Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์28 พฤษภาคม 2550
"เกมโอเวอร์"ภาษีกระตุ้นอสังหาฯ"คลัง"ชั่งน้ำหนักกลัวได้ไม่คุ้มเสีย             
 


   
search resources

Real Estate




เมื่อลั่นวาจาไว้แล้ว...มีหรือจะคืนคำ สำหรับมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ที่"ขุนคลัง"หัวใจวิชาการ บอกตั้งแต่เริ่มเปิดฉากแล้วว่าจะ"ไม่"ลดหย่อนภาษีธุรกิจเฉพาะ ค่าธรรมเนียมการโอน รวมถึงค่าจดจำนอง เกรงกระทบการจัดเก็บรายได้รัฐที่อาจ"ได้ไม่คุ้มเสีย" ต้องยื่นระนะเวลาในการสรุปเรื่องออกไป พร้อมกับเรียก"สรรพากร"เข้ามาถกเข้ม ก่อนตัดสินใจออก"แพ็กเกจ"ของจริง

กลายเป็นว่า ผู้ประกอบการหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้เสียต้องร้องเพลงรอเก้อ เมื่อ"ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยืนกรานไม่พิจารณามาตรการลดหย่อนภาษีธุรกิจเฉพาะ ค่าธรรมเนียมการโอน และค่าจดจำนอง ใส่ไว้ในแผนกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมาตรการที่ว่านี้ก็เป็นสิ่งที่ "ขุนคลัง"หัวใจวิชาการ กล่าวไว้แต่ต้นที่เริ่มเปิดแผน"กระตุ้นเศรษฐกิจ" ซึ่งมีอสังหาริมทรัพย์เป็นภาคหนึ่งในแผนงานใหญ่กู้ชีพ

ถ้าให้มองถึงเหตุผลที่กระทรวงการคลังยุติไม่พิจารณาเรื่องดังกล่าว คงมีอยู่ไม่กี่ประเด็น... ประเด็นแรกคือถ้าคลังยอมรับในมาตรการดังกล่าว ผลที่ออกมาคุ้มค่ากับสิ่งที่เสียไปหรือไม่...? คำตอบนั้นไม่ชัดเจน... แม้ผู้ประกอบการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะพยายามชี้ให้เห็นถึงผลดีที่คลังได้คืนกลับมาก็ตาม

ภาคผู้ประกอบการบอกว่า หากรัฐต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยใช้ภาคอสังหาฯเป็นเครื่องมือ การสูญเสียรายได้ในส่วนภาษีธุรกิจเฉพาะ ค่าธรรมเนียมการโอน และค่าจดจำนอง ก็เป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ ขณะเดียวกันรัฐไม่ได้สูญเปล่า สิ่งที่ได้คืนมาคือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และภาษีเงินได้

แต่ในภาวะที่ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจไร้เสถียรภาพ การบริโภคหดตัว จะรับประกันได้อย่างไรว่า "ภาษีมูลค่าเพิ่ม" (VAT) และ "ภาษีเงินได้"เป็นสิ่งที่คุ้มค่าสำหรับการได้คืน ซึ่งนำไปสู่ประเด็นที่มองในอีกด้านว่า ถ้ารัฐออกมาตรการตามที่เอกชนร้องขอ ผลประโยชน์แท้จริงนั้นตกอยู่ที่ใครกันแน่... "ผู้บริโภค"หรือ "ผู้ประกอบการ"!!!...

นี่อาจเป็นเหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่ "ขุนคลัง" ยืนยัน ว่าจะไม่ใช้มาตรกากระตุ้นอสังหาฯด้วยวิธีลดภาษีธุรกิจเฉพาะ ค่าธรรมเนียมการโอน และค่าจดจำนอง

ที่สำคัญหวนดูการจัดเก็บภาษี 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 ต่ำกว่าเป้าหมายถึง 8,811ล้านบาท คิดเป็น 9% ซึ่งต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ 6,925ล้านบาท หรือคิดเป็น1% แม้โดยรวมจะสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วก็ตาม แต่สถานการณ์เช่นนี้การเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าไม่เป็นผลดีต่อรัฐแน่นอน แม้ผลกระทบจะยังมีให้เห็นไม่มากในตอนนี้ แต่อนาคต จะเห็นได้อย่างชัดเจน เมื่อรัฐต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมหาศาลในโครงการขนาดใหญ่

ด้วยเหตุนี้ "ฉลองภพ"จึงออกมาเน้น และย้ำว่า มาตรการที่จะออกต้องพิจารณาให้รอบคอบ โดยที่ต้องเรียกฟังข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน ซึ่งในส่วนของ"กรมสรรพากร"ก็จะต้องถูกเรียกเข้ามาคุยด้วยเช่นกัน ก่อนที่จะสรุปและเสนอเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.)

อย่างไรก็ตาม "ฉลองภพ" บอกว่า มาตรการกระตุ้นอสังหาฯแผนที่กำลังพิจารณาอยู่คือการเพิ่มลดหย่อนภาษีดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน ที่ดูอยู่ว่าจะสรุปที่ 70,000 บาท หรือ100,000 บาท จากเดิมที่ลดหย่อนได้ 50,000 บาท รวมถึงค่าลดหย่อนบุคคลธรรมดา จาก 60,000 บาทเป็น 100,000 บาท ซึ่งในส่วนนี้เชื่อว่าผลประโยชน์จะตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างแท้จริง และเข้าค่ายแผนเพิ่มเม็ดเงินในกระเป๋าผู้บริโภคอีกด้วย

ทั้งนี้"สรรพากร"ได้ประเมินความสูญเสียรายได้คร่าว ๆ หากออกมาตรการลดหย่อนภาษีในส่วนของธุรกิจเฉพาะ 3.3% เหลือ 0.11% จะสูญรายได้ 5,000-6,000 ล้านบาท เพิ่มลดหย่อนภาษีดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้านจาก 50,000 บาทเป็น 70,000 บาท รัฐสูญรายได้ 600-1,000 ล้านบาท ค่าลดหย่อนบุคคลธรรมดา จาก 60,000 บาทเป็น 100,000 บาท สูญรายได้กว่าหมื่นล้านบาท

เมื่อผลสรุปออกมาค่อนข้างแน่ชัดแล้วว่า "คลัง" ไม่จะพิจารณาลดภาษีธุรกิจเฉพาะ ค่าธรรมเนียมการโอน และค่าจดจำนอง ว่ากันตามจริงเป็นเรื่องที่สร้างความมึนงงมิใช่น้อยต่อผู้รับข่าวสารที่คิดเสมอว่ามาตรการดังกล่าวถูกบรรจุไว้ในแผนกระตุ้นภาคอสังหาฯ แต่เรื่องดังกล่าวกลับกลายเป็น "โอละพ่อ"เสียนี่

จากคำของ "ฉลองภพ" บอกไว้ว่า "ผมพูดไปตั้งนานแล้วว่าเรื่องภาษีการโอน ค่าจดจำนองจะไม่มีการพิจารณาปรับเปลี่ยน"คนฟังเหมือนไม่เชื่อสิ่งที่หูได้ยิน ย้ำกลับทันทีว่า "ท่านยังยืนยันตรงนี้อยู่หรือไม่"

และคำตอบท้าสุดของ "ฉลองภพ" ก็ทำให้จบเกมทันที เมื่อย้ำว่า "ก็แน่นอน...จะไปปรับได้อย่างไร...เพราะฉะนั้นใครจะซื้อก็ซื้อ ไม่ซื้อก็แล้วแต่ ไม่ต้องมารอ และนี่ผมก็พูดไปนานแล้ว ถ้าจะให้ก็เพิ่มในส่วนลดหย่อน อันนี้คือสิ่งที่คลังพิจารณาอยู่"

การลดหย่อนภาษีธุรกิจเฉพาะ ค่าธรรมเนียมการโอน และค่าจดจำนอง จะว่าไป "คลัง" ได้ให้บทสรุปเรื่องนี้ตั้งแต่ต้นแล้วว่า "ไม่"....

หากแต่ผู้ประกอบการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในธุรกิจอสังหาฯต่างหากที่ปฏิเสธข้อสรุปดังกล่าว ขณะเดียวกันก็ยื่นเงื่อนไขเดิมกลับไปให้"คลัง"พิจารณาอีกหน ซึ่งผลคือคลังคงแสดงจุดยืนเดิมที่ชัดเจนไม่เปลี่ยนแปลง "คำไหนคำนั้น"

และเมื่อการเจรจาของทั้งสองฝ่ายไม่ลงตัว....แผนมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯที่ความจริงน่าจะได้บทสรุปตั้งนานแล้ว ต้องยืดเยื้อออกไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us