Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2550
รัฐธรรมนูญ             
โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
 


   
search resources

Political and Government




ญี่ปุ่นกำลังเคลื่อนตัวเข้าสู่ห้วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญมากที่สุดอีกครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของชาติ

เนื่องเพราะเมื่อกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา รัฐสภาญี่ปุ่นได้ผ่านมติเห็นชอบให้มีการร่างพระราชบัญญัติที่จะนำไปสู่การทำประชามติสำหรับการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ

การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ย่อมส่งผลกระทบทั้งในระดับโครงสร้างและรายละเอียด ต่อบทบาทและทิศทางในแนวนโยบายสาธารณะของญี่ปุ่นที่น่าพิจารณาอย่างยิ่ง

ขณะที่มติของรัฐสภาญี่ปุ่น ซึ่งเปิดทางให้มีการร่างกฎหมายเพื่อขอประชามติจากสาธารณชนก่อนจะนำไปสู่การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในอนาคต ส่งผลให้คะแนนนิยมของรัฐบาลภายใต้การนำของ Shinzo Abe ขยับตัวกระเตื้องสูงขึ้นทันทีด้วย

รัฐธรรมนูญของญี่ปุ่น ซึ่งประกอบด้วย อารัมภบท (preamble) และตัวบทกฎหมาย อีก 103 มาตรา (articles) โดยแบ่งเป็นหมวดหมู่ทั้งสิ้น 11 หมวด (chapters) มิเพียง แต่ไม่เคยถูกฉีก หรือล้มล้าง หากยังมิเคยแม้จะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงถ้อยความใดๆ เลย เป็นเวลาต่อเนื่องมานานกว่า 60 ปีแล้ว

กฎหมายสูงสุดฉบับดังกล่าวนี้เกิดขึ้นจากผลของความพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งส่งผลให้ญี่ปุ่นต้องตกอยู่ในอาณัติการปกครองของกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตร (Allied Occupation) ที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นแกนนำ

แม้ว่า นายพล Douglas MacArthur ในฐานะผู้บัญชาการสูงสุดกองกำลังสัมพันธมิตร (Supreme Commander for the Allied Powers : SCAP) จะพยายามที่จะกล่าวถึงการสร้างระบบการเมืองใหม่ของญี่ปุ่น ที่เกิดจากฐานคติของผู้นำทางการเมืองของญี่ปุ่นเอง

แต่เมื่อ Shidehara Kijuro นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในยุคหลังสงครามแต่งตั้ง Matsumoto Joji เป็นประธานคณะทำงานเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในช่วงปลายปี 1945 และนำเสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ออกสู่สาธารณชน ในเดือนกุมภาพันธ์ 1946 กลับถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักหน่วงว่า เป็นรัฐธรรมนูญที่อนุรักษนิยม

ขณะเดียวกัน นายพล Douglas MacArthur ปฏิเสธที่จะยอมรับข้อเสนอในการยกร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการชุดของ Matsumoto Joji อย่างสิ้นเชิง และนำเสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต่อเจ้าหน้าที่ ฝ่ายญี่ปุ่นในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 1946 ก่อนที่เปิดเผยออกสู่การรับรู้ของสาธารณชนเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 1946

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่นายพล Douglas MacArthur นำเสนอต่อญี่ปุ่นนี้มี Milo Rowell ซึ่งดำรงตำแหน่ง Chief of Judicial Affairs และ Courtney Whitney ซึ่งเป็นผู้ใกล้ชิดกับ Douglas MacArthur เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการยกร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ขึ้น

ห้วงเวลาที่คาบเกี่ยวและใกล้เคียงกันมากระหว่างการปฏิเสธร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการที่นำโดย Matsumoto Joji และการเสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ยกร่าง โดย Milo Rowell และ Courtney Whitney เป็นกรณีที่ปฏิเสธได้ยากว่า Douglas MacArthur มิได้เตรียมการในเรื่องดังกล่าวไว้ก่อน

แต่นั่นอาจเป็นเรื่องปกติธรรมดา เพราะฝ่ายที่ประสบชัยชนะนอกจากจะเป็นผู้เขียนประวัติศาสตร์แล้ว ยังสามารถบีบบังคับ ให้ฝ่ายผู้ปราชัยต้องดำเนินตามอีกด้วย

กระนั้นก็ดี ร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวกลับมิได้มุ่งหมายให้ระบอบการเมืองญี่ปุ่นพัฒนาไปในทิศทางเดียวกับพัฒนาการทางการเมืองของสหรัฐอเมริกา ที่อยู่ในระบอบ ประธานาธิบดี

หากแต่ฐานความคิดในการยกร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนั้น ผูกพันกับความเชื่อที่ว่าขบวนการเสรีนิยมของญี่ปุ่นกำลังเติบโตขึ้น ซึ่ง MacArthur และผู้ยกร่างทั้งสองต่างประเมินรูปแบบการปกครองแบบรัฐสภาของอังกฤษ ในฐานะทางเลือกที่เหมาะสมกว่า โดย เฉพาะเมื่อเทียบกับรูปแบบอำนาจนิยมที่ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับเมจิ

ประเด็นแหลมคมในร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว นอกจากจะเกี่ยวเนื่องกับสถานะ ขององค์พระจักรพรรดิ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1-8 (Chapter I : The Emperor, Article 1-8) ซึ่งทำให้พระจักรพรรดิถูกลดบทบาทลงเหลือเพียงสัญลักษณ์และเอกภาพของประชาชาติญี่ปุ่น ซึ่งมีบทบาทในเชิงพิธีกรรม แต่มิได้ครอบครองอำนาจอธิปไตยแล้ว

มาตรา 9 (Chapter II : Renunciation of War, Article 9) เป็นมาตราที่ทำให้รัฐธรรมนูญญี่ปุ่นฉบับนี้ได้รับการกล่าวถึงในมิติหลากหลายมากที่สุด และเป็นชนวนที่นำไปสู่ความพยายามที่จะแก้ไขบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ตลอดมา

โดยเฉพาะเมื่อข้อเท็จจริงของการร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว มีลักษณะเป็นของแปลกปลอมจากภาย นอกที่ไม่ได้เกิดจาก ความริเริ่มของญี่ปุ่นเอง

สาระสำคัญของ มาตรา 9 ระบุว่าญี่ปุ่น จะสละสิทธิในการทำสงครามและจะไม่มีกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศอีกต่อไป

ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการแก้ไขบทบัญญัติในมาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญญี่ปุ่น อีกประการหนึ่งอยู่ที่กรณีดังกล่าวมิได้ผูกพันอยู่เฉพาะกระแสความ เปลี่ยนแปลงภายในประเทศของญี่ปุ่นแต่เพียง ลำพังเท่านั้น

หากในความเป็นจริง กรณีดังกล่าวยังมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับสถานการณ์ความเป็นไปของระบบการเมืองในระดับนานาชาติด้วย

เงื่อนปมของมาตรา 9 ที่มุ่งหมายลดทอนศักยภาพของญี่ปุ่น ในการสั่งสมกำลัง ทางการทหาร กลายเป็นประเด็นที่ก่อให้เกิดความละล้าละลังในสมการแห่งอำนาจบนเวที การเมืองโลกในเวลาต่อมา

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อกองทัพปลดแอกแห่งประชาชนจีน (Chinese People's Liberation Army : PLA) ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีชัยชนะในสงคราม กลางเมืองเหนือกองกำลังฝ่ายขวาของพวก Kuomintang และสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน ในปี 1949

ผลพวงของมาตรา 9 ในรัฐธรรมนูญญี่ปุ่น ประกอบกับความเปลี่ยนแปลงในประเทศจีน ทำให้สหรัฐอเมริกาตกอยู่ในภาวะ ที่ปราศจากพันธมิตรทางการทหารในการปิดล้อมการแพร่ขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ ในช่วงต้นของสงครามเย็นนี้อย่างสิ้นเชิง

เมื่อสงครามเกาหลีอุบัติขึ้นระหว่างช่วงปี 1950-1953 (Korean War 1950-1953) ส่งผลให้กองกำลังของสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำหน้าที่รักษาความสงบอยู่ในญี่ปุ่น ต้องถอนกำลังจากญี่ปุ่นเข้าสู่สมรภูมิในคาบสมุทรเกาหลี และปล่อยให้ญี่ปุ่นเผชิญหน้ากับความ เสี่ยงที่จะเกิดเหตุรุนแรงภายในประเทศโดยลำพัง

กรณีดังกล่าวนำไปสู่การจัดตั้งกองกำลังตำรวจสำรองแห่งชาติ (National Police Reserve : NPR) เพื่อเป็นกองกำลังสำหรับรักษาความสงบและมั่นคงภายในของญี่ปุ่นในเวลาต่อมา โดยอาศัยยุทโธปกรณ์จากสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก

การเกิดขึ้นของ NPR เมื่อปี 1950 กลายเป็นกรณีที่หมิ่นเหม่ต่อข้อบัญญัติในมาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญไม่น้อย โดย Shigesaburo Suzuki นักการเมืองแนวสังคม นิยมของญี่ปุ่นได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ประกาศว่าการจัดตั้ง NPR เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ

แม้ว่าความพยายามของนักการเมืองแนวสังคมนิยมจะไม่เป็นผล และ NPR จะได้รับการพัฒนาต่อมาเป็นลำดับ แต่กรณีดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นนัยสำคัญของมาตรา 9 ในบริบทการเมืองของญี่ปุ่นไม่น้อย

ยุทโธปกรณ์แต่ละชิ้นถูกเรียกขานในชื่อใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงลักษณะทางการทหาร และให้มีลักษณะเป็นพลเรือนมากขึ้น ทั้งการใช้คำว่า ยานยนต์พิเศษ (special vehicle) แทนคำว่ารถถัง (tank) รวมถึงการใช้คำว่ากองกำลังตำรวจแทนคำว่ากองทัพด้วย

นอกจากนี้ผลพวงของสงครามเกาหลี ซึ่งทำให้เกิดกองกำลังติดอาวุธในญี่ปุ่น ในด้านหนึ่งเป็นผลจากความต้องการของสหรัฐอเมริกา ที่จะผลักให้ญี่ปุ่นมีบทบาทในการขับเคี่ยวกับภัยคอมมิวนิสต์มากขึ้น

ก่อนที่จะนำไปสู่สนธิสัญญาความมั่นคง (Security Treaty : 1951) ระหว่างสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ซึ่งเปิดโอกาสให้กองทัพสหรัฐฯ สามารถคงกองกำลังไว้ในญี่ปุ่นได้ แม้ญี่ปุ่นจะได้รับคืนเอกราชอธิปไตย แล้วก็ตาม

กรณีดังกล่าวส่งผลให้เกิดข้อถกแถลงในสังคมญี่ปุ่นอย่างกว้างขวาง โดยฝ่ายต่อต้านสงครามมองว่าการเข้ามาตั้งฐานทัพของสหรัฐฯ กำลังนำภัยมาสู่ญี่ปุ่นโดยไม่จำเป็น

ขณะที่ฝ่ายอนุรักษนิยมประเมินกรณีดังกล่าวว่าเป็นผลมาจากข้อบัญญัติในมาตรา 9 ที่ทำให้ประเทศต้องอยู่ในภาวะไร้เกียรติภูมิและต้องพึ่งพากองกำลังจากภายนอกในการปกป้องดินแดน

ความพยายามที่จะทำให้รัฐธรรมนูญญี่ปุ่น มีความเป็นญี่ปุ่นมากขึ้น เริ่มขึ้นทันทีหลังจากที่ญี่ปุ่นได้รับอธิปไตยคืนในปี 1952 โดยนักการเมืองสายอนุรักษ์และกลุ่มการเมือง ชาตินิยมพยายามที่จะรณรงค์ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างหนักหน่วง

แต่ด้วยเหตุที่เงื่อนไขในมาตรา 96 ของรัฐธรรมนูญ ที่ระบุให้การแก้ไขเพิ่มเติมจะต้องได้รับเสียงสนับสนุนเกินกว่า 2 ใน 3 จากทั้งสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา รวมถึงการนำเสนอร่างฉบับแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้สาธารณชนลงคะแนนเสียงแสดงประชามติ

ข้อกำหนดดังกล่าวกลายเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมารัฐธรรมนูญญี่ปุ่นไม่เคยถูกแก้ไขเลย

กระนั้นก็ดี ประเด็นถกเถียงเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของ NPR ได้รับการยกระดับขึ้นอย่างช้าๆ ภายใต้เหตุผลที่ว่า กองกำลังดังกล่าวมิได้เป็นไปเพื่อการรุกราน หากแต่ดำรง อยู่เพื่อป้องกันประเทศ ซึ่งย่อมเป็นสิทธิโดยชอบที่จะกระทำได้ โดยไม่ขัดต่อกฎหมายและรัฐธรรมนูญ

โดยในปี 1952 หน่วยงานด้านความมั่นคงภายใต้ชื่อ National Safety Agency : NSA ได้รับการสถาปนาขึ้นเพื่อกำกับดูแลกิจการของ NPR

การตีความข้อบัญญัติในมาตรา 9 ในลักษณะที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงอยู่ของ กองกำลังตำรวจสำรอง NPR และการจัดตั้ง National Safety Agency : NSA นำไป สู่การออกกฎหมายว่าด้วยกองกำลังป้องกันตนเอง (Self-Defense Forces Law) ในปี 1954

ผลของกฎหมาย ดังกล่าวทำให้ NSA ได้รับการยกระดับเป็น Japan Defense Agency และกองกำลังตำรวจสำรอง หรือ NPR เปลี่ยนสถานะเป็นกองกำลังป้องกันตัวเองหรือ Japan Self-Defense Forces : JSDF ในเวลาต่อมา

ท่าทีของนักการเมืองฝ่ายสังคมนิยมจำนวนไม่น้อย ยังคงยืนกรานว่ากองกำลังป้องกันตนเองนี้เป็นกรณีที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอน และยึดท่าทีนี้เป็นแนวทางในการเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง

รวมถึงการปรับเปลี่ยนท่าทีในช่วงทศวรรษ 1980 ไปสู่การระบุว่า "ถูกต้องตาม กฎหมาย แต่ขัดรัฐธรรมนูญ"

ท่าทีของพรรคการเมืองแนวสังคมนิยม และพรรคฝ่ายค้านอื่นๆ ในลักษณะดังกล่าว ทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นไม่ประสบความสำเร็จ แม้จะเป็นกรณีที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องหลายทศวรรษก็ตาม

ประเด็นที่น่าสนใจอย่างมากในกรณีของรัฐธรรมนูญญี่ปุ่นอยู่ที่ แม้รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวจะมีจุดกำเนิดที่ไม่น่าอภิรมย์นักสำหรับชาวญี่ปุ่น แต่กลับไม่มีผู้ใดคิดเหยียบย่ำทำลายด้วยหนทางที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเลย

มูลเหตุสำคัญที่ทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญญี่ปุ่น ในช่วงที่ผ่านมาไม่ประสบความสำเร็จอยู่ที่การมีเข็มมุ่งอยู่ที่บทบัญญัติในมาตรา 9 อย่างจดจ่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา (ทศวรรษ 1980 และ 1990)

ขณะที่กองกำลังป้องกันตนเอง JSDF ทวีบทบาทในเวทีการเมืองระหว่างประเทศมากขึ้น ด้วยการเข้าร่วมในภารกิจรักษาสันติภาพร่วมกับกองกำลังของสหประชาชาติ ในหลายพื้นที่ ภายใต้กฎหมาย UN Peace-keeping Cooperation Law ในปี 1992

แต่กรณีดังกล่าวก็จำกัดอยู่เฉพาะกรณีเกี่ยวเนื่องด้านมนุษยธรรมและการแพทย์เท่านั้น

ขีดความสามารถของ JSDF กลายเป็นประเด็นคำถามในสังคมญี่ปุ่น หลังจากที่เกาหลีเหนือแสดงบทบาทเป็นภัยคุกคาม ด้วยการทดลองยิงขีปนาวุธ Taepodong-1 เหนือน่านฟ้าญี่ปุ่น ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศดำเนินไปท่ามกลางความตึงเครียด

กรณีดังกล่าวส่งผลให้ญี่ปุ่นเริ่มให้ความสนใจกับการวางระบบขีปนาวุธป้องกันภัย มากยิ่งขึ้นและนำไปสู่การลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ในการร่วมมือพัฒนาระบบขีปนาวุธป้องกันภัยในเวลาต่อมา

จุดหักเหสำคัญในความเป็นไปของ JSDF เกิดขึ้นเมื่อรัฐบาลภายใต้การนำของ Junichiro Koizumi ตัดสินใจส่งกองกำลัง JSDF เข้าสู่ประเทศอิรัก ในปี 2004 ตามคำร้องขอของสหรัฐอเมริกา

นับเป็นครั้งแรกในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่กองกำลังจากญี่ปุ่นเข้าร่วมในภารกิจที่ไม่ได้เป็นไปในนามของกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ ซึ่งกรณีดังกล่าวก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง

Junichiro Koizumi ตอบสนองต่อกรณีดังกล่าวด้วยการนำเสนอเค้าโครงสำหรับ แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในเดือนสิงหาคม 2005 ซึ่งย่อมต้องมีส่วนเกี่ยวเนื่องกับบท บัญญัติในมาตรา 9 อย่างแน่นอน

หากแต่ความเคลื่อนไหวในการเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญดังกล่าว กลับให้ภาพที่แตกต่างออกไปจากความพยายามของผู้นำทางการเมืองในอดีต เพราะร่างข้อเสนอดังกล่าวเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับการปฏิรูปการเมืองและการบริหารประเทศ ที่ Koizumi นำเสนอไว้ก่อนหน้าด้วย

ร่างข้อเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ Koizumi นำเสนอ กล่าวถึงการแก้ไขข้อความในมาตรา 9 วรรค 2 โดยระบุให้กองกำลังป้องกันตนเอง SDF สามารถเข้าร่วม ในภารกิจทางการทหารระดับนานาชาติได้

ภายใต้เงื่อนไขของคำจำกัดความ เกี่ยวกับความมั่นคงของญี่ปุ่นที่กว้างขวางออกไปจากเดิม

ขณะเดียวกัน Koizumi เสนอให้มีการปรับแก้ข้อความในมาตรา 92 และ 95 ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการบริหารราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับรัฐบาลกลางด้วย

นอกจากนี้ยังเสนอให้มีการแก้ไขบทบัญญัติในมาตรา 96 ว่าด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ จากเดิมที่ระบุว่าจะต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาด้วยคะแนนเสียงมากกว่า 2 ใน 3 มาสู่การผ่านความเห็นชอบด้วยการได้รับเสียงข้างมาก

แต่การลงคะแนนเสียงประชามติ เพื่อให้ได้รับความเห็นชอบจากประชาชนทั้งประเทศให้คงไว้ดังเดิม

ข้อเสนอของ Koizumi ในลักษณะดังกล่าวนี้ไม่เพียงแต่จะแสดงความมุ่งหมายที่จะพัฒนาขีดความสามารถและเกียรติภูมิของ JSDF ให้มีความทัดเทียมกับกองทัพของประเทศต่างๆ ในระดับสากล

หากยังเน้นย้ำให้เห็น "ธง" ในการปฏิรูประบบราชการที่เขา "ถือชู" มาตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกด้วย

ขณะเดียวกัน รัฐบาลของ Koizumi ยังได้ผ่านความเห็นชอบที่จะยกระดับ Japan Defense Agency มาสู่การเป็นกระทรวงกลาโหม (Defense Ministry) ตามแบบสากลนิยม เมื่อเดือนมิถุนายน 2006

ก่อนที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งกระทรวงกลาโหม จะผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาในเดือนธันวาคม 2006 และมีผลในทางปฏิบัติเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2007 ที่ผ่านมา

ภาพสะท้อนจากกรณีดังกล่าวชี้ให้เห็น ถึงกระบวนการทางสังคมที่เปิดโอกาสให้เกิดข้อคิดเห็นร่วม และการพัฒนาที่ดำเนินควบคู่ กับการแสวงหาการยอมรับในแต่ละขั้นตอน

แม้ Koizumi จะพ้นจากวาระการดำรง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นไปแล้ว โดยมี Shinzo Abe เข้ารับตำแหน่งแทนตั้งแต่เมื่อเดือนกันยายน 2006 แต่ดูเหมือนว่าการปฏิรูปทางการเมืองที่ Koizumi ได้ประกาศและได้เริ่มต้นไว้จะเป็นกรณีที่ไม่อาจละเลยได้

คะแนนความนิยมของรัฐบาล Shinzo Abe ซึ่งตกต่ำมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนกันยายน เริ่มปรับตัวสูงขึ้นสู่ระดับร้อยละ 49.6 หลังจากที่รัฐสภามีมติผ่านร่างกฎหมายเพื่อนำไปสู่การเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และการทำประชามติในอนาคต

ควบคู่กับการเสนอกฎหมายเพื่อการปฏิรูประบบการศึกษาอีก 3 ฉบับ ซึ่งรัฐบาลของ Abe ถือเป็นนโยบายสำคัญ

แม้ว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญญี่ปุ่น จะต้องถกแถลงร่างข้อเสนอของทั้งฝ่าย รัฐบาลและพรรคการเมืองฝ่ายค้านก่อนจะหา ข้อยุติในรัฐสภา เพื่อให้ได้ร่างแก้ไขเพิ่มเติมที่จะนำเสนอขอประชามติ และกว่าที่รัฐธรรมนูญใหม่ที่ได้แก้ไขแล้ว จะมีผลบังคับใช้ต้องระยะเวลายานนานอีกกว่า 3 ปี

แต่สำหรับสังคมญี่ปุ่น พัฒนาการไม่ได้หมายถึงการผุดงอกออกมาอย่างไร้วิญญาณ

หากเป็นกระบวนการของการสั่งสมข้อมูลและร่วมพิจารณาอย่างมีเหตุผล ก่อนนำ ไปสู่บทสรุปสำหรับการสร้างกติกาในฐานะ กฎหมายสูงสุดที่ทุกคนพร้อมจะปฏิบัติตาม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us