Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2543
"แบล็คแคนยอน" ไลฟ์สไตล์ใหม่ของ ประวิทย์ จิตนราพงศ์             
 


   
search resources

แบล็คแคนยอน (ประเทศไทย), บจก.
ประวิทย์ จิตนราพงศ์




หลายๆ คนอาจจะคิดเหมือนประวิทย์ คือ ต้องการเป็นเจ้าของร้านกาแฟเล็กๆ สักร้านหนึ่ง เพื่อเอาไว้เฮฮาปาร์ตี้กับ เพื่อนฝูง แต่เมื่อเริ่มต้นร้านแรกแล้วประวิทย์กลับหยุดไม่ได้ และหลงใหลในธุรกิจนี้ ที่เขาเรียกมันว่า "ปีศาจดำ" ขึ้นทุกทีๆ

เป็นเรื่อง ที่น่าแปลกไม่น้อย ที่คน ซึ่งไม่ชอบดื่มกาแฟเลย วันนี้ได้กลายเป็นผู้หนึ่ง ที่หลงใหลในรสชาติสีนิลอันเข้มข้นของกาแฟ และเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในเรื่องราวของกาแฟอย่างมากๆ รวมทั้งเป็นเจ้าของแบล็คแคนยอน ร้านกาแฟแบรนด์เนมของคนไทยอีกประมาณ 40 สาขาทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดอีกด้วย รวมทั้งเปิดบริการในรูปแบบของ X' press บนสถานีรถไฟฟ้าอีกหลายจุด

"ผมชอบกาแฟหลายรส ขึ้นอยู่กับเวลา และโอกาส อย่างตอนเช้าๆ ตื่นขึ้นมาต้องขอกาแฟร้อนก่อนเลย ซึ่งรสชาติ ที่ผมโปรดปรานมากมีอยู่ 3 อย่างคือ มอคคาผสมช็อกโกแลต กาเฟราเต้ และอราบิกาเวียงพิงค์ ส่วนตอนเ ที่ยงๆ อากาศร้อนๆ ต้องขอเป็นกาแฟปั่นอย่างมอคคากาเซีย"

ประวิทย์ จิตนราพงศ์ กรรมการผู้จัดการ แบล็คแคนยอน เริ่มบทสนทนากับ "ผู้จัดการ" พร้อมๆ กับยกแก้วกาแฟเย็นปั่นขึ้นจิบด้วยท่าทางสบายๆ เขาเล่าให้ฟังต่อว่า มอคคาเป็นกาแฟพันธุ์เฉพาะ ที่ถูกเพาะโดยชนพื้นเมืองแห่งเคนยา มีรสชาติ ที่ค่อนข้างขม ส่วนกาเฟราเต้ นั้น คำว่า"ราเต้"เป็นภาษาอิตาลี แปลว่า "นม" เป็นกาแฟผสมนม เพราะตัวเองเป็นคนที่ไม่ชอบน้ำตาล และอราบิกาเวียงพิงค์ เป็นกาแฟ ของไทยใส่น้ำผึ้ง น้ำผึ้งนี้อาจจะเป็นตัวแทนของสาวเหนือ ที่มีความอ่อนหวาน เป็นกาแฟสูตรพิเศษสำหรับผู้มีรสนิยมขมเข้มเยี่ยงผู้ดีอังกฤษ แต่อ่อนหวานละมุนลิ้นด้วยรสชาติของน้ำผึ้ง

ส่วนมอคคากาเซียจะเป็นการเอากาแฟ ที่ผ่านการชงสดๆ มาเข้าเครื่องปั่นในขณะที่ปั่นก็จะใส่ครีมมอคคาให้หนืดเหนียว และเสิร์ฟ พร้อมไอศกรีมครึ่งก้อนโรยข้างบน เพื่อเพิ่มความแปลกใหม่ของรสชาติ

ก่อน ที่จะเป็นเจ้าของร้านกาแฟ ที่มีสาขามากที่สุดในวันนี้ เมื่อประมาณ 7 ปีก่อนประวิทย์ เคยมี "ชา" เป็นเครื่องดื่มถ้วยโปรด แต่แล้ววันหนึ่งในขณะที่ธุรกิจหลักของเขาเกี่ยวกับการขายอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ต่างๆ กำลังอยู่ในช่วง ที่บูมสุดขีด ประวิทย์ก็เกิดมีความคิดอย่างที่หลายๆ คนชอบคิดก็คือ ต้องการมีร้านอาหารเครื่องดื่ม หรือร้านกาแฟเล็กๆ ตกแต่งดีๆ เป็นของตัวเองสักร้านหนึ่ง เพื่อเอาไว้พบปะสังสรรค์กับ เพื่อนฝูง และไว้รับรองลูกค้า

แบล็คแคนยอน เป็นร้านหนึ่ง ซึ่งเขาชอบเพราะติดใจในคำว่า "แบล็คแคนยอน" ซึ่งหมายถึงหุบเขาหรือดินแดนแห่งกาแฟ และชอบแนวความคิดในการตกแต่งร้าน ซึ่งเป็นสไตล์คันทรี่ คาวบอยตะวันตก

เริ่มแรกเขาต้องการเพียงซื้อแฟรนไชส์ เพื่อจะเปิดใหม่เพียง 1 สาขา แต่คุยไปคุยมากลายเป็นการซื้อกิจการมาทั้งหมด

"คนไทยรับวัฒนธรรมตะวันตกเร็วมาก การดื่มกาแฟกลายเป็นไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ ของคนไทย แนวโน้มของร้านกาแฟจึงน่าจะไปได้" นั่นคือ สิ่งที่ประวิทย์คิด และมั่นใจพอ ที่จะเสี่ยงควักเงินก้อนใหญ่ ที่จะซื้อมา เพื่อพัฒนาสินค้าตัวนี้ต่อไป

การที่เริ่มทำธุรกิจ ที่ตนเองไม่เคยมีความรู้พื้นฐานมาเลยเป็นสิ่งที่เขาพบว่ายากมากๆ เพราะหลังจากคว้าปริญญาตรี และปริญญาโท มาจากคณะบริหารธุรกิจสาขาการตลาดจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และปริญญาโทอีกใบจากคณะนิเทศศาสตร์ สาขาสื่อมวลชนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประวิทย์ก็เริ่มชีวิตการทำงานด้วยการเป็นโปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบ ที่ธนาคารเชส แมนฮัตตัน จากนั้น ก็เปลี่ยนไปรับตำแหน่งเป็นผู้จัดการแผนกคอมพิวเตอร์ ผู้จัดการแผนกสารสนเทศ เพื่อการบริหารบริษัทวอร์เนอร์-แลม เบิท (ประเทศไทย) จำกัด จนกระทั่งก้าวไปเป็นกรรมการบริหารของบริษัทดาต้าโปร คอมพิวเตอร์ ซิสเต็มส์ จำกัด และเข้าไปเป็นเถ้าแก่เองอย่างเต็มตัวในตำแหน่งประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัทโปรลายน์ ซึ่งมีบริษัทต่างๆ ในเครือประมาณ 8 บริษัท

ซึ่งทุกกิจการเป็นเรื่องเกี่ยวกับ IT ทั้งหมด ดังนั้น เริ่มแรกประวิทย์ก็ได้นำเอาบริษัทแบล็คแคนยอนไปสมัครเป็นสมาชิกของสมาคมกาแฟ ที่อเมริกา เพื่อจะได้สิทธิในการฝึกอบรม รวมทั้งการซื้อหนังสือ วิดีโอ เอกสาร ในเรื่องเกี่ยวกับกาแฟมาศึกษา รวมทั้งเดินทางไปต่างประเทศ ซื้อตัวอย่างพันธุ์กาแฟต่างๆ มาทดลองปรุงเป็นสูตรต่างๆ ซึ่งก็มี เพื่อนๆ กลุ่มผู้บริหารจากบริษัทโปรลายน์เป็นคนทดลองชิม แต่กว่าจะได้รสชาติ ที่เป็นที่นิยม และเป็นที่ติดใจของคอกาแฟทั้งหลาย ก็เป็นเรื่อง ที่ยุ่งยากมากทำเอาเขาเกือบถอดใจจากธุรกิจนี้หลายครั้ง

"ขายเครื่องคอมพิวเตอร์ครั้งหนึ่งๆ ก็ได้เงินเป็นล้าน หรือขายซอฟต์แวร์ระบบหนึ่งก็เห็นเงินล้าน แต่นี่ต้องมาขายกาแฟแก้วละ 40 บาท กว่าจะได้กำไรสักแสนจะต้องขายกาแฟกี่หมื่นแก้วกันนี่ ก็เป็นเรื่องไม่แน่ใจว่าเราคิดถูกหรือคิดผิดกันแน่"

แต่ด้วยความรัก ที่กลายเป็นความหลงในเรื่องของกาแฟไปแล้ว ประวิทย์จึงไม่ยอมแพ้ และในช่วง 4 ปีแรกนั้น เขาก็ได้ทุ่มเวลาให้ธุรกิจนี้อย่างเต็มที่ และการที่เขาเป็นนักคอมพิวเตอร์ก็ได้นำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในเรื่องของการทำยอดขาย ทำบัญชีมีการศึกษาวิเคราะห์ และประเมินผลอย่างเป็นระบบ

ในช่วงวิกฤติของเศรษฐกิจ ที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 2 ปีที่ผ่านมาได้เป็นสิ่งที่ตัดสินว่าประวิทย์คิดถูก ที่ไม่ยอมถอดใจจากธุรกิจกาแฟ เพราะในขณะธุรกิจอื่นๆ ของเขาได้รับผลกระทบ ร้านแบล็คแคนยอนกลับได้รับผลกระทบน้อยมาก และกลายเป็นธุรกิจ ที่มีกระแสเงินสดช่วยหล่อเลี้ยงบริษัทในเครืออื่นๆ บางแห่งด้วยซ้ำไป

เวลา ที่ผ่านไป 7 ปีได้กลายเป็นโอกาสในการสร้างชื่อสะสมพร้อมๆ กับคนดื่มกาแฟ ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น แต่ก็หมายถึงการขยายแฟรนไชส์ของแบรนด์ดังในต่างประเทศเข้ามาหลายรายเหมือนกัน

"ถ้าผมมีเงิน 50 ล้าน ณ วันนี้ แล้วมาสร้างร้านกาแฟใหม่ ผมไม่เอาแน่ เพราะอาจจะไม่ประสบความสำเร็จก็เป็นได้ เพราะการมาสร้างแบรนด์ใหม่ให้ติดตลาดไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เหมือนกัน"

ทุกวันนี้หากมีเวลาว่างประวิทย์จะมีความสุขอย่างมาก ที่จะได้ขับรถขึ้นไปบนดอยต่างๆ ทางเหนือ เพื่อตะลุยไปยังแหล่งผลิตกาแฟจริงๆ และถือโอกาสไปชื่นชมทิวทัศน์ และบรรยากาศของภูเขา ที่เขาบอกว่าถ้าให้เลือกระหว่างเที่ยวทะเลกับภูเขา เขาจะเลือกเที่ยวภูเขามากกว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะภูเขาเป็นสิ่งที่เขาคุ้นเคยมาตั้งแต่เด็กๆ เพราะเป็นคนจังหวัดเชียงใหม่นั้น ทำให้การขึ้นไปเที่ยวเล่นบนดอยไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่การเที่ยวเล่นวันนั้น กับวันนี้ต่างกัน

เมื่อวันวานอาจจะ เพื่อความสนุกสนานอย่างเดียว แต่วันนี้เป็นเรื่อง ที่เขาจะต้องคอยคิดเหมือนกันว่าสิ่งที่พบเห็นนั้น จะมีอะไรบ้าง ที่เอามาประยุกต์ใช้ในธุรกิจร้านกาแฟของเขาได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us