Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน6 มิถุนายน 2550
ซีเอ็มจีชูโมเดลใหม่ผุดลีคลับคาเฟ่ชี้แฟชั่นแห่เปิดเอาท์เลทระบายสต็อก             
 


   
www resources

โฮมเพจ เซ็นทรัล เทรดดิ้ง

   
search resources

Commercial and business
เซ็นทรัล เทรดดิ้ง, บจก.




ซีเอ็มจี เดินเกมสร้างช่องทางใหม่ รับมือห้างฯ-ศูนย์การค้า 2 ปี ไม่ขยายสาขา ควักกางเกงยีนส์ลีโมเดลนำร่อง ผุด"ลี คลับ คาเฟ่" ร้านจำหน่ายลูกผสมเสื้อผ้ากับเครื่องดื่ม หวังขยายคนรุ่นใหม่ ระบุผู้ประกอบการแห่ผุดเอาท์เลทภูธรย่านเส้นทางท่องเที่ยว ชูคอนเซปต์หั่นราคา 50-80% ช่องทางระบายสต็อกหลัง 2 ปีสต็อกค้างอื้อ จ่อคิวเปิดเพิ่ม 1 แห่ง ที่ พัทยา ปีหน้ารีเทิร์นทำนาฬิกา รองเท้า มั่นใจเศรษฐกิจฟื้นไตรมาสสี่ โอด 5 เดือน ซีเอ็มจีรายได้ต่ำกว่าเป้า ส่วนกางเกงยีนส์ลีโต 5% สวนกระแส สิ้นปีโต10% จาก 800 ล้านบาท

นายวราวุธ มัทธนพจนารถ ผู้อำนวยการอาวุโส บริษัท เซ็นทรัลเทรดดิ้ง จำกัด ในกลุ่มของเซ็นทรัลมาร์เก็ตติ้งกรุ๊ป หรือซีเอ็มจี ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายกางเกงยีนส์ลี เปิดเผยว่า จากภาพรวมธุรกิจดีพาร์ทเมนต์สโตร์หรือศูนย์กลางค้าในปีนี้หรือระหว่าง 1-2 ปีข้างหน้านี้ แทบไม่มีการขยายสาขา ส่งผลให้ธุรกิจกลุ่มสินค้าแฟชั่น ซึ่งอัตราการเติบโตส่วนใหญ่จะมาจากการขยายสาขา ไม่มีอัตราการเติบโตไปด้วย

ดังนั้นผู้ประกอบการกลุ่มสินค้าแฟชั่น จึงหันมาขยายช่องทางใหม่ๆ เพิ่มขึ้น สำหรับบริษัทมีแผนจะขยายช่องทางใหม่เช่นกัน นำร่องโดยการนำกางเกงยีนส์ลี สินค้าเรือธงที่สร้างรายได้หลักให้กับซีเอ็มจีหรือภายใต้บริษัทเซ็นทรัลมาร์เก็ตติ้งกรุ๊ป เปิดตัวช่องทางจำหน่ายใหม่ "ลี คลับ คาเฟ่" ในรูปแบบแฟลกชิปสโตร์แห่งแรก ที่ ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต

สำหรับคอนเซปต์ลี คลับ คาเฟ่ มีจำหน่ายสินค้าเสื้อผ้าจากลีในสัดส่วน 80% โดยเน้นไลน์สินค้าสำหรับคนรุ่นใหม่เป็นหลัก พร้อมด้วยมุมจำหน่ายกาแฟในสัดส่วน 20% และมุมศิลปะภายใต้คอนเซปต์ระดับโลกในปีนี้"Lee As Art" ซึ่งนับว่าเป็นโมเดลรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและเอเชียแปซิฟิกเป็นแห่งแรก โดยปีนี้บริษัทวางแผนเปิดให้ครบ 4 มุมเมือง ได้แก่ ที่ ซีคอนสแควร์ เซ็นทรัลพระราม2 และเซ็นทรัลพระราม 3 ส่วนต่างจังหวัดนำร่อง จ.เชียงใหม่ และจ.ภูเก็ต เพื่อรองรับฐานลูกค้าต่างจังหวัดซึ่งมีสัดส่วนถึง 60% ส่วนในกรุงเทพฯ สัดส่วน 40% ภายใต้การใช้งบลงทุน 1.5 ล้านบาทต่อสาขา โดยมีขนาดพื้นที่ 50 ตร.ม.

ทั้งนี้การเปิดตัวลี คลับ คาเฟ่ นอกจากเป็นการขยายช่องทางจำหน่ายใหม่แล้ว ขณะเดียวกันยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ของลีให้มีความแปลกใหม่ สอดรับกับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ซึ่งคาดว่าลี คลับ คาเฟ่จะช่วยสร้างฐานกลุ่มคนรุ่นใหม่อายุ 18-25 ปีเพิ่มขึ้นในสัดส่วนเป็น 20-30% และคาดว่าในอนาคตจะเพิ่มเป็น 40% จากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมามีสัดส่วนไม่ถึง 10% และเป็นลูกค้าที่มีอายุ 25-35 ปี ในสัดส่วนกว่า 90% อีกทั้งยังเป็นการต่อยอดจากการทำซีอาร์เอ็ม (Customer Relationship Management) จากเมื่อเดือนตุลาคม ปีที่ผ่านมา บริษัท ได้จัดตั้ง "ลี คลับ" ผ่านการจัดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ รวมทั้งการนำเวียร์ -ศุกลวัฒน์ มาเป็นแอมบาสเดอร์ ผลักดันให้ลี คลับมีสมาชิกกว่า 9,000 คน คาดว่าสิ้นปีเพิ่มเป็น 15,000 คน

เทรนด์ผุดเอาท์เล็ทล้างสต็อกภูธร

นายวราวุธ กล่าวว่า ด้วยจำนวนการขยายสาขาของดีพาร์ทเมนต์สโตร์ที่มีน้อย ประกอบกับในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาผู้ประกอบการสินค้าแฟชั่นกลุ่มเสื้อผ้าประสบกับปัญหาสินค้าค้างสต็อกในปริมาณที่มาก ดังนั้นผู้ประกอบการจึงหันมาเปิดเอาท์เลทในต่างจังหวัดมากขึ้น เช่น เอฟเอ็น,พีน่าเฮ้าส์ และแฟคตอรีสโตร์ โดยคอนเซปต์เอาท์เลทดังกล่าวจะลดราคาสินค้า 50-80% เพื่อล้างสต็อก ขณะที่สถานที่ตั้งเน้นบริเวณเส้นทางผ่านสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ เพื่อสอดรับกับพฤติกรรมคนไทยที่นิยมชอปปิ้งในขณะท่องเที่ยว

ส่วนข้อดีสำหรับเอาท์เลทอีกประการหนึ่ง คือ เป็นช่องทางที่ลงทุนต่ำกว่าดีพาร์ทเมนต์สโตร์ถึง 20% หรือราว 2-3 ล้านบาทต่อสาขา ล่าสุดบริษัทวางแผนเปิดเอาท์เลทเพิ่มอีก 1 แห่ง ได้แก่ ที่ พัทยา จากปัจจุบันมีทั้งหมด 4 สาขา เช่น ซีคอนสแควร์ เป็นต้น

แนวโน้มตลาดสินค้าแฟชั่นกลุ่มเสื้อผ้าในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมานี้ มียอดตกลงกว่า 20-30% คาดว่าทั้งปีอยู่ในภาวะที่ทรงตัว เนื่องจากคาดว่าในช่วงไตรมาสที่สี่ ซึ่งถือว่าเป็นช่วงไฮซีซันประกอบกับบริษัทมีความมั่นใจ ภาครัฐบาลจะกำหนดให้มีการเลือกตั้งในปลายปีนี้ จึงเล็งว่ากำลังการซื้อของผู้บริโภคจะเริ่มฟื้นในช่วงไตรมาสดังกล่าว ดังนั้นในปีหน้านี้บริษัทได้เตรียมแผนทำการตลาดในเชิงรุก ด้วยการนำนาฬิกา หมวก รองเท้าของลีกลับมาทำตลาดอีกครั้ง หลังจากที่หยุดดำเนินการไปตั้งแต่ปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งเตรียมทุ่มงบการตลาดเพิ่มขึ้นจากปีนี้ใช้ราว 20 ล้านบาท

สำหรับตลาดกางเกงยีนส์มูลค่า 4,500-5,000 ล้านบาท แบ่งเป็น ระดับบนมูลค่า 2,500-3,500 ล้านบาท ไม่มีอัตราการเติบโต โดยปัจจุบันลีวายส์ เป็นผู้นำตลาด ตามด้วยลี และแรงเลอร์ สลับกันเป็นอันดับสอง ส่วนระดับล่างมูลค่า 2,000 ล้านบาท มีอัตราการเติบโต 7-15% ด้านการแข่งขันสินค้ากลุ่มเสื้อผ้ามีความรุนแรงอย่างมาก โดยเฉพาะสงครามราคาที่มีความถี่ในการทำมากขึ้น ขณะที่บางรายเริ่มจัดรายการสินค้าลดราคาถึง 70% ขณะเดียวกันผู้ประกอบการจะต้องเผชิญกับการแข่งขันของเชนโมเดิร์นเทรด ที่เริ่มหันมาสร้างแบรนด์และจำหน่ายผ่านช่องทางตนเอง ซึ่งคาดว่า 3 ปีนี้ แบรนด์ดังกล่าวจะเริ่มได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคมากขึ้น

ผลประกอบการซีเอ็มจีในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมานี้ มีอัตราการเติบโต 5-10% ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 10-15% เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะงักงัน จากสภาพการเมืองที่ไม่นิ่ง ส่วนกางเกงยีนส์ลีในช่วง 5 เดือน โต 5-10% สวนกระแสกับภาพรวมตลาด โดยทั้งปีนี้กางเกงยีนส์ลี ตั้งเป้ามีอัตราการเติบโต 10% จากในปีที่ผ่านมามีรายได้ 800 ล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us