|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เปิดเผยว่า สศค.ได้ประมาณการเศรษฐกิจ ณ เดือนพฤษภาคม 2550 โดยเศรษฐกิจไทยในปี 2550 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ 4.0% ต่อปี โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 3.8-4.3% ต่อปี ชะลอลงจากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2549 ที่อยู่ที่ 5.0% ต่อปี เนื่องจากการใช้จ่ายภายในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวชะลอลงเล็กน้อย เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักของไทยขยายตัวลดลงจากปีก่อนไม่มากนัก
สำหรับด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจในปี 2550 คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน โดยดุลบัญชีเดินสะพัดต่อจีดีพี คาดว่าจะเกินดุลเพิ่มมาอยู่ที่ 4.9% ในปี 2550 ช่วงคาดการณ์ 4.5-5.5% เพิ่มขึ้นจากที่เกินดุล 1.5% ในปี 2549 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2550 คาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำที่ 2.8% ต่อปี ช่วงคาดการณ์ 2.5-3.0% ต่อปี ลดลงจาก 4.7% ต่อปี ในปีก่อน
ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยในปี 2550 คาดว่าจะขยายตัวชะลอลงจากปีก่อนมาอยู่ที่ 4.0% ต่อปี โดย สศค. คาดว่าการบริโภคภาคเอกชนในปี 2550 จะขยายตัวลดลงจาก3.1 % ต่อปี ในปี 2549 มาอยู่ที่ 2.3% ต่อปี ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 1.8-2.8 ต่อปี ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนในปี 2550 คาดว่าจะชะลอการขยายตัวลงจาก 3.9% ต่อปี ในปี 2549 มาอยู่ที่ 0.5% ต่อปี ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 0.3-0.7 ต่อปี
เนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ได้ส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนโดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทนและการลงทุนภาคเอกชนหดตัวลงมาก นอกจากนั้น ความไม่แน่นอนจากสถานการณ์ความไม่สงบต่างๆ เช่น ปัจจัยทางการเมือง ความไม่สงบในจังหวัดภาคใต้ และความผันผวนของราคาน้ำมันในช่วงที่เหลือของปี อาจส่งผลให้การบริโภคและการลงทุนภาคภาคเอกชนฟื้นตัวช้ากว่าเดิม
ในด้านการใช้จ่ายภาครัฐ สศค. คาดว่าการบริโภคภาครัฐที่แท้จริงในปี 2550 จะเร่งตัวเพิ่มขึ้นจาก 3.4% ต่อปี ในปี 2549 มาอยู่ที่ 10.8% ต่อปี ช่วงคาดการณ์ 8.8-12.8% ต่อปี เนื่องจากนโยบายการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลและการปรับปรุงกรอบวงเงินรายจ่ายประจำของงบประมาณปี 2550 เพิ่มขึ้นจาก 1,191.5 พันล้านบาท เป็น 1,246.3 พันล้านบาท
ทั้งนี้ การลงทุนภาครัฐที่แท้จริงในปี 2550 คาดว่าจะขยายตัวชะลอลงจาก 4.5% ต่อปี ในปี 2549 มาอยู่ที่ 2.2% ต่อปี ช่วงคาดการณ์ 0.2-4.2% ต่อปี ซึ่งสอดคล้องกับการปรับปรุงกรอบวงเงินรายจ่ายลงทุนของงบประมาณปี 2550 ลดลงจาก 374.7 พันล้านบาท เป็น 319.6 พันล้านบาท อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลสามารถเร่งเบิกจ่ายงบประมาณให้ได้ตามเป้าหมายที่ 93% ของกรอบวงเงินงบประมาณปี 2550 และเร่งเบิกจ่ายงบประมาณลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้ได้ตามเป้าหมายที่ 85% ของกรอบงบประมาณลงทุน จะสามารถช่วยผลักดันให้การบริโภคและการลงทุนภาครัฐดังกล่าวมีโอกาสขยายตัวได้ในระดับสูงของช่วงคาดการณ์
ในด้านอุปสงค์จากภายนอกประเทศสุทธิ สศค. คาดว่าปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการในปี 2550 มีแนวโน้มขยายตัวชะลอตัวจากปีก่อนเล็กน้อย ตามการชะลอการขยายตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าและแนวโน้มค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น โดยปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการในปี 2550 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ 8.1% ต่อปี ช่วงคาดการณ์ 7.6-8.6% ต่อปี ลดลงเล็กน้อยจากปี 2549 ที่ขยายตัว 8.5% ต่อปี
ในขณะที่ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการในปี 2550 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก 1.6% ต่อปี ในปี 2549 มาอยู่ที่ 5.2% ต่อปี ช่วงคาดการณ์ 4.7-5.7% ต่อปี เนื่องจากแนวโน้มค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจะส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าและบริการลดลง ประกอบกับฐานการนำเข้าในปีก่อนที่อยู่ในระดับต่ำผิดปกติ จากการที่ผู้ผลิตหันมาใช้สินค้าคงคลังแทนการนำเข้าเพื่อผลิตสินค้า ดังนั้น ในปี 2550 นี้ คาดว่าผู้ผลิตจะต้องนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการผลิตและทดแทนสินค้าคงคลังที่ได้ปรับลดไปมากแล้วในปีก่อน
สำหรับสเถียรภาพเศรษฐกิจภายนอกประเทศในปี 2550 มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยคาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดต่อจีดีพี ในปี 2550 จะเกินดุลประมาณ 4.9% ช่วงคาดการณ์ 4.5-5.5% เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ที่เกินดุล 1.5% โดยสาเหตุหลักที่ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลสูงขึ้นมาจากการเกินดุลการค้าที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นมาก ตามมูลค่าส่งออกสินค้าในปี 2550 ที่คาดว่าจะขยายตัวสูงกว่ามูลค่านำเข้าสินค้าค่อนข้างมาก ทั้งนี้ สศค. คาดว่า มูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2550 จะขยายตัวอยู่ที่ 13.7% ต่อปี ช่วงคาดการณ์ 13.2-14.2% ต่อปี แต่มูลค่านำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2550 คาดว่าจะขยายตัวเพียง 8.3% ต่อปี ช่วงคาดการณ์ 7.8-8.8% ต่อปี
สำหรับด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศในปี 2550 นั้น คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2550 ยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ 2.8% ต่อปี ช่วงคาดการณ์ 2.5-3.0% ต่อปี ลดลงจาก 4.7% ต่อปี ในปี 2549 โดยมีสาเหตุหลักมาจากค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยบรรเทาแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปทานจากราคาน้ำมันดิบที่อาจปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อย ในขณะเดียวกันการชะลอตัวของการใช้จ่ายในประเทศจะช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อทางด้านอุปสงค์ด้วยอีกทางหนึ่ง
นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาการคลัง กล่าวว่า การปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจครั้งนี้ถือเป็นตัวเลขที่สะท้อนความเป็นจริงมากที่สุด และมาจากความสามารถของเศรษฐกิจไทยเอง ซึ่งไม่ได้มีอคติทางการเมือง ไม่ว่าผลการยุบพรรคจะออกมาเป็นอย่างไร หากสถานการณ์หลังการตัดสินคดียุบพรรคไม่รุนแรง ก็เป็นไปได้ที่จะมีการทบทวนคาดการณ์จีดีพีอีกครั้งในเดือน ส.ค.นี้ ซึ่งอาจทำให้ตัวเลขสูงขึ้นกว่านี้ได้
"กระทรวงการคลังพยายามทำเศรษฐกิจให้นิ่ง และอยู่ในช่วงขาขึ้น แต่การเมืองก็ต้องช่วยด้วย ไม่เช่นนั้นการเมืองอาจทำให้เศรษฐกิจมีปัญหาเช่นกัน" นายสมชัยครวญ
|
|
|
|
|