|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ไตรมาสแรกธุรกิจวัสดุก่อสร้างฝืดจับ สะท้อนสัญญาณเศรษฐกิจชลอตัวชัดเจน เมกกะโปรเจคยังล่าช้า หลายบริษัทอัตราการขยายตัวกำไรลดลง ส่วนไตรมาส2และ3 ยังไม่พ้นเคราะห์เจอหน้าฝนทำ Low Season คาดยังไม่เห็นแววหุ้นกลุ่มธุรกิจวัสดุก่อสร้างเฉิดฉายจนกว่าทิศทางทางการเมืองจะมีความชัดเจน
หากดูจากผลประกอบการในไตรมาส 1 ปี 2550 ของหุ้นในกลุ่มวัสดุก่อสร้างที่ได้ประกาศออกมาแล้ว พบว่าผลการดำเนินงานของหลายบริษัทออกมาต่ำกว่าเคยมีการวิเคราะห์และประมาณการณ์ไว้ก่อนหน้านี้
สิ่งนี้เป็นเหมือนสัญญาณสะท้อนภาพการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศอย่างชัดเจน แม้ว่ารัฐบาลเตรียมออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะการเร่งการเบิกจ่ายงบประมาณ รวมถึงการโยกงบประมาณจากโครงการที่ยังมีความล่าช้าลงทุนในโครงการที่ความเร่งด่วน อาทิ โครงการการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงและสีม่วง และรวมถึงโครงการรถไฟทางคู่สายฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง เป็นต้น รวมถึงการที่รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม ยืนยันเดินหน้าโรงการรถไฟฟ้า แม้ว่าเจบิค ซึ่งเป็นแหล่งเงินกู้หลักของโครงการดังกล่าวจะมีความล่าช้าทำให้ทางการจะหันไปพึ่งสถาบันภายในประเทศแทน เพื่อให้โครงการดังกล่าวเดินหน้าตามตารางเวลาที่กำหนด
ฝ่ายวิจัย บล.นครหลวงไทย เชื่อว่าสำหรับธุรกิจซีเมนต์ยังจะชะลอต่ออย่างน้อย 3 เดือนต่อจากนี้ ซึ่งเป็นผลจากการชะลอตัวของภาคการก่อสร้างภายในประเทศ ขาดการเปิดตัวโครงการขนาดใหญ่ในไตรมาส 1 ของปีนี้ส่งผลให้การบริโภคซีเมนต์ช่วงดังกล่าวลดลง 3% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา(yoy) เป็น 7.6 ล้านตัน และยังเชื่อว่าการบริโภคในไตรมาส 2 ของปีนี้จะยังลดลงต่อเนื่อง เพราะเป็นช่วง Low Season แม้รัฐบาลจะเร่งการเบิกจ่ายงบประมาณให้เร็วขึ้นก็ตาม แต่คาดว่าจะเห็นความชัดเจนในไตรมาสหลังจากนี้เป็นต้นไป และเชื่อว่าจะไม่สามารถชดเชยการลดลงในช่วงไตรมาสที่ผ่านมาได้อย่างแน่นอน ส่งผลให้ภาพรวมของธุรกิจซีเมนต์ปี 2550 ลดลง 3-5% yoy จาก 29.16 ล้านตันในปี 2549
สอดคล้องกับผลการดำเนินงานไตรมาส1 ปี2550 ธุรกิจซีเมนต์ของ บมจ.ปูนซีเมนต์ไทย (SCC) ที่มียอดขายลดลง 3% yoy เป็น 2.8 ล้านตัน แต่ด้วยการกระจายตัวของธุรกิจ และลดการพึ่งพิงธุรกิจซีเมนต์เพียงธุรกิจเดียว ประกอบกับความสามารถในการรักษาระดับ EBITDA ถึง 46,601 ล้านบาท ทำให้ SCC คงความสามารถในการจ่ายเงินปันผลที่ 15 บาท/หุ้น/ปี หรือคิดเป็นอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลเฉลี่ย 6% ต่อปี ดังนั้นจึงแนะนำ "ซื้อลงทุนระยะยาว" ราคาเหมาะสมปี 2550 ที่ 288 บาท/หุ้น
ด้านผลประกอบการของกลุ่มกระเบื้องยังคงถูกกดดันอุปสงค์ที่ชะลอตัว และการแข่งขันที่รุนแรงจากผู้ประกอบการในประเทศและสินค้าจากประเทศจีน ทำให้กำไรสุทธิของ บมจ.โรแยล ซีรามิค อุตสาหกรรม (RCI) ซึ่งเป็นผู้ผลิตกระเบื้องระดับกลางถึงบน ลดลงกว่า 80% yoy เป็น 6 ล้านบาท ขณะที่กลุ่มกระเบื้องระดับล่างอย่าง บมจ.ไดนาสตี้เซรามิค (DCC) เชื่อว่าจะได้รับผลกระทบน้อยกว่า RCI เนื่องจากผลกระทบภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2549 ส่งผลให้กำไรสุทธิของ DCC ในไตรมาส 1ที่ผ่านมารับลดลงน้อยกว่าที่คาดไว้ โดยลดลง 11% yoy เป็น 166 ล้านบาท ดังนั้น ฝ่ายวิจัย บล.นครหลวงไทย แนะนำ ซื้อลงทุน DCC ราคาเหมาะสม 18.20 บาท/หุ้น และเปลี่ยนคำแนะนำหุ้น RCI จาก "ซื้อ" เป็น "ขาย" โดยมีราคาที่เหมาะสมปี 2550 เท่ากับ 1.67 บาท/หุ้น
ขณะที่ธุรกิจเหล็กก็มีปัจจัยกดดันอยู่ 2 ปัจจัยหลัก ประการแรกคือ การบริโภคในประเทศที่ลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของเหล็ก Commodity ที่อิงกับภาคการก่อสร้าง ดังนั้น ผู้ประกอบการภายในประเทศที่มีความสามารถในการผลิตเหล็กเกรด Premium ต่างปรับสัดส่วนในการส่งออกเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสินค้าเกรด Premium ยังเป็นที่ต้องการอยู่เป็นจำนวนมากในตลาดเกิดใหม่ อาทิ ประเทศในตะวันออกกลาง และเวียดนาม เป็นต้น ส่วนประการที่ 2 คือ ต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ตามราคาในตลาดโลก ดังนั้น การบริหารวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงการเพิ่มสัดส่วนสินค้าเกรด Premium ที่มีราคาสูง จะช่วยทำให้ผลการดำเนินงานของผู้ผลิตเหล็กอยู่ในระดับสูงได้ โดยผลประกอบการในไตรมาส 1 ที่เริ่มประกาศออกมาพบว่า บมจ.ทาทา สตีล (TSTH) มีกำไรสุทธิโดดเด่นที่สุด พลิกจากขาดทุนสุทธิ 236 ล้านบาทใน ไตรมาส1ของปี 2549เป็นกำไรสุทธิ 392 ล้านบาท ขณะที่ SSI ยังมียอดคำสั่งซื้อที่มีกำไรต่ำสืบเนื่องมาจากไตรมาส 4ของปี 2549 ทำให้บริษัทยังแสดงผลขาดทุนจากการดำเนินงานปกติเท่ากับ 41 ล้านบาท แต่ดีขึ้นเมื่อ yoy ที่มีผลขาดทุน 578 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยฯคาดว่า บมจ.สหวิริยาสตีลอินดัสตรี (SSI) จะได้รับผลดีอย่างเต็มที่จากภาวะขาขึ้นของราคาเหล็กในตลาดโลก โดยยอดคำสั่งซื้อที่จะบันทึกในไตรมาส2 ปี 2550 จะเป็นราคาที่ปรับขึ้น ทำให้แนวโน้มกำไรจะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ดังนั้นฝ่ายวิจัยฯจึงยังคงคำแนะนำ "ซื้อ" TSTH และ SSI โดยมีราคาเหมาะสมปี 2550 เท่ากับ 1.37 และ 1.27 บาท/หุ้น
สำหรับผลการดำเนินงานในไตรมาส 1 ของ บมจ.บางสะพานบาร์มิล (BSBM) ปรับตัวลดลงร้อยละ 32.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2549 โดยมีกำไรสุทธิ 48 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทมีความยากลำบากในการหา Billet เพื่อผลิต จะทำให้บริษัทไม่สามารถรองรับคำสั่งซื้อที่มีอยู่ได้ ส่งผลต่อเนื่องให้กำไรสุทธิปี 2550 ลดลงเป็น 137 ล้านบาท จาก 259 ล้านบาท ดังนั้น แนะนำ "ขาย" BSBM ที่ราคาเท่ากับ 1.20 บาท/หุ้น ขณะที่ผลการดำเนินงานของ บมจ.จี สตีล(GSTEEL) ยังเติบโต เนื่องจากบริษัทสามารถรักษาปริมาณการขายได้สม่ำเสมอ ประกอบกับประโยชน์จากการมีเตาหลอมเหล็กเป็นของตนเอง ส่งผลให้มีต้นทุนวัตถุดิบในระดับถูกกว่า ดังนั้น จึงแนะนำ "ซื้อ" GSTEEL โดยมีราคาเหมาะสมปี 2550 เท่ากับ 1.30 บาท/หุ้น
การเร่งรัดการเบิกจ่ายเป็นเพียงการสร้างบรรยากาศการก่อสร้างภายในประเทศให้ปรับตัวดีขึ้นเท่านั้น แต่ปัญหาใหญ่ที่แท้จริงจากประเด็นการขาดความเชื่อมั่นในนโยบายจากภาครัฐบาลที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ส่งผลให้แผนการลงทุนของภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศต่างชะลอออกไป จนกว่าทิศทางทางการเมืองจะมีความชัดเจนในช่วงปลายปี กอปรกับไตรมาส 2และ 3 เป็น Low Season ของธุรกิจวัสดุก่อสร้าง เพราะเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนและมีวันหยุดต่อเนื่อง ทำให้แนวโน้มการบริโภควัสดุก่อสร้างยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ด้วยปัจจัยดังกล่าว ฝ่ายวิจัย บล.นครหลวงไทย จึงปรับลดระดับการลงทุนของหุ้นกลุ่มวัสดุก่อสร้างจาก Neutral เป็น Bearish
|
|
|
|
|