Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2536
"พิธานพาณิชย์ เริ่มด้วยเงิน 3 พันของเด็กวัย 18"             
 

   
related stories

"ไดอาน่า" ตั้ง "ธยานี" เมื่อพิธานพาณิชย์จะติดปีก"

   
search resources

พิธานพาณิชย์กรุ๊ป
พิธานอำนวยกิจ จันทรัศมี
Commercial and business




ด้วยวัยเพียง 18 ปี ในปี 2457 จันฮกซุ่น ตัดสินใจออกจากบ้านเกิดที่ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี พร้อมเงินที่ขอจากบิดา จันกิมกวย จำนวน 3,000 บาท เดินทางไปเสี่ยงโชคที่เมืองปัตตานี โดยการเปิดร้าน "จันซุ่นเซ่ง" ขึ้น

กิจการแรกของจันซุ่นเซ่งที่ปัตตานี ก็คือ การเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำมันก๊าดตรามงกุฎซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัทน้ำมันเชลล์ ซึ่งมีสาขาอยู่ที่เกาะปีนัง

หลังฝ่ามรสุมชีวิตหลายอย่าง ทั้งเรื่องครอบครัวที่บิดามารดาเสียชีวิต ในขณะที่เขาต้องรับภาระเลี้ยงดูน้อง ๆ งานของจันซุ่นเซ่ง ก็สามารถที่จะขยายตัวได้ดีในเวลาต่อมา ด้วยการเปิดร้าน "จันเอ็กเซ่ง" ด้วยการรับสัมปทานบริษัทเอเซียติก ในการขายสินค้าหลายอย่างนอกเหนือจากร้าน "จันซุ่นฮวด" ที่บิดาทิ้งไว้เป็นมรดกที่สายบุรี

จันฮกซุ่นรู้ดีว่า งานที่มีมากนี้ ลำพังตัวของเขาเอง ไม่สามารถที่จะรับภาระได้แน่นอน ดังนั้น เขาจึงได้ชักชวนโหง่วฮักเหลี่ยม หรือ ฮักเหลี่ยม แซ่โหง่ว ลูกพี่ลูกน้อง ให้เดินทางมาจากมณฑลฮกเกี้ยน ในประเทศจีน ให้เดินทางมาช่วยงาน

2 แรงแข็งขันของ 2 ตระกูล คือ แซ่จั่น ต้นกำเนิด "จันทรัศมี" และแซ่โหง่ว ต้นกำเนิด "โกวิทยา" ดูจะทำได้ดีจนเครือข่ายของพวกเขาขยายตัวมากมาย และเป็นตำนานว่า เมื่อเอ่ยถึงพิธานพาณิชย์ ก็ต้องเอ่ยถึงทั้ง 2 ตระกูลคู่กันไป

ชื่อเสียงของทั้งคู่ ได้รับการติดต่อจากบริษัทยาสูบในอังกฤษและอเมริกา บริษัทเนสเล่ บริษัทขายรถยนต์เชฟโรเล็ต บริษัทเฟรเซอร์แอนด์เนฟ (ขายน้ำอัดลม) บริษัทปูนซิเมนต์ไทย บริษัทยางกู๊ดเยียร์ เป็นต้น ต่างก็ติดต่อให้เป็นตัวแทนจำหน่ายในพื้นที่ใกล้เคียง จนกระทั่งจั่นฮกซุ่นรู้ว่า เครือข่ายแค่ปัตตานีไม่เพียงพอ จึงมีการตั้งร้าน "จันเต็งเซ่ง" ขึ้นที่สุไหงโก-ลก ในเวลาต่อมา

ขณะเดียวกัน จันฮกซุ่น ก็เริ่มสนใจทำธุรกิจที่เป็นทรัพยากรหลักของภาคใต้นั่นคือ ยางพารา ถึงกับลงทุนซื้อที่ดินจำนวนมากเพื่อทำสวนยางพาราและส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยมีเครือข่ายการกระจายสินค้าอยู่ที่เมืองปินัง

ด้วยความที่เป็นรู้คุณแผ่นดิน หลังจากที่กิจการต่าง ๆ ขยายตัวมาก ตัวของจันฮกซุ่น ก็เริ่มมีการบริจาคเพื่อสาธารณประโยชน์มากมาย ทั้งการสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล เพื่อให้ท้องถิ่นมีความก้าวหน้า

ดังนั้น ในปี 2474 จันฮกซุ่น จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นหลวงพิธานอำนวยกิจ และนามสกุล "จันทรัศมี" ด้วยวัยเพียง 35 ปี

จากนั้นไม่นาน สายตายาวไกลของหลวงพิธานอำนวยกิจ เขามองว่า กิจการน้ำมันเบนซินและน้ำมันเชื้อเพลิงอื่น ๆ ขายดี ธุรกิจต่อเนื่องก็น่าที่จะขายได้ดีด้วย เขาจึงติดต่อไปยังบริษัทเยนเนอรัล มอเตอร์ สหรัฐอเมริกา เพื่อขอเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ของบริษัท พร้อมทั้งขยายเครือข่ายเข้าไปยังเมืองยะลา ด้วยการเปิดร้าน "จันเอ็กเซ่ง" ขึ้นมาอีกแห่ง

หลังจากการเดินทางกลับไปยังประเทศจีน ผ่านหลาย ๆ ประเทศทั้งปีนัง สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ฮ่องกงและในประเทศจีนหลายเมือง ทั้งเซี่ยงไฮ้ นานกิง ชานตุง ปักกิ่ง เทียนสิน ไฮนิง ฮกเกี้ยน (ซึ่งเป็นดินแดนบรรพบุรุษ) ในช่วงปี 2480-81 เมื่อกลับมาเมืองไทย เขาจึงมองถึงแนวทางที่จะเปลี่ยนแปลงธุรกิจ

ดังนั้น เมื่อกลับมาถึงปัตตานี ในปี 2482 หลวงพิธานอำนวยกิจ จึงตัดสินใจรวบกิจการหลาย ๆ แห่ง ซึ่งเขามองว่ายุ่งยากในการบริหารและวางแผน เข้ามาเป็นบริษัทเดียว ด้วยการจดทะเบียนตั้งบริษัท "พิธานพาณิชย์" ขึ้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2482 และให้ร้านต่าง ๆ มีฐานะเป็นสาขา โดยมีผู้จัดการสาขาแต่ละแห่งเป็นผู้ดูแล

ขณะเดียวกัน เครือข่ายด้านสวนยางก็มีมากขึ้น เมื่อเขาซื้อที่ดินในนราธิวาสหลาย ๆ อำเภอเพื่อปลูกยางพารา จนกลุ่มพิธานพาณิชย์ กลายเป็นกลุ่มที่มีสวนยางมากที่สุดกลุ่มหนึ่งในยุคนั้น

ก้าวกระโดดก้าวแรกของกลุ่มพิธานพาณิชย์ เกิดขึ้นเมื่อเปิดสาขาหาดใหญ่ขึ้นมาในปี 2488 ภายหลังจากที่ครอบครัวของเขาหนีภัยสงครามมหาเอเซียบูรพามายังหาดใหญ่และหลวงพิธานฯ มองเห็นว่า หาดใหญ่กำลังจะกลายเป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจในอนาคต จึงได้ซื้อที่ดินเพื่อเปิดสาขาดังกล่าวขึ้น

เช่นเดียวกับที่หลวงพิธานฯ ได้เปิดสาขาพิธานพาณิชย์ขึ้นที่เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย เพื่อเป็นศูนย์กลางการติดต่อในมาเลเซีย เพราะช่วงดังกล่าว ปีนังเป็นเมืองท่าที่สำคัญเมืองหนึ่งในการค้าระหว่างประเทศในยุคนั้น

เครือข่ายของพิธานพาณิชย์ จึงไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะเมืองไทย หากแต่เป็นเครือข่ายระหว่างประเทศที่สำคัญในยุคนั้น จนกระทั่งบริษัทเยนเนอรัลมอเตอร์ ได้ประกาศให้พิธานพาณิชย์เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ของบริษัทในภาคใต้ทั้งหมด

เมื่อหลวงพิธารอำนวยกิจ ถึงแก่กรรมในวันที่ 8 กรกฎาคม 2497 เครือข่ายของกลุ่มพิธานพาณิชย์ ก็มีมากมายเกินกว่าที่เขานึกมากนัก

วันนี้ ภารกิจของเครือข่ายกลุ่มพิธานพาณิชย์ ถูกผ่องถ่ายจากรุ่นลูกของหลวงพิธารอำนวยกิจ มาสู่รุ่นหลานของเขาที่อาจจะก้าวไกลเกินกว่าที่หลวงพิธารมองเห็นและคิดไม่ถึงในบั้นปลายของชีวิต

เพราะวันนี้ รุ่นหลานของเขา กำลังลงไปสู่ธุรกิจการพัฒนาที่ดิน ที่เป็นธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าธุรกิจอื่น ๆ ที่กลุ่มพิธานพาณิชย์เคยทำมา

เงินเพียง 3,000 บาทของเด็กหนุ่มวัย 18 ปี เมื่อเกือบ 80 ปีก่อน ไม่น่าเชื่อว่า จะมาไกลถึงวันนี้ได้!!!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us