Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน28 พฤษภาคม 2550
แม่ทัพซีเอ็มจีสั่งรุกสู้เศรษฐกิจปรับพอร์ตฯกระตุ้นยอดเข้าเป้า             
 


   
www resources

โฮมเพจ เซ็นทรัล เทรดดิ้ง

   
search resources

เซ็นทรัล เทรดดิ้ง, บจก.
Clothings




แม่ทัพซีเอ็มจี สั่งรุกกิจกรรมเต็มสูบ พร้อมลุยซีอาร์เอ็มทำตลาดทุกรูปแบบ เล็งปรับพอร์ตโฟลิโอกว่า 60แบรนด์ หลังพบยอดขาย 4เดือนแรกเติบโตต่ำเป้าหมาย มั่นใจปีนี้โต10% ชี้แนวโน้มอินเตอร์แบรนด์เข้ามาทำตลาดเอง

นายจักรพงษ์ เฉลิมชัย ประธานฝ่ายปฏิบัติการอาวุโส บริษัท เซ็นทรัลเทรดดิ้ง จำกัด บริษัทในกลุ่มเซ็นทรัลมาร์เก็ตติ้งกรุ๊ป ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าแฟชั่นรายใหญ่ เปิดเผยว่า นโยบายการดำเนินงานของบริษัทในกลุ่มซีเอ็มจีในปีนี้ ทางนายพิชัย จิราธิวัฒน์ ซึ่งเป็นประธานกลุ่มซีเอ็มจีได้ให้แนวทางไว้ว่า ปีนี้จะต้องเน้นการทำกิจกรรมการตลาดให้มากขึ้นกับทุกตัวสินค้า เพื่อกระตุ้นผู้บริโภคให้เกิดการซื้อมากขึ้น รวมทั้งการให้ความสำคัญกับการทำซีอาร์เอ็มให้มากขึ้นในรูปแบบต่างๆ ที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสมาชิกและลูกค้า

เล็งปรับพอร์ตโฟลิโอ60แบรนด์

เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในเวลานี้ไม่ค่อยดี เป็นตัวฉุดที่ทำให้ภาวะการณ์ขายสินค้าต่างๆโดยเฉพาะแบรนด์เนมค่อนข้างได้รับผลกระทบอย่างมาก อีกทั้งปริมาณคนที่เดินเที่ยวในห้างก็ลดน้อยลงไป ด้วยตั้งแต่ต้นปีมา ภาวะเศรษฐกิจของไทยตอนนี้หนักมากหนักที่สุดไม่เคยเจอมาก่อนเลย

นอกจากนั้นก็จะมีการพิจารณาดูว่าแบรนด์ใดที่มียอดขายไม่ค่อยดีหรือไม่เติบโต ก็อาจจะชะลอการทำตลาดออกไป ส่วนแบรนด์ที่มีศักยภาพดีก็จะทำตลาดเพิ่มขึ้น และพยายามที่จะจัดพอร์ตโฟลิโอของกลุ่มใหม่ เนื่องจากมีสินค้ามากกว่า 60แบรนด์ในความรับผิดชอบ ซึ่งถือเป็นปริมาณที่ค่อนข้างมาก ซึ่งเมื่อก่อนเคยมีมากถึง 100 กว่าแบรนด์ด้วยซ้ำไปแต่ได้ตัดออกไปแล้ว ขณะนี้มีสินค้าที่แบ่งเป็นแบรนด์ที่นำเข้าประมาณ 20 กว่าแบรนด์ และประเภทได้ไลเซนส์ในการผลิตและจำหน่ายอีก 20 กว่าแบรนด์ และมีอีก 20 กว่าแบรนด์ที่เป็นแบรนด์ท้องถิ่นของบริษัทเอง

โดยในปีนี้ทางกลุ่มตั้งงบประมาณด้านการตลาดรวมไว้ที่ 5-7%จากรายได้รวม หากมองดูจำนวนที่เป็นเปอร์เซ็นต์อาจจะดูน้อย แต่ต้องไม่ลืมว่าฐานรายได้ของกลุ่มมีมากดังนั้นงบตลาดก็จะมากไปตามสัดส่วนอยู่แล้ว

สำหรับผลประกอบการของกลุ่มซีเอ็มจีในช่วง 4เดือนแรกนี้ค่อนข้างทรงตัว โดยมีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ย 5-10% แล้วแต่กรณีเป็นแบรนด์ไปบางแบรนด์โตมากโตน้อยบางแบรนด์ทรงตัวหรือไม่โตเลย ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายจากปกติต้องเติบโต 15-20% แต่ก็ยังมั่นใจว่าปีนี้ผลประกอบการโดยรวมจะเติบโต 10% จากรายได้รวมปีที่แล้วประมาณ 5,000-6,000ล้านบาท โดยการเติบโตนั้นจะมาจากทั้งการขยายสาขาคือร้านค้าแต่ละแบรนด์ให้มากขึ้นและการเติบโตจากสาขาเดิม ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความมั่นคงมากกว่าทั้งนี้ในช่วงต้นปีมานี้ ตลาดต่างจังหวัดมีอัตราการเติบโตมากกว่าตลาดกรุงเทพ โดยเฉพาะตลาดหัวเมืองท่องเที่ยวใหญ่ เช่น ภูเก็ต เชียงใหม่ พัทยา ชลบุรี เป็นต้น ขณะที่กลุ่มเป้าหมายนั้นส่วนใหญ่แล้วก็จะได้แต่ลูกค้าเดิมที่ซื้อ ส่วนลูกค้าใหม่เวลานี้ค่อนข้างน้อย

แนวทางการทำตลาดจากนี้ต้องพยายามที่จะจัดกิจกรรมมากขึ้นสลับกันแต่ละแบรนด์ หรืออาจจะทำร่วมกันเพื่อสร้างศักยภาพให้มากขึ้น เพื่อดึงคนเข้าในร้าน รวมทั้งการตกแต่งดิสเพลย์หน้าร้านให้มีความสดใสและน่าสนใจเพื่อดึงดูดคน เพราะสินค้าพวกนี้บางครั้งก็ขึ้นอยู่กับอารมณ์ของผู้บริโภคด้วย อีกทั้งการร่วมมือกับพันธมิตรในการทำตลาดโปรโมชันมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาทางกลุ่มซีเอ็มจีจะร่วมกับทางบัตรเครดิตรกสิกรไทยและซิตี้แบงก์เป็นประจำอยู่แล้ว

รูปแบบการทำตลาดที่น่าสนใจและมีศักยภาพอย่างมากคือ การทำโปรโมชันไอเท็ม หรือ การลดราคาบางรายการในราคาที่ลดมากเช่น 70-80% เพื่อให้ตัวนี้เป็นแม่เหล็กในการดูดผู้บริโภคเข้ามาในร้าน ซึ่งอย่างน้อยที่สุดเมื่อเข้าในร้านแล้วก็มีโอกาสที่จะดูสินค้าในกลุ่มอื่นด้วย ซึ่งโอกาสที่ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าอื่นที่ลดราคาน้อยกว่า 80% หรือไม่ได้ลดราคาเลยก็ยังมีบ้าง เพราะได้เห็นสินค้าแล้วเกิดแรงจูงขึ้นแล้ว ดีกว่าการที่ลูกค้าไม่เข้ามาในร้านเลย ทำให้โอกาสในการขายไม่มีแน่นอน

"เมื่อก่อนนี้ลูกค้ามีแบรนด์รอยัลตี้ค่อนข้างสูงมาก แต่ว่าตอนนี้ไม่แล้ว เปลี่ยนไปแล้ว การซื้อสินค้าแฟชั่น ใช้วิธีมิกซ์แอนด์แมทช์ แบรนด์ใดก็ได้ ขอให้ดูมันเหมาะสมเข้ากับตัวเอง เอาผสมผสานกัน ขณะที่แผนการเพิ่มจุดจำหน่ายหรือร้านค้าของซีเอ็มจีก็ยังมีแผนขยายต่อเนื่อง เช่น แบรนด์ G2000 และ U2 ซึ่งถือเป็นแบรนด์หลักที่ทำรายได้สูง ซึ่งเดิมทีจะเปิดจุดขายในห้างสรรพสินค้าค่อนข้างมากมีประมาณ 35 แห่ง แต่ขณะนี้ได้เริ่มเปิดร้านแบบสแตนด์อโลนมากขึ้นแล้วประมาณ 3-4 แห่งในเวลานี้ โดยตั้งเป้าหมายต้องเปิดประมาณ 8-10 ชอปต่อปี

ส่วนแบรนด์อิชชู ซึ่งขณะนี้มี 2 ชอป ที่เซ็นทรัลชิดลมและเซ็นทรัลเวิลด์ ก็จะขยายสาขาอีก แบรนด์เอสแฟร์ก็จะมีการเปิดตัวคอลเลกชันใหม่ชื่อว่า "ลักชัวรี่"เป็นเสื้อเชิ๊ต ราคาตัวละประมาณ 2,500บาท

อินเตอร์แบรนด์เล็งลุยเอง

นายจักรพงศ์ ยังให้ความเห็นด้วยว่า แนวโน้มของตลาดสินค้าแบรดด์เนมระดับลักชัวรี่เน้นเรื่องราคาที่เป็นโลว์ไพร้ซ์ เริ่มที่ทำตลาดในไทยมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากกับแบรนด์ของโลคอลที่เป็นของคนไทยเอง รวมทั้งอินเตอร์แบรนด์ที่เป็นพรีเมียมทั้งภาพลักษณ์และราคา เพราะจะได้รับผลกระทบแน่นอนในด้านของการขาย

เหตุผลหลักมาจากเรื่องของภาษีที่ลดลงจากเงื่อนไขของดับบลิวทีโอและอาฟต้า เช่น เมื่อนำเข้ามาจากจีนภาษีประมาณ 12% หากนำเข้าจากอาเซียนเช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ภาษีนำเข้า 10% จากเดิมที่สูงกว่า 30% และในอนาคตมีสิทธิ์ที่จะลดลงมาอีก ภายในช่วง 5 ปีนับจากนี้โลคอลแบรนด์ลำบากแน่นอนถ้าไม่ปรับตัวให้ดี

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า การเข้ามาทำตลาดในรูปแบบไฮแฟชั่นบัทโลว์ไพรซ์ของอินเตอร์แบรนด์เริ่มมีให้เห็นแล้วเช่น แบรนด์ ซาร่า ซึ่งถือเป็นแบรนด์อันดับหนึ่งของสเปน รวมทั้งแบรนด์เอ็มเอ็นจี ซึ่งเป็นอันดับที่สองของสเปนเช่นกัน ทั้งสองแบรนด์นี้ได้รับความสำเร็จในตลาดแฟชั่นเมืองไทยอย่างมาก

ขณะที่แนวโน้มจากนี้ไปจะมีแบรนด์ประเภทนี้เข้ามามากเช่น ท็อปช็อปจากประเทศอังกฤษ ซึ่งโด่งดังมากเป็นที่นิยมในหมู่คนอังกฤษ อีกแบรนด์ที่น่าจับตามองคือ เอชแอนด์เอ็ม แบรนด์ทเวนตี้วัน และมีแนวโน้มอย่างมากว่าบริษัทเจ้าของสินค้าจะเข้ามาทำตลาดเองนั้นมีความเป็นไปได้มากขึ้น จากเดิมที่ส่วนใหญ่จะแต่งตั้งดิสทริบิวเตอร์จัดจำหน่ายให้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us