Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน29 พฤษภาคม 2550
สินเชื่อQ2/ครึ่งปีหลังยังไม่สดใส             
 


   
www resources

โฮมเพจ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

   
search resources

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก.
Interest Rate




ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินสินเชื่อแบงก์ไตรมาส 2 ยังชะลอตัวต่อตามจีดีพี คาดโตกว่าไตรมาสแรกที่ขยายตัว 4.80% เล็กน้อย ขณะที่ในครึ่งปีหลังจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีข้อจำกัด แม้ปัจจัยการเมือง-ดอกเบี้ยจะเอื้ออำนวยขึ้น แต่จากการแข่งขันที่สูงทำให้เกิดการรีไฟแนนซ์ในระบบแทนสินเชื่อใหม่ คาดทั้งปีขยายตัว 4.0-5.5% ขณะที่ยอดเอ็นพีแอลมีความเป็นไปได้ที่จะปรับลดลงสู่ 2%ตามที่แบงก์ชาติตั้งไว้ จากการเร่งขายหนี้เน่าออกของสถาบันการเงิน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินแนวโน้มสินเชื่อ และสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยในช่วงที่เหลือของปี 2550 ว่า การขยายตัวของสินเชื่อในไตรมาสที่ 2/2550 จะยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง และสินเชื่ออาจขยายตัวเร่งขึ้น ในช่วงครึ่งปีหลัง แต่อัตราการเติบโตก็ยังน่าจะเป็นไปอย่างจำกัด ทั้งนี้ จากการทดสอบความสัมพันธ์ทางเศรษฐมิติระหว่างสินเชื่อดี กับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR เฉลี่ยรายไตรมาสของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยในช่วงระหว่างปี 2546 ถึงไตรมาส 1/2550 นั้น โดยคาดการณ์ให้จีดีพีไตรมาส 1/2550 จะขยายตัวประมาณ 3.0%

ปรากฏว่าการเปลี่ยนแปลงของสินเชื่อดีมีความสัมพันธ์ที่ค่อนข้างจะมีนัยสำคัญทางสถิติกับอัตราการเติบโตของจีดีพีในไตรมาสเดียวกัน ขณะที่การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย เงินกู้ในระยะเวลาเดียวกันเพียงลำพังนั้น ไม่สามารถอธิบายการเคลื่อนไหวของสินเชื่อดีได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่า การลดอัตราดอกเบี้ยจะไม่มีผลดีต่อการขยาย สินเชื่อ เนื่องจากการศึกษายังพบอีกว่า การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม จะเริ่มส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของสินเชื่อดีในช่วง 3-4 ไตรมาสถัดไป ดังนั้น ในช่วงไตรมาส 2/2550 ที่จีดีพีคาดว่าจะยังคงชะลอตัว โดยเติบโตไม่เกิน 4% เทียบกับตัวเลขประมาณการของไตรมาส 1/2550 ที่ 3% นั้น คงจะส่งผลให้การขยายสินเชื่อดีของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยน่าจะยังอยู่ในเกณฑ์ ชะลอตัว และอาจจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากช่วงไตรมาส 1/2550 ที่ขยายตัว 4.80%

สำหรับในช่วงครึ่งหลังของปี 2550 การขยายสินเชื่อคงจะมีแนวโน้มดีกว่าในช่วงครึ่งปีแรก ตามทิศทางเศรษฐกิจไทยที่คาดว่าจะฟื้นตัวขึ้น จากความคาดหวังถึงผลดีจากปัจจัยบวกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่สูงขึ้น การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ จากภาครัฐ รวมทั้ง สถานการณ์การเมืองที่น่าจะลดความตึงเครียดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเหตุการณ์หลังคำพิพากษาเรื่องคดียุบพรรคการเมืองใหญ่ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ผ่านพ้นไปด้วยความราบรื่น ตลอดจนการลงประชามติของร่างรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งใหญ่ ประสบความสำเร็จด้วยดีตามกำหนดการภายในปี 2550 นี้

นอกจากนี้ การเติบโตของสินเชื่อในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ก็น่าจะอยู่ในกรอบที่จำกัด เนื่องจากการลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา อาจเริ่มส่งผลบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ไทยในช่วง 3-4 ไตรมาสถัดไป หรือปลายปี 2550 นี้เป็นอย่างเร็ว นอกจากนี้ เพื่อให้สามารถขยายสินเชื่อได้ตามเป้าหมายในภาวะที่ความต้องการสินเชื่อใหม่จากภาคเอกชนชะลอตัวลงนั้น ธนาคารพาณิชย์ไทยต่างปรับกลยุทธ์การแข่งขันมาเน้นการแย่งชิงลูกค้าจากธนาคารอื่นๆ มากขึ้นทั้งลูกค้าผู้ประกอบการและลูกค้ารายย่อย ผ่านวิธีการต่างๆ อาทิ การเสนอเงื่อนไขการ Refinance ที่จูงใจ ซึ่งรูปแบบการแข่งขันดังกล่าว แม้จะทำให้ยอดสินเชื่อของธนาคารนั้นๆ เพิ่มขึ้น แต่ก็ทำให้สินเชื่อของธนาคารคู่แข่งลดลง จึงไม่มีผลในการเพิ่มสินเชื่อของทั้งระบบธนาคารพาณิชย์ไทยในทางปฏิบัติ

สินเชื่อทั้งปีโต 4-5.5%

ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า สินเชื่อดี ณ สิ้นปี 2550 จะขยายตัวประมาณ 4.0-5.5% เทียบกับ 4.8% ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2550 และ 6.69% ณ สิ้นปี 2549 ทั้งนี้ คาดว่ามีโอกาสสูงที่ธนาคารพาณิชย์ไทยหลายแห่งอาจไม่สามารถขยายสินเชื่อได้ตามเป้าหมาย (หากยึดตามเป้าหมายการขยายสินเชื่อที่แต่ละธนาคารประกาศออกมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2549 ต่อเนื่องถึงช่วงต้นปี และคำนวณออกมาบนฐานของสินเชื่อดีของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยนั้น จะได้ว่าจนถึงสิ้นปี 2550 สินเชื่อดีจะต้องขยายตัวไม่ต่ำกว่า 10%) หลังจากที่การขยายสินเชื่อในไตรมาส 1/2550 ทำได้เพียง 2.2% ของเป้าหมายการเติบโตทั้งปีเท่านั้น ทำให้น่าจะเริ่มมีการทยอยปรับลดเป้าหมายการขยายสินเชื่อลงในช่วงกลางปีนี้

และสินเชื่อที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปี 2550 น่าจะยังคงเป็นสินเชื่อรายย่อยมากกว่าสินเชื่อภาคธุรกิจ โดยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยคาดว่าคงจะขยายตัวชัดเจนขึ้น และได้เปรียบสินเชื่อประเภทอื่นๆ หากรัฐบาลมีการออกมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ตามกระแสข่าวในระยะที่ผ่านมา รวมทั้งปัจจัยบวกจากการลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมที่น่าจะปรากฏชัดในช่วงท้ายปี ขณะที่ สินเชื่อบุคคลคงจะเติบโตขึ้น หลังจากที่ชะลอลงในช่วงไตรมาสแรกของปี เพราะปัจจัยด้านฤดูกาล ประกอบกับมีปัจจัยบวกจากการ Refinance สินเชื่อบัตรเครดิตบางส่วนด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ธนาคารพาณิชย์ได้ปรับเพิ่มเพดานการจ่ายชำระหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำจาก 5% มาเป็น 10% เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา พร้อมกับอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่เพิ่มขึ้นมาที่ 20% ต่อปี ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการจ่ายชำระหนี้ของลูกหนี้บางกลุ่มได้

คาดแบงก์เร่งขายNPLยอดหนี้เน่าฮวบ

ด้านความสามารถในการจ่ายชำระหนี้ของลูกหนี้คาดว่าจะยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี แต่เอ็นพีแอลคงจะปรับตัวลดลงจากการขายหนี้เป็นหลัก โดยถึงแม้ทิศทางเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนในช่วงที่เหลือของปี จะยังคงเป็นปัจจัยลบต่อปัญหาคุณภาพหนี้ ดังที่สะท้อนผ่านการปรับขึ้นของเอ็นพีแอล และเอ็นพีแอล สุทธิในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ แต่ก็คาด ว่าระบบธนาคารพาณิชย์ไทยน่าจะมีสัดส่วนเอ็นพีแอลต่อสินเชื่อรวมที่ลดลงในช่วงที่เหลือของปี จากการขายหนี้ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ต่างๆ เพื่อลดภาระการกันสำรองในระยะต่อไป รวมทั้งจากการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งปัจจัยต่างๆดังกล่าว คาดว่าจะทำให้สัดส่วนเอ็นพีแอลดังกล่าวลดลงมาที่ประมาณ 5-7% ณ สิ้นปี 2550 จากระดับ 8.17% ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2550 และ 8.07% ณ สิ้นปี 2549

ขณะที่เอ็นพีแอลสุทธิจากค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (Net NPLs)นั้น คงจะได้รับอานิสงส์อีกประการหนึ่ง จากการที่ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยจะต้องทำสำรองเพิ่มเติมเพื่อให้ครบตามเกณฑ์การกันสำรองของธปท.ที่อิงกับมาตรฐาน IAS39 ดังนั้น จึงน่าจะทำให้สัดส่วนเอ็นพีแอลสุทธิต่อสินเชื่อ รวมปรับตัวลดลงเข้าหาเป้าหมายของ ธปท.ที่ 2% ได้ภายในสิ้นปี 2550 นี้ จากระดับ 4.60% ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2550 และ 4.52% ณ สิ้นปี 2549   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us