Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน23 พฤษภาคม 2550
ลดหย่อนดบ.ทำยอดวูบกว่า2.5พันล. สั่งคุมเข้มเอกสารหวั่นตุกติกโกงภาษี             
 


   
www resources

โฮมเพจ กรมสรรพากร

   
search resources

กรมสรรพากร
Auditor and Taxation




อธิบดีกรมสรรพากรเผยหลังคลังประกาศเพิ่มวงเงินลดหย่อนดอกเบี้ยบ้านทำให้ยอดลดหย่อนรวมจากเดิม 2.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 3–5 พันล้านบาท พร้อมล้อมคอกคนหัวใสแจ้งหลักฐานลดหย่อนเท็จสั่งเจ้าหน้าที่ตรวจละเอียดยิบ ส่วนมาตรการลดภาษี 3 จังหวัดชายแดนใต้ทำยอดภาษีวูบ 2.5 หมื่นล้านบาท พร้อมป้องกันการยื่นใบกำกับภาษีปลอมหลังเศรษฐกิจซบคนเริ่มหาทางตุกติกเลี่ยงภาษี ด้านผู้ประกอบการอสังหาฯระบุมาตรการลดหย่อนภาษีไม่ช่วยกระตุ้นตลาด

นายศานิต ร่างน้อย อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยการเพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษีจากดอกเบี้ยผ่อนชำระค่าซื้อที่อยู่อาศัยที่ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอจากเดิมปีละ 50,000 บาทเป็น 100,000 บาทนั้น จะส่งผลให้กรมสรรพากรสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บในส่วนนี้ไปจากเดิมที่มีผู้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีในส่วนนี้ 2,500 ล้านบาท

ทั้งนี้ วงเงินในการลดหย่อนจากเดิมที่มีผู้ใช้ 2,500 ล้านบาทนั้น หากมีผู้ใช้สิทธิเต็ม 100% ตามที่กระทรวงการคลังลดหย่อนให้ถึง 100,000 บาทนั้นจะทำให้มีผู้ลดหย่อนในส่วนนี้เพิ่มขึ้นเป็น 3,000–5,000 ล้านบาท แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าประชาชนผู้เสียภาษีจะยื่นใช้สิทธิลดหย่อนในส่วนนี้มากน้อยเพียงใด แต่อย่างไรก็ตาม การสูญเสียรายได้ในส่วนนี้จะทำให้ประชาชนมีเงินในกระเป๋าสำหรับจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นทำให้กรมสรรพากรจัดเก็บรายได้ในส่วนอื่นชดเชยได้

"รายได้ของกรมสรรพากรที่คาดว่าจะสูญเสียไปในส่วนนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่ามีจำนวนเท่าไร เพราะต้องขึ้นอยู่กับว่าคนที่ผ่อนบ้านใช้สิทธิในการลดหย่อนมากน้อยเพียงใด ซึ่งเดิมที่ลดหย่อนให้ 5 แสนบาทมีผู้ใช้สิทธิประมาณ 2.5 พันล้านบาท"นายศานิตกล่าว

นอกจากนี้ กรมสรรพากรยังมีมาตรการที่เข้มงวดเกี่ยวกับการตรวจสอบการยื่นเอกสารการลดหย่อนภาษีที่ยื่นเข้ามา ซึ่งในเบื้องต้นตรวจสอบพบว่าในเขตกรุงเทพมหานครมีผู้ยื่นเอกสารเป็นเท็จเข้ามาทั้งการลดหย่อนภาษีจากดอกเบี้ยซื้อที่อยู่อาศัยและการลดหย่อนภาษีดอกเบี้ยรับจากเงินฝากประเภทต่างๆ โดยมีการยื่นเท็จเข้ามาแล้ว 100 กว่ารายจึงต้องใช้มาตรการที่เข้มงวดมากขึ้น

นายศานิตกล่าวว่า สำหรับภาษีนิติบุคคลที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบให้มีการลดจาก 30% เหลือ 1% ในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลานั้น เดิมในเขตพื้นที่ดังกล่าวมีการจ่ายภาษีเข้ามาปีละประมาณ 25,000 ล้านบาท ก็จะทำให้การจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรในพิ้นที่จังหวัดดังกล่าวลดลงตามสัดส่วนที่มีการลดภาษีลง

"ในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้มีการเสียภาษีเข้ามาปีละประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาท หากต้องลดภาษีนิติบุคคลลงจาก 30% เหลือ 1% ตามมติครม.ก็จะทำให้ยอดการจัดเก็บลดลงตามสัดส่วนที่มีการลดหย่อน แต่ในเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ถึงแม้จะไม่มีการลดหย่อนภาษีให้กับเขาเขาก็แทบจะไม่มีให้เก็บอยู่แล้วจึงต้องมีความเห็นใจและต้องลดภาษีให้" นายศานิตกล่าว

นายศานิตกล่าวว่า ส่วนเรื่องการสร้างเอกสารใบกำกับภาษีปลอมเพื่อให้มีการเสียภาษีลดลงนั้น ทางกรมสรรพากรได้สั่งการให้สรรพากรพื้นที่ทั่วประเทศตรวจสอบอย่างเข้มงวดว่ามีการปลอบเอกสารใบกำกับภาษีปลอมเกิดขึ้นจริงหรือไม่ แต่เท่าที่มีการตรวจสอบในเบื้องต้นพบว่ามีจำนวนไม่มากนักยังไม่สามารถคำนวณเป็นตัวเงินได้ อย่างไรก็ตามกรมสรรพากรก็มีความจำเป็นต้องหามาตรการป้องกันไว้ก่อน

"เท่าที่ผ่านมาไม่ค่อยมีคนโกงภาษีในรูปแบบการทำใบกำกับภาษีปลอมมากนักแต่แนวโน้มที่เกิดขึ้นในปัจจุบันพบว่าเริ่มมีการทำกันมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าสภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาอยู่ในปัจจุบันอาจมีส่วนให้คนต้องการจ่ายภาษีน้อยลงเลยทำให้เกิดการโกงภาษีในรูปแบบการทำใบกำกับภาษีปลอมกันมากขึ้นจึงต้องหาทางป้องกันและแก้ไขไว้" นายศานิตกล่าว

ระบุลดหย่อนภาษี1แสนไม่มีผล

นายชายนิดโง้ว ศิริมณี กรรมการผู้จัดการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สำหรับมาตรการกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ 7 มาตรการ ที่ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เสนอให้รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการและผู้บริโภคในตลาด ที่จะมีการนำเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณา ในวันที่ 22 พ.ค. นั้น ล่าสุดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่าจะให้ความช่วยเหลือเฉพาะในเรื่องของการหักลดหย่อนภาษีของผู้ซื้อบ้านจาก 50,000 บาท เพิ่มเป็น100,00บาทต่อราย ส่วนมาตรการอื่นฯจะไม่มีการนำไปพิจารณานั้นหากรัฐบาลช่วยเหลือเฉพาะในเรื่องของการหักลดหย่อนภาษีอย่างเดียว ก็ไม่ช่วยกระตุ้นตลาดได้แต่อย่างใดเพราะเมื่อคำนวณแล้ว สามารถลดหย่อนได้เพียง4,000 -5,000 บาทเท่านั้น ซึ่งถึงว่าเป็นวงเงินเล็กน้อยเท่านั้นเมื่อเทียบกับวงเงินในการซื้อบ้าน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us