ทำการแลกเปลี่ยนที่ดินระหว่าง มูลนิธิโรงพยาบาลเทียนฟ้ากับไคเช็คชนม์เสีย ประกอบกับขณะนั้นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้ง 2 ผืนนี้ คือ จุลินทร์ ล่ำซำ ซึ่งง่ายต่อการโอนสับเปลี่ยนกัน จึงได้ทำการโอนกันในปี 2505

ปัญหาที่ยังติดตามมา คือ ในช่วงของการสร้างศาลาไคเช็คชนม์นั้น ได้หันความสนใจของพ่อค้าประชาชนจีน จนลืมความสำคัญทางด้านนิติกรรมไป นั่นหมายถึงการโอนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่มูลนิธิฯ จนกระทั่งจุลินทร์ถึงแก่กรรมลงเรื่องจึงแดงขึ้น

ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนั้น คือ มูลนิธิฯ มีโฉนดแต่ไม่มีที่ดิน ส่วนไคเช็คชนม์ซึ่งก่อสร้างเสร็จแล้ว แต่ไม่มีโฉนด และผู้ทีมีกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินทั้ง 2 แห่ง คือ จุลินทร์ซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว ปัญหานี้ได้ถูกแช่เย็นไว้เป็นเวลากว่าสิบปี จนกระทั่งชัยยงค์ มหาพัฒนากุล เป็นรองประธานกรรมการมูลนิธิฯ (พ.ศ.2518-2519) ได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาสะสางจนกระทั่งจัดการโอนรับกรรมสิทธิ์ที่ดินบริเวณตำบลมักกะสันประมาณ 17 ไร่เศษจากผู้จัดการมรดกของจุลินทร์ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของมูลนิธิฯ ได้สำเร็จ

ตามเจตนาเดิม ที่ดินแปลงนี้ ทางมูลนิธิฯ ได้ซื้อเก็บไว้เพื่อสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่แทนที่เก่าที่เยาวราช แต่ต่อมา เมื่อถนนเพชรบุรี ย่านประตูน้ำ มีความเจริญมากขึ้น ทางมูลนิธิฯ จึงเกิดแนวความคิดที่จะทำการพัฒนาที่ดินแปลงนี้ด้วยการแบ่งให้เอกชนเช่าเป็นจำนวน 10 ไร่ เพื่อพัฒนาโครงการส่วนที่ดิน 4 ไร่ที่มูลนิธิฯ กันไว้บริเวณข้างหลังพื้นที่ให้เช่านั้น (จากที่ทั้งหมด 17 ไร่ถูกตัดไปเป็นถนนประมาณ 2 ไร่เศษจึงเหลือเพียง 14 ไร่เศษ) ทางมูลนิธิฯ จะพิจารณาว่า จะทำโครงการอะไรอีกครั้งหนึ่ง

ว่ากันว่า ก่อนหน้าที่ทางมูลนิธิฯ จะเปิดให้เอกชนประมูลเช่าที่ดินดังกล่าวผืนนี้ ทางกลุ่มบางกอกแลนด์ของมงคล กาญจนพาสน์ ได้มีความสนใจที่จะทำโครงการคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ โดยเชื่อมพื้นที่เดิมบริเวณศูนย์การค้าเมโทรซึ่งเป็นของตัวเองเข้าไปด้วย โดยได้ทำการศึกษาโครงการนี้อย่างจริงจัง และได้มีการนำเสนอให้กับทางมูลนิธิฯ พิจารณา เพื่อขอเช่าเนื้อที่บริเวณนี้ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ เนื่องจากติดปัญหาเรื่องผู้อยู่อาศัยเดิมที่รวมตัวกันจนเป็นชุมชนขนาดใหญ่และเป็นปัญหาค้างคามาจากอดีตที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ ประกอบกับการที่มงคล เป็นกรรมการอยู่ในมูลนิธิฯ จึงเป็นข้ออ้างที่คณะกรรมการไม่สามารถจะอนุมัติให้ได้

กลุ่มบางกอกแลนด์ จึงต้องถอยทัพกลับมาตั้งหลักใหม่

หลังจากนั้นไม่นาน มีการพูดกันว่า กลุ่มเซ็นทรัลก็มีความสนใจในการพัฒนาที่ดินผืนนี้เช่นกัน และการที่กลุ่มเซ็นทรัลมีสายสัมพันธ์อันแนบแน่นกับอุเทน เตชะไพบูลย์ คนที่ประธานมูลนิธิฯ นับถือเป็นอย่างมาก ก็น่าจะเชื่อได้ว่า กลุ่มเซ็นทรัลอาจจะได้เข้ามาพัฒนาที่ดินแปลงนี้

จนกระทั่ง มูลนิธิฯ ได้ทำการสะสางปัญหาผู้อยู่อาศัยเดิม ซึ่งมีประมาณ 1,000 ครอบครัวให้ย้ายไปอยู่ในที่ดินที่มูลนิธิฯ จัดสรรให้เป็นผลสำเร็จ

ที่ดินดังกล่าว มูลนิธิฯ ได้ซื้อเอาไว้เมื่อ 3 ปีที่แล้วที่มีนบุรีจำนวน 25 ไร่ในราคา 3 แสนบาท โดยทำการจัดสรรให้ครอบครัวละ 20 ตารางวา ซึ่งทางการเคหะแห่งชาติจะเป็นผู้จัดการในเรื่องการปรับพื้นที่และสาธารณูปโภคให้

จากนั้นมูลนิธิฯ จึงได้ประกาศให้เอกชนประมูลเช่าที่ดิน โดยจะพิจารณาคัดเลือกผู้ยื่นซองประกวดจากผู้ที่ให้ผลประโยชน์แก่มูลนิธิฯ มากที่สุด ซึ่งจะดูถึงราคาค่าเช่า ค่าหน้าดิน และมูลค่าโครงการเมื่อครบกำหนดสัญญาซึ่งกรรมสิทธิ์ในสิ่งก่อสร้างทั้งหมดจะตกเป็นของมูลนิธิฯ ดังนั้น ในการยื่นซองประมูล ผู้ยื่นจะต้องแนบแบบการก่อสร้างอย่างคร่าว ๆ มาให้คณะกรรมการพิจารณาด้วย โดยกำหนดยื่นซองในวันที่ 29 มีนาคมที่จะถึงนี้ ภายในเวลา 15.00 น. และจะทำการเปิดซองในวันเดียวกันเวลา 16.00 น.

และเป็นที่คาดกันว่า ผู้ที่ยื่นซองประมูลในครั้งนี้จะต้องมีกลุ่มบางกอกแลนด์และกลุ่มเซ็นทรัลอย่างแน่นอน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us