ถ้าเรายังต้องนั่งรอกำไรอีกหลายปีหน่อย
เราก็ต้องทำใจถ้าเราผูกมัดกับโครงการพวกนี้แล้วหนีไม่ได้
ภายหลังเปิดใช้รถไฟฟ้าไปประมาณ 2 อาทิตย์ "ผู้จัดการ"
ได้มีโอกาสได้สนทนากับคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทขนส่งมวลชนกรุงเทพ
จำกัด (มหาชน) BTSC โครงการสาธารณูปโภคแห่งแรกของโลก ที่ลงทุนด้วยเอกชนทั้งหมด
และกำลังถูกจับตามอง เมื่อ 7 ปีที่แล้วคุณคีรีคิดอย่างไรในการเข้ามาทำธุรกิจรถไฟฟ้า
ต้องการทำธุรกิจเดียวโดดๆ ออกมาเลย หรือต้องการให้เป็นจิ๊กซอว์หนึ่งของธุรกิจโดยรวมทั้งหมด
ถ้าจะพูดกันจริงๆ แล้วตอน ที่ผมเริ่มเข้ามาทำงานในเมืองไทย เป็นช่วง ที่ทำอะไรก็สำเร็จง่ายไม่ได้เป็นเพราะผมเก่งกาจอะไรนักหรอก
ผมใช้เวลา 2 ปี ในการสร้างธนาซิตี้ หรือธนายง ซึ่งเป็นบริษัท ที่ถือ ที่ดินอย่างเดียวไม่มีทรัพย์สินหรือธุรกิจอย่างอื่นเลย
ผมกลับมา และซื้อต่อจากครอบครัวไป ก็เริ่มทำในเวลา 2-3 ปี ด้วยความตั้งใจจริงเลยออกมาเป็นคอนเซ็ปต์
ที่ไม่ค่อยเหมือนคนอื่นเท่าไหร่ และการที่ทำอะไรให้มันดี ความต้องการเลยค่อนข้างจะสูง
เลยเตรียมระบบสาธารณูปโภคไว้ทั้งหมด เราทำทีเดียวเลยตอนนั้น แทน ที่จะแบ่งทำเป็นเฟสๆ
เหมือนโครงการอื่นๆ
การโฆษณาตอนนั้น คือ ร่มเย็นเป็นสุข เขียวขจี คือ เน้นในสิ่งแวดล้อมที่ดี
ซึ่งก็เลยทำทีเดียวหมด และได้รับการตอบรับดีมาก คือ ขายได้ดีมากใน ตอนนั้น
เลยเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้โดยไม่มีปัญหา
แล้วก็มาถึงโครงการ BTS ตอนนั้น เรื่องรถติดเป็นปัญหาอย่างมาก แล้วก็มาได้ยินคุณจำลอง
ศรีเมือง คุยกัน ก็คิดว่าถ้าทำได้จะเป็นภาพพจน์ ที่ ดีของบริษัท และทางด้านครอบครัวกาญจนพาสน์
ซึ่งทำเรื่อง ที่ดินมาตลอด ธนายงก็ทำ ที่ดินอีก ซึ่งสำหรับผมแล้วมันไม่มีอะไรตื่นเต้นคล้ายๆ
กับว่า อยากทำอะไร ที่มันดีดีกับสังคม กับโลก ซึ่งก็ไม่อยากพูดไปมันกระดากปาก
แต่ก็ตั้งใจ ที่จะทำ
อีกเรื่องหนึ่งก็คือ ผมก็เห็นว่าการทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในไทย มันไม่เหมือนกับฮ่องกง
หรือญี่ปุ่น มันจะเหมือนกับประเทศใหญ่ๆ ซึ่ง ที่ดินมี เยอะ และ ที่ดินจะพัฒนาขึ้นเมื่อมีรถไฟฟ้าผ่าน
หรือ ที่ดิน ที่รถไฟฟ้าผ่าน ผู้คนไปทำงานได้โดยไม่ต้องใช้รถยนต์ แก้เรื่องรถติด
เป็นสิ่งที่ในอนาคตจะ ต้องมีได้ นี่คือ เหตุผล 2 อย่างที่ทำให้ผมตัดสินใจลงทุน
โดยในการทำโครงการนี้ คุณจำลองเห็นว่าความตั้งใจของเราสูง เห็นได้จากการประมูล
เราลงทุนในการประมูลอย่างจริงจัง เรามีบุคลากร มีบริษัทที่ปรึกษา และรู้เรื่องธุรกิจอย่างจริงจัง
ตอนนั้น มี 3 บริษัท ที่เข้าประมูล เ ราส่งประมูลอย่างมือ อาชีพจริงๆ ผมเอารถ
เอาระบบต่างๆ เอาตัวเลขต่างๆ มาจากบริษัทที่ปรึกษา ที่มีความเชี่ยวชาญ ผมอยากให้มองเห็นว่าโครงการนี้มาจากความตั้งใจจริงๆ
และผ่านการตัดสินใจอย่างรอบคอบ ผมเลยมั่นใจตั้งแต่วันแรกว่า อีก 2 บริษัท
ที่ร่วมประมูลไม่มีทางสู้ได้
ตอนแรกท่านประธาน (หมายถึงคุณเกษม) ท่านเคยพูดว่าจะไม่นั่งรถไฟฟ้าด้วยซ้ำไป
แต่พอมาเห็นเราต่อสู้ เห็นการทำงาน ที่มีความตั้งใจ ท่านเห็นใจ เรามีดีไซน์จริงๆ
มา 40% เราถึงจะให้ผู้รับเหมามาประมูล ดังนั้น อย่าเอาเราไปเทียบกับโครงการโฮปเวลล์
นั่นเป็นการก่อสร้างแบบมองไป สร้างไป ซึ่งคุณจะเอาใครมาประมูล เพราะคุณจะไม่มีวันรู้ว่าค่าใช้จ่ายจะเป็นเท่าไหร่
นั่นคือ สิ่งที่ผิดตั้งแต่เริ่มแรก ซึ่งต่างกับการทำของเราอย่างมาก ถึงได้มาขนาดนี้
แต่มันเกิดมีปัญหาในสิ่งที่ไม่ควรมี มีปัญหาในด้านของสิ่งที่ไม่ คุ้มกันถึงได้เสียดายเวลาประมาณ
4 ปี เพราะจริงๆ เราจะใช้เวลาสร้าง เพียงประมาณ 32 เดือน เพราะเหตุผลว่าเราได้ดีไซน์
และก็ตัดสินใจอะไรทุกอย่างได้ถูกต้อง เราเสียกับสิ่งที่ไม่ควรเสีย เลยต้องใช้เงินไปอย่างมากมายโดยไม่จำเป็น
เป็นเรื่อง ที่น่าเสียดายจริงๆ
เมื่อเป็นอย่างนี้ธนายง จะได้ผลประโยชน์อะไรจาก BTS
และจะได้อย่างไร
ก่อนอื่นอยากให้เข้าใจก่อนว่าโครงการนี้ตอนเริ่มแรกเป็นโครงการ 13 กิโลเมตรครึ่ง
ตอนนั้น ธนายงมียอดขายทั้งหมดในตลาดประมาณ 50,000 กว่าล้าน โครงการ เพียง
13 กิโลเมตรครึ่งตอนนั้น ต้องใช้เงินไม่ถึง 20,000 ล้านเราไม่มีปัญหาเรื่องการเงินแน่ค่อนข้าง
ที่จะทำได้สบายๆ เงินสดใน บริษัทก็พร้อม แต่เมื่อมีปัญหาต้องเพิ่มระยะทางจาก
13 กิโลเมตร เป็น 24 กิโลเมตร มันเพิ่มทั้งระยะ และเพิ่มทั้งขนาดของระบบ
เงินก็เลยเพิ่มเป็น 30,000 กว่าล้านบาท แล้วมันขึ้นมาเป็น 50,000 กว่าล้านบาท
เพราะโดยค่าส่วนต่างของเงินบาท จากตอนนั้น พูดตรงๆ ก็คือ เพิ่มขึ้น 100%
ถ้าตอนนั้น ไม่มีสิ่งต่อต้าน ไม่มีปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในตอนนั้น โครงการนี้เสร็จสิ้นได้ภายใน
2 ปีหลังจากวันที่เซ็นสัญญาเมื่อธนายงถือหุ้นอยู่ 100% แน่นอน มันจะทำให้ธนายงมีกำไร
ซึ่งควรจะกำไร ในการดำเนินการภายใน 2 ปี
ถ้าถามว่าตอนนี้ธนายงยังเหลือ 51% จะเป็นอย่างไร ต้องขอเรียนว่า ถึงวันนี้แล้ว
อย่างไรก็ตามทีมบริหารไม่เคยท้อแท้ แล้วประชาชนทุกวันนี้เข้าใจแล้วว่าอะไรคือ
รถไฟฟ้า ทีนี้ก็ต้องมามองกันต่อว่าจะจัดการอย่างไร ให้เครือข่ายของรถไฟฟ้าสมบูรณ์ได้ในเวลาไม่นาน
เพราะฉะนั้น ธนายงจริงๆ แล้วสุดท้ายต้องคืนหนี้มากพอสมควร แต่คิดว่าธนายงคงคืนได้อีกประมาณ
30% โดยค่อนข้าง ที่จะไม่มีหนี้สิน ซึ่งระยะหลังๆ ธนายงก็เริ่มมีอาการบ้าง
แต่ไม่เป็นไร เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้ว ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เป็นสิ่งที่เราภูมิใจ
ต้องกล้าพูดว่ามีความตั้งใจจริง แต่ในขณะเดียวกัน ในด้านธุรกิจ ซึ่งผมเป็นผู้จัดการของบริษัทมหาชน
ก็ต้องดูแล ผู้ถือหุ้นก็ต้องมองโครงการต่างๆ ที่จะสร้างให้กับบริษัท ถ้าในด้านธุรกิจแล้วแน่นอนที่สุดรถไฟฟ้า
หรือว่าอะไรก็ตาม ที่สามารถจะเปิดให้มีวงจรได้ ก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้ธุรกิจดีขึ้นแน่นอน
แต่ว่าถ้าปกติแล้วคงไม่มีใครกล้า เหมือนกับว่า ถ้าเราไปซื้อ ที่ดินไร่ละ
3 พันเป็นหมื่นไร่ แล้วเราต้องสร้างถนนเข้าไป สร้างระบบสาธารณูปโภคเข้าไปคงไม่มีใครคาด
แต่เราคิดเป็นภาพรวมว่ามันน่าจะเป็นอย่างนั้น แล้วเราก็สร้าง และตอนนี้มันเสร็จแล้ว
และมันไม่ได้เป็นผลประโยชน์แก่ บริษัทธนายงอย่างเดียว ทุกๆ บริษัท ที่อยู่ในพื้นที่นี้ก็ได้ผลประโยชน์เหมือนกัน
แต่เราต้องคิดอันหนึ่งว่าไม่ใช่ผลประโยชน์ของบริษัทเท่านั้น นี่คือ ผล ประโยชน์ของประชาชนอย่างหนึ่ง
สิ่งเหล่านี้ไม่ว่าผมต้องการหรือไม่ต้องการ ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ สิ่งนี้ต้องมีคนคนหนึ่งต้องทำมันได
้หรืออาจจะมีคนกลุ่มหนึ่งต้องทำมัน ซึ่งความจริงแล้วถ้าถามผมว่า หากเศรษฐกิจ
ดีขึ้นแล้ว ต้องเป็นคนนี้ทำไหม ผมตอบไม่ได้
สัดส่วนรายได้ของ BTS เป็นอย่างไร
โครงการนี้รายได้ผลประโยชน์ทุกอย่างจะมาจากค่าโดยสารอย่างเดียว ได้จากร้านค้าหรือส่วนต่างๆ
น้อยมากเพียงแต่ว่าเกิดมีการตอบรับในเรื่อง ของร้านค้า และโฆษณาดีเกินกว่า
ที่คาดไว้ 4-5 เท่า เราไม่เคยคิดว่าจะเป็น อย่างนั้น เราให้บริษัท ที่ไปดำเนินงานเขาได้ดีไซน์แบบมืออาชีพเหมือนกัน
หลักจริงๆ แล้วมันค่อนข้างจะแพง แต่ถ้าไปดูจริงๆ แล้วจะเห็นว่าบูทหนึ่ง มันมีเพียงแค่ไม่กี่ตารางเมตร
ถ้าคิดเป็นตารางเมตรมันค่อนข้างจะแพงแต่ จริงๆ ไม่แพงหรอก
การทำระบบขนส่ง จะสร้างโอกาสให้เกิด ที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ธนายงเอง ก็มี
ที่ดินหลายแห่ง ที่จะพัฒนาต่อเกี่ยวกับเรื่อง ที่ดินใช่ไหม
ใช่ถูกต้องครับ ในด้านธุรกิจต้องมองดูแล้วต้องยอมรับ และในสิ่งที่ผม มอง
ผมไม่ได้มองแค่ธนายงอย่างเดียว เป็นเรื่อง ที่ต้องพูด ตอนนี้มันกลาย เป็นเรื่องของสังคม
ซึ่งมันกลายเป็นเครือข่ายออกมาเป็นเมืองใหม่ เป็นวิถีการเดินทางใหม่ของคนกรุงเทพฯ
ซึ่งความจริงมันไม่ใหม่สำหรับต่าง ประเทศ แต่มันใหม่สำหรับเรา ในเมือง ที่ศิวิไลซ์แล้ว
เจริญแล้ว เป็นเซ็นเตอร์ของประเทศ ที่มีคนที่เจริญธุรกิจหรือเศรษฐกิจต่างๆ
รถไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ต้องการอย่าง 100% ไม่มีใครเทียบได้ แล้ววิถีการเดินทางในอนาคตก็ต้องเปลี่ยนไป
หลังจากนี้แล้วมีการวางแผนทางด้านการเงินอย่างไรบ้าง
จริงๆ เรื่องของเจ้าหนี้ต่างประเทศ ซึ่งหลักๆ ก็คือ เครดิต สวิส เฟิสต์
บอสตัน คงจะเรียกว่าผ่านไปชั่วคราว เพราะว่าตอนนี้เขาไม่ได้เป็นเจ้าหนี้
ก็เพียงแต่ถือว่า เขาได้ซื้อหุ้นก้อนหนึ่งของบริษัทไป เพราะว่าหุ้นก้อนนี้ทางบริษัทธนายงถือว่าเขาได้ไปโดยมิชอบ
ด้วยกฎหมาย เพราะฉะนั้น ทางธนายงถึงได้ฟ้องร้อง ต่อศาล เพื่อ ที่จะขอความยุติธรรม
เพื่อ ที่จะเอาทรัพย์สินตัวนี้คืนมา คืนมาหมายถึงว่า เราติดเงินเขา เราไปจ่ายหมดแล้ว
แต่หุ้นนี้เราทำ มาโดยใช้เวลา และความตั้งใจของเรา เพราะฉะนั้น ก็ต้องรอศาลพิจารณา
วินิจฉัย และพิพากษา ซึ่งก็ไม่รู้ว่าต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ แต่หนี้สินเท่ากับไม่มีก็ได้
เพราะเราจ่ายเขาไปหมดแล้ว คือ ว่าหนี้ก้อนนี้เราจ่ายคืนเขาไปแล้ว
ตอนนี้เรามีพาร์ตเนอร์อื่นๆ จะเข้ามาร่วมทุนหรือไม่
ถึงตอนนี้ยังไม่มีพาร์ตเนอร์ เวลานี้พอโครงการเสร็จแล้ว มีบริษัท ใหญ่ๆ
เยอะแยะ ที่สนใจโครงการนี้ เราคงต้องให้ความระมัดระวังว่าจะให้ใครมา ร่วมทุน
แล้วผมมองในแง่ว่า ถ้ามาด้วยความสุจริตใจในการที่จะมาลงทุนใน เมืองไทย ผมพยายามจะชักนำเขาว่า
ถ้าจะมาลงทุนก็ลงทุนจริงๆ นะจะมี ประโยชน์กับประเทศชาติมาก เพราะเดี๋ยวนี้
รัฐบาลเองก็พยายามดึงดูดให้ ต่างชาติเข้ามาลงทุน ลงทุนนะไม่ใช่ฉวยโอกาส ผมจะชักชวนแต่คนที่ตั้งใจ
และเข้าใจในเมืองไทยเข้ามาลงทุน ให้เขาเข้ามาร่วมใน BTS เพราะมันเป็นสิ่งที่ดี
หลังจากเปิดการเดินรถมาประมาณ 2 อาทิตย์คุณคีรีได้บทสรุปเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไรบ้าง
ตัวเลขวันนี้ ที่ได้มาดีกว่า ที่เราคาดไว้เยอะ ทำไม ที่เราเคยบอกว่าเราควรจะได้
600,000 คนต่อวัน ทำไมทุกคนจึงคิดว่า 600,000 คนต่อวัน ถ้ามันเป็น 600,000
คนต่อวันหากเป็นจริงป่านนี้ผมนั่งไม่ติดแล้ว มันต้องมี อะไรพังไปสักอย่าง
มันเป็นไปไม่ได้ เราคาดกันไว้ เรากะกันประมาณ 100,000 คนต่อวัน กำลังดี ตอนนี้ได้มา
200,000 คนต่อวัน ก็รับกันจน เครื่องมันดาวน์เลย มันรับกันไม่ได้ แล้วคนที่ขึ้นมาก็ไม่ค่อยเข้าใจในด้าน
ของระบบ อธิบายเสร็จด้วยความมัน ก็ต้องหยอดเหรียญเอง บางคนก็เร็วบาง คนก็ช้า
คือ ของต่างๆ ในเวลานี้ ที่เกิดขึ้น ยังไม่ถึง เวลา ที่เรียกว่าปกติ ยังไม่ปกติ
อันนี้ทุกๆ โครงการมันต้องมีเวลาให้ค่อยๆ พัฒนากันไป คนใช้ก็ต้องเรียน คนบริหารก็ต้องเรียน
แม้กระทั่งเรื่องราคา ถามท่านผู้บริหารดูได้เลย ที่เราต่อสู้เรื่อง 15 บาท
45 บาทเราต่อสู้มา เพื่อความถูกต้องตามสัญญา ที่เป็นไปได้ ไม่ใช่ว่า เราทำมา
7 ปี เราลงทุนไปขนาดนี้มีใครคนหนึ่งมาสั่งผมว่าคุณต้อง 15 บาท หรือคุณต้อง
20 บาท เรารับไม่ได้ ถ้าเรารับอย่างนั้น เมืองไทยจะเจริญไม่ได้ ผมรับไม่ได้
แต่เราเข้าใจตลอดเวลาว่าอะไรคือ ขนส่งมวลชน ขนส่งมวลชนไม่ใช่มาสุ่มเก็บเหมือนรถแท็กซี่
รถแท็กซี่ไม่ใช่ขนส่งมวลชน เราต้องต่อสู้ เพื่อความถูกต้อง แต่เราต้องเปิดก่อน
ความจริงเรากำหนดมาแล้วเราเก็บ ที่ราคา 15 -45 ได้ แต่เราเก็บจริง ที่ 10-40
บาท แล้วเรามาดูซิว่า ความจริงเป็น อย่างไร นักเรียน เป็นอย่างไร คนชราเป็นอย่างไร
เราก็ต้องศึกษาว่าน่าจะมีการจัดราคาอีกราคาหนึ่ง ไม่ใช่จะมาบอกผมว่ามันมีปัญหาเรื่องราคานั่นไม่
ใช่เราต้องรู้ว่าคนไหน ที่ใช้กันจริง ๆ คนกลุ่มนี้รายได้เขาเท่าไหร่ เขาเดินทาง
กันอย่างไร ใน 24 กิโลเมตรมันมีบางกลุ่ม ที่ต้องมาต่อรถเมล์อีก เราทำมา 7
ปี เรายังทำได้ ถ้าเรายังต้องนั่งรอกำไรอีกหลายปีหน่อย เราก็ต้องทำใจ ถ้าเราผูกมัดกับโ
ครงการพวกนี้แล้ว เราหนีไม่ได้ นอกจากดู และ ดำเนินโครงการอันนี้ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
เราควรจะเอาความจริงมาพูดกัน แล้ว อาจจะขอความเข้าใจแล้วก็เห็นใจ
พอเราได้รู้ตลาดจริงแล้ว 24 กิโลเมตรนี้ใครเป็นคนใช้ เราก็ต้องปรับให้เขาส่วนใหญ่จะต้องไปต่อรถเมล์อีก
10 กว่าบาท เป็นร้อยกว่าบาท มันเป็นไปไม่ได้ เขาก็ต้องเลือกรถเมล์ ไม่มีใครจะมาขึ้นรถไฟฟ้าแน่นอน
ถ้าเป็นอย่างนั้น ก็เสียเที่ยวเปล่า มันไม่ได้เป็นประโยชน์จริงๆ ต่อสังคมอย่างที่เราคาดหวัง
นอกจากนั้น แล้วเงินก็ยังไม่ได้อีก แล้วจะทำอย่างไร
ให้เชื่อเถอะครับว่าเราเข้าใจ และเราคิดว่าเดือนมกราคม เราคงให้คำตอบได้มากกว่านี้
จากการเปิดมา 2 อาทิตย์ จริงๆ แล้วผมไปดูทุกวันว่า จริงๆ แล้วใครกันแน่ ที่มาใช้