Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2534
BARRA และภัทรฯ ร่วมสร้างโปรแกรมจัดการพอร์ตลงทุน             
 


   
search resources

ภัทรธนกิจ, บง.
BARRA
ดัยนา บุนนาค
พงษ์ศักดิ์ มานะศิริสุข
Software




จะบริหารบัญชีลงทุนในหลักทรัพย์อย่างไรจึงจะทำให้มีความเสี่ยงน้อยที่สุด? นี่คือประเด็นหลักที่คณาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเบิร์กเลย์ แคลิฟอร์เนียให้ความสนใจ และร่วมกันพัฒนาคิดค้นโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับระบบวิเคราะห์ความเสี่ยง และผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์

BARRE ROSENBERG ศาสตราจารย์ทางไฟแนนซ์ที่เบิร์กเลย์ ผู้มีชื่อเสียงในทฤษฎีการลงทุนในด้านของความเสี่ยง และ ANDREW RUDD ศิษย์เอกร่วมกันก่อตั้งบริษัท BARRA ขึ้นในปี 2518 เป็นบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนและการบริหารกองทุนให้คำปรึกษาแก่สถาบันที่ทำธุรกิจบริหารการลงทุนเท่านั้น ไม่ได้ให้คำปรึกษากับนักลงทุนทั่วไป

"BARRA คือ ที่ปรึกษาของผู้ชำนาญการอีกทีหนึ่งนั่นเอง" ดัยนา บุนนาค ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บงล.ภัทรธนกิจ จำกัด ผู้จัดการ บงล.ภัทรธนกิจ จำกัด ผู้เริ่มติดต่อกับ BARRA เมื่อปี 2531 กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

คงจำกันได้ว่า ในปี 2531 ภัทรฯ ร่วมกับ บล.กองทุนรวม และ LLOYDS FUND MANAGEMENT COMPANY ในเครือ LLOYDS BANK ในลอนดอน ตั้งกองทุนไทยยูโรฟันด์ ในโอกาสนี้เอง ภัทรฯ ส่งดัยนาไปศึกษาดูงานการบริหารกองทุนในตลาดหลักทรัพย์แถบยุโรป

ดัยนา เล่าว่า "ผู้บริหารกองทุนส่วนใหญ่ใช้โปรแกรมของ BARRA ทั้งนั้น โปรแกรมนี้ถือว่าก้าวหน้าที่สุดเท่าที่มีใช้ในตลาดเวลานั้น ดิฉันก็สนใจและติดต่อให้เอาโปรแกรมมาแสดงให้ดู และได้ถามว่า BARRA ไม่สนใจทำโปรแกรมตลาดเมืองไทยบ้างหรือ ตอนนั้นมันเกือบ 3 ปีที่แล้ว ซึ่งทาง BARRA เห็นว่าตลาดเมืองไทยยังเล็กมาก พัฒนาแล้วอาจจะขายได้ไม่คุ้ม แต่เราก็ได้มีการติดต่อกันไว้"

ถัดมาในปี 2532 ANDREW RUDD และประธาน BARRA ที่ออสเตรเลียเดินทางมาเยี่ยมภัทรฯ ที่เมืองไทย และมาตระเวนบริษัทโบรกเกอร์หลายแห่งสำรวจตลาดว่า จะมีผู้สนใจมากน้อยแค่ไหน ปรากฎว่าตลาดไทยแห่งเดียวยังเป็นตลาดที่ไม่ใหญ่ พอ BARRA จึงใช้วิธีรวมตลาดหลายแห่งเข้าด้วยกัน เป็น EMERGING MARKET MODEL โดยแยกเป็นเอเชียใต้และแปซิฟิกกลุ่มหนึ่ง อีกกลุ่มเป็นละตินอเมริกา

โบรกเกอร์ไทยที่ร่วมในโมเดลใหม่ของ BARRA แรกสุดมี 3 แห่ง คือ ภัทรฯ บล.กองทุนรวม และบงล.ร่วมเสริมกิจ ต่อมา 2 บริษัทหลังขอถอนตัว มีบงล.ธนสยาม และบง.เอกธนกิจเข้าแทนที่เป็นผู้ร่วมก่อตั้งเพื่อสร้างโมเดลนี้ สมาชิกแรกตั้งในไทยลงตัวเอาเมื่อสิงหาคม 2533

พงษ์ศักดิ์ มานะศิริสุข ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายดูแลสถาบันวิจัยภัทรฯ และการสร้างโมเดลร่วมกับ BARRA เปิดเผย "ผู้จัดการ" ว่า "ภัทรฯ ทำหน้าที่เป็น DATA VENDOR ให้ BARRA แต่ BARRA ก็จะซื้อข้อมูลจากอีกบริษัทหนึ่งในไทย เพื่อที่จะตรวจสอบข้อมูลที่ได้จากเรา ผมเข้าใจว่าจะซื้อจากทาง IFCT โดยดูว่าเป็นสถาบันที่จะให้ข้อมูลกลางได้ เหตุที่ใช้ข้อมูลจากภัทรฯ ก็เพราะ BARRA ต้องการข้อมูล 5 ปีในทุก FIELD ซึ่งภัทรฯ สามารถสนับสนุนข้อมูลได้อย่างเต็มที่

BARRA ซื้อข้อมูลจากภัทรฯ ในสนนราคาที่เป็นกันเองอย่างที่สุด พงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า "ทางภัทรฯ คิดค่าธรรมเนียมถูกมากเมื่อเทียบกับสิ่งที่เขาได้รับ แต่มันมีการส่งข้อมูลข้ามประเทศด้วย เราต้องส่งข้อมูลไปให้เขาที่อเมริกา"

ส่วนภัทรฯ และสมาชิกร่วมก่อตั้งอีก 2 แห่งต้องเสียค่าสมาชิกในอัตราค่าบริการเริ่มแรก 25,000 เหรียญ/ปี เป็นค่าธรรมเนียมที่จ่ายเมื่อมีการติดตั้งระบบและการรับ-ส่งข้อมูลแล้ว ต่อไปจ่ายอีกปีละ 25,000 เหรียญ มีสัญญา 3 ปีสำหรับสมาชิกเริ่มก่อตั้งโดยมีเงื่อนไขว่า ใน 3 ปีนี้จะเป็น EXCLUSIVE MEMBER ไม่รับสมาชิกเพิ่ม

สมาชิกก่อตั้งมี 25 รายจาก 10 ประเทศในภูมิภาคนี้ ส่วนสมาชิกทั่วไปจะเปิดรับภายหลังสมาชิกก่อตั้งได้ใช้ระบบแล้ว 1 ปี

พงษ์ศักดิ์ อธิบายระบบวิเคราะห์บัญชีลงทุนของตลาดหลักทรัพย์ที่กำลังพัฒนาเติบโตว่า "ระบบวิเคราะห์การลงทุนนี้สร้างขึ้นโดยการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลปริมาณ และราคาของหลักทรัพย์แต่ละตัว ข้อมูลอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ เพื่อกำหนดค่าความเสี่ยงและผลตอบแทนในการลงทุนในแต่ละประเทศ แล้วสร้างตัวแบบฐานข้อมูลและโปรแกรมเพื่อใช้ในการตัดสินใจลงทุน"

ระบบของ BARRA ไม่เหมาะกับการบริหารความเสี่ยงในการลงทุนช่วงสั้น ๆ คือ การค้าหลักทรัพย์วันต่อวัน แต่เหมาะกบนักบริหารพอร์ตฯ เพื่อการลงทุนระยะยาวหรือปานกลาง เพราะจะมีการปรับข้อมูลใหม่เดือนละครั้ง

ระบบของ BARRA แบ่งออกเป็น 3-4 ส่วนที่น่าสนใจ ได้แก่ IPORCH หรือ INTERACTIVE PORTFOLIO RISK CHARACTERIZATION เป็นโมเดลที่ใช้ดูความเสี่ยงในการซื้อขายหลักทรัพย์ วิเคราะห์ความเสี่ยงของหุ้นที่มีอยู่ทั้งหมดในพอร์ตฯ จะซื้อหรือขายหุ้นตัวไหนเพื่อลดความเสี่ยงในพอร์ตฯ ลง โมเดลนี้จะช่วยให้ผู้บริหารพอร์ตฯ รู้ตัวอยู่ตลอดเวลาเกี่ยวกับอัตราควาเมสี่ยงการเพิ่มหรือลดความเสี่ยงในพอร์ตฯ ของตน

โมเดล SCREEN เป็นคล้ายตัวเลือกหลักทรัพย์ที่ควรลงทุนโดยมีการคัดออกมาเป็น SHORT LIST ตามเงื่อนไขที่ระบุ หลังจากนั้นใช้โมเดล OPTIMIZATION ทำหน้าที่เอาหุ้นที่เลือกสรรแล้วมาประเมินว่าจะลงทุนอย่างไรให้มีความเสี่ยงต่ำที่สุด ขั้นต่อไปผู้บริหารก็ต้องเป็นคนตัดสินใจว่าจะซื้อหุ้นไหน ความเสี่ยงเท่าไหร่

กล่าวง่าย ๆ โปรแกรมเหล่านี้เป็นเครื่องช่วยให้การซื้อขายหุ้นทำได้ง่ายและรวดเร็ว "การบริหารกองทุนและการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่อไปข้างหน้าจะเป็นไปอย่างมีเหตุผล มีระบบระเบียบมากขึ้น" พงษ์ศักดิ์ให้ความเห็น

พงษ์ศักดิ์ เปิดเผยว่า "ภัทรฯ จะใช้เครื่องมือนี้ติดตามเกี่ยวกับพอร์ตฯ การลงทุนของบริษัทเองก่อน ใช้ในงานวิจัยและการ SETUP PORTFOLIO ให้ลูกค้า แต่ก่อนหน้านี้ ทางสถาบันฯ ต้องเอาโปรแกรมของเขามาประเมินก่อนว่า สิ่งที่ BARRA ทำออกมากับสิ่งที่มันเกิดขึ้นจริงใกล้เคียงกันมากน้อยแค่ไหน อย่างไรแล้วจากนั้น จึงจะเอามาใช้งานกันต่อไป"

ดัยนา เปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมว่า "ในระยะยาวแล้ว ภัทรฯ เตรียมที่จะทำหน้าที่บริหารกองทุนและเรื่อง PRIVATE BANKING คือ ให้การปรึกษาทางการลงทุนแก่ลูกค้า ซึ่งตอนนี้ก็ทำให้ลูกค้าหุ้นบางรายและทำให้กองทุนไทยยูโรฟันด์"

ความร่วมมือในการจัดทำ EMERGING MARKET PORTFOLIO ANALYSIS SYSTEM ครั้งนี้นับเป็นนิมิตหมายอันดีของวงการค้าหลักทรัพย์ไทย เป็นการพัฒนาระบบการบริหารการลงทุนขึ้นมาอีกก้าวหนึ่ง

เป็นระบบการบริหารความเสี่ยงรายแรกที่จะเกิดขึ้นในเมืองไทย ขณะที่ในตลาดสำคัญทั่วโลกถือเป็นระบบธรรมดาที่มีใช้มีให้เลือกกันมากมาย

อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่มีการจัดอันดับบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนและการบริหารกองทุน แต่ปรากฏว่าระบบของ BARRA เป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุด

นอกจากมีชื่อในเรื่องการจัดการความเสี่ยงแล้ว BARRA ยังได้ร่วมมือกับบริษัทค้าหลักทรัพย์ชั้นนำ 1 ใน 3 ของญี่ปุ่น คือ นิกโก้ ก่อตั้งบริษัทวิจัย NIBA ซึ่งได้พัฒนาเป็นบริษัทวิจัยชื่อดังในญี่ปุ่นเวลานี้ เป็นผู้ออก TOPIC ซึ่งเป็น FUTURE INDEX ของญี่ปุ่น และยังร่วมกันสร้างโมเดลเพื่อการบริหารบัญชีลงทุนในการค้าหลักทรัพย์ที่เป็นที่นิยมชื่อ BARRA / NIKKO JAPANESE EQUITY MODEL

พงษ์ศักดิ์ กล่าวด้วยว่า "ผมได้ชวนให้ BARRA ทำโมเดลสำหรับประเทศไทยโดยเฉพาะ ซึ่งเขาก็ตอบแบ่งรับแบ่งสู้ไว้ว่า เมื่อทำโมเดล EMERGIN MARKET เสร็จ ก็สนใจจะทำโมเดลไทย"

ไม่แน่ว่าในอนาคตจะเกิด BARRA / PHATRA THAI EQUITY MODEL ก็เป็นได้ !

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us