|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เอ็กซิมแบงก์จ่อหั่นดอกเบี้ยลงอีก 0.25% ในสัปดาห์นี้ส่งผลให้ดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำอยู่ที่ระดับ 7.00% พร้อมล้างพอร์ตหนี้เอ็นพีแอล 8 พันล้านบาทให้เกลี้ยงภายในสิ้นปี เชื่อกำไรปีนี้ 400 ล้านบาทตามเป้า แต่หากต้องตั้งสำรองตามเกณฑ์ IAS39ผลการดำเนินงานขาดทุนแน่นอน ระบุครึ่งปีหลังแม้จะมีปัจจัยลบแต่ยอดปล่อยสินเชื่อใหม่ได้ตามเป้าหมาย 2 หมื่นล้าน
นายอภิชัย บุญธีรวร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(ธสน.) หรือ เอ็กซิมแบงก์ เปิดเผยว่า หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.50% ในการประชุมเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคมที่ผ่านมานั้น เอ็กซิมแบงก์เตรียมประกาศลดอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้าสำหรับการกู้ซึ่งเป็นเงินบาท (Prime Rate) จากปัจจุบันที่อยู่ที่ 7.25% ให้เหลือ 7.00% ภายในสัปดาห์นี้
“ภายใน 1-2 วันนี้เอ็กซิมแบงก์คงประกาศลดดอกเบี้ยไพร์มเรทลงอีก 0.25% เพื่อให้สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยในตลาด ซึ่งในเดือนนี้ถือว่าเอ็กซิมแบงก์ประกาศลดดอกเบี้ยแล้ว 2 ครั้งโดยครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคมที่ผ่านมา” นายอภิชัยกล่าว
นอกจากนี้เอ็กซิมแบงก์ยังได้ว่าจ้างให้บริษัทเบเคอร์ ทิลลี่ เป็นที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ ในกระบวนการขายหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPLs) ของธนาคารจำนวนประมาณ 8,000 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 14% ของพอร์ตสินเชื่อรวม 56,000 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2549 ซึ่งเอ็นพีแอลจำนวนดังกล่าวกระจายอยู่ในทุกภาคอุตสาหกรรมโดยเอ็กซิมแบงก์จะพยายามขายเอ็นพีแอลให้หมดภายในสิ้นปีนี้
“ตอนนี้เราให้ที่ปรึกษาเข้ามาดูว่าสินเชื่อแต่ละรายจะขายในราคาเท่าไร โดยจะเปิดกว้างให้กับทุกคนที่สนใจไม่จำเป็นว่าต้องขายให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์เพียงเจ้าเดียว เนื่องจากหากมีผู้สนใจซื้อเอ็นพีแอลแล้วสามารถนำไปต่อยอดธุรกิจของตนเองหรือแนวโน้มของสินเชื่อที่เป็นเอ็นพีแอลดังกล่าวมีโอกาสทางธุรกิจก็สามารถซื้อเอ็นพีแอลนั้นไปได้”
นายอภิชัยกล่าวว่า ส่วนผลการดำเนินงานของเอ็กซิมแบงก์ในไตรมาสที่ 1 เบื้องต้นก่อนการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) อยู่ในระดับ 100 ล้านบาทตามเป้าหมายที่วางไว้ และคาดว่าทั้งปีจะสามารถทำกำไรได้ตามเป้า 400 ล้านบาทเช่นกัน แต่ทั้งนี้เอ็กซิมแบงก์ต้องตั้งสำรองตามเกณฑ์มาตรฐานทางบัญชีระหว่างประเทศฉบับที่ 39 (IAS 39) ของธปท.ก็จะทำให้ผลการดำเนินงานในปี 2550 ที่ออกมาขาดทุนแน่นอน
โดยเอ็กซิมแบงก์ได้เสนอแผนการตั้งสำรองตามเกณฑ์ IAS 39 ให้กับทางกระทรวงการคลังไปแล้ว ซึ่งตามแผนการตั้งสำรองในปี 2550 เอ็กซิมแบงก์จะตั้งสำรองจำนวนประมาณ 1,000 ล้านบาท แต่หากแผนการขายหนี้เอ็นพีแอลที่เอ็กซิมแบงก์ว่าจ้างที่ปรึกษาสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีจะส่งผลให้เอ็กซิมแบงก์นำวงเงินที่ขายเอ็นพีแอลจำนวนดังกล่าวกลับมาเป็นรายได้ของเอ็กซิมแบงก์ทดแทนได้
“ในช่วง 2 ไตรมาสสุดท้ายของปีนี้แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงบ้างแต่เชื่อว่ายอดการปล่อยสินเชื่อของเอ็กซิมแบงก์จะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ 2 หมื่นล้านบาท โดยอาจเป็นการขอสินเชื่อเพิ่มเติมของลูกค้ารายเดิมเพื่อขยายธุรกิจการส่งออกนำเข้า แต่สินเชื่อรายใหม่ที่ยื่นเข้ามาคงมีบ้างแต่ไม่มากนักเอ็กซิมแบงก์จึงถือโอกาสใช้ช่วงนี้เพื่อปรับโครงสร้างองค์กรให้พร้อมที่จะเดินหน้าต่อไปในวันที่เศรษฐกิจฟื้นตัว” นายอภิชัยกล่าว
|
|
|
|
|