Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน30 พฤษภาคม 2550
คลังเผยส่งออกเม.ย.หนุนศก.เงินเฟ้อ1.8%ต่ำติดต่อ5เดือน             
 


   
www resources

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

   
search resources

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
พรรณี สถาวโรดม
Economics




สศค.เผยตัวเลขส่งออกเดือนเมษายนขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 มูลค่า 1.1 หมื่นล้าน หรือเพิ่มขึ้น 18.5% เป็นผลต่อการขยายการส่งออกใหม่ๆ ในขณะที่การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนเริ่มมีสัญญาณที่ดี ยันฐานะการคลังยังมีสถียรภาพ เงินเฟ้อทั่วไป 1.8% ปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5

นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนเมษายน 2550เศรษฐกิจไทยโดยรวมได้รับแรงขับเคลื่อนจากภาคการส่งออกที่ยังขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนเริ่มมีสัญญาณของการปรับตัวที่ดีขึ้น ส่วนด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกยังอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง

โดยเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจด้านการคลังในเดือนเมษายนบ่งชี้ถึงการใช้จ่ายของรัฐบาลที่กลับเข้าสู่ระดับปกติ โดยรายจ่ายงบประมาณในเดือนนี้เบิกจ่ายได้ 115.8 พันล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น15.9% ต่อปี แบ่งออกเป็นรายจ่ายประจำจำนวน 97.7 พันล้านบาท รายจ่ายลงทุนจำนวน 13.5 พันล้านบาท และรายจ่ายเหลื่อมปีจำนวน 4.6 พันล้านบาท

อย่างไรก็ตาม รายได้จัดเก็บสุทธิของรัฐบาลในเดือนเมษายน 2550 จัดเก็บได้ 89.0 พันล้านบาท หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ -22.1% ต่อปี เนื่องจากมีการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตาม พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ จำนวน 19.4 พันล้านบาท ซึ่งหากไม่รวมการจัดสรรเงินฯ ดังกล่าว รายได้จัดเก็บในเดือนเมษายนจะเท่ากับ 108.4 พันล้านบาท หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ -5.1%

"เครื่องชี้การใช้จ่ายภายในประเทศมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนจากภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนเมษายนขยายตัว 7.1% ต่อปี เพิ่มขึ้นจาก 1.9% ต่อปี ในเดือนก่อน ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขมูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนเมษายนที่ขยายตัว 23.9% ต่อปี เพิ่มขึ้นจาก 15.0% ต่อปี ในเดือนมีนาคม อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนเมษายนยังคงชะลอลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนเครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน โดยเฉพาะการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรปรับตัวดีขึ้น ดังจะเห็นได้จากมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนที่กลับมาขยายตัวที่ 4.9% ต่อปี หลังจากที่หดตัวติดต่อกันมาตั้งแต่ปลายปี 2549"

อย่างไรก็ตาม เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนด้านการก่อสร้างยังคงชะลอตัว โดยภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์หดตัว -5.7% ในเดือนเมษายน ด้านมูลค่าการส่งออกในเดือนเมษายน 2550 ยังคงขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 10.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นสูงที่ 18.5% ต่อปี ซึ่งเป็นผลจากการขยายตลาดการส่งออกใหม่ๆ เช่น อินเดีย ยุโรปตะวันออก และ แอฟริกา ดังนั้นการส่งออกจึงยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในเดือนเมษายนเช่นเดียวกับในไตรมาสแรก

สำหรับมูลค่าการนำเข้าในเดือนเมษายน 2550 ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 8.9% ต่อปี จาก 0.6% ต่อปี ในเดือนมีนาคม โดยมีมูลค่าการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 10.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สินค้าที่มีการนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้นมากได้แก่ สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าทุน รวมทั้งยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ทั้งนี้ การเร่งตัวขึ้นของมูลค่าการนำเข้าทำให้ดุลการค้าลดลงจาก 2,267 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มาอยู่ที่ 255.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

สำหรับเครื่องชี้ในด้านอุปทานพบว่า ในเดือนเมษายน 2550 ดัชนีผลผลิตการเกษตรขยายตัวได้ถึง 13.4% ต่อปี เพิ่มขึ้นมากจากเดือนก่อนที่ขยายตัว 0.7% ต่อปี โดยเฉพาะข้าวนาปรังที่ขยายตัวได้ดีเนื่องจากมีผลผลิตออกมามากในเดือนเมษายน อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาสินค้าเกษตรหดตัวที่ -8.5% ต่อปี จาก -4.6% ต่อปีในเดือนมีนาคม เนื่องจากราคาไม้ผล เช่น เงาะ ลำไย ลองกอง และทุเรียน ที่ปรับลดลงตามการชะลอตัวของอุปสงค์ในตลาด

ส่วนเครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรมบ่งชี้ว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนเมษายนกลับมาขยายตัวได้ดีขึ้น ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวที่ 6.3% ต่อปี เพิ่มขึ้นจากที่ขยายตัว 2.4% ต่อปี ในเดือนก่อนหน้า โดยอุตสาหกรรมที่มีการผลิตปรับตัวดีขึ้นได้แก่ อุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออก เช่น การผลิตเครื่องจักรสำนักงาน สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมอาหาร

ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนเมษายนปรับลดลงมาอยู่ที่ 60.9% จาก 68.7% ในเดือนก่อน เนื่องจากเดือนเมษา0ยนมีวันหยุดทำการมากกว่าปกติ ในด้านเครื่องชี้ภาคบริการโดยเฉพาะการท่องเที่ยว ข้อมูลล่าสุดในเดือนเมษายน 2550 พบว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทยมีจำนวนประมาณ 1.09 ล้านคน ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 0.9% ต่อปี ชะลอลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.4 ต่อปี เนื่องจากนักท่องเที่ยวขาดความเชื่อมั่นในสถานการณ์ความไม่สงบภายในประเทศ และสภาพอากาศที่เกิดหมอกควันในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ

เสถียรภาพทั้งภายในและภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งมาก โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนเมษายน 2550 อยู่ที่ 1.8% ต่อปี ปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ขณะที่อัตราการว่างงานเดือนมีนาคม ยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ 1.6% และสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ในเดือนมีนาคม 2550 ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 38.1% แต่ยังคงต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ 50.0% ค่อนข้างมาก สำหรับเครื่องชี้เสถียรภาพภายนอกประเทศพบว่า ทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2550 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 71.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us