Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน24 พฤษภาคม 2550
ตื่นหั่นดอกเบี้ย 0.5% โด๊ป ศก.             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Economics




กนง.แบงก์ชาติงัวเงียหั่นดอกเบี้ย 0.5% ในการประชุมวานนี้ ส่งผลดอกเบี้ยนโยบายล่าสุดอยู่ที่ 3.50% ให้เหตุผลอัตราเงินเฟ้อลดต่ำ ความเชื่อมั่นและการจับจ่ายใช้สอยทรุด แย้มปีนี้หากไม่มีปัจจัยใหม่จะไม่มีการปรับลดอีก เผยคาดหวังแบงก์พาณิชย์ลดดอกเบี้ยเงินกู้เหลือ 6.25% ขุนคลังชี้แบงก์ชาติกำลังส่งสัญญาณเศรษฐกิจอ่อนกำลัง แบงก์ไทยพาณิชย์เสือปืนไวลดดอกเบี้ยฝาก 0.50% ดอกเบี้ยกู้ 0.25% มีผลวันนี้

นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากการพิจารณาภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน อุปสงค์ภายในประเทศโดยรวมยังคงอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง จากการชะลอตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชนและความเชื่อมั่นที่ยังเปราะบาง แม้ภาครัฐได้เร่งการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นแต่ยังไม่ได้เต็มที่ ขณะเดียวกันแม้ราคาน้ำมันโลกจะมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่ยังมีแรงกดดันด้านราคาที่ส่งผ่านไปยังอัตราเงินเฟ้อให้สูงขึ้นยังมีน้อยการชะลอเศรษฐกิจในประเทศ ดังนั้นในที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้มีมติให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน (อัตราดอกเบี้ยนโยบาย) ลงอีก 0.50% จากระดับ 4.00%ต่อปี มาอยู่ที่ระดับ 3.50%ต่อปีในปัจจุบัน

“แม้ในช่วงที่ผ่านมาการส่งออก ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญยังขยายตัวได้ดีอยู่ตามภาวะเศรษฐกิจโลกและผู้ส่งออกก็มีความสามารถในการปรับตัวดีอยู่ อย่างไรก็ตาม หากในอนาคตเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงอาจมีผลกระทบต่อการส่งออกต่อไปได้ ขณะเดียวกันในปัจจุบันอัตราเงินเฟ้อยังไม่สูงนัก ดังนั้นการปรับลดดอกเบี้ยลงอีก 0.5% มาอยู่ที่ 3.50% ถือว่าเหมาะสมกับการดูแลเป้าหมายเงินเฟ้อและเอื้อต่อการขยายตัวเศรษฐกิจ ถือเป็นส่วนที่ช่วยเร่งให้เศรษฐกิจภายในของประเทศมีการขยายตัวดี”

กนง.คาดว่าในอีก 4- 6 ไตรมาส หรือ 12-18 เดือนข้างหน้า ภาคเศรษฐกิจจะได้รับผลจากการผ่อนคลายนโยบายการเงินด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง พร้อมทั้งเชื่อว่าจะส่งผ่านไปยังอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินและดอกเบี้ยที่เกี่ยวกับการบริโภค ทั้งในส่วนของเงินฝากและเงินกู้ จึงเชื่อว่าจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากขึ้น โดยเฉพาะการปล่อยสินเชื่อให้แก่ภาคธุรกิจจะมีเพิ่มขึ้น และคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะมีการฟื้นตัวในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้

นอกจากนี้ กนง.คาดว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) ของระบบธนาคารพาณิชย์ในปีนี้จะปรับลดลงมาอยู่ที่ 6.25% จากต้นปีซึ่งอยู่ที่ 7.75% หรือเป็นการปรับลดลงอีก 1.5% ซึ่งเท่ากับการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของธปท.ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน ส่วนธนาคารรายใดจะปรับลดลงมากน้อยเร็วเพียงใดขึ้นอยู่กับต้นทุนการดำเนินงานของแต่ละแห่ง

ขณะเดียวกันในขณะนี้อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 12 เดือนที่แท้จริงยังคงเป็นบวกอยู่ที่ 0.74% ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่แท้จริงเป็นบวกอยู่ที่ 5% ซึ่งอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวน่าจะเป็นระดับที่เหมาะสมทั้งต่อผู้ฝากเงินและผู้กู้เงินแล้ว ดังนั้นการพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในแต่ละครั้ง ธปท.ได้คำนึงถึงผู้ฝากเงินและผู้กู้เป็นสำคัญ

“แม้จะมีหลายคนมองว่าในภาวะที่การเมืองยังไม่คลี่คลาย ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการส่งผ่านนโยบายการเงินที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอาจจะช้ากว่าปกตินั้น แต่เราเชื่อว่าการปรับอัตราดอกเบี้ยครั้งละ 0.5% ในช่วง 2 ครั้งที่ผ่านมา ถือเป็นการช่วยคลุมความไม่ปกติที่เกิดขึ้นแล้ว และเมื่อเทียบกับปีก่อนมีการปรับดอกเบี้ยขึ้นถึง 100% แต่ปีนี้กนง.ได้ปรับลดดอกเบี้ยลงถึง 150% ซึ่งมีการปรับลดดอกเบี้ยมากกว่าปรับเพิ่มขึ้นแล้ว จึงเชื่อว่าในขณะนี้เป็นจังหวะการลงทุนที่ดีให้แก่ภาคธุรกิจ”

นางสุชาดา กล่าวว่า การประเมินเศรษฐกิจในการประชุมครั้งนี้เทียบกับครั้งก่อนหน้านี้แล้ว ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก โดย กนง.ยังคงมองว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้ยังคงขยายตัวได้ที่ระดับ 3.8-4.8% แม้ภาวะเศรษฐกิจต้องเผชิญกับปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้นหรือค่าเงินที่แข็ง และการกระตุ้นภาครัฐไม่ได้ผลนัก ขณะที่ปีหน้าจะขยายตัวอยู่ที่ระดับ 4.3-5.8% อย่างไรก็ตาม กนง.มองว่า เศรษฐกิจไทยยังคงไม่ทรุดตัวไปมากกว่านี้ ยกเว้นจะมีปัจจัยที่ทำให้ภาวะเศรษฐกิจภาวะช็อก ซึ่ง กนง.อาจจะต้องพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง แต่หากมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น ถือเป็นปัจจัยที่ดีที่ช่วยส่งเสริมธุรกิจ กนง.อาจไม่จำเป็นมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงแล้ว เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ

ส่วนอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับเป้าหมายเดิมทั้งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ระดับ 1.5-2.5% และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน 1-2% อย่างไรก็ตาม แม้ตอนนี้ราคาน้ำมันมีแนวโน้มที่สูงขึ้น แต่เชื่อว่าจะอยู่ในกรอบที่กนง.ประมาณการไว้ คือ น้ำมันดูไบเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ระดับ 54-58 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และคาดว่าราคาน้ำมันในระยะต่อไปจะไม่สูงกว่ากรอบที่ประเมินไว้ด้วย

สำหรับกรณีที่หลายฝ่ายมองว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างไทยกับประเทศอื่นๆ มีมากขึ้นและส่งผลให้มีเงินทุนจากต่างประเทศไหลออกนั้น นางสุชาดา กล่าวว่า กนง.ต้องการดูแลให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวมากกว่า ขณะเดียวกันที่ผ่านมามีเงินลงทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามามากแล้ว จึงเชื่อว่าหากมีการปรับลดดอกเบี้ยจะมีส่วนช่วยให้ภาระทางการเงินของภาคธุรกิจต่างๆ ทั้งสภาพคล่อง กระแสเงินสด และหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของภาคธุรกิจนั้นๆ ปรับตัวดีขึ้น

นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ กล่าวว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของกนง.ในครั้งนี้คงพิจารณาแล้วว่าเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งจะสามารถช่วยในเรื่องการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนในประเทศได้ในระดับหนึ่ง ส่วนในอนาคตจะปรับลดอีกหรือไม่นั้นต้องพิจารณาดัชนีชี้วัดต่างๆ ที่จะทยอยประกาศออกมาทั้งเรื่องเงินเฟ้อและอัตราการบริโภคที่ออกมาจะเป็นอย่างไร

การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นในช่วง 2 ครั้งที่ผ่านมาถือว่าเป็นการปรับลดที่รวดเร็วกว่าในอดีตมาก ซึ่งก่อนหน้านี้มีการปรับลดเพียงครั้งละ 0.25% เท่านั้น แต่ 2 ครั้งหลังปรับลดถึงครั้งละ 0.50% และส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อลดลงมากเช่นกัน ซึ่งเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในปัจจุบันยังอ่อนแออยู่จึงต้องปรับลดลงในอัตรานี้

“อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ยังอ่อนอยู่ในปัจจุบันเป็นสาเหตุที่ทำให้ กนง.ต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.5% หลายครั้งติดกัน การปรับลดดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วในช่วงนี้ก็ถือเป็นการชี้นำให้แบงก์พาณิชย์ลดดอกเบี้ยลงตามดอกเบี้ยนโยบายอยู่แล้ว” นายฉลองภพกล่าว

ไทยพาณิชย์เสือปืนไว

รายงานข่าวจากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) เปิดเผยว่า ธนาคารได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภทลง 0.50% และลดดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภทลง 0.25% โดยมีผลวันนี้ (24 พ.ค.) ประกอบด้วยอัตราดอกเบี้ยฝากประจำ 3, 6 และ 12 เดือน จะอยู่ที่ 2.25-2.50% จาก 2.75-3.00% ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 24 และ 36 เดือน ลดลงเหลือ 2.50% จาก 3.00% สำหรับอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) อยู่ที่ 7.00% จาก 7.25%, อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (MOR) อยู่ที่ 7.25% จาก 7.50% และอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) อยู่ที่ 7.50% จาก 7.75%

นักวิชาการเตือนอย่าหลงทาง

นายสมภพ มานะรังสรรค์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม มองว่าการประกาศปรับลดดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันลงอีก 0.50% ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ เพราะปัญหาสำคัญอยู่ที่ความขัดแย้งทางการเมืองและความมั่นคง ดังนั้นการลงทุนและการบริโภคของเอกชนคงไม่กระเตื้องมากนัก เพราะว่าปัญหาหลักของประเทศไทยคือเรื่องของความขัดแย้งทางการเมืองและความมั่นคง

"เห็นด้วยกับการลดดอกเบี้ย แต่รัฐบาลไม่ควรหลงทางว่าการลดครั้งนี้จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งการลงทุนและการบริโภค หากสามารถแก้ปัญหาการเมืองและความมั่นคงได้เชื่อว่าทุกอย่างจะกลับคืนมาอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันการลดดอกเบี้ยคงไม่ทำให้ผู้ฝากเงินถอนออกมาเพื่อบริโภค" นายสมภพกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us