Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2534
สมชัย บุญนำศิริ "เราประเมินคู่ต่อสู้สูงเกินไป"             
 


   
search resources

วอลล์สตรีท, บง
สมชัย บุญนำศิริ
Auctions




บรรยากาศอันระทึกใจวันประมูลเก้าอี้ โบรกเกอร์เมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์วอลล์สตรีทได้ทำลายสถิติด้วยตัวเลขที่คู่ต่อสู้ต้องเงียบกริบด้วยเงินประมูลสูงสุดถึง 309.59 ล้านบาท ทิ้งห่างอันดับรองอีก 4 บริษัท คือ บงล.ธนพล 233 ล้านบาท บล.ยูไนเต็ด 227.77 ล้านบาท บงล.ไทยฟูจิ 226 ล้านบาท และบงล.มหาธนกิจ 223 ล้านบาท

"เราประเมินคู่ต่อสู้สูงเกินไป" ถ้อยคำจากปากของสมชัย บุญนำศิริ กรรมการผู้จัดการที่เอ่ยถึงตัวเลขที่ทิ้งห่างจากอันดับสองถึง 70 ล้านบาท

สมชัย บุญนำศิริ เพิ่งก้าวเข้ามาบริหารบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์วอลล์สตรีทเมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้วด้วยประสบการณ์มืออาชีพไม่ต่ำกว่าสิบปี สมชัยกล่าวว่าผู้มีพระคุณที่เปรียบเสมือนครูและเจ้านายของเขาคนแรกก็คือ สุนทร อรุณานนท์ชัย อดีตผู้บริหารบงล.สินเอเซียและกรรมการผู้จัดการแบงก์มหานคร

สมชัยเติบโตในสายสิบเชื่อแล้วไต่เต้าขึ้นสู่ตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายอาวุโสฝ่ายพัฒนาและบริการการเงินของสินเอเซีย และเมื่อสุนทรได้รับการทาบทามเป็นกรรมการผู้จัดการแบงก์มหานคร สุนทรก็ได้ดึงเอาสมชัยไปช่วยดูแลในตำแหน่งผู้จัดการสำนักบริหารเงินและปริวรรตเงินตราด้วย

หลังเกิดเหตุการณ์ลาออกของสุนทรจากแบงก์มหานคร สมชัยก็ได้ติดตามมาช่วยดูแลกิจการบริษัทส่วนตัวของสุนทรโดยเป็นรองกรรมการผู้จัดการบริษัทเอสแอนด์เอ เอ็นเทอร์ไพรส์ ซึ่งเป็นบริษัทโฮลดิ้งของสุนทรและอารยา อรุณานนท์ชัย

ความรู้ที่สมชัยร่ำเรียนจบปริญญาโทสาขาเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ที่ประเทศอังกฤษ ทำให้สมชัยกลายเป็นกำลังสำคัญที่ช่วยสุนทรดูแลการลงทุนใหม่ ๆ เช่น การเข้าไปจัดการวางระบบการลงทุนในอุตสาหกรรมโรงงานรองเท้า ชื่อบริษัทโอเรียนเต็ลฟุตแวร์ที่ตั้งอยู่ถนนบางนา-ตราด และยังเข้าไปช่วยก่อร่างโรงงานผลิตรถเหล็กจำลอง "แม็ท บ็อกซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล" ซึ่งทางฮ่องกงได้เข้าไปซื้อกิจการแล้ว ทางสุนทรมีหุ้นส่วนด้วย

ล่าสุดก่อนที่สมชัยจะมาบริหารบงล.วอลล์สตรีท เขาเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทเงินทุนยูเนี่ยน ไฟแนนซ์ และผู้จัดการทั่วไปของบริษัทซีพีทาวเวอร์

"พอตึกซีพีสร้างเสร็จและเราหาผู้เช่าได้เรียบร้อยแล้ว นิพนธ์ ลีละศิธร ซึ่งเป็นลูกชายของวิสิทธิ์เจ้าของวอลล์สตรีทก็ชวนผมไปทำงานด้วย โดยให้เหตุผลว่า ทางคุณพ่ออยากหามืออาชีพเข้ามาบริหารจริง ๆ" สมชัยเล่าให้ฟังถึงความสัมพันธ์นานนับ 8 ปีกับนิพนธ์ซึ่งรู้จักกันมาตั้งแต่ทั้งคู่ทำงานที่ฝ่ายวาณิชธนกิจของสินเอเซีย

นิพนธ์ ลีละศิธร เป็นลูกชายคนโตวัย 30 ปีของวิสิทธิ์ที่ช่วยบิดาดูแลกิจการอาหารสัตว์ "บริษัทลีพัฒนา" และมีน้องชายวัย 28 ปีชื่อปรีชาที่ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการฝ่ายค้าหลักทรัพย์ของวอลล์สตรีทอยู่

การเข้ามาของสมชัยเมื่อมีนาคม ปี 2532 ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงภาพพจน์ จากระบบเถ้าแก่สู่มืออาชีพมากขึ้น นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงชื่อกิจการจาก "บงล.ไทยรัฐ" เป็นชื่อใหม่ว่า "บงล.วอลล์สตรีท"

นอกจากนี้ สมชัยยังดึงทีมผู้บริหารเข้ามาเสริมมากขึ้น เช่นประสิทธิ์ เตชะจงจินตนา อดีตผู้จัดการฝ่ายที่ดูแลด้านอันเดอร์ไรติ้งของสินเอเซียและปัจจุบันเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการวอลล์สตรีท ประสิทธิ์เป็นนักเรียนทุนจีบ้ารุ่นแรก (จีบ้าปัจจุบันชื่อ "ศศินทร์" สอนระดับปริญญาโทด้านการจัดการหรือเอ็มบีเอ) เช่นเดียวกับวิมล บุญธีรวรผู้เคยอยู่กับสมชัยในฝ่ายวาณิชธนกิจ ของสินเอเซียมาก่อนที่จะย้ายไปอยู่บริษัทวิจัยหลักทรัพย์โฮโกเว็ตประเทศไทย ซึ่งเป็นบริษัทในเครือข่ายของธนาคารเซ็คเคียวริตี้แปซิฟิค หลังจากนั้นก็ย้ายมาอยู่ที่บงล.วอลล์สตรีทเป็นผู้จัดการฝ่ายพัฒนาและการเงิน ภายในระยะเวลาหนึ่งปี ซับโบรกเกอร์อย่างวอลล์สตรีทได้ส่วนแบ่งตลาดวอลุ่มการซื้อขายเมื่อปีที่แล้ว 109% ของวอลุ่ม รวมทั้งตลาดเมื่อเทียบกับโบรกเกอร์ทั้ง 35 เบอร์แล้ว วอลล์สตรีทอยู่อันดับที่ 23 ปริมาณการซื้อขายของวอลล์สตรีททั้งหมดรวมแล้วกว่า 2 หมื่นล้านบาท

การลงทุนมหาศาลเพื่อชิงเก้าอี้โบรกเกอร์ที่ว่างอยู่ 5 อันดับโดยมีซับโบรกเกอร์คู่แข่งขันที่ได้รับการคัดเลือกขั้นต้นแล้ว 14 ราย งานนี้สี่ผู้บริหารระดับสูงของวอลล์สตรีทซึ่งประกอบด้วยสมชัย ประสิทธิ์ ปรีชา และวิมลได้ระดมสมองวางแผนเตรียมตัวลงสนามประมูลนี้

"วันที่ประมูลในตอนเช้า ผู้บริหารบริษัทเห็นว่า ตัวเลขที่จะทำให้ชนะประมูลจะอยู่ระหว่าง 270-370 ล้านบาท แต่ที่ประชุมบอกว่า 270 ล้านบาทยังไม่มั่นใจว่าจะได้ นอกจากนี้ การประมูลโบรกเกอร์ก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะมีโอกาสอีก และเราก็มีฐานลูกค้าหลักทรัพย์อยู่แล้ว จึงใส่ตัวเลขขยับขึ้นเป็น 320 ล้านบาท แต่เราก็คิดว่าน่าจะเหลือไว้ 10 ล้านบาท เพื่อพัฒนาอุปกรณ์ต่าง ๆ จึงใส่ตัวเลขไป 309.59 ล้านบาท" สมชัย กรรมการผู้จัดการเล่าให้ฟังถึงนาทีระทึกใจที่เก็งตัวเลขไว้

"ตอนที่เห็นชาร์เตอร์ดชินตุงรัตตเสนอ 181 ล้านบาทเศษ ก็ชักเสียว ๆ เหมือนกัน กลัวว่า ตัวเลขจะกระโดด แต่เมื่อประกาศตัวเลขของธนพลก็ใจชื้นขึ้นมาบ้าง เพราะอย่างน้อยก็โด่งเหนือคนอื่นประมาณ 70 ล้านบาท เราก็ไม่ต้องคิดมากเพราะห่างประมาณ 30 ล้านบาทเท่านั้น ถือว่าอัตราไม่สูงมากนัก พอที่จะรับกันไหว แต่เจเอฟฯ เสนอตัวเลขต่ำกว่าที่เราคาดไว้ คือ 215.89 ล้านบาท" นี่คือการประเมินคู่ต่อสู้สูงเกินไปในสายตาของสมชัย

"งานนี้วิสิทธิ์ ลีละศิธรบอกแล้ว แต่เราวันที่ไปประมูล ผลออกมาสูงกว่าคนอื่น ท่านก็บอกว่าไม่เป็นไร เพราะเรามีฐานธุรกิจอยู่แล้ว เราอยากได้ก็ต้องเอา" สมชัยกล่าวถึงความใจกว้างของวิสิทธิ์ ลีละศิธร ประธานกรรมการบริหารบริษัท

ตระกูลลีละศิธรเริ่มต้นสั่งสมทุนจากกิจการนำเข้า-ส่งออกสินค้าทั่วไป ต่อมาเมื่อหันมาจับกิจการด้านอสังหาริมทรัพย์ด้วยการพัฒนาที่ดินสร้างตึกวอลล์สตรีททาวเวอร์แถบถนนสุริวงศ์ จนกระทั่งประสบความสำเร็จก็หันมาลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์บริษัทลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นหลักทรัพย์รับอนุญาตในตลาดหุ้น

นอกจากเป็นเจ้าของ บงล.วอลล์สตรีทแล้ว ตระกูลลีละศิธรยังเป็นเจ้าของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ และยังได้รับโควต้านำเข้าทองคำแท่งในนามบริาทพัฒนสินด้วย

และปีนี้ตระกูลลีละศิธรได้ตัดสินใจลงทุนมหาศาลนับ 309.59 ล้านบาท เพื่อเก้าอี้โบรกเกอร์นี้ ถ้าย้อนดูอดีตเมื่อครั้ง บงล.นครหลวงเครดิตชนะประมูลเก้าอี้โบรกเกอร์ด้วยเงิน 62.29 ล้านบาทก็สามารถฟื้นคืนทุนได้สำเร็จภายใน 7 เดือนกลายเป็นโบรกเกอร์ที่ซื้อขายสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง โดยวอลุ่มการซื้อขายขณะนั้นตกประมาณ 600-700 ล้านบาทต่อวัน แต่สำหรับคราวนี้ สมชัย กรรมการผู้จัดการได้กล่าวถึงจุดคุ้มทุนว่า

"หากวอลุ่มตลาดภายใน 5 ปีเฉลี่ยวันละ 3,500 ล้านบาท จุดคุ้มทุนของเราจะอยู่ที่ 3 ปีครึ่งเท่านั้น ซึ่งการลงทุนในครั้งนี้ผมถือว่าเป็นการลงทุนที่มีผลตอบแทนคืนกลับในทันที ไม่เหมือนสร้างโรงงานเพราะเมื่อได้เป็นโบรกเกอร์เต็มตัว ซื้อขายเพียงวันแรกคอมมิชชั่นเราก็เพิ่มทันทีประมาณ 150% จาก 0.2% กลายเป็น 0.5% นี้มองเฉพาะด้านซื้อหรือขายอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งปีที่แล้วเราได้ค่าคอมมิชชั่น 45 ล้านบาท ถ้าหาก 0.5% เราจะได้เพิ่มเป็น 13 ล้านบาท"

แต่สภาพตลาดปัจจุบันนี้ มีปัจจัยสำคัญที่จะเอื้อต่อปริมาณการซื้อขายที่สูงเพิ่มขึ้นมหาศาลก็คือ ระบบการซื้อขายด้วยคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่โบรกเกอร์ใหม่ทั้ง 5 บริษัทต้องพัฒนา

"ตอนนี้เรากำลังพิจารณาว่า จะใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของแวกซ์ หรือสตาร์ตัส หรือไอบีเอ็ม และลงทุนเพิ่มด้านอุปกรณ์ทีวี วอลล์และดิสเพลย์บอร์ดทั้งหมดนี้ใช้เงินประมาณ 30-40 ล้านบาท" สมชัยกล่าวถึงการเตรียมพร้อมด้านระบบและคนเพื่ออนาคตที่คาดว่าจะมีการซื้อขายด้วยคอมพิวเตอร์ในราวเดือนกรกฎาคมนี้

นอกจากงานด้านค้าหุ้นแล้ว นโยบายด้านอันเดอร์ไรเตอร์ที่เริ่มบุกตลาดมากขึ้น หลังจากปลายปีที่แล้วได้มีการตั้งทีมงานและเป็นแกนนำด้านการจัดจำหน่ายและรับประกันหุ้นบริษัทศรีตรงแอคโกล์

ปัจจุบันพอร์ตของบริษัทวอลล์สตรีทที่ลงทุนในตลาดหุ้นนั้น สมชัยกล่าวว่ามีน้อยมาก ในวงเงินประมาณ 74.9 ล้านบาท ซึ่งน้อยกว่าข้อกำหนดของแบงก์ชาติที่ให้ลงทุนไม่เกิน 60% ของเงินกองทุน และในจำนวน 74 ล้านบาทนี้ไปลงทุนในกองทุนร่วมพัฒนาสองถึง 35 ล้านบาท

"นโยบายบริษัทเราไม่เน้นการลงทุนพอร์ตอยู่แล้ว" สมชัยเปิดเผยถึงฐานะด้านจริยธรรมของโบรกเกอร์ไทยที่มักตกเป็นผู้ต้องหาในเรื่องนี้ แต่การที่กรรมการบริหารบางคนของบริษัทโบรกเกอร์ไทยบางแห่ง มีการตั้งบริษัทลงทุนของตนเองในตลาดหุ้นหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ไม่มีใครกล้าตอบ

เป้าหมายลูกค้าของบงล.วอลล์สตรีทในระยะเริ่มต้นยังคงอยุ่ที่นักลงทุนรายบุคคล เพราะกลุ่มลูกค้าชาวต่างประเทศที่มีลักษณะเป็นสถาบันนั้น สมชัยกล่าวว่าลูกค้าประเภทนี้ต้องการงานบริการด้านวิจัยควบคู่ด้วย ซึ่งทางบริษัทยังไม่พร้อมที่จะก้าวไปถึงจุดนั้น

"โบรกเกอร์ไทยยังทำรีเสิร์ชไม่กี่ราย ในอนาคตเราคงต้องพัฒนาทีมงานด้านนี้ขึ้นมาด้วย" สมชัยกล่าวถึงการขยายงาน "ต่อไปในหนึ่งปีหลังจากระบบซื้อขายไปได้ดี เราอาจจะขยายสำนักงานซื้อขายหุ้นในต่างจังหวัดด้วยเมื่อทางการอนุญาต"

จากจุดเริ่มต้นของก้าวแรกที่เข้าสู่การเป็นโบรกเกอร์หมายเลขใหม่ของวอลล์สตรีท สมชัยในฐานะผู้บริหารมืออาชีพมีสิ่งมากมายที่ต้องทำ และเป้าหมายสูงสุดของเขาก็คือการมีคุณภาพสูงสุดในการเป็นโบรกเกอร์ที่เป็นที่ยอมรับในวงการ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us