Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน25 พฤษภาคม 2550
ธาริษาชี้หยวนแข็งเอื้อไทย-ภูมิภาค             
 


   
search resources

Interest Rate




แบงก์ชาติยันเงินบาทไทยได้อานิสงส์จากการที่จีนขยายกรอบการเคลื่อนไหวเงินหยวน ทำให้ไทยแข่งขันส่งออกกับจีนได้มากขึ้น ขณะที่ภูมิภาคได้ประโยชน์เพราะหยวนเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน ช่วยแก้ปัญหาความไม่สมดุลทางการเงินโลก

นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยกรณีที่ประเทศจีนมีการปรับเพิ่มกรอบความเคลื่อนไหวของค่าเงินหยวนในแต่ละวันเดิมที 0.3%เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ปรับมาเป็น 0.5% แทนว่า ในภาคปฏิบัติทางการจีนไม่น่าจะปล่อยให้การเคลื่อนไหวของค่าเงินหยวนเกินกรอบที่กำหนดไว้ แต่เชื่อว่าการดำเนินนโยบายเช่นนี้จะส่งผลดีต่อประเทศไทย เนื่องจากต่อไปนี้ค่าเงินหยวนจะแข็งค่าไปในทิศทางเดียวกับประเทศในภูมิภาค จากก่อนหน้านี้ที่ค่าเงินหยวนมีการแข็งค่าอ่อนค่าน้อยกว่าเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาคที่มีการแข็งค่าขึ้นอย่างมาก ทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบในการแข่งขันทางการค้า

ด้านนายสุชาติ สักการโกศล ผู้อำนวยการ ฝ่ายกำกับการแลกเปลี่ยนเงินและสินเชื่อ ธปท.กล่าวว่า การใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัวของจีนมากขึ้นทั้งการเพิ่มกรอบความเคลื่อนไหวค่าเงินหยวน การปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ขยับขึ้น 0.27% มาอยู่ที่ระดับ 3.06% และการกำหนดอัตราส่วนการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์เพิ่มอีก 0.5% มาเป็น 11.5% เพื่อลดความร้อนแรงเศรษฐกิจของจีน ซึ่งต่างกับไทยที่ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัวดีขึ้น จึงมีการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้นด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายการเงิน 0.5%

“การปรับลดอัตราดอกเบี้ยไม่สามารถระบุได้ว่าจะมีเงินทุนจากต่างประเทศไหลออกนอกประเทศ เพราะเชื่อว่าจะมีเพียงนักลงทุนบางกลุ่มเท่านั้นที่คิดอย่างนี้ อย่างไรก็ตามก็ต้องพิจารณาภาพรวมของระบบเศรษฐกิจประเทศนั้นๆ ประกอบด้วย จึงไม่สามารถบอกได้ว่าการลดแค่ดอกเบี้ยแล้วจะทำให้นักลงทุนต่างชาติแห่ขนเงินออกนอกประเทศ” นายสุชาติกล่าว

ขณะที่นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส ผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจมหภาค ธปท.กล่าวว่า มาตรการดังกล่าวของจีน ถือเป็นการตัดสินใจให้เงินหยวนแข็งค่าขึ้น เพื่อที่จะช่วยลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจและตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่มีการเติบโตอย่างมากของจีน อย่างไรก็ตามหากมาตรการดังกล่าวส่งผลให้เศรษฐกิจจีนขยายตัวได้อย่างมีเสถียรภาพก็จะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจไทยและประเทศในภูมิภาคนี้ด้วย และมีส่วนช่วยแก้ปัญหาความไม่สมดุลทางการเงินโลกด้วย ส่วนทิศทางของค่าเงินหยวนจะเป็นอย่างไรนั้นก็ต้องติดตามดูต่อไปยังไม่สามารถตอบได้ในขณะนี้

อย่างไรก็ตาม การปรับตัวของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ จะเห็นว่าค่าเงินสกุลต่างๆ ได้มีการปรับตัวแข็งค่าขึ้นไปมากแล้วก่อนหน้านี้ โดยค่าเงินในภูมิภาคเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีการปรับตัวแข็งค่าขึ้น นับตั้งแต่ธปท.ได้ออกมาตรการสำรองเงินทุนนำเข้าระยะสั้น 30% ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2549 ที่ผ่านมา จนถึงเดือนพฤษภาคม 2550 ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น 4% ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับกลางๆ ส่วนอินเดียค่าเงินแข็งค่าขึ้นมากที่สุดเกือบ 10% รองลงมาคือ ฟิลิปปินส์ แข็งค่าขึ้น 8% อินโดนีเซีย แข็งค่าขึ้น 6% และมาเลเซีย แข็งขึ้น 5% ขณะที่ค่าเงินหยวนของจีนค่อยๆ ปรับตัวแข็งค่าขึ้นแต่ไม่มากนัก อยู่ที่ประมาณ 2.5%

ส่วนผลต่อการส่งออกของไทยนั้น จะทำให้การส่งออกของไทยได้รับประโยชน์จากการที่ค่าเงินหยวนแข็งค่าขึ้นซึ่งจะลดความได้เปรียบระหว่างประเทศจีนกับประเทศอื่นๆ ขณะที่การแข่งขันในตลาดที่ 3 ระหว่างจีนกับไทยจะมีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ทั้งนี้ จากข้อมูลตัวเลขการส่งออก-นำเข้าของประเทศไทย จะพบว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา การส่งออกของไทยขยายตัวที่ 14.9% โดยมีตลาดสำคัญได้แก่ สหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และ จีน โดยในส่วนของจีนนั้น ไทยมีสัดส่วนการส่งออกที่โตแบบก้าวกระโดดจากปี 2544 ที่ขยายตัว 4.4% เป็น 9.0% ในปี 2549 ที่ผ่านมา เทียบกับ 3 ตลาดส่งออกข้างต้นซึ่งมีการขยายตัวลดลง

ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจจีนมีการเติบโตอย่างรวดเร็วและมากที่สุดในโลก โดยในไตรมาสแรกของปีนี้เศรษฐกิจจีนเติบโตถึง 11.1% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ระดับ 3% ถือว่าสูงมาก นอกจากนี้จากเครื่องชี้ต่างๆ ในเดือนเม.ย.ของปีนี้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยภาคการส่งออกโตถึง 30% ขณะที่นำเข้าโตแค่ 15-17% ทำให้เกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างมาก ซึ่งมีค่าเงินดอลลาร์ที่เข้ามาในจีนจำนวนมากด้วย การลงทุนก็สูงถึง 25.9% เทียบกับที่รัฐบาลจีนตั้งเป้าไว้แค่ 20%เท่านั้น ส่วนปริมาณเงินในระบบก็สูงกว่าเป้าที่รัฐบาลจีนตั้งไว้ที่ 16% แต่มีการเติบโตถึง 17.1% ด้านการปล่อยสินเชื่อก็โตถึง 16.5% และดัชนีตลาดหุ้นก็มีการเพิ่มขึ้นถึง 4,000 จุดในเดือนม.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งตัวเลขเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความไม่สมดุลเศรษฐกิจจีน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us