Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน24 พฤษภาคม 2550
N-PARKเคาะขายที่ดินญี่ปุ่นเครืออมันฯควักเงินซื้อ315ล.             
 


   
www resources

โฮมเพจ แนเชอรัล พาร์ค

   
search resources

แนเชอรัล พาร์ค, บมจ.
เสริมสิน สมะลาภา




แนเชอรัล พาร์คฯใจชื้น หลังประสบความสำเร็จขายที่ดินแปลงงามในเมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ให้แก่บริษัทในกลุ่มนายเอเดรียน ผู้ก่อตั้งโรงแรมเครืออมันรีสอร์ท พันธมิตรที่เหนี่ยวแน่น รับซื้อทรัพย์สินดังกล่าว ราคาขาย 9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือกว่า 315 ล้านบาท ล็อตแรกจ่ายเงินงวดแรกแล้ว 22 พ.ค.ที่ผ่านมา วงเงินเบื้องต้น 3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือกว่า 105 ล้านบาท พร้อมเสนอเงื่อนไขซื้อหุ้นส่วนที่เหลือภายใน 1 ปี ยืนยันจ่ายหนี้ไทยธนาคารครบถ้วน ก่อนบบส.สาทรซื้อหนี้ไป

นายเสริมสิน สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ บริษัท แนเชอรัล พาร์ค จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตามที่บริษัทได้ประสบภาวะวิกฤตความเชื่อมั่น ซึ่งเกิดมาจากคดีล้มละลายในอดีต ทำให้บริษัทต้องวางแนวทางการแก้ปัญหาของบริษัทไว้ 5 แนวทาง ได้แก่ 1. การหาทางออกเรื่องคดีล้มละลายในอดีต 2. การเจรจากับเจ้าหนี้ 3. การเพิ่มทุน 4. การหาพันธมิตรร่วมทุนในโครงการต่างๆ และ 5. การขายสินทรัพย์ นั้น

โดยในส่วนของการขายทรัพย์สิน ทางบริษัทได้พยายามติดต่อและเจรจากับผู้ซื้อทั้งในและต่างประเทศหลายราย แต่ปรากฏว่าผู้ซื้อส่วนใหญ่มักจะกดราคาสินทรัพย์ เสนอราคาซื้อที่ไม่เหมาะสม ทำให้บริษัทไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในการขายสินทรัพย์หลายครั้งที่ผ่านมาได้ อย่างไรก็ดี ปัจจุบันบริษัทได้ประสบความสำเร็จในการขายที่ดินที่เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ให้แก่

Shining Global Investment Limited ("Shining") หรือบุคคลที่ Shining กำหนด ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มของนายเอเดรียน เซกา (Adriaan Zecha) ผู้ก่อตั้งโรงแรมเครืออมันรีสอร์ท(และมีบริษัทในเครือรวมในโครงการร้อยชักสามของกรมธนารักษ์) ในราคา 9 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 315 ล้านบาท เทียบกับต้นทุนทางบัญชี 241 ล้านบาท

กระบวนการขายหุ้นและสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินให้กู้ยืมในบริษัท Kyoto Resorts YK หรือ KYOTO นั้น ในขั้นแรกผู้ซื้อจะซื้อหุ้น 1 ใน 3 ของบริษัท Kyoto จำนวน 333 หุ้น และโอน 1 ใน 3 ของสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินให้กู้ยืมและดอกเบี้ยค้างรับจาก Kyoto คิดเป็นเงินประมาณ 84 ล้านบาท และได้ชำระเงิน 3 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 105 ล้านบาทให้แก่บริษัทแนเชอรัล พาร์ค เมื่อวันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา นอกจากนี้ Shining หรือบุคคลที่ Shining กำหนด ยังมีสิทธิในการซื้อหุ้นและสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินให้กู้ยืมและดอกเบี้ยค้างรับส่วนที่เหลือภายในระยะเวลา 1 ปี นับจากวันที่ 30 เมษายน 2550 (วันที่ลงนามในสัญญา Option Agreement) โดยมีรายละเอียดในสัญญาตามข้อตกลง คือ

บริษัทแนเชอรัล พาร์คฯให้สิทธิแก่ Shining หรือบุคคลที่ Shining กำหนด ในการซื้อหุ้นใน Kyoto จำนวน 1,000 หุ้น คิดเป็น100% ของทุนชำระแล้ว มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 50,000 เยน และสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินให้กู้ยืมและดอกเบี้ยค้างรับจาก Kyoto ในราคารวม 9 ล้านเหรียญสหรัฐ บวกเงินให้กู้ยืมและดอกเบี้ยค้างรับนับจากวันที่ลงนามในสัญญาข้อตกลง และทางShining กำหนดให้ Puri Limited ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มเดียวกัน ใช้สิทธิซื้อหุ้นใน Kyoto จำนวน 333 หุ้น และสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินให้กู้ยืมและดอกเบี้ยค้างรับ ในราคารวม 3 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับส่วนที่เหลือ บริษัทให้สิทธิแก่ Shining หรือบุคคลที่ Shining กำหนด ซื้อหุ้นเป็นครั้ง ๆ โดยแบ่งเป็น 333 หุ้นในครั้งถัดไป และ 334 หุ้นในครั้งสุดท้าย และโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินให้กู้ยืมและดอกเบี้ยค้างรับครั้งละ 1 ใน 3 ของยอดหนี้เงินให้กู้ยืมและดอกเบี้ยค้างรับ ในราคารวม 3 ล้านเหรียญสหรัฐต่อครั้ง

อนึ่ง เมื่อคำนวณขนาดรายการตามหลักเกณฑ์ของประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการของบริษัทจดทะเบียนในการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่ง

สินทรัพย์ พ.ศ. 2547 แล้ว รายการจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ดังกล่าวมีขนาดรายการรวมเท่ากับ 2.91 % (คำนวณจากการขายหุ้นทั้งหมด 1,000 หุ้น คิดเป็น 100 % ของทุนชำระแล้ว และโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินให้กู้ยืมและดอกเบี้ยค้างรับทั้งหมด ในราคา 9 ล้านเหรียญสหรัฐ) ตามเกณฑ์มูลค่ารวมของสิ่งตอบแทน ซึ่งต่ำกว่า 15 % คณะกรรมการบริษัทมีอำนาจในการอนุมัติการทำรายการดังกล่าวได้ โดยไม่ต้องจัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทเพื่ออนุมัติการทำรายการ

นายเสริมสินกล่าวว่า การดำเนินการจำหน่ายทรัพย์สินของบริษัทในครั้งนี้ จะได้รับสิ่งตอบแทนและเงื่อนไขการชำระเงินเป็นจำนวน 3 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 105 ล้านบาท โดยผู้

ซื้อจะชำระราคาซื้อขายหุ้นในวันทำรายการ (Closing Date) ภายในระยะเวลา 1 ปี หาก Shining หรือบุคคลที่ Shining กำหนด ใช้สิทธิในการซื้อหุ้นและโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินให้กู้ยืมและดอกเบี้ยค้างรับส่วนที่เหลือทั้งหมด มูลค่ารวมของสิ่งตอบแทนจะเท่ากับ 9 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 315 ล้านบาท

" ราคาที่ผู้ซื้อและผู้ขายได้เจรจาตกลงกัน เป็นราคาที่สูงกว่ามูลค่าทางบัญชีของสินทรัพย์ และถือเป็นราคาที่เหมาะสมเพื่อเสริมเสถียรภาพทางการเงิน โดยราคาขายหุ้นสามัญและโอนสิทธิเรียกร้องเงินให้กู้ยืมดังกล่าว เป็นราคาที่สูงกว่ามูลค่าทางบัญชี ดังนั้น บริษัทจะได้รับกำไรจากการขายทรัพย์สิน นอกจากนี้ บริษัทจะมีเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น และมีเสถียรภาพทางการเงินมากขึ้น ขณะเดียวกันจะนำไปพัฒนาโครงการอสังหาฯของบริษัท อย่างไรก็ดี บริษัทอาจพิจารณาขายสินทรัพย์หรือหุ้นสามัญเพิ่มเติมในราคาที่เหมาะสม" นายเสริมสินกล่าว

อนึ่ง ในกรณีเรื่องที่บริษัทบริหารสินทรัพย์สาทร จำกัด ได้ฟ้องร้องต่อศาลล้มละลายกลางให้ดำเนินฟ้องล้มละลายและพิทักษ์ทรัพย์บริษัท(ลูกหนี้)นั้น ตรงนี้ ทางบริษัทได้ยืนยันว่า ได้มีการชำระให้เจ้าหนี้เดิม คือ ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) หรือ BT ทั้งในรูปของเงินสดและแปลงหนี้เป็นหุ้นสามัญ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us