Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2543
"Whale ข้าวกล้องวาฬน้อย" ฟาสต์ฟู้ดแผนไทย             
 


   
search resources

Whale
วิทยา ถนอมพงศ์
พีระพงศ์ ถนอมพงษ์พันธ์
Fastfood




ข้าวกล้อง อาจจะยังไม่เป็นที่คุ้นลิ้นของคนอีกหลายคน กลุ่มผู้บริหารร้านต้นซุงเดิม จึงคิดค้นเมนูใหม่ๆ ข้าวกล้อง ให้ลองชิม เป็นความคิด ที่น่าสนใจ แต่จะเป็นไปได้ทางการตลาดหรือไม่ต้องใช้เวลามากๆ ทีเดียว

เมื่อประมาณเดือนธันวาคม 2542 ที่ผ่านมา บนถนนราชดำเนินกลาง มีร้านอาหารแบบฟาสต์ฟู้ดร้านใหญ่ร้านหนึ่ง ที่มีบรรยากาศน่าเข้าไปลิ้มลองรสอาหารเกิดขึ้น ด้วยแนวความคิด ที่ค่อนข้างแปลกใหม่ และน่าสนใจทีเดียว

ไม่มีแฮมเบอร์เกอร์ ไก่ทอด มันฝรั่งทอด หรือพิซซ่า รวมทั้งน้ำดำ ค่ายดังจากต่างประเทศปรากฏในร้านนี้แน่นอนเพราะ "WHALE ข้าวกล้องวาฬน้อย" เป็นร้านของคนไทย ที่ดึงเอาจุดเด่นของข้าวกล้องสมุนไพร และเครื่องเทศมาพัฒนาเป็นอาหารรูปแบบต่างๆ รสชาติหลากหลายมาขายในรูปแบบของอาหารฟาสต์ฟู้ด

นับเป็นความพยายามสร้างพฤติกรรมใหม่ของคนไทยในการทานข้าวกล้อง และอาหาร เพื่อสุขภาพ ที่มีแนวความคิด ที่น่าสนใจ และเป็นความกล้าอย่างมากๆ ของนักลงทุนในการที่จะแข่งกับแบรนด์ดังทั้งหลายจากต่างประเทศ และเป็นที่นิยมของคนไทยส่วนหนึ่งมานาน

เจ้าของแนวความคิดนี้คือ กลุ่มบริษัทบางกระเจ้า หรือ ที่รู้จักกันดีในชื่อร้านอาหาร "บ้านต้นซุง" ที่มีพีระพงศ์ ถนอมพงษ์พันธ์ เป็นเจ้าของ และหุ้นส่วนใหญ่ นอกจากโครงการร้านอาหารบ้านต้นซุง ที่ยังทำอยู่ และโรงแรมเดอวิลล์พาเลซ ที่ขายต่อให้กับทักษิน ชินวัตรไปเมื่อปี 2538 แล้ว ยังมีโครงการโรงเรียนแสนสนุก "ไตรทักษะ" หรือโรงเรียนบ้านต้นซุง ซึ่งจะเปิดสอนระดับเนิร์สเซอรี่ถึงมัธยมในปีนี้ โดยเป็นโรงเรียนในแนวความคิดใหม่เน้นให้เด็กสามารถพัฒนาศักยภาพในตัวเองได้อย่างสอด คล้อง และเหมาะสม

ก่อนหน้านี้พีระพงศ์ได้จัดให้มีโครงการเสริมสร้างประสบการณ์ในการใช้ภาษาอังกฤษ และจัดให้มีศูนย์ศิลปะเด็กบ้านต้นซุง โดยผู้ร่วมกิจกรรมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายขึ้นมาเมื่อปี 2540 และปัจจุบันเขายังเป็นประธานของมูลนิธิพัฒนาศักยภาพคน ซึ่งจดทะเบียนเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนอีกด้วย

ส่วนร้าน WHALE นั้น มีวิทยา ถนอมพงษ์พันธ์ ผู้เป็นหลานชายรับผิดชอบหลัก วิทยาเคยเป็นผู้จัดการทั่วไปโรงแรมเดอวิลล์พาเลซ และช่วยกิจการอยู่ ที่ร้านอาหารต้นซุง

"ทีมงานเรามีความคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ และเตรียมงานกันมานาน เราเชื่อว่าจุดขายของบ้านเราหนีไม่พ้น เรื่องสินค้าเกษตรกรรม และอาหาร เพื่อสุขภาพก็เป็นสิ่งที่นิยมกันมากในปัจจุบัน เราก็ค่อยๆ พัฒนาคอนเซ็ปต์ ทำเป็นสินค้าในรูปแบบฟาสต์ฟู้ด ซึ่งเป็นวิธีการที่เสิร์ฟอาหารแบบร่วมสมัย รวดเร็ว มีการเข้าคิวสั่งอาหาร และยืนรอรับอาหารไปเลย" วิทยาเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังถึง ที่มาของความคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้

แต่กว่าจะมีความเชื่อมั่นในรสชาติของอาหารทางทีมงานก็ได้ทดลองในการทำอาหารในเมนูต่างๆ หลายครั้งใช้เวลานานเป็นปี อาศัย ที่มีทีมงานส่วนหนึ่ง ที่มีฝีมือทางด้านการทำอาหารอยู่แล้ว จนมั่นใจว่าจะเป็นที่พอใจของลูกค้าแน่นอน อาหาร ที่ร้าน WHALE จำหน่ายนั้น แบ่งออกเป็น 4 หมวด คือ หมวดอาหาร (อาหารว่าง และอาหารหลัก) หมวดเครื่องดื่ม (เครื่องดื่มสมุนไพร เครื่องดื่มเย็น น้ำผลไม้ เครื่องดื่มร้อน) หมวดอาหารชุด (ชุดอาหารหลัก ชุดอาหารว่าง) หมวดเบเกอรี่ (กลุ่มขนมปัง กลุ่มขนมอบ) โดยมีราคาเริ่มต้น ที่ 20 บาท ไปจนถึง 90 บาท

ในขณะที่ร้านฟาสต์ฟู้ดทั่วไปจะมีของทานเล่นคือ เฟรนช์ฟาย ที่ร้านนี้ก็จะมีเช่นกันคือ "ข้าวกล้องวาฬน้อย" ซึ่งเป็นการเอาข้าวกล้องผสมแป้งมาทอด แล้วใส่พิมพ์รูปปลาวาฬ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของร้านทานกับซอสสมุนไพร

เฮิร์บ แอนด์สไปซ์ หรือทอด มันข้าวกล้อง ทำจากข้าวกล้องหุงสุก ผสมเครื่องพริกแกง ใบมะกรูดซอย และถั่วพู

หรืออาหาร ที่เป็นเนื้อสัตว์ทางร้านก็มีสเต็กนักเกตไก่ สเต็กนักเกตหมู เสิร์ฟกับข้าวกล้องวาฬน้อย และสลัดผัก ซึ่งมีส่วนผสมหลักของข้าวกล้อง เนื้อไก่ เนื้อหมู และน้ำเกรวี่ราดก็จะเป็นสูตร ที่ทางร้านพัฒนาขึ้นมาเอง ส่วนข้าวไก่ตะไคร้ ซึ่งแทน ที่จะเป็นข้าวไก่ทอด อย่างเดียว ก็มีตะไคร้ ซึ่งเป็นสมุนไพรไทย ผสมอยู่ด้วย

เมนูเด็ดอีกอย่างหนึ่งก็คือ อาหาร ที่ทำจากถั่วเหลือง เจ้าโปรตีนจากท้องทุ่ง ซึ่งเอามาทำเป็นสเต็กเต้าหู้ หรือซุปใส่เต้าหู้

อาหารเกือบทุกชนิดจะทานกับซอสสมุนไพร ที่ประกอบด้วยตะไคร้ ข่า ขมิ้น และโหระพา

นอกจากนั้น ทางร้านพยายามทำอาหารให้หลากหลายมากขึ้น เพื่อให้คนมีโอกาสเลือก โดยนอกจากจะมีน้ำสมุนไพรแล้วยังมีกาแฟเย็น นมเย็น และช็อกโกแลตเย็น รวมทั้งกาแฟสด ซึ่งทานกับพวกเบเกอรี่ ที่ทำขายเองด้วย

"คุณค่า ที่ได้จากสมุนไพร เครื่องเทศ มีประโยชน์มีคุณค่า หากเปรียบเทียบกับฟาสต์ฟู้ดจากเมืองนอกทั่วไป ในช่วงเวลานี้เราคิดว่าการทานอาหารเป็นเรื่อง ที่สำคัญ ทานได้เร็ว ใช้เวลาน้อย เต็มไปด้วยคุณค่า ซึ่งเรามองว่าเมื่อคนเข้าใจมันน่าจะมีความเป็นไปได้ทางธุรกิจ เพียงแต่ว่าคนไทยหรือคนต่างชาติจะเห็นคุณค่าของมันหรือเปล่า วัยรุ่นบ้านเราบางครั้งเองก็น่าเป็นห่วงว่าจะมีการทานอาหารตามแฟชั่นมากกว่าจะมองเรื่องประโยชน์"

ทุกคนรู้ว่ามีประโยชน์ แต่ในขณะเดียวกันก็จะมีความเสี่ยงเหมือนกันว่าคนจะเข้าใจมากน้อยแค่ไหน และทำอย่างไรให้คนหันมายอมรับอาหารฟาสต์ฟู้ดประเภทนี้มากขึ้น เป็นโจทย์ ที่ค่อนข้างยากมากๆ สำหรับวิทยา โดยเฉพาะการลงทุนในสาขาแรก ที่มีพื้นที่ร้านกว่า 250 ตารางเมตร บริเวณพื้นที่ชั้นสองก็จะจัดเป็นศูนย์นันทนาการต่างๆ รวมทั้งมีการจัดมุมต่างๆ ภายในร้าน เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับคุณประโยชน์ และสารอาหาร ที่ได้จากพืชผักสมุนไพรต่างๆ ด้วย

บริษัทบางกระเจ้าลงทุนตกแต่งร้าน ที่เปิดเป็นสาขาแรกนี้ไปไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาทรวมค่าซื้อสิทธิการเช่าที่ดินด้วยเงินลงทุน ที่ค่อนข้างสูงกับยอดขายต่อวันคงมีโอกาสถึงจุดคุ้มทุนค่อนข้างยาก เลยมีการวางแผนไว้ว่าจะต้องรีบขยายสาขาไปยังทำเลต่างๆ อย่างน้อยต้องให้ได้ประมาณ 3 สาขาภายในปีนี้

และก็ต้องเป็นโจทย์ ที่ยากข้อต่อไปอีกเหมือนกันว่า ในทำเลที่ดีๆ ย่านชุมชนต่างๆ นั้น ส่วนใหญ่ก็จะมีร้านฟาสต์ฟ้ดอื่นๆ ทั่วไปอยู่แล้ว ของใหม่ ที่เพิ่งเกิดขึ้นอย่างข้าวกล้องวาฬน้อย จะมีโอกาสเกิดได้มากน้อยแค่ไหน

ดังนั้น อย่างเดียว ที่วิทยาทำได้ตอนนี้ก็คือ จะต้องยอมลงทุนในเรื่องของเวลาในการสร้างชื่อให้เป็นที่ยอมรับ รวมทั้งเร่งคิดค้นแผนการตลาดอื่นๆ ด้วย เพื่อให้ร้านข้าวกล้องวาฬน้อย เป็นที่รู้จัก และเป็นที่ยอมรับให้ได้เร็วที่สุด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us