|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติหวังแรงกดดันบาทแข็งค่าจะไม่เพิ่มขึ้นไปกว่านี้ เหตุแนวโน้มส่งออกชะลอตัวตามทิศทางภาวะเศรษฐกิจโลก คาดดุลการชำระเงินจะเกินดุลมากกว่าปีก่อน เผยหนักใจ 4 ปีที่ผ่านมาอนุมัติวงเงินให้นักลงทุนสถาบันลงทุนต่างประเทศ 3,300 ล้านดอลลาร์ แต่มีการขอไปลงทุนจริงแค่ 18% เตรียมแก้ปัญหาเร่งประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลมากขึ้น
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า สถานการณ์ค่าเงินบาทในขณะนี้ไม่ได้มีความหวือหวาเหมือนในอดีต และเมื่อพิจารณาปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจก็ยังคงดีอยู่ จึงคาดว่าไม่น่าจะมีแรงกดดันที่ส่งผลให้ค่าเงินบาทมีความผันผวนไปมากกว่านี้ ประกอบกับในปีนี้ก็มีการทยอยนำเข้าเครื่องบินพาณิชย์จำนวน 2 ลำแล้ว และปีหน้าหากมีการเดินหน้าของโครงการสาธารณูปโภคของภาครัฐ (เมกะโปรเจกต์) ก็น่าจะมีการนำเข้าสินค้าทุนจากต่างประเทศมากขึ้นจึงเชื่อว่าช่วยลดแรงกดดันเงินบาทแข็งค่าได้ในระดับหนึ่ง
“ในปีนี้คาดว่าดุลการชำระเงินยังคงเกินดุลอยู่ แม้คงจะไม่มากเท่ากับปีก่อน อย่างไรก็ตามแม้การส่งออกจะเป็นตัวขับเคลื่อนที่ดี แต่ในระยะต่อไปอาจมีการชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการค้าของเราทางอ้อมด้วย เพราะอำนาจในการซื้อน้อยลง จึงคาดว่าการส่งออกอาจจะชะลอลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แต่เมื่อเทียบกับเศรษฐกิจของยุโรป ญี่ปุ่น และประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียสามารถชดเชยการชะลอตัวเศรษฐกิจของสหรัฐได้ ซึ่งขณะนี้ไทยมีการค้าขายกับประเทศในภูมิภาคมากขึ้น”
ส่วนประเด็นที่ว่ามาตรการกันสำรองเงินทุนระยะสั้น 30% และวิธีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน (fully hedge) ก็เชื่อว่าไม่ส่งผลต่อเงินทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (เอฟดีไอ) เนื่องจาก การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเป็นลักษณะในการทำธุรกิจไม่ใช่เป็นการหมุนเงินเพื่อหากำไรจากส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าพื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังคงดีอยู่ แม้ราคาน้ำมันจะมีสูงขึ้นแต่เมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมายังไม่สูงไม่มากนัก ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาลง และการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังที่มีวินัยมากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจไทยเติบเติบโตต่อไปได้
“ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แม้สิ่งแวดล้อมต่างๆ ไม่ค่อยเอื้ออำนวยเศรษฐกิจให้เติบโตมากนักไม่ว่าจะเป็นปัญหาไข้หวัดนก สึนามิ ซึ่งฝีมือการทำงานของเราเป็นที่ยอมรับ ดึงดูดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น โดยเฉพาะในตลาดหุ้น แต่ที่ดัชนีไม่ได้เพิ่มขึ้นมาก เพราะนักลงทุนในประเทศเองทั้งรายย่อยและสถาบันยังขาดความมั่นใจ เช่นเดียวกับการลงทุนใหม่ๆ ที่ยังไม่เกิดขึ้น จึงต้องมีความชัดเจนด้านการเมืองก่อน อย่างไรก็ตามในระยะยาวก็ยังไม่เห็นปัจจัยด้านลบที่น่ากังวลต่อเศรษฐกิจนัก เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยยังคงเติบโตไปได้”
นางธาริษายังเปิดเผยด้วยว่า ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาธปท.ได้อนุมัติยอดวงเงิน 3,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อให้นักลงทุนสถาบันสามารถออกไปลงทุนในต่างประเทศได้มากขึ้น แต่มีนักลงทุนที่ขอไปลงทุนจริงเพียงแค่ 18%ของวงเงินที่อนุมัติให้ ทำให้ขณะนี้วงเงินเหลืออยู่อีกมาก ดังนั้น ในระยะต่อไป ธปท.จะเร่งประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลแก่นักลงทุนมากขึ้น
สำหรับสาเหตุที่นักลงทุนสถาบันไม่ค่อยไปลงทุนในต่างประเทศมากนัก เพราะก่อนหน้านี้ธปท.ได้จัดสรรเม็ดเงินลงทุนให้แก่นักลงทุนสถาบันผ่านสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ให้แต่ละรายไม่เกิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ขณะนี้ธปท.มีการผ่อนคลายให้สามารถลงทุนเกิน 50 ล้านดอลลาร์ได้เพียงขอ ธปท. ดังนั้นในเมื่อข้อจำกัดในด้านต้นทุนทั้งเรื่องเม็ดเงินลงทุนและการเสียเวลาในการศึกษาก็ไม่มีแล้ว จึงเชื่อว่าในอนาคตนักลงทุนสถาบันจะมีการลงทุนในต่างประเทศขยายตัวมากขึ้นกว่าเก่า
“ในช่วงสั้นๆ ก็ยังคงมีเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามา แต่เราก็ต้องมีการผ่อนคลายให้มีความสมดุลมากขึ้น โดยเราจะค่อยๆ เพิ่มทางเลือกให้แก่นักลงทุนอย่างมีระบบ เพราะในเมื่อเขามีรายได้หรือเงินออมมากขึ้นโอกาสในการหาดอกผลก็มีมากขึ้นตาม จึงต้องมีการกระจายความเสี่ยงด้วย ซึ่งการลงทุนในต่างประเทศถือเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดแรงกดดันเงินบาทแข็งค่าได้ และจะทำให้ประเทศมีความแข่งแกร่งมากขึ้นด้วย” นางธาริษากล่าว
เงินบาททรงตัวที่ 34.58/61
วานนี้ (24 พ.ค.) เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 34.58/61 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวจากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 34.58/61 บาท/ดอลลาร์ โดยแข็งค่าสุดของวันที่ระดับ 34.57 บาท/ดอลลาร์ และอ่อนค่าสุดของวันที่ระดับ 34.61 บาท/ดอลลาร์
"เงินบาทเคลื่อนไหวทรงตัวในกรอบแคบๆ ตลอดทั้งวัน ขณะที่ค่าเงินเยนปรับตัวแข็งค่าขึ้น สวนทางกับค่าเงินยูโร เนื่องจากวันนี้ (24 พ.ค.) ตัวเลขทางเศรษฐกิจของยุโรปออกมาไม่ดี จึงมีการเก็งกำไรระหว่าง 2 สกุล ส่วนค่าเงินหยวน หลังจากการประชุมระหว่างจีนและสหรัฐสิ้นสุดในวันนี้ ยังคงเคลื่อนไหวทรงตัวเช่นเดียวกับค่าเงินในภูมิภาค แม้ว่าสหรัฐยังคงกดดันให้จีนเร่งปรับค่าเงินหยวนให้อ่อนค่าเร็วขึ้นก็ตาม" นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพกล่าว
|
|
|
|
|