Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2550
สุรินทร์ บัญญัติปิยพจน์ the man behind scene             

โดย สุปราณี คงนิรันดรสุข
 


   
search resources

สุรินทร์ บัญญัติปิยพจน์




สุรินทร์ หรือ "ปิง" เป็นคู่ชีวิตของนุสรา และเจ้าของบริษัท อาร์.ดี.แอนด์ ซี โฮลดิ้ง ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2528 บริษัทของเขาชนะการประมูล รับเหมาก่อสร้าง ASARA villa and suite ที่งานสถาปัตยกรรมออกแบบโดยบริษัท KTGY Inter-Associates ของฐนิตพงศ์ เฉลิมพันธุ์ และงานออกแบบตกแต่งภายใน โดยบริษัท ลีโอ อินเตอร์เนชั่นแนล ดีไซน์ ของ คงศักดิ์ ยุกตะเสวี

"ผมเพิ่งมารับงานนี้ เราประมูลกันแฟร์ๆ เลย เพราะนุสเขากลัวลูกน้องเขาว่า ก็เลยเปิดประมูลแฟร์ๆ เขารู้ว่า ผมไม่ซี้ซั้ว" สุรินทร์เล่าให้ฟัง

นุสราแต่งงานกับสุรินทร์ซึ่งมีอายุมากกว่า 5 ปี ทั้งคู่ไม่มีบุตรและสามารถเติมเต็มให้กันและกันได้ โดยพื้นฐานครอบครัวเขามาจากธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง พ่อของเขาคือ เสถียร บัญญัติปิยพจน์ ได้ชื่อว่าเป็นคนแรกที่สร้างคอนโดมิเนียมสูงของเมืองไทย และตึกสำนักงานใหญ่อีกไม่ต่ำกว่า 60 หลัง สุรินทร์เรียนจบสาขาวิศวะโยธาจากคณะวิศวกรรม จุฬาฯ และจบปริญญาโท Construction Management จาก Polytech Institute of New York

ภายใต้บุคลิกง่ายๆ เป็นกันเอง เสื้อยืดและกางเกงขาสั้น ที่คอคล้องกล้องตัวโปรด "LEICA M 6" โดยเขาเพิ่งเสร็จจากถ่ายรูปชาวบ้านเก็บปูกะตอยบริเวณชายหาดหน้าวิลล่า

"งานอดิเรกของผมก็ท่องเที่ยว ตีกอล์ฟและถ่ายรูป ตั้งใจจะไปถ่ายนครวัดหน้าฝน โดยใช้ฟิล์มอินฟาเรดเป็นขาวดำใส่ฟิลเตอร์ซึ่งจะกรองแสงออกหมด ต้นไม้เขียวจะกลายเป็นขาวและมีซอฟต์แวร์เอเลียนสกิน ทำออกมาคงจะได้ฟิลลิ่งหนึ่ง เหมือนตอนลองถ่ายที่ภูเก็ตมาแล้ว"

น้ำเสียงสนุกสนานของสุรินทร์ บัญญัติปิยพจน์ ขณะเล่าให้ฟังถึงงานย้อนยุคถ่ายภาพขาวดำด้วยฟิล์มและมีห้องมืด origanal darkroom เพื่อล้างอัดรูปเอง เป็นงานศิลปะอย่างหนึ่ง ซึ่งต่อมาได้ถูกคัดเลือกให้นำไปประดับตกแต่งในวิลล่าและห้องสวีท 96 หลังของ ASARA Villa and Suite

"สไตล์ภาพของผมจะนิ่งๆ เงียบๆ เป็น minimalist ผมชอบถ่ายภาพ landscape และ architecture ซึ่งถ่ายรูปไว้หลายเซต อย่างเซตนี้ผมทำเกี่ยวกับทะเล, อีกเซตเป็นรูปสถานีรถไฟหัวหิน และอีกเซตผมจะทำเกี่ยวกับตลาดน้ำ ได้มาสองรูป และที่เหลืออีก 170 กว่ารูป โดยติดรูปไว้หนึ่งห้องสองรูป และแต่ละรูปผมจะทำเพียงสิบก๊อบปี้เท่านั้นเอง ผมจะล้างฟิล์มอัดรูปเอง โดยใช้น้ำยา D 23 โมดิฟายนิดหน่อยและใช้ทูบาส ตอนนี้มีคนไทยมาเล่นพวกนี้เป็นกลุ่มเล็กๆ ซึ่งตั้งเป็นชมรมภาพถ่ายขาวดำแห่งประเทศไทย (www.bwthai.org) สอนถ่ายรูปล้างอัดรูปขาวดำ ส่วนกระดาษที่ผมใช้ก็มีทั้งไฟเบอร์และอิลฟอร์ด ซึ่งมีขายที่โปรคัลเลอร์และชัยวุฒิมาร์เกตติ้ง แต่ตอนหลังผมทำไม่ทัน ก็ต้องใช้เอปสันที่ปรินต์ขาวดำที่มีเฉดขาวดำ 8 เฉดมาช่วย"

รู้จริงทำจริง และประหยัดแบบรู้จักแหล่งซื้อขายวัสดุอุปกรณ์ เป็นบุคลิกที่สุรินทร์ใส่ลงในงานอดิเรกนี้ เวลาสี่ปีกับความเอาจริงเอาจังด้านถ่ายภาพและเทคนิคล้างอัดภาพขาวดำ เขาไม่เคยหยุดเสาะแสวงหาครูที่เป็นสุดยอดของวงการ เช่น อาจารย์เส็งที่เป็นเพื่อนกับอาจารย์จิตต์ จงมั่นคง และปรารถนาไปเรียนที่สหรัฐอเมริกากับรุ่นลูกของ Ansel Adams

"อาจารย์เส็งสอนแบบเทคนิค traditional ที่ผมได้เรียนประสบการณ์ ผมจะเรียนทั้งแบบทันสมัยและโบราณ และถ้ามีเวลาผมจะไปเรียนด้านอัดรูปขาวดำที่อเมริกา และที่ผมอยากไปเรียนมากอีกแห่งคือ โรงเรียนของ Ansel Adams ซึ่งรุ่นลูกของเขาเปิดสอนที่เยลโล่สโตน"

สุรินทร์สะสมกล้อง LEICA M 6 ทุกสี ตั้งแต่สีขาว สีดำ ไทเทเนียม และ Black painted นอกจากนี้ยังมีกล้อง Hasselblad ซึ่งเป็น twin lens โดยกล้องแต่ละตัวเป็นกล้องมือสองที่ใช้แล้ว (used LEICA)

"ผมไม่ซื้อของใหม่ เพราะมันแพงมากๆ ต้องซื้อแบบ used ซึ่งตัวที่ผมถืออยู่นี่ตัวนึงก็ประมาณห้าหมื่นกว่า ไม่รวมเลนส์ ซึ่งก็เป็น used เหมือนกัน เลนส์พวกนี้จะมีสภาพดีเพราะไม่ค่อยใช้ แต่ก็ต้องระวังเรื่องรา ซึ่งผมก็มีร้านประจำที่เก่ง LEICA ที่ร้านเอวี บางรัก บางทีผมซื้อผ่านช่าง ebay เช่น กล้อง super contra ซึ่งเป็น medium format เวลาถ่ายดึงปุ๊บจะมี bellow ออกมา เวลาเก็บพับแล้วเหลือเล็กแค่นี้ใส่กระเป๋าได้ หรือเรื่องสูตรน้ำยา ผมก็หาจากเว็บ"

ความพิถีพิถันในขั้นตอนล้างฟิล์มและอัดรูปขาวดำ ถือเป็นงานเชิงศิลปะที่สุรินทร์เรียนรู้จากประสบการณ์ที่เคยส่งให้ร้านทำก็ไม่ได้ดังใจ

"ร้าน IQ Lab ซึ่งเป็นแล็บดัง เขายังบอกเองว่า ถ้าอยากล้างรูปให้ได้ดีๆ ต้องทำเอง เพราะแต่ละคนก็มีเทคนิคเขย่า ผสมน้ำยาเหมือนผสมเหล้าค็อกเทล มันต้องมีลูกเล่น แต่ละคนก็มีเทคนิคของตัวเอง เมื่อก่อนผมอัดขนาด 8x10 นิ้วแต่ตอนนี้อัดใหญ่ 16x20 นิ้ว"

สุรินทร์เล่าให้ฟังอย่างสนุกสนานบนโต๊ะอาหารเช้าที่ก้ามปู บาย ดีไซน์ ASARA และมีสาระน่าคิดเมื่อได้ฟังประสบการณ์เล่น hobby เลี้ยงปลาคาร์พด้วยใจรักตั้งแต่สิบกว่าปีที่แล้ว จนสามารถชนะการประกวดมีถ้วยรางวัลเต็มบ้าน และเพิ่งมาเลิกประกวดเมื่อสี่ปีที่แล้ว เพราะทนรับไม่ไหวกับคนมักง่าย

"เมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว เป็นสังคมเล็กๆ ที่คนเลี้ยงปลาคาร์พคุยกัน... 'จำได้หรือเปล่า แต่ก่อนเป็นอย่างนี้ ตอนนี้สวยแล้วนะ' เราจะเอาปลามาอวดกัน ความสวยของปลาคาร์พอยู่ที่หุ่น ที่สี และที่ลายเหมือนผู้หญิง ตัวเมียจะสวยกว่าตัวผู้ ซึ่งสีสวยก็จริงแต่หุ่นไม่สวยเหมือนตัวเมียที่หุ่นป้อมๆ เหมือนไม้เบสบอล ตอนหลังมีตัวแสบไปซื้อปลาแพงๆ จากญี่ปุ่นตัวละห้าแสนถึงล้านมาประกวด มันก็ชนะสิ ตอนหลังเศรษฐีก็ทำตาม วิ่งไปญี่ปุ่น หิ้วมาปุ๊บก็ชนะง่ายๆ เลย ความสนุกของเขาคือได้รางวัล แต่ของเราสนุกที่ได้เลี้ยง ผมก็เลยเลิกประกวด เพราะมันไม่สนุกแล้ว เซ็งเลย"

การทำลายวงการโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของคนมักง่ายนั้น สุรินทร์ได้เปรียบเทียบกับญี่ปุ่นว่า จากประสบการณ์ที่เคยบินไปซื้อลูกปลาคาร์พที่ญี่ปุ่นที่เมืองนิกาตะ อยู่ทางเหนือของเกาะฮอนชู เขาและเอเย่นต์จะเช่ารถขับเข้าไปในหมู่บ้านซึ่งเลี้ยงปลาคาร์พ

"ปีแรกผมไปนั่งคุยกับเขาที่บ้าน ซึ่งหน้าหนาวเขาจะต้มซุปกระดูกปลา...ไม่ใช่ปลาคาร์พนะ...คนเลี้ยงเขาไม่กินกัน เขาพาผมดูรอบๆ บ้านให้เลือกปลา แต่พอปีที่สองไป เขาพาเดินไกลหน่อย และถึงปีที่สาม เขาพาผมขึ้นรถกระบะไปบนภูเขา ผมก็ถามว่า ทำไมไม่พามาแต่แรก เขาบอกว่าสองปีแรก เราตาไม่ถึง ไม่รู้ว่าสวย ต่างกันอย่างไร และไม่สู้ราคาด้วย พาไปก็เสียเวลา เขาฉลาดนะ ปลาแต่ละตัวผมเลี้ยงมาเจ็ดถึงแปดปี ผมจำได้ทุกตัวเพราะซื้อมาแต่เล็ก จะสนุกและท้าทาย เวลาเลี้ยงปลาแล้วออกลาย สีแดง ดำ และขาวออกมาพอดี"

งานอดิเรกที่สุรินทร์ชอบ จึงสะท้อนถึงระบบคิดแบบวิศวกรที่มีบุคลิกทำเหมือนเล่นแต่เอาจริงเอาจัง ที่ไปกันได้ดีกับ working woman แนวหน้าอย่างนุสรา ที่มีระบบคิดแบบ system science ที่คิดไวทำไวได้ลงตัว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us