Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์4 มิถุนายน 2550
แบงก์คึกคักลดดอกเบี้ยกระตุ้น เศรษฐกิจแน่นิ่งไม่ตอบสนอง             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
สุชาดา กิระกุล
Interest Rate




การตอบสนองนโยบาย "ธปท."ของ"แบงก์พาณิชย์"ด้วยการลดดอกเบี้ยทั้งขา"ฝาก"และ"กู้"เพื่อกระตุ้นการบริโภค ไม่ใช่ปัจจัยหลักที่จะดึงเศรษฐกิจให้พ้นจากปากเหวได้ ด้วยเหตุผลหลายประการ แต่สำคัญสุดคือ"ความเชื่อมั่น"ที่มีพลังเบาบาง ไม่อาจกระตุ้นผู้ประกอบและผู้บริโภคควักเงินออกจากประเป๋า แม้ต้นทุนการกู้จะต่ำ และผลตอบแทนเงินฝากไม่จูงใจแล้วก็ตาม

"แบงก์พาณิชย์"พาเหรดหั่นดอกเบี้ยขาฝากและกู้ลง หลังธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับดอกเบี้ยนโยบาย (อาร์พี) ลงอีก 0.5% น่าจะสร้างปรากฏการณ์เชิงบวกต่อภาคเศรษฐกิจได้ เพราะการปรับลดดังกล่าวถือว่ามีนัยสำคัญต่อการตัดสินใจใช้จ่ายของผู้ประกอบการและผู้บริโภค

สุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน บอกว่า การปรับดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.5% เพื่อลดความลังเลของผู้ประกอบการและผู้บริโภคที่คอยแต่จับจ้องทิศทางดอกเบี้ยในอนาคตจะเป็นเช่นไร ซึ่งการลดถึง 0.5% เชื่อว่าน่าจะทำให้เกิดความชัดเจนในการตัดสินใจได้แล้ว

แต่ดูเหมือนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของแบงก์ชาติครั้งนี้ ทำให้เกิด 2 มุมมอง ที่ท้ายสุดแล้วไม่อาจตัดสินใจได้ดัง ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน แบงก์ชาติกล่าวไว้ นั่นเพราะถ้อยแถลงของ ธปท. สามารถตีความได้ว่าการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งหน้า (18 ก.ค.)มีความเป็นไปได้ที่จะลดอัตราดอกเบี้ยลง หรือไม่ลดลงอีกก็เป็นได้

โดยปัจจัยที่คาดว่าไม่ปรับลงอีก มาจากคำกล่าวของ "สุชาดา" ที่บอกว่า "การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย0.5% ครั้งนี้ กนง.เห็นแล้วว่ามีความเหมาะสม และน่าจะหนุนให้เศรษฐกิจสามารถขับเคลื่อนต่อได้ในอนาคตเมื่อหลังจากปัจจัยหลายอย่างคลี่คลายลง โดยเฉพาะสถานการณ์การเมือง"เท่ากับว่าการลดดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้เป็นการกระทำที่มองถึงสถานการณ์ในอนาคตแล้ว

และที่ทำให้หลายคน(เหยี่ยวข่าว)ที่คลุกคลี ธปท.จนจับสังเกตได้ถึงถ้อยคำแถลงที่ต่างไปจากเดิม โดยเฉพาะประโยคที่พูดทุกครั้งเมื่อต้องแถลงข่าวปรับลดดอกเบี้ยนโยบายคือ "ภาวะดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาลง"หากครั้งล่าสุดไม่มีการกล่าวถึง จึงถูกหยิบยกมาตีความว่าการปรับหนนี้อาจเป็นครั้งสุดท้าย ดังนั้นการประชุม กนง. ครั้งหน้าจะไม่มีการพิจารณาเรื่องปรับลดอีก

แต่ในอีกมุม ก็มองว่ายังมีความเป็นไปได้ที่จะปรับลดลลงอีก เพราะ "สุชาดา" บอกว่า ไม่อาจให้คำตอบที่ชัดเจนได้ ด้วยข้อมูลในอนาคตอาจมีการเปลี่ยนแปลง การพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายงวดนี้ เป็นข้อมูลก่อนเดือย เม.ย. ดังนั้นหากให้ตอบว่าหนนี้เป็นการปรับลดครั้งสุดท้ายหรือไม่ คงตอบได้ยาก เพราะต้องดูข้อมูลใหม่จากเดือน เม.ย. และ พ.ค. รวมถึงแนวโน้มเศรษฐกิจโลกก่อนว่าเป็นอย่างไร

ถ้ามองภาพรวมแล้วเศรษฐกิจโลก...แน่นอนว่าขับเคลื่อนไปได้ดี แต่เศรษฐกิจในประเทศเป็นเรื่องไม่แน่นอน... เป็นผลให้ภาคเอกชน นักธุรกิจ นักวิชาการ ต่างออกมาให้ความเห็นว่าถ้า ธปท.จะปรับดอกเบี้ยนโยบายลงอีกก็สามารถทำได้ พร้อมกับขีดเส้นไว้เลยว่า ดอกเบี้ยนโยบายท้ายสุดจะหยุดที่ 3.00%

คำพูดทั้งจากแบงก์ชาติ ภาคเอกชน นักธุรกิจ นักวิชาการ จึงไม่อาจตีความและสรุปแบบฟันธงได้

ถึงกระนั้น ดอกเบี้ยที่ลดลงดังกล่าว สุชาดา บอกว่า จะส่งผลไปถึงตลาดการเงินให้ปรับลดดอกเบี้ยตาม ดังนั้นในผู้ประกอบการที่มองการไกล จุดนี้น่าจะเริ่มลงทุนได้แล้ว

ตั้งแต่ต้นปีที่ ธปท.เริ่มพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง เพราะทิศทางเศรษฐกิจเริ่มเป๋ จากความเชื่อมั่นลด การบริโภคหดตัว แต่การปรับใน 2 ครั้งแรกลงเพียง 0.25% ซึ่งเทียบแล้วไม่แรงเท่า 2 ครั้งล่าสุดที่ลงถึง 0.5% ทำให้ดอกเบี้ยนโยบายวันนี้ลงมาอยู่ที่ 3.5% จากต้นปี 5.00% โดยรวมปรับลงแล้ว1.5%

และสำหรับสถาบันการเงินพาณิชย์ ได้ขานรับนโยบาย ธปท. ด้วยการทยอยปรับลดดอกเบี้ยทั้ง 2 ขาลง "เงินฝาก"และ"เงินกู้" โดยเริ่มจากแบงก์ใหญ่ที่ขยับก่อน "แบงก์กรุงเทพ" ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง 0.50% ดอกเบี้ยเงินกู้ลง 0.25%

"แบงก์กรุงไทย" ลดดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภทลง0.50% ลดดอกเบี้ยเงินกู้ลง 0.25% "แบงก์กสิกรไทย"ลดดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภทลง0.50% ลดดอกเบี้ยเงินกู้ลง 0.25% "แบงก์กรุงศรีอยุธยา"ลดดอกเบี้ยเงินฝากลง 0.25-0.5% ลดดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภทลง 0.25% ส่วน"แบงก์ธนชาต"คาดว่าจะปรับดอกเบี้ยเงินกู้ลง0.50% และดอกเบี้ยเงินฝากลง 0.25% และ "แบงก์ทหารไทย" ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประมาณ 0.5% อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง0.25%

โดยการปรับลดดอกเบี้ยทั้งฝากและกู้เชื่อว่าจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการบริโภคมากขึ้น แต่ถ้าพิจารณาถึงสภาพความเป็นจริง การบริโภคจะเกิดขึ้นต่อเมื่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคกลับมา แต่สถานการณ์เช่นปัจจุบันนี้กล่าวได้เพียงคำเดียวว่าความเชื่อมั่นนั้นริบหรี่เต็มที ดังนั้นการใช้จ่ายเงินจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก

กอปรกับการพิจารณาข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ที่รายงานว่าสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยเติบโตในทิศทางชะลอตัว แต่เอ็นพีแอลกลับเพิ่มขึ้น เป็นการสะท้อนถึงปัญหาคุณภาพสินทรัพย์ ที่มีปัจจัยกระทบจากจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และก็เหมือนปัญหางูกินหาง ที่เศรษฐกิจชะลอตัวก็เพราะไม่มีความเชื่อมั่น อันเกิดจากผลทางการเมืองเป็นหลักสำคัญ

ต่อให้แบงก์พาณิชย์พาเหรดลดดอกเบี้ย"เงินกู้"เพื่อจูงใจลูกค้าที่อยากมีต้นทุนต่ำ หรือ ลดเงินฝาก เพื่อสะท้อนว่าการเก็บเงินในธนาคารช่างไม่คุ้มค่า แต่ในสถานการณ์ที่ความเชื่อมั่นไร้เสถียรภาพเช่นนี้ ไม่ว่าใครก็คงอดที่จะรอดู และขอกอดเงินตัวเองไว้ในอกอย่างแนบแน่นดีกว่าปล่อยให้ลอยไปแบบกล้าๆกลัวๆ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us