Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2550
Young Executive             
โดย น้ำค้าง ไชยพุฒ
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ครีเอเทคซอฟต์แวร์ จำกัด

   
search resources

Software
ณัฐชัย อึ๊งศรีวงศ์
ไพโรจน์ บัวเผื่อน
วรากร คุณาวงศ์
ครีเอเทคซอฟต์แวร์, บจก.




อายุไม่ได้เป็นเงื่อนไขว่าใครคนหนึ่งจะประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจหรือไม่ เช่นเดียวกันอายุก็ไม่ได้เป็นดัชนีชี้ว่าเขาผู้นั้นจะมองการณ์ไกลจนกลายเป็นผู้นำในองค์กรที่กำลังจะเติบโตยิ่งขึ้นหรือไม่ด้วยเช่นกัน

ปี 2545 หลังจบการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาคอมพิวเตอร์ จากเกษตรศาสตร์ ณัฐชัย อึ๊งศรีวงศ์ และไพโรจน์ บัวเผื่อน เพื่อนร่วมสถาบันเดียวกันในวัย 22 ปี ซึ่งรู้จักกันเป็นอย่างดีตั้งแต่เมื่อครั้งผ่านการเข้าอบรมและคัดเลือกเยาวชนเพื่อเข้าแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ สาขาคอมพิวเตอร์ ตัดสินใจ ใช้บ้านของตนเป็นออฟฟิศ เพื่อก่อตั้งบริษัท ครีเอเทคซอฟต์แวร์ จำกัด เพื่อรับพัฒนาซอฟต์แวร์ให้กับผู้ที่ต้องการซอฟต์แวร์สำหรับ ใช้งานบนอุปกรณ์พกพา ก่อนชักชวนเพื่อนร่วมสถาบันอีกคนหนึ่งอย่างวรากร คุณาวงศ์ เข้าร่วมเป็นหนึ่งในเจ้าของบริษัทเล็กๆ แห่งนี้ในเวลาต่อมา

นี่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ขนาดเล็กที่กำลังเติบโตอย่างเต็มที่ เมื่อมองถึงรายได้ โดยเฉพาะรายได้ในปีที่ผ่านมา บริษัทเล็กๆ แห่งนี้มีรายได้มากกว่า 10 ล้านบาท และเมื่อพิจารณาถึงแนวคิดในการทำธุรกิจยิ่งน่าสนใจอีกเป็นทวีคูณ

ครีเอเทคซอฟต์แวร์เติบโตมาจากการรับจ้างพัฒนาซอฟต์แวร์ตรวจเช็กสต็อกสินค้า คงคลังให้ทำงานบนเครื่องปาล์มหน้าจอขาวดำ เมื่อ 5 ปีก่อนหน้านี้ ก่อนขยับมาเป็นการพัฒนาซอฟต์แวร์บนโทรศัพท์มือถืออย่างในปัจจุบัน

ในปี 2546 ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในเมืองไทยกำลังตื่นเต้นกับโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ที่ใส่ระบบปฏิบัติการเอาไว้ข้างใน การใช้งานที่หลากหลายกลายเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋วที่มีความสามารถในการพกพาและใช้งานเป็นโทรศัพท์มือถือได้ด้วยในตัว ได้สร้าง กระแสในกลุ่มคนที่มีหัวคิดนำสมัยและชอบของเล่นไฮเทคเป็นชีวิตจิตใจอย่างปฏิเสธไม่ได้

การหยิบฉวยโอกาสจากการเติบโตของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมให้เป็นโอกาสในการดำเนินธุรกิจของตน ภายใต้แนวคิด "คิดก่อน ทำก่อน" กลายเป็นจุดเด่นของบริษัท เสมอมา

TSMS โปรแกรมรับส่ง SMS ภาษาไทย บนโทรศัพท์มือถือแบรนด์โนเกียที่ใช้ระบบปฏิบัติการซิมเบี้ยน คือ โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ตัวแรกที่ทั้งสามส่งออกสู่ตลาด

หลังจากตระเวนนำ TSMS ไปเปิดตัว ผู้คนในกระดานกระทู้ หรือเว็บบอร์ดผ่านเว็บไซต์หลากหลายแห่งได้ทดลองใช้ หรือแม้แต่การเข้าร่วมนัดพบกับคนใช้งานจากการนัดหมายของกลุ่มผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ ที่มีระบบปฏิบัติการซิมเบี้ยน ทำให้ TSMS เริ่มเป็นที่รู้จักกว้างขวางขึ้น และเริ่มได้รับการติดต่อจากค่ายผู้จัดจำหน่ายโทรศัพท์รายใหญ่ของไทยในเวลานั้น อาทิ ดีพีซี

เนื่องจากโทรศัพท์มือถือที่ใช้ระบบปฏิบัติการซิมเบี้ยนในยุคนั้นยังอ่านข้อความและส่งข้อความภาษาไทยไม่ได้ การลงซอฟต์แวร์ TSMS ติดไปกับเครื่อง จึงเป็นสิ่งที่ช่วยดึงดูดลูกค้าให้ตัดสินใจซื้อเครื่องของค่ายตัวเองได้เพิ่มขึ้น และกลายเป็นโอกาสของครีเอเทคซอฟต์แวร์ที่จะได้ขายซอฟต์แวร์ ของตนเอง

"ตั้งแต่เปิดบริษัทมาปีกว่าๆ นี่ถือว่าเป็นหนแรกที่ได้เงินก้อนขนาดนี้ เพราะการขาย TSMS ในตอนนั้น เราเลือกที่จะขายเป็นไลเซนส์ คือคิดค่าโปรแกรมต่อเครื่องในอัตรา ที่แตกต่างกันออกไป แล้วแต่ค่ายที่เลือกซื้อในปีนั้นเฉพาะการขาย TSMS สร้างรายได้ถึง 2 ล้านบาทเลยครับ" ณัฐชัย อึ๊งศรีวงศ์ เด็กหนุ่มวัยเลยเบญจเพสมาเพียง 2 ปี ที่รั้งตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัท บอกกับ "ผู้จัดการ"

หลังจากเริ่มเรียนรู้การติดต่อธุรกิจกับบริษัทผู้จัดจำหน่าย และเริ่มรู้จักช่องทางการขายสินค้าของตน ตลอดจนเห็นภาพการทำธุรกิจในสาขานี้มากขึ้น สามหนุ่มจึงตัดสินใจเปิดตัว "SmartThai" ระบบภาษาไทยสำหรับสมาร์ทโฟน โทรศัพท์มือถืออัจฉริยะเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งตัว

สำหรับ SmartThai สร้างการไหลเวียนของเงินสดต่อเดือนหลายแสนบาท เพราะขายได้ในจำนวนรุ่นที่มากขึ้น แต่ยังกินช่วงระยะเวลายาวนานถึง 1 ปีครึ่ง ก่อนขยับมาพัฒนาให้ SmartThai ทำงานได้บนพ็อกเก็ตพีซีด้วย และก็ยังคงขายสินค้าเป็นแบบต่อเครื่องต่อไลเซนส์เช่นเดิม ซึ่งทำให้รายได้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

จนถึงตอนนี้บริษัทแห่งนี้ก็มีกลุ่มลูกค้ากว้างขวางขึ้นทั้งโอเปอเรเตอร์ หรือผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ผู้ผลิตเจ้าของแบรนด์โทรศัพท์มือถือเอง ผู้จัดจำหน่ายรายใหญ่ไปจนถึงลูกค้ารายย่อยด้วย

ในขณะที่สินค้าในไลน์การผลิตจำพวกแอพพลิเคชั่นหรือซอฟต์แวร์ ก็เริ่มหลาก กระจายไปทั้งโปรแกรมดูหุ้นแบบเรียลไทม์ผ่านโทรศัพท์มือถือ โปรแกรมสนทนาทันใจผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือโปรแกรมพจนานุกรม ไทย-อังกฤษ อังกฤษ-ไทย บนโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

หลังจากผ่านการทำงานมานานถึง 5 ปี และมีรายได้เริ่มแตะหลักสิบล้านในปีที่ผ่านมา ประสบการณ์ในการขยายตลาดจึงไม่ได้ปิดกั้นเอาไว้เฉพาะในประเทศอีกต่อไป และความสำเร็จในการพัฒนาเทคนิค การเปิดไฟล์ที่แนบมากับอีเมลผ่านโทรศัพท์มือถือในทันที หรือ Push Mail ที่สามารถใช้ในระดับบุคคลทั่วไปแทนการใช้งานเฉพาะในองค์กรเพียงเท่านั้นก่อนหน้านี้ คือสิ่งที่จะทำให้เขาเหล่านี้ไปถึงจุดที่ต้องการได้

การเปิดตัวบริการ Push Mail หรือสมัครรับอีเมลผ่านโทรศัพท์มือถือ และสามารถเปิดดูไฟล์ภาพและเอกสารที่แนบมาได้ทันทีผ่านเครือข่ายจีพีอาร์เอสกับดีแทคเมื่อเดือนที่ผ่านมา ไม่เพียงแต่เป็นการเปิดตัวบริการที่ยังไม่เคยมีใครทำได้ในโลกนี้เท่านั้น แต่ยังเตะตาดีแทค ถึงกับเข้าเจรจาขอซื้อหุ้นในบริษัท เพื่อเป็นบริษัทร่วมทุนที่ใหญ่ขึ้นในอนาคตอีกด้วย

แม้จะยังอยู่ในระหว่างการเจรจา แต่ดูแนวโน้มว่าความเป็นไปได้ที่จะมีเม็ดเงินจากโอเปอเรเตอร์รายใหญ่อย่างดีแทคเข้ามาช่วยขยายบริษัทก็มีสูงไม่น้อย

"ธุรกิจซอฟต์แวร์ไม่ได้ลงทุนอะไรมาก นอกจากการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เหลือเป็นการใช้สมองคิดและลงแรงไปกับการเขียน โปรแกรมเสียส่วนใหญ่ การจะพัฒนาโปรแกรม ตัวไหนนั้นแยกๆ กันไม่ค่อยได้งานเท่าไรครับ ไม่ว่ากับบริษัทผมหรือบริษัทใคร ต้องนั่งลงแล้วคุยกัน เราก็มักจะดูก่อนครับว่าคนส่วนใหญ่เขาต้องการอะไร ไปถามในเว็บบอร์ด และคุยกับคนทั่วๆ ไปนี่แหละครับ หลังจากนั้นก็ประเมินความเป็นไปได้และเริ่มพัฒนา ก่อนล่วงหน้าสักระยะ ต้องคิดก่อนแล้วก็ลงมือ ก่อน ถือว่าสำคัญมาก ทำเสร็จไว้ล่วงหน้าสัก 70 เปอร์เซ็นต์ครับ ให้เห็นว่าการทำงานของซอฟต์แวร์ตัวนั้นเป็นจริงได้ ใช้งานได้จริง เมื่อนำเสนอให้กับลูกค้า อาจจะมีการปรับแก้ เพิ่มเติมหลังจากนั้นครับ" ไพโรจน์บอก

"ถ้าหากว่าอายุไม่ใช่ปัจจัยที่จะวัดว่าใครจะเป็นเจ้าของกิจการที่ทำรายได้เป็นกอบ เป็นกำ แล้วอะไรคือสิ่งที่จะผลักดันให้พวกเขา เหล่านั้นประสบความสำเร็จได้บ้าง" คงเป็น เรื่องไม่ยากนักที่จะหาคำตอบให้กับคำถามนี้

เพราะครีเอเทคซอฟต์แวร์ได้ชี้ให้เห็นว่า การเริ่มดำเนินธุรกิจในรูปแบบของการถูกเวลา ถูกคน และถูกใจ อาศัยประสบการณ์ในการทำธุรกิจ คิดล่วงหน้า และเริ่มลงมือทำก่อน ย่อมให้ผลที่ชัดเจนและแน่นอนในอนาคต

ปีนี้ทั้งสามหนุ่มเพิ่งจะอายุ 27 ปี แต่กลับบอกกับ "ผู้จัดการ" ว่า รายได้อาจจะมากกว่า 20 ล้านบาท และหากว่าสามารถนำซอฟต์แวร์ดังกล่าวขายไปยังต่างประเทศ ผ่านเครือข่ายของเทเลนอร์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นสำคัญของดีแทค รายได้ก็อาจจะมากกว่านั้นด้วย

นี่คือตัวอย่างของกลุ่มคนที่ช่วยตอกย้ำ ว่า อายุเป็นแค่ตัวช่วยในการผ่านโลกมามาก แต่ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดว่าเขาจะประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจหรือไม่...   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us