|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
SAW เผยทิศทางส่งออกภาค SMEs คาดไตรมาส 2 เจอปัจจัยลบยังเป็นเรื่องเดิมๆ โดยมีสัญญาณบวกเพราะการนำเข้าชะลอตัว ขณะที่พื้นฐานส่งออกไทยยังแกร่ง ระบุในปี 2550 มูลค่าส่งออกโดยรวมอาจถึง 5.659 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นสัดส่วน SMEs ถึง 1.623 ล้านล้านบาท
โครงการวิเคราะห์และเตือนภัย SMEs รายสาขา (SAW) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เผยผลสำรวจแนวโน้มการส่งออกของ SMEs ไทย ประจำไตรมาส 2 /2550 ว่า จากสถานการณ์ในช่วงไตรมาสที่ 1-2550 พบว่า ค่าเงินบาทยังมีทิศทางแข็งค่าต่อเนื่อง ส่วนแนวโน้มไตรมาส 2/2550 คาดว่า ค่าเงินบาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ (USD) จะยังคงผันผวนอยู่ จากปัจจัยเสี่ยงทั้งภายในและภายนอกประเทศ
ทั้งนี้ ค่าเงินบาทยังมีโอกาสที่จะเคลื่อนไหวในทิศทางที่แข็งค่าขึ้นหรืออ่อนค่าลงได้ในอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกัน โดยปัจจัยที่จะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอาจจะมาจากอัตราการขยายตัวด้านการนำเข้าสินค้าและการลงทุน ที่มีอัตราชะลอตัวหรือทรงตัว เนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนภายในประเทศ ประกอบกับการส่งออกโดยรวมของประเทศยังมีอัตราการขยายตัวมากกว่า 10% ทำให้ดุลการค้าไทยยังมีโอกาสเกินดุลได้ต่อไป รวมถึง แนวโน้มของค่าเงิน USD ที่ยังคงต้องอ่อนค่าลงในระยะยาวเพื่อแก้ปัญหาความไม่สมดุลในโลก อัตราดอกเบี้ยภายในประเทศที่มีแนวโน้มปรับลดลงต่อเนื่องจะช่วยลดแรงดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ
จากสถานการณ์ต่างๆ ของประเทศไทย และการสำรวจจากผู้ประกอบการ SMEs ประมาณ 800 ราย พบว่า ปัจจัยเสี่ยงสำหรับ SMEs ในการประกอบธุรกิจสำหรับปี 2550 ยังเป็นปัจจัยเดิมๆ อาทิ การแข็งค่าของค่าเงินบาทอย่างต่อเนื่อง ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น สถานการณ์ความไม่สงบต่างๆ อาจจะส่งผลต่อความเชื่อมั่น และบรรยากาศในการลงทุน และสุดท้ายส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ชะลอตัวลง ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม แม้ SMEs จะมีความกังวลกับความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกในช่วงไตรมาสที่ 1/2550 ที่ผ่านมา แต่โดยพื้นฐานแล้วเมื่อมาพิจารณาในอีกมิติ พบว่าปัจจัยภายนอกประเทศโดยเฉพาะเรื่องทิศทางค่าเงิน USD ที่อ่อนค่าลงในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับปัจจัยภายในประเทศของไทย ยังได้สนับสนุนให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง น่าจะเป็นสถานการณ์ที่ไม่สู้ดีนัก แต่การค้าระหว่างประเทศของไทยกลับปรับตัวดีขึ้นมาก โดยดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไตรมาส 1/2550 และทำสถิติเกินดุลสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 2.2-2.26 พันล้าน USD ในช่วงสุดท้ายของไตรมาส 1/2550
ทั้งนี้ สาเหตุดังกล่าวเป็นผลมาจากการนำเข้าที่ขยายตัวในระดับที่ลดลงต่อเนื่องตามทิศทางการบริโภคและการลงทุนที่ชะลอตัวลง ขณะที่การส่งออกยังคงเติบโตในระดับที่แข็งแกร่ง และเป็นสัญญาณที่ดีว่าการส่งออกของไทย อาจจะทำรายได้มากถึง 5.659 ล้านล้านบาท ในปี 2550 จากที่เคยทำได้ 4.946 ล้านล้านบาท หรือจะมีอัตราการขยายตัวกว่าร้อยละ 14 โดยเป็นสัดส่วนของ SMEs ถึง 1.623 ล้านล้านบาท (ประมาณ 30%) ซึ่งมีอัตราการขยายตัวประมาณร้อยละ 13 โดยรวม และมากกว่าร้อยละ 14 สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต และจะส่งผลต่ออัตราการขยายตัวด้านมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ SMEs (Economic Value Added) จาก 3.29 แสนล้านบาทเป็น 3.99 แสนล้านบาท ตามลำดับ
|
|
|
|
|