Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2550
อดเปรี้ยวไว้กินหวาน             
 


   
www resources

โฮมเพจ DTAC

   
search resources

โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น, บมจ.
Mobile Phone




สิ่งที่ผู้ใช้บริการโทรศัพท์ในระบบเติมเงินหรือพรีเพด คาดหวังจะได้จากผู้ให้บริการเครือข่ายมากที่สุดคือเรื่องเงินและเวลา แต่ทั้งสองอย่างมักผูกรวมกลายเป็นเรื่องเดียวกันจนสร้างความกังวลใจให้กับผู้ใช้เสมอมา

แต่ไหนแต่ไรมา หากจะต้องเติมเงินเข้าระบบผู้ใช้ก็มักจะได้รับการกำหนดระยะเวลาการใช้งาน หลายครั้งผู้ใช้เองต้องยอมเลือกที่จะเร่งการใช้งานเพื่อรักษาสิทธิ์ของเงินตามระยะเวลาที่ได้มา และเมื่อทิ้งช่วงระยะเวลาของการเติมเงินหรือรักษาเวลา ท้ายที่สุดเลขหมายของใครบางคนก็หลุดออกไปกลายเป็นเลขหมายหมุนเวียน เปลี่ยนมือไปอยู่กับผู้อื่นอีกครั้งในช่วงระยะเวลาอีกไม่กี่เดือนถัดมา

แม้ผู้ให้บริการบางรายจะเคยเปิดตัวบริการใหม่ เพื่อปลดแอก ข้อจำกัดดังกล่าวแต่ท้ายที่สุดแล้วก็ยังไม่ได้เปิดเสรีเรื่องวันและเวลาการใช้งานของผู้ใช้บริการในระบบเติมเงินกันแบบจริงจังเสียที นั่นเป็นเพราะเงื่อนไขในเรื่องของต้นทุน ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาเลขหมายระหว่างผู้ให้บริการเครือข่ายและหน่วยงานกำกับดูแล กิจการโทรคมนาคมของประเทศ และเหนือเหตุผลอื่นใดคือข้ออ้าง ที่ว่า หมายเลขโทรศัพท์มือถือนั้นไม่เพียงพอกับความต้องการหมายเลข ที่หลุดไปก็จะกลายเป็นหมายเลขที่นำมาหมุนเวียนจำหน่ายจ่ายแจกได้อีกต่อหนึ่งนั่นเอง

ทางออกของแต่ละค่ายนั้นแตกต่างกัน แต่สำหรับ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทคแล้ว การเปิดช่วงระยะเวลาในการรักษาเลขหมายของลูกค้าให้นานขึ้น เป็นแผนหนึ่งที่กำลังรอวันงอกงามของผลที่จะตามมา ไม่ต่างอะไรกับการอดเปรี้ยวไว้กินหวาน

แฮปปี้ ซึ่งเป็นแบรนด์ระบบเติมเงินของดีแทคเพิ่งจะแถลงข่าว เปิดตัวบริการ "ใจดีแจกวัน" เพื่อให้ลูกค้ารักษาเบอร์ได้นานถึง 365 วัน โดยคิดค่าบริการในการขอ 2 บาทต่อ 30 วัน และ 4 บาทสำหรับ 60 วันตามลำดับ โดยค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้นจะถูกนำไปจ่าย เป็นค่าธรรมเนียมในการรักษาเลขหมายให้กับหน่วยงานที่ว่า

ธนา เธียรอัจฉริยะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น ยอมรับว่าบริการนี้จะช่วยเปิดโอกาสให้ลูกค้ารับสายได้นานขึ้น ซึ่งเป็นข้อดีให้กับลูกค้าที่ต้องการรักษาหมายเลขของตนให้ใช้งานได้ ขณะเดียวกันสิ่งที่ดีแทคได้ก็คือการที่หมายเลขที่มีอยู่นั้นถูกรักษาในมือของลูกค้านานขึ้น และเมื่อเป็นเช่นนั้นโอกาสที่หน่วยงานกำกับดูแลอย่างคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) จะเห็นความสำคัญของการเพิ่มเลขหมายโทรศัพท์ให้มีจำนวนมากขึ้นอีกนั้นก็เป็นจริงมากยิ่งขึ้น แม้ดีแทคจะต้องยอมอดใจให้เบอร์นั้นอยู่ในมือของลูกค้านานขึ้นและต้อง รอว่าเมื่อไหร่เลขหมายที่ต้องการจะมากพอกับความต้องการก็ตามที

"กทช.จะเลือกข้างไหนระหว่างการยืนอยู่ข้างประชาชน หรือเลือกที่จะหวงหมายเลข" ธนาทิ้งท้ายเอาไว้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us