Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2543
บลจ.กรุงไทย ออกกองทุนเน้นความเสี่ยงต่ำ             
 


   
search resources

กรุงไทย, บลจ.
วิเชฐ ตันติวานิช
Funds




ปัจจุบันบรรดา บลจ.เริ่มทยอยออกกองทุนใหม่ เพื่อยั่วน้ำลายนักลงทุน ที่ชอบความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะกองทุนหุ้นทุน (equity fund) โดยอาศัยตลาดหุ้น เริ่มฟื้นตัว และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากตกต่ำ

เช่นเดียวกันสำหรับนักลงทุน ที่นิยมความเสี่ยงต่ำๆ นี่ก็เป็นสัญญาณที่ดี ในการเข้าลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ (fixed-income fund) แม้จะไม่คึกคักเหมือนกองทุนหุ้นทุน

การเปิดตัวอย่างเป็นทางการของ บลจ.กรุงไทย ภายใต้เวลา ที่เหมาะสม พร้อมเสนอสินค้า ที่ฉีกแนวจากบลจ.อื่นๆ ดูเหมือนจะได้รับความสนใจดีพอ สมควร แม้ว่าบลจ.กรุงไทยจะไม่ใช่น้องใหม่ในวงการก็ตาม

หลังจากธนาคารกรุงไทยได้ควบรวมกิจการของธนาคารมหานครเมื่อปี 2541 ก็ได้ บลจ.มหานครไว้ด้วย ณ จุดนั้น ธนาคารเล็งเห็นโอกาสการดำเนินธุรกิจกองทุนรวมว่ามีความเป็นไปได้ถึงศักยภาพการเติบโตสูงในอนาคต และยังขยายฐานไปยังนักลงทุนรายย่อยได้มาก

ดังนั้น ธนาคารจึงเข้าซื้อหุ้นทั้งหมดจากผู้ถือหุ้นเดิมของบลจ. มหานคร 100% (ธนาคารมหานครถือ 25%, อินโดแคม ฮ่องกง 5%, บงล.มหาธนกิจ 10%, บงล.ธนไทย 10%, บงล.ธนนคร 10%, อินทรประกันภัย 10% และอินเตอร์ไลฟ์ จอห์นแฮนคอค ประกันชีวิต 10%) โดยใช้เม็ดเงิน ประมาณ 100 ล้านบาท แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่ และเพิ่มทุนเข้าไปอีก 100 ล้านบาท เมื่อปลาย ปี 2542 ยังผลให้บลจ.กรุงไทย มีทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 200 ล้านบาท

แม่ทัพการดำเนินธุรกิจของบลจ. กรุงไทย คือ วิเชฐ ตันติวานิช ในฐานะกรรมการผู้จัดการ และหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ในอดีตเขาทำหน้าที่ผู้อำนวยการ ฝ่ายการตลาด บลจ.กสิกรไทย ระหว่างปี 2535-2537 จากนั้น เข้าไป จับงานใน บงล.ตะวันออกฟายแนนซ์ (1991) ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ เมื่อปลายปี 2537 อีก 2 ปีถัดมากลับมา ที่ บลจ. กสิกรไทยอีกครั้งในฐานะ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ และกลางปี 2542 เข้ามาจัดวางโครงสร้าง และ ระบบการทำงานใน บลจ.กรุงไทย

ภารกิจหลักของวิเชฐ คือ การ ทำกองทุนรวมให้ดีที่สุด ซึ่งเป็นสิ่งท้าทายอย่างมากภายใต้การแข่งขัน ที่รุนแรง ในอุตสาหกรรมกองทุนรวมขณะนี้

"เรามีปรัชญาการทำธุรกิจ 4 ข้อ คือ ทำตามนโยบายของแบงก์กรุงไทย ประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุน ตัวแทนขาย และตัวบริษัท การพัฒนาองค์กรทุกรูปแบบ และพยายามทำให้ลูกค้ามีชีวิตที่ดีขึ้น อย่างน้อยในเรื่องการเงิน และการลงทุน" วิเชฐ กล่าวถึงภาระหน้าที่สำคัญ

ยุทธศาสตร์ของวิเชฐในการดำเนินธุรกิจครั้งนี้ จะใช้ประสบการณ์ในอดีตเป็นบทเรียน เพราะ ที่ผ่านมาธุรกิจกองทุนรวมเป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำให้ตลาดหุ้นบูม ทำให้มองว่าการเติบโตของกองทุนรวม "เกิดผิด ที่" นั่นคือ เกิดกับตลาดหุ้นก่อน และนักลงทุนได้ผลตอบแทนกันมาก ขณะที่กองทุนรวมแต่ละแห่งต่างฉวยโอกาส "น้ำขึ้นให้รีบตัก"

นี่เป็นการมองอดีตแล้วนำมาผสมผสานกับปรัชญาการดำเนินธุรกิจขอ งบลจ.กรุงไทย ทำให้วิเชฐอยากเข้ามากอบกู้ชื่อเสียงธุรกิจกองทุนรวมอีกครั้ง พร้อมทั้งหาคำตอบว่าจะทำอย่างไร ที่ช่วยให้นักลงทุนมีฐานะทางการเงิน และการลงทุนในระยะยาวได้มากขึ้น

ประเด็นดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการออกแบบสินค้าให้ฉีกแนวต่างจากคู่แข่ง โดยการเปิดเสนอขายกองทุนเปิดกรุงไทย เพื่อวัยศึกษา และกองทุนเปิด กรุงไทย เพื่อวัยเกษียณ มูลค่าโครงการละ 5,000 ล้านบาท

"เชื่อว่าการสร้างสินค้าออกมาจะทำให้ลูกค้าเข้าใจตรงกับ ที่เราเสนอก่อน ที่จะเข้ามาลงทุน ซึ่งลำบากมากแต่นั่นคือ สิ่งสำคัญ ที่เราต้องทำ" วิเชฐกล่าว

แม้ว่านโยบายการลงทุนจะไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่บลจ.กรุงไทยพยายามเน้นให้นักลงทุนดูถึงนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมว่านำเงินไปลงทุน ที่ไหน จะทำให้นักลงทุนได้คิด และมีเป้าหมายก่อนลงทุน การดำเนินการเช่นนี้วิเชฐถือว่าเป็นรูปแบบใหม่ "เพราะ ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันถ้าคิดจะลงทุนกับกองทุนรวมประกันชีวิตหรือเงินฝากมักจะไม่มีเป้าหมายว่าจะนำไปทำอะไร คิดแต่อยากได้เงินเพิ่มขึ้นเท่านั้น "

ความมุ่งมั่นของการออกกองทุนรูปแบบนี้ เพื่อให้คนไทยทั้ง ที่เป็นนักลงทุนหรือยังไม่เป็นนักลงทุนตั้งเป้าหมายว่าจะนำเงินของตนเองหารายได้มาไป ใช้ทำอะไรในอนาคต เป็นจำนวนเท่าใดให้ชัดเจนก่อน แล้วค่อยเก็บสะสมลง ทุนผ่านกองทุนรวมบลจ.กรุงไทยในระยะยาว ดังนั้น กองทุนรวมภายใต้ โครงการจะเป็นกองทุน ที่ออกแบบเป็นพิเศษให้เหมาะกับการใช้ชีวิตตั้งแต่วัยเด็ก จนวัยชรา หรือ ที่เรียกว่า Lifestyle Investment

แรงผลักดัน ที่ทำให้บลจ.กรุงไทย ออกกองทุนลักษณะนี้ คือ ความแตกต่างของคนในการใช้เงินแต่ละช่วงชีวิต "เราจึงสะดุดไอเดียตรงนี้ ว่าถ้าเกิดสินค้าของเราสามารถ ที่จะอยู่คู่กับการใช้ชีวิตของคนตั้งแต่เกิดจนเสียชีวิตก็น่าจะดี"

ด้านกลยุทธ์การลงทุนของบลจ. กรุงไทย เน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล รัฐวิสาหกิจหรือลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพดีหรือเงินฝาก โดยไม่ลงทุนในหุ้นเลย เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง และได้รับผลตอบแทน ที่เหมาะสม

เนื่องจากทราบดีว่านักลงทุนต้อง การความมั่นคง และยอมรับความเสี่ยงน้อยสำหรับการวางเป้าหมายอนาคตไว้ ที่การศึกษาของบุตรหลาน หรือเป้าหมายอนาคตหลังวัยเกษียณ

อีกทั้งนักลงทุนสามารถประมาณการค่าเล่าเรียนหรือประมาณการค่าใช้จ่ายในวัยเกษียณ เพื่อวางแผนลงทุน ได้ก่อนตัดสินใจลงทุน "ดังนั้น ถ้านักลงทุนจะคบกับเราจะต้องรู้ว่าตนเองมีเป้าหมายอะไร และตนเองเป็นนักลงทุนประเภทไหนก่อน"

ส่วนผลตอบแทนวิเชฐตอบสั้นๆ ว่า "สูงกว่าอัตราเงินฝาก" คาดว่าจะมีผลตอบแทนอยู่ระดับเดียวกันกับอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ทั่ว ๆ ไป

สำหรับความหวัง ที่นักลงทุนจะเข้ามาซื้อหน่วยลงทุน วิเชฐตั้งเป้าไว้ว่าปีนี้ประมาณ 10,000 คน เนื่องจากเป็นเวลา ที่เหมาะสมในการออกกองทุน กฎ เกณฑ์ของทางการเปิดกว้าง และสนับสนุนให้มีการลงทุนแบบระยะยาว สินค้า และรูปแบบการลงทุนมีมากขึ้น ที่สำคัญเครือข่ายของบลจ.กรุงไทย ที่จะ ให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนมีมากที่สุดในประเทศ นั่นคือ การขายหน่วยลงทุน ผ่านสาขาของธนาคารกรุงไทย ที่มีอยู่กว่า 500 แห่งทั่วประเ ทศ

ตัวเลข ที่ตั้งเป้าไว้แม้ว่าจะดูไม่มากมายอะไร แต่เป็นเพราะการมองเห็นถึงการฟื้นตัวของธุรกิจกองทุนรวม ที่เป็นไปตามเศรษฐกิจโดยรวม แต่ปัจจัย สำคัญคือ ความศรัทธาของประชาชน ที่มีต่อธุรกิจกองทุนรวม ปัจจุบันกองทุน รวมหลายแห่งกำลังพยายามเรียกสิ่งนี้กลับมา

อย่างไรก็ตามวิเชฐยังมองโลกในแง่ดีโดยใช้ทฤษฎีเข้ามาประกอบว่าตั้ง แต่นี้เป็นต้นไปนักลงทุนรายย่อยจะเข้าไปลงทุนด้วยตนเอง "แทบจะเป็นไปไม่ได้" เพราะความซับซ้อน ที่เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น ความรวดเร็ว ความเข้าใจที่ดี และมี เม็ดเงินขนาดใหญ่ถึงจะทำอะไรแล้ว "ชนะ"

"ถ้าเรียกศรัทธากลับมาได้เร็วเท่าไหร่ และทำธุรกิจด้วยจรรยาบรรณธุรกิจ จะฟื้นตัวเร็ว เพราะว่าในทางทฤษฎี และปฏิบัติธุรกิจบลจ.จะเป็นตัวเชื่อมที่ดี ที่ สุดสำหรับรายย่อย ที่จะเข้ามีบทบาทหรือมีโอกาสรับผลตอบแทนเหมือนกับ รายใหญ่ๆ ได้ จะต้องผ่านพวกเราเท่านั้น "

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us