|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มิถุนายน 2550
|
|
ด้วยทุนสำรองเงินตราต่างประเทศมหาศาลกว่าล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ จีนมีแผนจะเปิดกองทุนขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งอาจสร้างความหายนะให้แก่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้ในพริบตา
จีนยังคงดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และส่งสินค้าออกอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้ประเทศซึ่งเศรษฐกิจเติบโตเร็วที่สุดในโลกแห่งนี้ กำลังสะสมเงินตราต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นดอลลาร์สหรัฐ ในอัตราที่รวดเร็วจนน่าตกใจ
ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ธนาคารกลางจีนสร้างความตกตะลึงแก่นักเศรษฐ-ศาสตร์ด้วยการเปิดเผยว่า ในไตรมาสแรกของปีนี้ ทุนสำรอง เงินตราต่างประเทศของจีนเพิ่มขึ้นอีก 1 แสน 3 หมื่น 6 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งมากกว่าไตรมาสก่อนหน้านั้นถึงกว่าหนึ่งเท่าตัว และทำให้ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของจีน พุ่งทะยานขึ้นเป็น 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ มากกว่าทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของทุกประเทศในโลกนี้
จีนสะสมเงินตราต่างประเทศได้มหาศาลขนาดนี้ เป็นผลจากการที่จีนส่งเสริมการส่งออก ด้วยการตรึงค่าเงินหยวนของตนกับเงินดอลลาร์สหรัฐ และเพื่อรักษาค่าหยวนไม่ให้แข็งค่าเร็วเกินไป ธนาคารกลางจีนจึงทุ่มเงินหยวนเข้าซื้อเงินดอลลาร์ ที่ไหลเข้าสู่จีนจากนักลงทุนต่างชาติและจากผู้ส่งออกของจีน จากนั้นก็ใช้วิธีออกพันธบัตรดูดซับเงินหยวนที่ทุ่มออกไปซื้อดอลลาร์ดังกล่าว เพื่อป้องกันไม่ให้ประเทศเกิดภาวะเงินเฟ้อ
จากการคำนวณของ Fitch Ratings บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ สิ้นปี 2006 ที่ผ่านมา จีนมีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ เกือบ 9 เท่าของหนี้สินระยะสั้นทั้งหมดที่จีน มีอยู่ หรือมีค่าเท่ากับยอดนำเข้า 14 เดือนของจีน และทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ ของจีน ยังมีมูลค่ามากกว่าหนี้เสียทั้งหมดของธนาคารทุกแห่งของจีนรวมกัน
แต่การบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศเป็นภูเขาเลากาขนาดนี้ กำลังกลาย เป็นปัญหาน่าปวดหัวของจีน และผู้กำหนด นโยบายของจีนก็รู้สึกไม่พอใจ ที่ทุนสำรอง เงินตราของตนให้ผลตอบแทนการลงทุนที่ต่ำ
ดังนั้น ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา Jin Renqing รัฐมนตรีคลังของจีน จึงประกาศแผนที่จะเปิดตัวกองทุนใหม่ ที่จะมีหน้าที่บริหารจัดการทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของจีนโดยเฉพาะ เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และได้ผลตอบแทนที่ดีขึ้น โดยผู้ที่จะรับหน้าที่บริหารกองทุนใหม่ดังกล่าวคือ Lou Jiwei อดีตรัฐมนตรีช่วยคลังของจีน ซึ่งได้รับการยอมรับในฝีมือ
อย่างไรก็ตาม รายละเอียดนอกจากนี้ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเงินที่กองทุนจะบริหาร และนโยบายการลงทุนจะเป็นอย่างไร ยังคงเป็นความลึกลับ
การเปิดเผยเรื่องกองทุนใหม่ของจีน สร้างความตกตะลึงให้แก่ตลาดเงิน เนื่องจากนักเศรษฐศาสตร์ คาดว่า กองทุนใหม่ของจีนจะต้องมีมูลค่ามหาศาล ขนาดเคลื่อนตลาดทั้งตลาดได้ สามารถส่งผลสะเทือน ต่อการซื้อขายตามปกติในตลาดได้อย่างง่ายดาย โดยที่กองทุนดังกล่าวอยู่ในมือของทางการจีน
สื่อในจีนรายงานว่า การตั้งกองทุนนี้จะเลียนแบบกองทุน Temasek ของรัฐบาลสิงคโปร์ และจะบริหารเงินทุนจำนวน 3 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งมากกว่ากองทุน Temasek ถึง 3 เท่า และมากกว่า กองทุนเก็งกำไรที่ใหญ่ที่สุดในโลกถึง 10 เท่า ด้วยเงินจำนวนมหาศาล ดังกล่าว จะทำให้กองทุนใหม่ของจีน สามารถจะซื้อ Wal-Mart ได้อย่างสบายๆ แล้วยังจะมีเงินเหลือพอที่จะซื้อทั้ง General Motors และ Ford ได้อีกด้วย
นักวิเคราะห์จำนวนมากพากันคาดการณ์ว่า กองทุนใหม่ของจีนคงจะหาทางลดการถือครองสินทรัพย์ที่เปลี่ยนเป็นดอลลาร์ได้ง่าย โดยเฉพาะพันธบัตรคลังของสหรัฐฯ ซึ่งให้ผลตอบแทนต่ำ โดยสิ้นปี 2006 ที่ผ่านมา จีนถือพันธบัตรคลังสหรัฐฯ เป็นมูลค่า 350,000 ล้านดอลลาร์ และจีนยังถือครองพันธบัตรของหน่วยงานอื่นๆ ที่มีรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นประกันอย่างเช่น Freddie Mac และ Fannie Mae อีก เป็นจำนวน 230,000 ล้านดอลลาร์
นักวิเคราะห์อีกส่วนหนึ่งคาดการณ์ว่า กองทุนใหม่ของจีนคง จะให้การสนับสนุนทางการเงินแก่รัฐวิสาหกิจยักษ์ใหญ่ด้านทรัพยากร ของจีนอย่าง Sinopec หรือ CNOOC ในการซื้อน้ำมัน ก๊าซ ถ่านหินและวัตถุดิบอื่นๆ ในต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์คนอื่นๆ ชี้ว่า ยากที่จีนจะสามารถ ทำได้ทั้ง 2 ทางข้างต้น เพราะแทบไม่มีสินทรัพย์ใดเลย ที่จะมีสภาพ คล่องที่ดีเท่ากับพันธบัตรคลังสหรัฐฯ และการพยายามจะให้ป้อนเงินทุนสนับสนุนรัฐวิสาหกิจจีน เพื่อซื้อกิจการในต่างประเทศ ก็เสี่ยง กับการถูกต่อต้าน อย่างที่ CNOOC ของจีน เจอมาแล้ว ในการเสนอ ซื้อ Unocal นอกจากนี้กองทุนขนาดใหญ่ที่ควบคุมโดยรัฐเช่นนี้ ไม่ว่าจะขยับตัวไปทางใด ก็มักจะต้องเจอกับปัญหาและแรงต้าน
สมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ เริ่มวิตกว่า จีนอาจฉวยโอกาสใช้ประโยชน์จากการที่จีนเป็นผู้ซื้อพันธบัตรคลังสหรัฐฯ รายใหญ่ เพื่อสร้างความได้เปรียบในกรณีพิพาททางด้านการค้าหรือด้านนโยบายต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม จีนเองที่จะเป็นฝ่ายได้รับผลกระทบ หากการบริหารจัดการทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของจีน ส่งผลกระทบไม่ว่าทางใดทางหนึ่งต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งเป็นลูกค้าอันดับหนึ่งของสินค้าจีน
ในเดือนมีนาคม นายกรัฐมนตรี Wen Jiabao ของจีน ยอมรับ ว่า ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศจำนวนมหาศาลของจีน กำลังเป็นปัญหาใหม่ที่จีนเผชิญ และยืนยันว่ากองทุนใหม่ของจีนจะมีหลักการแรกคือ จะไม่สร้างความเสียหาย และโครงสร้างของกองทุนใหม่ที่จะตั้งขึ้นมาเพื่อบริหารจัดการทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของจีนนี้ จะไม่ส่งผลกระทบกับสินทรัพย์ในรูปดอลลาร์ที่จีนถือครองอยู่
ดูเหมือนว่า Ben Bernanke ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะเห็นด้วยกับผู้นำจีน เขากล่าวว่า จีนไม่อาจจะสร้างความเสียหายแก่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ด้วยการขายพันธบัตรสหรัฐฯ หรือคว่ำบาตรการประมูลพันธบัตร เพราะการถือครองพันธบัตรคลังสหรัฐฯของต่างชาตินั้น มีสัดส่วนเพียงน้อยนิดในตลาดตราสารหนี้ทั้งหมดของสหรัฐฯ นอกจากนี้ Fed ยังสามารถใช้วิธีปรับอัตราดอกเบี้ยเพื่อรับมือในเรื่องนี้
อย่างไรก็ตาม ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของจีนยังคงมีท่าทีที่จะเติบโตต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ถ้าหากจีนยังคงสามารถรักษา ระดับการส่งออกไว้ได้ การเกินดุลการค้าของจีนต่อทั่วโลกพุ่งขึ้น 46,000 ล้านดอลลาร์ในไตรมาสแรกของปีนี้ และยอดเกินดุลการค้ากับ สหรัฐฯ พุ่งสูงสุดทำลายสถิติที่ระดับ 2 แสน 3 หมื่น 2 พันล้านดอลลาร์ในปี 2006
ความวิตกเกี่ยวกับทุนสำรองเงินตราต่างประเทศจำนวนมหาศาลของจีน อาจจะมลายหายไปถ้าหากค่าจ้างแรงงานในจีนเพิ่ม สูงขึ้น หรือภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้น รวมทั้งการที่เงินหยวนของจีนค่อยๆ แข็งค่าขึ้น ซึ่งทั้งหมด นี้จะส่งผลชะลอการเติบโตการส่งออกของจีน
แต่นอกจากจะมีนักวิเคราะห์เพียงน้อยรายที่เชื่อเช่นนั้นแล้ว นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากกลับคาดการณ์ว่า ยอดเกินดุลการค้าของจีนมีแต่จะยิ่งเพิ่มสูงขึ้น และการ ถือครองทรัพย์สินในรูปเงินตราต่างประเทศ ของจีน จะเติบโตในอัตราถึง 20,000 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน นักเศรษฐศาสตร์ยังชี้ด้วยว่า ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของจีน อาจจะพุ่งถึงระดับ 2 ล้านล้านดอลลาร์ ภายในไม่เกินสิ้นปีหน้า และอาจไม่มีใครบอกได้ แม้แต่จีนเอง ว่าการพุ่งทะยานของทุนสำรอง เงินตราต่างประเทศของจีน จะไปสิ้นสุด ณ ที่ใด
เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์ แปลและเรียบเรียง
ฟอร์จูน 14 พฤษภาคม 2550
|
|
|
|
|