|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ธปท.เผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือนเม.ย.2550 ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะธุรกิจในภาคอุตสาหกรรม การค้า และการก่อสร้าง ด้านราคาสินค้า คาดแนวโน้มการผลิตสินค้าลดลง เหตุปริมาณสินค้าคงคลังค้างสต๊อกมากขึ้นผลจากยอดขายและคำสั่งซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศลดลง ฝั่งผู้ประกอบการเร่งปรับตัวหันมาซื้อสินค้าด้วยเครดิตที่เคยให้กับลูกค้าลดลง หลังแบงก์ชะลอการให้สินเชื่อ
รายงานจากสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้รายงานผลสำรวจความคิดเห็นของภาคธุรกิจในการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจล่าสุดประจำเดือนเมษายน 2550 ที่ผ่านมาพบว่า ความเชื่อมั่นของนักธุรกิจในเดือนเม.ย.ยังคงลดลงต่อเนื่อง โดยนักธุรกิจในภาคอุตสาหกรรม ภาคการค้าและภาคก่อสร้างมีความเชื่อทางธุรกิจลดลงมาก ส่วนนักธุรกิจภาคขนส่งและคลังสินค้ามีความเชื่อมั่นทางธุรกิจทรงตัว แต่ธุรกิจที่เกี่ยวกับการสาธารณูปโภค การเงิน และภาคการบริการเริ่มมีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ เป็นผลมาจากธุรกรรมทางเศรษฐกิจชะลอลง ความไม่แน่นอนทางการเมืองยังมีสูง ส่งผลให้ผู้บริโภคยังขาดความเชื่อมั่นจนทำให้อุปสงค์ในประเทศชะลอตัวลง นอกจากนี้ ผลของเงินบาทแข็งค่าส่งผลกระทบต่อการส่งออกในแง่ของการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ รวมทั้งแนวโน้มราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลมายังต้นทุนพลังงานปรับเพิ่มขึ้นด้วย และทำให้ยอดจำหน่ายสินค้า และคำสั่งซื้อทั้งจากในประเทศและต่างประเทศปรับลดลงต่อเนื่อง ทำให้ระดับสินค้าคงคลังยังเหลือจำนวนมากส่งผลให้การผลิตสินค้ามีแนวโน้มลดลง
ส่วนราคาสินค้าโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ แม้ว่านักธุรกิจส่วนใหญ่แสดงความต้องการจะขึ้นราคาสินค้าตามต้นทุนที่ปรับเพิ่มขึ้น แต่ไม่สามารถปรับขึ้นราคาสินค้าได้สะท้อนการแข่งขันที่ยังรุนแรง ยกเว้น ผู้ประกอบการในภาคการค้าปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น หลังจากมีการยกเลิกประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เรื่องการควบคุมราคาสินค้า อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าราคาสินค้าในอีก 3 เดือนข้างหน้ายังไม่สามารถปรับขึ้นได้อยู่
นอกจากนี้ จากการสำรวจนักธุรกิจส่วนใหญ่ ยังพบว่า สภาพคล่องทางการเงินของผู้ประกอบการลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าจากสาเหตุ 2 ประการ คือ 1.ยอดจำหน่ายและปริมาณการค้าที่ลดลง และ 2.สินเชื่อที่ผู้ประกอบการได้รับจากสถาบันการเงินเริ่มลดลง ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากธนาคารพาณิชย์มีความระวัดระวังในการปล่อยสินเชื่อและติดตามหนี้มากขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวด้วยการลดสินเชื่อการค้าหรือการซื้อสินค้าด้วยเครดิตที่เคยให้กับลูกค้าลดลงโดยเริ่มมีผู้ประกอบการที่ให้ข้อมูลว่ามีปัญหาทางการเงินเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
ในส่วนของภาคการส่งออก ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นยังคงมีผลกระทบต่อภาคการส่งออกอย่างต่อเนื่อง เพิ่มเติมจากคำสั่งซื้อที่เริ่มปรับตัวลดลง โดยดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง(REER) เดือนเม.ย. ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 91.03 จาก 90.47 ในเดือนก่อนหน้า สะท้อนความสามารถในการแข่งขันทางการค้าจากอัตราแลกเปลี่ยนของผู้ประกอบการไทยที่ลดลง
|
|
|
|
|