|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
โจนส์ แลงฯ ระบุการเมืองและเศรษฐกิจ แม้จะกระทบต่อตลาดอสังหาฯในกรุงเทพฯ แต่โดยรวมยังคงได้รับสนใจจากนักลงทุนจากทั่วโลก ชี้อสังหาฯในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในปี 2549 มียอดการลงทุนเติบโตขึ้น 42% หรือมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 94,000 ล้านดอลลาร์ โดยนักลงทุนเลือกญี่ปุ่นเป็นอันดับแรก
นางสุพินท์ มีชูชีพ กรรมการผู้จัดการบริษัท โจนส์ แลง ลาซาลล์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า แม้แนวโน้มของตลาดอสังหาริมทรัพย์ของกรุงเทพฯ จะได้รับผลกระทบเชิงลบจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและเศรษฐกิจ แต่โดยรวมๆแล้วยังคงอยู่ในทิศทางเดียวกับตลาดโดยรวมของเอเชียแปซิฟิก โดยตลาดอาคารสำนักงานและศูนย์การค้ายังคงมีค่าเช่าปรับตัวสูงขึ้น ถึงแม้จะไม่มากนักเมื่อเทียบกับ 2-3 ปีที่ผ่านๆ มา คาดว่าตลาดอสังหาฯของกรุงเทพฯ จะฟื้นตัวดีขึ้นในปี 2551 เมื่อความคลุมเครือทางการเมืองคลี่คลายหลังการเลือกตั้งที่จะจัดให้มีขึ้นในปลายปีนี้
ขณะที่ ด้วยสภาพสภาพเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่มีการขยายตัวในระดับที่แข็งแกร่ง ส่งผลให้มีความต้องการใช้พื้นที่สำนักงานในภูมิภาคนี้ ขยายตัวจากกลุ่มบริษัทในธุรกิจการเงิน ธุรกิจประกัน ธุรกิจอสังหาฯ และ ธุรกิจบริการด้านต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจการธนาคารและธุรกิจบริหารกองทุน มีการขยายการใช้พื้นที่สำนักงานเพิ่มขึ้นมากในเมืองศูนย์กลางทางการเงิน ได้แก่ ฮ่องกง สิงคโปร์ ซิดนีย์และโตเกียว
นาง เจน เมอร์เรย์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกของโจนส์ แลง ลาซาลล์ กล่าวว่า ค่าเช่าในตลาดอาคารสำนักงานโดยรวมของเอเชียแปซิฟิกมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง เนื่องจากอุปทานใหม่เกิดขึ้นไม่มาก ดังนั้น จึงพบว่า บริษัทผู้เช่าจำนวนมากเริ่มหันไปเช่าพื้นที่อาคารสำนักงานที่ตั้งอยู่นอกเขตศูนย์กลางธุรกิจมากขึ้น เพราะมีค่าเช่าถูกกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ตลาดฮ่องกงและสิงคโปร์
ในด้านตลาดการลงทุน พบว่า นักลงทุนจากทั่วโลกสนใจลงทุนซื้อโครงการอสังหาฯในเอเชียแปซิฟิก โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลายๆ ปัจจัย ได้แก่ การขยายตัวของธุรกิจบริหารจัดการการออมเพื่อการเกษียณอายุ การกระจายการลงทุนเพิ่มขึ้นโดยนักลงทุนสถาบัน ตลาดอสังหาฯในเอเชียแปซิฟิกมีความโปร่งใสมากขึ้น และการไหลเวียนของเม็ดเงินลงทุนที่เพิ่มสูงขึ้นโดยนักลงทุนจากประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน
โดยในปี 2549 ที่ผ่านมา บริษัทฯได้รายงานเรื่องการไหลเวียนของเงินทุนในธุรกิจอสังหาฯโลก ระบุว่า มีการซื้อขายทั่วโลกมูลค่ารวมทั้งสิ้น 682,000 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ประมาณ 38% หรือเกือบเท่าตัวเมื่อเทียบกับปี 2546 ส่วนในเอเชียแปซิฟิก การซื้อขายเพื่อการลงทุนในปี 49 มูลค่ารวมทั้งสิ้น 94,000 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ประมาณ 42% ตลาดที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเอเชียแปซิฟิก คือญี่ปุ่น ซึ่งคิดเป็น 55 % ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดในภูมิภาค ส่วนจีน มีมูลค่าการซื้อขายรวมทั้งสิ้น 9,000 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ประมาณ 69 % แม้จะมีมาตรการลดความร้อนแรงของตลาดซึ่งออกโดยรัฐบาล
|
|
|
|
|