Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน5 มิถุนายน 2550
สภาพัฒน์ฯลดเป้าจีดีพีเหลือ4-4.5%แนะ4มาตรการสานต่อกระตุ้นเศรษฐกิจ             
 


   
www resources

โฮมเพจ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

   
search resources

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
อำพน กิตติอำพน
Economics




สภาพัฒน์ฯยอมถอยปรับลดจีดีพีปี 50 เหลือ 4.0-5.0% จาก 4.5-5.0% ระบุยังมีปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นแนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ราคาน้ำมันผันผวน และความเชื่อมั่นของประชาชน-ธุรกิจต่อเศรษฐกิจ-การเมืองยังอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ตัวเลขจีพีดีไตรมาสแรกขยายตัว 4.3% ใกล้เคียงกับไตรมาส 4 ปี 49 โดยรับแรงหนุนหลักจากการขยายตัวของภาคการส่งออก พร้อมแนะรัฐเร่ง 4 มาตรการหนุนเศรษฐกิจ เร่งเบิกจ่ายงบประมาณให้ได้ตามเป้า รวมถึงเร่งรัดโครงการลงทุนขนาดใหญ่ และสร้างความมั่นใจในด้านการท่องเที่ยว-การเมือง

นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม (สศช.)หรือสภาพัฒน์ฯแจ้งตัวเลขเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 4.3 มีอัตราเติบโตเท่ากับไตรมาสสุดท้ายของปี 2549 แต่นับว่ายังอยู่ในช่วงของการชะลอตัวเมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 6.1 5.0 และ 4.7 ในสามไตรมาสแรกของปี 2549 ซึ่งเป็นผลจากการบริโภคภาคเอกชนที่ชะลอตัวลงมากโดยขยายตัวเพียงร้อยละ 1.3 และการลงทุนภาคเอกชนที่หดตัวร้อยละ 2.4 นับเป็นครั้งแรกในรอบ 21 ไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักธุรกิจที่ยังอยู่ในระดับต่ำ

แต่เศรษฐกิจในช่วงไตรมาสแรกยังได้เรับแรกหนุนจากภาคการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีเกินคาด โดยมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5 ขณะที่มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ทำให้มีดุลการค้าเกินดุล 4,127 ล้านดอลลาร์สรอ. และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 5,452.5 ล้านดอลลาร์สรอ. จากการเกินดุลการค้าสูง ประกอบกับดุลบริการบริจาคและเงินโอนที่เกินดุล 1,325.2 ล้านดอลลาร์สรอ. อย่างไรก็ตาม เริ่มมีสัญญาณการชะลอตัวของการส่งออก เมื่อพิจารณาจากมูลค่าการส่งออกในเดือนเมษายนที่ขยายตัวร้อยละ 16.5 ขณะที่การนำเข้ามีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นในเดือนเมษายนเป็นการขยายตัวร้อยละ 11.2 จากการนำเข้าสินค้าทุนที่กลับมาขยายตัวร้อยละ 8.6

ส่วนอัตราเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่อง โดยในไตรมาสแรกปี 2550 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเท่ากับร้อยละ 2.4 ลดลงจากเฉลี่ยร้อยละ 4.7 ในปี 2549 และยังลดลงต่อเนื่องเป็นร้อยละ 1.8 ในเดือนเมษายน และร้อยละ 1.9 ในเดือนพฤษภาคม จากอุปสงค์ที่ชะลอตัวลงมาก และค่าเงินบาทที่แข็งทำให้ต้นทุนนำเข้าสินค้าลดลง และอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.6 เทียบกับร้อยละ 1.9 ในช่วงเดียวกันของปี 2549

ด้านฐานะการคลังในไตรมาสที่สองของปีงบประมาณ 2550 (ม.ค.-มี.ค.2550)รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังจำนวน 307,517.95 ล้านบาท และมีรายจ่ายจำนวน 437,267.87 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อนร้อยละ 22.59 เป็นผลให้มีดุลเงินงบรปะมาณขาดดุลจำนวน 132,226.07 ล้านบาท ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวก้นของปีงบประมาณก่อน 79,541.57 ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจำนวน 5,691.33 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลมีดัลเงินสดขาดทุนก่อนกู้จำนวน 126,534.74 ล้านบาท และมีหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมีนาคมอยู่ที่ 3.21 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 38.10 ของจีดีพี ลดลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 40.48 ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2549 เงินทุนสำรองระหว่างประเทศสิ้นเดือนเมษายนเท่ากับ 71,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

และในส่วนของภาวะการเงินนั้น อัตนราดอกเบี้ยทุกประเภทปรับตัวลดลงเป็นลำดับ ภายหลังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท.ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 2 ครั้ง ครั้งละ 0.25 จุดในไตรมาสแรก มาอยู่ที่ร้อยละ 4.50 และปรับลดลงอีก อีก 2 ครั้ง ครั้งละ 50 จุด ในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.50 ส่งผลให้การขยายตังของเงินฝากชะลอตัวลง แต่สินเชื่อชะลอตัวลงมากกว่า สภาพคล่องในระบบสถาบันการเงินจึงอยู่ในระดับสูง ขณะที่ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีค่าเฉลี่ยในไตรมาสแรกเท่ากับ 35.54 บาทต่อดอลลาร์สรอ.แข็งค่าขึ้นจากไตรมาสก่อนและระยะเดียวกันของปี 2549 ร้อยละ 2.7 และ 9.5 ตามลำดับ และเงินบาทยังคงมีทิศทางแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง มีเฉลี่ยที่ 34.83 และ 34.57 บาทต่อดอลลาร์สรอ.ในเดือนเมษายนและพฤษภาคมตามลำดับ

"การขยายตัวทางเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2549 ต่อเนื่องถึงไตรมาสแรกของปีนี้มีความไม่สมดุลมากขึ้น โดยที่การส่งออกเพิ่มขึ้นมากและเป็นแรงขับเคลื่อนหลักสำหรับการขยายตัวของเศรษฐกิจ ในขณะที่การใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนชะลอมาก โดยที่ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องระมัดระวังในช่วงที่เหลือของปี 2550 ทั้งปัจจัยภายนอกและข้อจำกัดภายในประเทศ"นายอำพนกล่าว

ปรับประมาณการจีดีพีเหลือ4.0-4.5%

นอกจากนี้ สศช.ได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปี 2550 ลงเป็นร้อยละ 4.0-4.5 โดยมีค่ากลางเท่ากับร้อยละ 4.2 จากร้อยละ 4.0-5.0 โดยมีค่ากลางเป็นร้อยละ 4.5 ซึ่งคาดการณ์ไว้เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2550 ทั้งนี้ สศช.พิจารณาว่าโอกาสที่เศรษฐกิจจะขยายตัวได้เกินกว่าร้อยละ 4.5-5.0 ได้นั้น มีความเป็นไปได้น้อยโดยเฉพาะในภาวะที่การใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนยังไม่ฟื้นตัวได้เต็มที่ โดยการขยายตัวทางเศรษฐกิจยังมีองค์ประกอบหลักจากการขยายตัวของการส่งออกในขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศรวมชะลอตัว ขณะที่ด้านเสถียรภาพคาดว่าจะยังอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราการว่างงานยังต่ำประมาณร้อยละ 1.5-2.0 อัตราเงินเฟ้อลดลงเป็นร้อยละ 2.0-2.5 และดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มเกินดุลสูงประมาณร้อยละ 3.0-4.0ของจีดีพี

โดยสศช.พิจารณาว่ามีปัจจัยบวกที่จะสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อไปได้ในเกณฑ์ที่น่าพอใจนตั้นเป็นกรณีของอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลง ขณะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาลงจะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายและการลงทุน และการเพิ่มการลดหย่อนภาษีสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยจาก 50,000 บาท เป็น 100,000 บาทจะช่วยกระตุ้นความต้องการที่อยู่อาศัย รวมถึงการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาลและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจภายใต้การดำเนินนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาลที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องและโครงการลงทุนภาครัฐที่คาดว่าจะมีความพร้อมในการเบิกจ่ายได้ในครึ่งหลังของปี และการจ้างงานที่ยังเพิ่มขึ้ตน นอกจากนี้เครื่องชี้ทางเศรษฐกิจล่าสุดในเดือนเมษายนเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้นบ้างในเรื่องการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ค่อนข้างทรงตัวและความต้องการในการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น

ในทางกลับกัน ก็ยังมีเงื่อนไขและปัจจัยที่อาจจะกลายเป็นความเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ในกรณีแนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอตัวที่จะกระทบการส่งออกและการท่องเที่ยว โดยที่ยังมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกอาจจะชะลอตัวมากกว่าที่คาดได้ถ้าหากยังมีผลต่อเนื่องจากภาวะอสังหาริมทรัพย์ถดถอยในสหรัฐฯตลาดหลักทรัพย์ของจีนปรับตัวอย่างรุนแรงจากภาวะที่ร้อนแรงเกินไป รวมถึงราคาน้ำมันที่ยังสูงและมีความผันผวน และความเชื่อมั่นของประชาชนและภาคธุรกิจลดลงและอยู่ในระดับต่ำภายใต้สถานการณ์ความไม่แน่นอนภายในประเทศที่รัฐบาลยังจะต้องเร่งสร้างความมั่นใจในบรรยากาศเศรษฐกิจและการเมือง เช่น การจัดการเลือกตั้งได้ตามกำหนดที่ประกาศไว้ ความชัดเจนในการออกกฎหมายที่สำคัญ และมีความคืบหน้าของการลงในโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ

เสนอ 4 มาตรการเร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

นายอำพนกล่าวว่า การบริหารเศรษฐกิจในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ ควรลำดับความสำคัญกับการรักษาเสถียรภาพและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ปรับตัวได้อย่างราบรื่น ขณะเดียวกันก็ดำเนินมาตรการที่จะช่วยสร้างความสมดุลให้กับระบบเศรษฐกิจ พร้อมเสนอมาตรการสำคัญ 4 ประการ ที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงเวลาที่เหลือปีนี้คือ เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2550 ของภาครัฐให้ได้ตามเป้าหมาย คือ ส่วนราชการเบิกจ่ายได้ร้อยละ 93 และรัฐวิสาหกิจร้อยละ 85 โดยมอบหมายให้เป็นความรับผิดชอบของคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวมและคณะกรรมการติดตามการใช้จ่ายภาครัฐ รวมถึงการให้ความสำคัญกับแผนงานและโครงการที่สามารถกระจายเม็ดเงินงบประมาณลงสู่พื้นที่และประชาชนในระดับหมู่บ้านได้ อาทิ โครงการยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด และโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โครงการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การกำกับดูแลให้สามารถจัดทำ พ.ร.บ.งบประมาณประจำปีงบประมาณ 2551 ได้ตามกำหนด โดยเฉพาะการดูแลให้เม็ดเงินนำไปใช้ในแผนงานและโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และโครงการตามนโยบายรัฐบาลที่เป็นการวางพื้นฐานให้เศรษฐกิจมีความเข้มแข็ง

พร้อมกันนี้ควรสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคการลงทุน อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว โดยเฉพาะเร่งรัดการแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน โดยเร่งรัดโครงการลงทุนรถไฟฟ้าให้สามารถเปิดประมูลได้ภายในเดือนสิงหาคมนี้ อย่างน้อย 2 สายทาง เร่งรัดกระบวนการของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของภาคเอกชน เพื่อให้โครงการลงทุนสามารถเริ่มดำเนินการได้ภายในปีนี้ สร้างความมั่นใจให้กับภาคการท่องเที่ยวในสถานการณ์ไม่ปกติ เพื่อสร้างรายได้ภาคท่องเที่ยวให้ได้ตามเป้าหมาย โดยเฉพาะการดูแลความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ส่งเสริมการพัฒนาและใช้พลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะแก๊สโซฮอล์ เอ็นจีวี และไบโอดีเซล นอกจากนี้ ควรสร้างความมั่นใจในบรรยากาศเศรษฐกิจและการเมือง โดยเฉพาะการสนับสนุนการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ให้เป็นไปตามกำหนด จัดการเลือกตั้งได้อย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมตามกำหนด และการตรากฎหมายที่สำคัญ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us